นางย้อม แสงสว่าง อายุ 53 ปี ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 2 ต.ป่างิ้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง เป็นผู้ริเริ่มเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์เป็นผลสำเร็จน่าภูมิใจอย่างยิ่ง คุณย้อมเล่าว่า มีเวลาว่างก็เลยคิดที่จะทดลองเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีที่อยู่รอบบ้านว่างอยู่ โดยครั้งแรกก็นำปลาหมอไทยมาเลี้ยง ปลาดุก กบมาเลี้ยงก็ได้ผลแต่ปลาหมอไทยไม่ได้ผลเนื่องจากการเติบโตช้ามาก จึงข้ามมาทดลองเลี้ยงปลาช่อนดู เห็นว่าราคาดีและยังไม่มีใครทำจึงได้ดำเนินการดังนี้
เตรียมบ่อซีเมนต์
1. บ่อซีเมนต์ควรทำหลายๆบ่อก็จะดี เช่น บ่ออนุบาลปลาช่อน ควรมีขนาด 2 x 3 เมตรหรือ 2x2 เมตรก็ได้ ความลึกขนาด 30 ซม. มีหลังคาคลุมป้องกันงู นก จะมากินลูกปลาช่อน ปล่อยลูกปลาขนาด (ประมาณ1-2 นิ้ว) ได้ 2000-3000 ตัว ควรทำ 2-3 บ่อถ้าต้องเลี้ยงปลาจำนวน 10000 ตัว อนุบาลไว้ 30 วัน
2. บ่อเลี้ยง ควรมีขนาด 5x10 เมตร ลึก 1 เมตร แช่น้ำให้มีตระใคร่น้ำจับให้หมดฤทธิ์ของปูน ใส่น้ำขนาดความลึก 30 ซม. ใส่ผักตบชวา (ผักปลอด) จำนวนครึ่งของพื้นที่บ่อให้ปลาช่อนได้หลบแสงและป้องกันน้ำเสียง่าย บ่อเลี้ยงมีอย่างน้อย 2-3 บ่อ เพื่อให้คัดขนาดของปลาที่โตเท่าๆ กันเลี้ยงในบ่อเดียวกัน การหาลูกปลาช่อนและการอนุบาล ลูกปลาช่อนหาได้จากลำคลอง ทุ่งนาข้าว หรือ แหล่งน้ำ จะเห็นว่าในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมปลาช่อนจะวางไข่ และ จะมีลูกปลาเล็กๆ ตัวขนาด 1-2 นิ้ว เป็นฝูงจะมองเห็นผุดน้ำระยิบๆ ก็จะนำสวิงตาถี่ เช่นไนลอนเขียวทำเป็นสวิงตักปลาขนาดกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เมตร นำไปช้อนลูกปลาและใส่ภาชนะกระมังใหญ่ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ อัดอ๊อกซิเจนกรณีลำเลียงลูกปลาไกลๆ เมื่อได้ลูกปลาแล้วนำมาแช่น้ำใหม่โดยใส่ยาฆ่าเชื้อโรคเจือจางก่อนนำลงบ่ออนุบาล ทิ้งไว้ 1วัน ให้ลูกปลาหิวก็จะนำอาหารชนิดผงของปลาดุกเล็กมาปั้นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ 2-3 ก้อน วางลงในบ่อปลาลูกปลาจะเข้ามากินและชอบกินมาก ในวันต่อๆ มา ควรให้วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และในสัปดาห์ต่อมาควรฝึกให้กินจิ้งหรีดตัวเล็กๆ ในสัปดาห์ที่ 3-4 ซึ่งลูกปลาจะโตขนาดเท่านิ้วมือความยาวขนาด 4-5 นิ้ว การเลี้ยงปลาเป็นใหญ่ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จะย้ายปลาช่อนลงบ่อเลี้ยงขนาด 5x10 เมตร จำนวนบ่อละ 2000-3000 ตัว ช่วงนี้กรณีไม่มีจิ้งหรีดหรือไม่เพียงพอ ให้ใช้หอยเชอรี่มาต้มทั้งตัวและ แคะเอาแต่เนื้อหอยมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปใส่ในบ่อปลาช่อนจะกินจำนวนหอยเมื่อแกะแล้วจำนวนครั้งละ 1 กิโลกรัม แต่จะทำให้น้ำเสียเร็ว ประมาณ 15วัน จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ กรเปลี่ยนถ่ายน้ำให้น้ำไหลออกจากรูระบายน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าตัวปลา ปล่อยน้ำให้หมดบ่อเลยแล้วเอาน้ำใหม่ใส่ ข้อดีคือ ทำให้เราเห็นสภาพของปลาได้ชัดเจนว่า ปลาเจ็บป่วยหรือไม่ และปริมาณการเติบโตจะเห็นได้ชัด พร้อมทั้งคัดขนาดของปลาได้
ข้อระวัง
บ่อจะต้องมีตาข่ายไนล่อนเขียวขึงปิดไว้ริมบ่อให้สูง ยิ่งถ้าฝนตกปลาช่อนจะกระโดดสูง ถ้าไม่กันจะกระโดดออกหมด
อาหารเลี้ยงปลาช่อน
จำเป็นจะต้องลดต้นทุนให้มากที่สุด ให้ได้กำไรมากที่สุด ช่วงระยะของการเลี้ยงปลาช่อน
1. ต้องการปลาช่อนขนาดเล็ก 4 ตัว/กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
2. ต้องการปลาช่อนขนาด 2-3ตัว /กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ในกรณีที่ใช้อาหารปลาดุก +จิ้งหรีด ระยะเวลาจะเร็วกว่านี้ ประมาณ 1 เดือนการให้อาหารปลาช่อนให้เช้า-เย็น กรณีถ้าเราเลี้ยงจิ้งหรีดได้สัปดาห์ละ 5 หมื่นตัวต่อสัปดาห์ จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ(2000-3000ตัว)
การตลาด ปลาช่อนเป็นปลาเศรษฐกิจขายได้ทุกขนาด ยิ่งน้ำหนักตัวละ 8-9 ขีด ถึง 1กิโลกรัม จะได้ราคาดีกิโลกรัมละ70-80 บาท ถ้าเผาปลาช่อนขายจะขายได้ตัวละ 90-100 บาท ปลาช่อนเล็ก ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ถ้าแปรรูปเป็นปลาเค็ม ปลาช่อนแดดเดียว ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ความต้องการของตลาดมีมาก ในช่วงเวลาก่อนขาย 1 เดือน จะถ่ายน้ำบ่อยเพื่อให้ปลาช่อนไม่มีกลิ่นสาบของน้ำและช่วงเวลาจับขายจะให้อาหารจิ้งหรีด หรืออาหารปลาดุกชนิดเม็ดอย่างเดียว ไม่ให้หอยเชอรี่เนื่องจากจะทำให้น้ำมีกลิ่นและปลาจะมีกลิ่นตามไปด้วย ควรถ่ายน้ำบ่อยๆ ในช่วงเดือนที่จะจับขาย ปลาช่อนจะมีสีสวยงามสีของปลาช่อนจะมีเกล็ดเป็นเงางามอ้วนสมบูรณ์ ในขณะเลี้ยงจะต้องจำกัดอาหารให้พอดี ปลาช่อนชอบกินอาหรประเภทจิ้งหรีดมาก บางครั้งพบว่ากินจนท้องแตกในระยะเล็ก ๆ
การแปรรูปปลาช่อน
ทุกคนทราบดีว่าปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่บริโภคได้อร่อย ทั้งต้ม แกง ปลาเค็ม ปลาหยอง ปลาทุบ แม้แต่ทำเค็กเนื้อปลา
ผลกำไร
