|
|
โรคกบ และวิธีการรักษา
แจ้งเตือน!
ช่วงต้นฤดูฝนใหม่ๆ กบจะเป็นโรคต่างๆได้ง่าย เช่น โรคตาขาว โรคกระแตเวียน โรคปากแดง โรคเป็นแผลพุพอง จึงต้องระวังในการเลี้ยงเป็นพิเศษ และให้ยาตามความเหมาะสม
ในส่วนของข้อมูลด้านล่างนี้ จะเป็นข้อมูลเชิงวิชาการเป็นส่วนมากนะครับ ซึ่งผมได้รวมรวมมาจากหลายๆเว็ปไซต์
(จึงต้องขออนุญาติ นำมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อเกษตรกรต่อไป)
โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด
อาการ ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่าง คล้ายโรคตัวด่างในปลาดุก จากนั้นจะเริ่มพบอาการท้องบวมและตกเลือดตามครีบหรือระยางค์ต่างๆ
สาเหตุของโรค แบคทีเรียในกลุ่ม Flexibacteris
การรักษา
1. ใช้เกลือแกงแช่ในอัตรา 0.5% (5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) นาน 3-5 วัน
2. ใช้ยาออกซีเตตร้าซัยคลินแช่ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันทุกวันนาน 3-5 วัน
การป้องกัน
1. อนุบาลลูกอ๊อดในความหนาแน่นที่เหมาะสม ตารางเมตรละ 1,000 ตัว
2. คัดขนาดทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง จนกระทั่งเป็นลูกกบแล้วอนุบาลให้ได้ขนาด 1-1.5 อัตราความหนาแน่นตารางเมตรละ 250 ตัวจากนั้นจึงปล่อยลูกกบลงเลี้ยงในอัตราตารางเมตรละ 100 ตัว
3. ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ และรักษาความสะอาดของบ่ออนุบาล
โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะตัวเต็มวัย
อาการ มีลักษณะเป็นจุดแดงๆ ตามขาและผิวตัว โดยเฉพาะด้านท้องจนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีจุดสีเหลืองซ้อนๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่ บางครั้งพบตุ่มสีขาวกระจายอยู่
สาเหตุของโรค สภาพบ่อสกปรกมาก
การรักษา ออกซีเตตร้าซัยคลินผสมอาหารให้กบกินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมต่อวันกินติดต่อกันจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือให้กินไม่น้อยกว่าครั้งละ 5-7 วัน
โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร
อาการ กบไม่ค่อยกินอาหาร ผอมตัวซีด
สาเหตุของโรค โปรโตซัวในกลุ่ม Opalina sp. และ Balantidium sp.
การรักษา ใช้ยา Metronidazole ผสมอาหารให้กินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกกรัม กินติดต่อกันครั้งละ 3 วัน และเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วให้ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง หรือจนกว่ากบจะมีอาการดีขึ้น และกินอาหารตามปกติ
โรคกบขาแดง
อาการ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังสีผิดปกติ เสียการทรงตัว มีจุดเลือดออกตามตัว และมีแผลเกิดขึ้นชักขากระตุกและมีผื่นแดงบริเวณโคนขาหลัง เม็ดเลือดมีอาการของโลหิตจางเลือดแข็งตัวช้า และมีเลือดออกบริเวณอวัยวะภายใน
สาเหตุของโรค การติดเชื้อ bact. A. hydrophila, Haemophilus piscium
การรักษา เตรทตร้าไซคลิน 50-100 mg/น้ำหนักกบ 1 กิโลกรัม (ป้อน) อาจผสมอาหารหรือแช่ก็ได้ (ปริมาณเพิ่มขึ้น)
1. การรักษาความสะอาด
2. ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ และแยกออกจากกัน
3. น้ำ ฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน 0.5-1 ppm.
โรคตาขาว คอเอียง กระแตเวียน บวมน้ำ
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฟลาโวแบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุ่ม (Flavobacterium meningosepticum)
อาการและรอยโรค ลักษณะตาขาว ขุ่น บอด เกิดการอักเสบที่ตา มีหนองในช่องหน้าตา มีอาการทางประสาทโดยกบจะนอนหงายท้อง แสดงอาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะบวมน้ำ พบน้ำคั่งใต้ผิวหนังและมีน้ำในช่องท้อง
การรักษาทางวิชาการ การรักษาโรคนี้มักไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะในตัวที่ป่วยหนัก ทำได้โดยลดความรุนแรงของโรค โดยแยกตัวป่วยออกและฆ่าเชื้อโรคในบ่อ หรือใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน เป็นต้น หรือ อาจใช้ด่างทับทิม 5-8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อติดต่อกัน 3 วัน และผสมยาปฏิชีวนะ เช่น เอนโรฟ ล็อคซาซินกับอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกบที่เหลือ นอกจากนี้แล้วจะต้อง แยกกบให้ปริมาณน้อยลงจากเดิม
การรักษาที่แนะนำ ไม่ต้องรักษาให้เปลืองยา เพราะมักจะไม่หาย ต้องยอมขาดทุนบ้าง อย่าเสียดาย โดยให้นำกบทุกตัวในฟาร์มของท่านที่ติดโรคแล้วไปทำลายทิ้ง จากนั้นให้หยุดเลี้ยงเพื่อตากบ่อไว้สัก 1 เดือน แล้วจึงเริ่มต้นเลี้ยงใหม่อีกครั้งจึงจะช่วยได้ดี หรือส่งกบที่เป็นโรคไปตรวจเชื้อ ปรึกษาแพทย์เพื่อขอตัวยามารักษาตามอาการ ป้องกันการดื้อยา แบบนี้ดีที่สุดครับ โอกาสรักษาหายจะมีเพิ่มขึ้น
การป้องกัน ไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป มีการพักน้ำและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ก่อนนำมาใช้ด้วยคลอรีน เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ
ข้อมูลข้างบนนั้นเป็นแนวเชิงวิชาการมากไปหน่อย อย่าไปดูมากครับปวดหัวเกินไป เอาเป็นว่าให้ไปที่ร้านค้าเกษตรแถวบ้านท่านแล้วลองถามดูว่ามียารักษาโรคกบขายหรือไม่ก็พอครับ ถ้ามีก็ลองอ่านๆดูครับโดยสังเกตตรงส่วนประกอบของตัวยานะครับ ซึ่งถ้ามีตัวยาตัวใดตัวหนึ่งชื่อเดียวกันกับที่ผมบอกไว้ด้านบนแสดงว่าเราจะนำมาใช้รักษาโรคกบโรคนั้นๆได้นะครับ
จำหน่าย ยารักษาโรคกบและอาหารเสริมกบ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่หน้าจำหน่ายอุปกรณ์เลี้ยงกบ เช่น
- อาหารเสริม เพื่อบำรุงระบบสืบพันธุ์พ่อแม่พันธุ์กบ
- ยารักษาโรคกบ ท้องอืด บวมน้ำ
- ยารักษาโรคกบ ขาแดง
- ยาป้องกัน และ รักษาโรคกบ ตาขาว ตาขุ่น ติดเชื้อ คอเอียง กระแตเวียน หรือ เป็นแผล
- EM หมัก ช่วยลดการเกิดน้ำเน่าเสีย หรือยืดระยะเวลาการถ่ายน้ำได้
|
Update : 1/7/2554
|
|