การเลี้ยงกบในขวดน้ำพลาสติกเป็นการประยุกต์การเลี้ยงกบให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการจัดการที่ง่ายและสดวก
การเลี้ยงกบในขวดพลาสติก
วัสดุ-อุปกรณ์
1.ขวดน้ำพลาสติก 1.25 ลิตร ขึ้นไป แบบกลมหรือเหลี่ยมก็ได้
2.ชั้นวาง
3.ลูกกบ ( หลักการเลือกซื้อลูกกบ )
4.อาหารกบแท้ หรืออาหารปลาดุก
วิธีการเลี้ยง
1. ให้เรานำขวดพลาสติกมาเจาะรูขนาดเล็กไว้ประมาณสัก 2 รู เพื่อที่จะเป็นที่ช่องสำหรับใส่อาหาร แล้วให้ใส่น้ำเข้าไปในขวดเพียงเล็กน้อยไม่ต้องเต็มขวด
2. หลักจากนั้นก็ให้นำลูกกบใส่เข้าไปในขวด โดยจะใส่ขวดละ 1 – 2 ตัว แล้วปิดฝาให้แน่น
3. นำขวดไปตั้งไว้ที่ชั้นวางเป็นชั้นๆ โดยวางให้อยู่ในลักษณะที่เอียง
4. การให้อาหารก็จะให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้าและเย็น โดยใส่ไปในรูที่เราได้เจาะไว้
5. การถ่ายเปลี่ยนน้ำก็จะเปลี่ยน 2 วัน/ครั้ง โดยให้เปิดฝาแล้วเทน้ำทิ้งแล้วเปลี่ยนน้ำเข้าไปใหม่
6. หลักจากที่เลี้ยงไว้ประมาณ 3 เดือนก็สามารถนำไปขายได้แล้ว
7. การขายก็ให้นำขวดพลาสติกมาตัดให้ขาดแล้วจับกบไปชั่งขาย
การสังเกตและให้เวลาในการเลี้ยงกบขวด
1. ควรให้อาหารพอเหมาะ โดยให้สังเกตไม่มีอาหารเหลือในขวด เมื่อให้อาหารครั้งต่อไป
2. น้ำที่เปลี่ยนถ่ายสามารถนำไปรดต้นไม้หรือผักสวนครัวต่อไป
3. ควรทำความสะอาดขวดที่ใช้เลี้ยงเมื่อสกปรกหรือมีกลิ่น
4. เมื่อพบกบมีบาดแผลให้รีบรักษา โดยผสมยาปฏิชีวนะกับอาหารให้กบกิน ส่วนใหญ่จะพบบาดแผลที่ปาก เนื่องจากกระโดดในขวดเมื่อกบตัวโตขึ้น
5. ขวดพลาสติกที่นำมาเลี้ยงควรเป็นขวดลักษณะสี่เหลี่ยม จะสะดวกและเหมาะสมในการจัดชั้นวาง
*** วิธีการเลี้ยงกบในขวด จะปลอดภัยจากโรค สะดวกกว่าการเลี้ยงแบบคอนโด เพราะไม่ต้องทำความสะอาดเพียงแค่เปลี่ยนน้ำทุก 2 วัน แถมประหยัดน้ำกว่า ศัตรูหรือสัตว์ต่างๆ ก็ไม่เข้าไปรบกวน ทำให้กบสะอาดและแข็งแรง ขายได้ราคาดี ***
ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่จำกัดได้ดี
2. ลงทุนต่ำ กว่าเลี้ยงในบ่อปูนหรือบ่อดิน
3. ให้อาหารกบได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปลืองอาหาร
4. ควบคุมโรคได้ง่าย ถ่ายน้ำสะดวก และใช้น้ำน้อยกว่า
5. นำมารับประทานได้ , เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว , ลดภาวการณ์เกิดน้ำเสีย , ง่ายต่อการผลิต , ลดการเกิดขยะจากขวดน้ำได้ด้วย
6. เหมาะกับผู้เริ่มทดลองเลี้ยงเพื่อศึกษา ไม่หวังผลกำไร หรือเลี้ยงเล่นๆ 5 วัน หรือ 10 วัน สนุกๆ เป็นต้น
ข้อเสีย
1. ยากต่อการสังเกตและดูแล หากเลี้ยงในปริมาณมากๆ
2. ไม่เหมาะกับการเลี้ยงจริงจังเชิงพาณิชย์ ที่ต้องมีปริมาณผลผลิตต่อเดือนสูง
3. ไม่สะดวก และเสียเวลามากๆ เมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ ขาดทุนเวลา
4. ไม่คุ้มค่าเวลาเลี้ยง เหน็ดเหนื่อยกว่าปกติ ไม่มีกำไร เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน ไม่คุ้มค้า
หมายเหตุ
ทางฟาร์ม ไม่เคยเลี้ยงกบในขวดพลาสติก อย่างจริงจังมาก่อน ข้อมูลด้านบนได้รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ท่านได้ศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น