ตลอดระยะเวลาช่วงเลี้ยง 8-9 เดือน ตัวรุ่นเล็ก 2500 ตัว จะได้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 60 บาท เป็นอย่างต่ำ เป็นเงิน 72000 บาท การลงทุนหากไม่คิดค่าบ่อ คิกแต่ค่าอาหารช่วงเล็กๆค่าน้ำ ค่ากระแสไฟฟ้า ใช้แรงงานในครัวเรือนแล้วใช้เงินประมาณ 1500บาท/รุ่น ซึ่งก็ทำให้มีผลกำไรสูง ถ้าเลี้ยงหมุนเวียนประมาณ 3 บ่อ ก็จะมีรายได้ที่งดงามจริงๆ สนใจ ดูการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์ เส้นทางของเกษตรมีอนาคต สามารถเป็นรูปแบบจุดประกายความคิดให้อีกหลายๆ ชีวิต ได้ลุกขึ้นสู้ภัยเศรษฐกิจ รีบกลับบ้านที่ว่างในรั้วบ้านยังมีพอจะสร้างบ่อซีเมนต์แล้วเลี้ยงปลาหรือกบหรือคางคก ทุกอย่างสามารถเลี้ยงเป็นเงินทั้งนั้น หรือจะเข้าชมการเลี้ยงของคุณย้อม แสงสว่าง เลขที่ 8 หมู่ 2ต.ป่างิ้ว อ. เมือง จ.อ่างทอง ชมรมเพื่อนเกษตรโทร.035-627333
เตรียมบ่อซีเมนต์
1. บ่อซีเมนต์ควรทำหลายๆบ่อก็จะดี เช่น บ่ออนุบาลปลาช่อน ควรมีขนาด 2 x 3 เมตรหรือ 2x2 เมตรก็ได้ ความลึกขนาด 30 ซม. มีหลังคาคลุมป้องกันงู นก จะมากินลูกปลาช่อน ปล่อยลูกปลาขนาด (ประมาณ1-2 นิ้ว) ได้ 2000-3000 ตัว ควรทำ 2-3 บ่อถ้าต้องเลี้ยงปลาจำนวน 10000 ตัว อนุบาลไว้ 30 วัน
2. บ่อเลี้ยง ควรมีขนาด 5x10 เมตร ลึก 1 เมตร แช่น้ำให้มีตระใคร่น้ำจับให้หมดฤทธิ์ของปูน ใส่น้ำขนาดความลึก 30 ซม. ใส่ผักตบชวา (ผักปลอด) จำนวนครึ่งของพื้นที่บ่อให้ปลาช่อนได้หลบแสงและป้องกันน้ำเสียง่าย บ่อเลี้ยงมีอย่างน้อย 2-3 บ่อ เพื่อให้คัดขนาดของปลาที่โตเท่าๆ กันเลี้ยงในบ่อเดียวกัน การหาลูกปลาช่อนและการอนุบาล ลูกปลาช่อนหาได้จากลำคลอง ทุ่งนาข้าว หรือ แหล่งน้ำ จะเห็นว่าในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมปลาช่อนจะวางไข่ และ จะมีลูกปลาเล็กๆ ตัวขนาด 1-2 นิ้ว เป็นฝูงจะมองเห็นผุดน้ำระยิบๆ ก็จะนำสวิงตาถี่ เช่นไนลอนเขียวทำเป็นสวิงตักปลาขนาดกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เมตร นำไปช้อนลูกปลาและใส่ภาชนะกระมังใหญ่ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ อัดอ๊อกซิเจนกรณีลำเลียงลูกปลาไกลๆ เมื่อได้ลูกปลาแล้วนำมาแช่น้ำใหม่โดยใส่ยาฆ่าเชื้อโรคเจือจางก่อนนำลงบ่ออนุบาล ทิ้งไว้ 1วัน ให้ลูกปลาหิวก็จะนำอาหารชนิดผงของปลาดุกเล็กมาปั้นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ 2-3 ก้อน วางลงในบ่อปลาลูกปลาจะเข้ามากินและชอบกินมาก ในวันต่อๆ มา ควรให้วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และในสัปดาห์ต่อมาควรฝึกให้กินจิ้งหรีดตัวเล็กๆ ในสัปดาห์ที่ 3-4 ซึ่งลูกปลาจะโตขนาดเท่านิ้วมือความยาวขนาด 4-5 นิ้ว การเลี้ยงปลาเป็นใหญ่ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จะย้ายปลาช่อนลงบ่อเลี้ยงขนาด 5x10 เมตร จำนวนบ่อละ 