หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี

    "หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี"

    ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีความเจริญก้าวหน้าในด้านศาสนาและปรัชญาอย่างสูง พระพุทธเจ้าจึงเปรียบด้วยประทีปดวงใหญ่ในท่ามกลางดวงประทีปเป็นอันมาก ชนชาวชมพูทวีรอคอยศาสดาเช่น พระพุทธองค์มานาน เมื่อบังเกิดขึ้นในโลกจริง ๆ จนมีพยานยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์เป็นอันมาก และคนที่มายอมตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคแรก ล้วนเป็นคนชั้นนำในสังคมทั้งนั้นคือ คณาจารย์นักบวช พระราชา เศรษฐี ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการผู้ใหญ่ การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์ จึงก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก

    ในช่วงตอนต้นพุทธกาลนั้นมีกษัตริย์ระดับมหาราช ๔ ประองค์ คือพระเจ้าพิมพิสาร (แคว้นมคธ) พระเจ้าปเสนทิโกศล (แคว้นโกศล) พระเจ้าจัณฑปัชโชติ (แคว้นอวันตี) และพระเจ้าอุเทน (แคว้นวังสะ) ทรงแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีป เช่นสักกะ วัชชี มัลละ กุรุ ปัญจาละ อังคะ มคธ กาสี โกศล วังสะ อวันตี เป็นต้น ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่รวดเร็วมาก โดยที่พระพุทธเจ้าไม่เคยอาศัยพระราชอำนาจของพระราชาเหล่านั้นเข้าช่วยสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเลย พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการในการแสดงธรรมของพระองค์ซึ่งอาจจัดได้เป็น ๔ วิธีคือ

              ๑. ยอมรับ พระพุทธเจ้าทรงยอมรับนับถือคำสอนของนักปราชญ์ต่าง ๆ ที่มีมาก่อนหรือร่วมสมัยกับพระองค์ ในกรณีที่คำสอนนั้นเป็นเรื่องจริงในธรรม มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ

              ๒. ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแบบตรงกันข้าม เช่นคนในสมัยพุทธกาลถือว่า การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก กับการแสวงหาความสุขจากกามคุณ เป็นทางแห่งความสุข ความหลุดพ้นพระพุทธเจ้าทรง ปฎิเสทตั้งแต่พระธรรมเทศนาครั้งแรกว่าเป็น หนทางที่บรรพชิตไม่ควรเสพ หรือเขาถือว่าการทรมานตนเป็นตบะ แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าขันติเป็นบรมตบะ เขาสอนว่า การอยู่ร่วมกับปรมาตมัน บรมพรม พระพรหมว่าเป็นบรมธรรม พระบรมศาสดาทรงแสดงว่า นิพพานเป็นบรมธรรม เขาสอนว่า การฆ่าสัตว์ทุกชนิดเป็นบาป เป็นต้น

              ๓. ปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการ เจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโปสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธเจ้าทรงปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการเจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโบสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธศาสนาว่าภิกษุ สมณะ บรรพชิต นักบวช เป็นต้น ทรงปฏิรูปโดยนิยามความหมายเสียใหม่เพราะการเผยแผ่ศาสนาจำต้องอาศัยถ้อยคำที่เขาพูดกันในสมัยนั้น จึงต้องใช้ตามโดยการนิยามความหมายเสียใหม่ คำในพระพุทธศาสนาเป็นอันมากที่ทรงแสดงจึงต้องมีการไขความให้เข้าใจตามหลักของพระพุทธศาสนา หลักการปฏิรูปจึงหมายถึงการกระทำความเชื่อนั้น ๆ มีส่วนดีอยู่บ้าง แต่ยังมีความบกพร่องอยู่ จึงทรงปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น

              ๔. หลักการใหม่ พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักการขึ้นใหม่ คือเรืองนี้ไม่มีการสั่งสอนกันในสมัยนั้นเช่นหลักอริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทอนัตตานิพพาน เป็นต้น

    ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

    • Update : 2/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch