การเลี้ยงกบในบ่อดิน ใช้พื้นที่ประมาณ 100 -200 ตารางเมตร ภายในคอกเป็นบ่อน้ำลึกประมาณ 1 เมตร บางแห่งอาจจะทำเกาะกลางบ่อเพื่อเป็นที่พักของกบและที่ให้อาหาร แต่บางแห่งก็ใช้ไม้กระดานทำเป็นพื้นลาดลงจากชานบ่อก็ได้ ส่วนพื้นที่รอบๆ ขอบบ่อภายในที่ห่างจากรั้วคอกอวนไนลอนกว้าง 1 เมตร ปล่อยให้หญ้าขึ้น หรือบางรายอาจปลูกตะไคร้เพื่อให้กบใช้เป็นที่หลบอาศัยภายในบ่อที่เป็นพื้นจะมีพวกผักตบชวา หรือพืชน้ำอื่น ๆ ให้กบเป็นที่หลบซ่อนภัยและอาศัยภายในบ่อที่เป็นพื้นน้ำจะมีพวกผักตบชวา หรือพืชน้ำอื่นๆ ให้กบเป็นที่หลบซ่อนภัยและอาศัยความร่มเย็นเช่นกัน คอกที่ล้อมรอบด้วนอวนไนลอนนี้ ด้านล่างจะใช้ถุงยางมะตอยผ่าซึก หรือแผ่นสังกะสีฝังลึกลงดินประมาณ 1 ศอก เพื่อป้องกันศัตรูบางชนิด เช่น หนู ขุดรูลอดเข้าไปทำอันตรายกับกบที่อยู่ในบ่อหรือในคอก ส่วนด้านบนของบ่อมุมใดมุมหนึ่ง จะมุงด้วยทางมะพร้าวเพื่อเป็นร่มเงา และยังใช้เป็นที่ให้อาหารกบอีกด้วย นอกจากนั้นบางแห่งยังใช้เสื่อรำแพนเก่า ๆ ที่ใช้ทำเป็นฝาบ้าน นำมาวางซ้อนกัน โดยมีลำไม้ไผ่สอดกลางเพื่อให้เกิดช่องว่างให้กับเข้าไปหลบอาศัย และด้านบนนั้นก็เป็นที่รองรับอาหารที่โยนลงไปให้กบกินได้เช่นกัน
ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่ทุ่งไร่ ทุ่งนาได้ดี
2. ลงทุนต่ำ กว่าเลี้ยงในบ่อปูน และแบบกระชัง
3. ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ
4. ไม่เปลืองอาหารมากนัก เพราะกบยังหาอาหารตามธรรมชาติกินได้
5. เป็นการเลี้ยงเชิงพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก ไม่ต้องดูแลอะไรมากมาย ผู้เลี้ยงมีเวลาทำงานอย่างอื่นๆได้มาก
6. กรณีถ้าระบบน้ำดีๆกบจะไม่ค่อยเป็นโรค และแข็งแรงดี
7. เป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุดอีกแบบหนึ่ง
ข้อเสีย
1. หากผู้เลี้ยงมีอายุมาก จะเสี่ยงต่อการลื่นล้มเป็นอัมพาฒ หรือเป็นลมแดด จมน้ำเสียชีวิตได้ เพราะอาจต้องใช้สะพานเดินลงไปให้อาหารภายในบ่อ(ถ้าบ่อใหญ่ๆ)
2. ยากต่อการสังเกตและดูแลกบที่เป็นโรค เพราะอยู่กันกระจัดกระจาย ทั่วไป
3. ยากต่อการให้อาหารอย่างทั่วถึง และกบมักจะมีพยาธิ ต้องให้ยาถ่ายพยาธิเดือนละ 1 ครั้ง
4. ถ้าทำที่กั้นบ่อไม่ดี กบอาจจะหนีไปได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว
5. ยากต่อการตรวจนับจำนวนกบที่เหลือชีวิตรอดในบ่อดิน
6. ยากต่อการจับขายหรือคัดขนาดที่ตัวโตๆขายไปก่อน เพราะส่วนใหญ่ต้องจับพร้อมๆกันทั้งบ่อ โดยสูบน้ำออกให้หมดก่อน
7. ถ้าเลิกเลี้ยงจะต้องซื้อดินมาถมบ่อ เพื่อนำพื้นที่ไปทำอย่างอื่น สิ้นเปลืองมากๆ