2000-3000 ตัว ช่วงนี้กรณีไม่มีจิ้งหรีดหรือไม่เพียงพอ ให้ใช้หอยเชอรี่มาต้มทั้งตัวและ แคะเอาแต่เนื้อหอยมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปใส่ในบ่อปลาช่อนจะกินจำนวนหอยเมื่อแกะแล้วจำนวนครั้งละ 1 กิโลกรัม แต่จะทำให้น้ำเสียเร็ว ประมาณ 15วัน จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ กรเปลี่ยนถ่ายน้ำให้น้ำไหลออกจากรูระบายน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าตัวปลา ปล่อยน้ำให้หมดบ่อเลยแล้วเอาน้ำใหม่ใส่ ข้อดีคือ ทำให้เราเห็นสภาพของปลาได้ชัดเจนว่า ปลาเจ็บป่วยหรือไม่ และปริมาณการเติบโตจะเห็นได้ชัด พร้อมทั้งคัดขนาดของปลาได้
ข้อระวัง
บ่อจะต้องมีตาข่ายไนล่อนเขียวขึงปิดไว้ริมบ่อให้สูง ยิ่งถ้าฝนตกปลาช่อนจะกระโดดสูง ถ้าไม่กันจะกระโดดออกหมด
อาหารเลี้ยงปลาช่อน
จำเป็นจะต้องลดต้นทุนให้มากที่สุด ให้ได้กำไรมากที่สุด ช่วงระยะของการเลี้ยงปลาช่อน
1. ต้องการปลาช่อนขนาดเล็ก 4 ตัว/กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
2. ต้องการปลาช่อนขนาด 2-3ตัว /กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ในกรณีที่ใช้อาหารปลาดุก +จิ้งหรีด ระยะเวลาจะเร็วกว่านี้ ประมาณ 1 เดือนการให้อาหารปลาช่อนให้เช้า-เย็น กรณีถ้าเราเลี้ยงจิ้งหรีดได้สัปดาห์ละ 5 หมื่นตัวต่อสัปดาห์ จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ(2000-3000ตัว)
การตลาด ปลาช่อนเป็นปลาเศรษฐกิจขายได้ทุกขนาด ยิ่งน้ำหนักตัวละ 8-9 ขีด ถึง 1กิโลกรัม จะได้ราคาดีกิโลกรัมละ70-80 บาท ถ้าเผาปลาช่อนขายจะขายได้ตัวละ 90-100 บาท ปลาช่อนเล็ก ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ถ้าแปรรูปเป็นปลาเค็ม ปลาช่อนแดดเดียว ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ความต้องการของตลาดมีมาก ในช่วงเวลาก่อนขาย 1 เดือน จะถ่ายน้ำบ่อยเพื่อให้ปลาช่อนไม่มีกลิ่นสาบของน้ำและช่วงเวลาจับขายจะให้อาหารจิ้งหรีด หรืออาหารปลาดุกชนิดเม็ดอย่างเดียว ไม่ให้หอยเชอรี่เนื่องจากจะทำให้น้ำมีกลิ่นและปลาจะมีกลิ่นตามไปด้วย ควรถ่ายน้ำบ่อยๆ ในช่วงเดือนที่จะจับขาย ปลาช่อนจะมีสีสวยงามสีของปลาช่อนจะมีเกล็ดเป็นเงางามอ้วนสมบูรณ์ ในขณะเลี้ยงจะต้องจำกัดอาหารให้พอดี ปลาช่อนชอบกินอาหรประเภทจิ้งหรีดมาก บางครั้งพบว่ากินจนท้องแตกในระยะเล็ก ๆ
การแปรรูปปลาช่อน
ทุกคนทราบดีว่าปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่บริโภคได้อร่อย ทั้งต้ม แกง ปลาเค็ม ปลาหยอง ปลาทุบ แม้แต่ทำเค็กเนื้อปลา
ผลกำไร
ตลอดระยะเวลาช่วงเลี้ยง 8-9 เดือน ตัวรุ่นเล็ก 2500 ตัว จะได้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 60 บาท เป็นอย่างต่ำ เป็นเงิน 72000 บาท การลงทุนหากไม่คิดค่าบ่อ คิกแต่ค่าอาหารช่วงเล็กๆค่าน้ำ ค่ากระแสไฟฟ้า ใช้แรงงานในครัวเรือนแล้วใช้เงินประมาณ 1500บาท/รุ่น ซึ่งก็ทำให้มีผลกำไรสูง ถ้าเลี้ยงหมุนเวียนประมาณ 3 บ่อ ก็จะมีรายได้ที่งดงามจริงๆ สนใจ ดูการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์ เส้นทางของเกษตรมีอนาคต สามารถเป็นรูปแบบจุดประกายความคิดให้อีกหลายๆ ชีวิต ได้ลุกขึ้นสู้ภัยเศรษฐกิจ รีบกลับบ้านที่ว่างในรั้วบ้านยังมีพอจะสร้างบ่อซีเมนต์แล้วเลี้ยงปลาหรือกบหรือคางคก ทุกอย่างสามารถเลี้ยงเป็นเงินทั้งนั้น หรือจะเข้าชมการเลี้ยงของคุณย้อม แสงสว่าง เลขที่ 8 หมู่ 2ต.ป่างิ้ว อ. เมือง จ.อ่างทอง ชมรมเพื่อนเกษตรโทร.035-627333
การทำปลาช่อนเค็มแดดเดียว
ปลาช่อน จำนวน 25 กิโลกรัม
เกลือเม็ด จำนวน 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด จำนวน 1 ปีบ
สีผสมอาหาร จำนวน 1 ซอง
น้ำแข็งละเอียด จำนวน 20 กิโลกรัม
วิธีทำ
ทำความสะอาดขอดเกล็ด ตัดกลีบ ตัดหัว ผ่าท้องตามยาว ถ้าตัวเล็กไม่ต้องผ่ากลาง แต้ถ้าตัวใหญ่ให้ผ่ากลาง เอากระดูกสันหลังออก ล้างน้ำให้สะอาด ผสมเกลือกับน้ำให้ละลาย ชิมน้ำให้เค็มพอดี แล้วนำปลาใส่และใส่น้ำแข็ง แช่ไว้ในถังพลาสติก ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นนำปลาออกมาล้างให้สะอาด นำไปตากแดดประมาณ 5-6 ชั่วโมงก็นำออกไปขายหรือบริโภคได้อร่อย ปลาจะเนื้อนิ่มระดับความเค็มจะพอดี และน้ำแข็งจะทำให้เนื้อปลาสด ขณะที่แช่หมักไว้ ควรทดลองทำ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความเค็มให้พอเหมาะตามต้องการ ปลาช่อนเค็มแดดเดียวราคาขายกิโลกรัมละ 120-140 บาท
ปลาช่อน จำนวน 25 กิโลกรัม
เกลือเม็ด จำนวน 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด จำนวน 1 ปีบ
สีผสมอาหาร จำนวน 1 ซอง
น้ำแข็งละเอียด จำนวน 20 กิโลกรัม
วิธีทำ
ทำความสะอาดขอดเกล็ด ตัดกลีบ ตัดหัว ผ่าท้องตามยาว ถ้าตัวเล็กไม่ต้องผ่ากลาง แต้ถ้าตัวใหญ่ให้ผ่ากลาง เอากระดูกสันหลังออก ล้างน้ำให้สะอาด ผสมเกลือกับน้ำให้ละลาย ชิมน้ำให้เค็มพอดี แล้วนำปลาใส่และใส่น้ำแข็ง แช่ไว้ในถังพลาสติก ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นนำปลาออกมาล้างให้สะอาด นำไปตากแดดประมาณ 5-6 ชั่วโมงก็นำออกไปขายหรือบริโภคได้อร่อย ปลาจะเนื้อนิ่มระดับความเค็มจะพอดี และน้ำแข็งจะทำให้เนื้อปลาสด ขณะที่แช่หมักไว้ ควรทดลองทำ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความเค็มให้พอเหมาะตามต้องการ ปลาช่อนเค็มแดดเดียวราคาขายกิโลกรัมละ 120-140 บาท