หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    บทเรียนจากอดีต

    บทเรียนจากอดีต

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์เทสท์ เกสรังสี
    เสถียร จันทิมาธร

    การได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นเรื่องน่าระทึกในดวงหทัยเสมอ ไม่ว่าจะเป็น พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เมื่อปีพ.ศ.2466

    หรือ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ที่วัดบูรพาราม อุบลราชธานี ก่อนหน้านั้น

    พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) ได้บันทึกเรื่องราวของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เอาไว้อย่างค่อนข้างละเอียด

    เป็นเวลา 17.00 น.

    เมื่อไปถึงวัดบูรพารามก็ได้เห็น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กำลังเดินจงกรมอยู่ ก็รออยู่สักครู่ใหญ่จน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เลิกจากการเดินจงกรมเหลือบไปเห็น พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม นั่งอยู่โคนมะม่วง

    จึงได้เรียกและพาขึ้นไปบนกุฏิ หลังจาก พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม กราบแล้ว พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็ได้พูดขึ้นว่า

    "เราได้รอเธอมานานแล้ว ที่อยากจะพบและต้องการชักชวนให้มาปฏิบัติธรรมด้วยกัน"

    "กระผมอยากจะปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มานานแล้ว" เป็นคำสำนองอย่างทันควันจาก พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    เป็นการพบอันคุ้มค่าอย่างยิ่งสำหรับ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    ที่ว่าเป็นการพบอันคุ้มค่าเพราะคำชี้แนะจาก พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ต่อ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม คือ

    "การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้นจักต้องปฏิบัติกัมมัฏฐาน"

    ตรงนี่ย่อมถอน พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นครูสอนนักเรียนได้เหยียบบาทก้าวเข้าไปบนหนทางแห่งการปฏิบัติ

    ถามว่า ปฏิบัติอย่างไร

    คำตอบอันมาจากคำชี้แนะของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต คือ "พิจารณาตจปัญจกกัมมัฏฐาน เป็นเบื้องแรก เพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงตรัสรู้ธรรมด้วยการปฏิบัติอริยสัจธรรม 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค"

    การพบและกราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จึงเป็นจุดตัดและหักเลี้ยวอย่างมีนัยสำคัญ

    หักเลี้ยวจากหนทางแห่ง ปริยัติ ไปสู่หนทางแห่ง ปฏิบัติ

    โดยอาศัยปริยัติเป็นเสมือนกับแผนที่ โดยอาศัยปฏิบัติเป็นการทดสอบว่าแผนที่อันได้มานั้นถูกต้องเป็นจริงหรือไม่

    นี่ย่อมเป็นเช่นเดียวกับ พระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล

    ขอให้อ่านจากบันทึกของ พระอาจารย์อวน ปคุโณ แห่งวัดจันทิยาวาส นครพนม

    เมื่อแรกที่เข้าไปกราบศึกษาธรรมกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นั้น พระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล ก็ภาวนาไปตามธรรมดา

    เห็นดังนั้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แนะนำว่า

    "รู้ไม่รู้ ไม่สำคัญ ขอให้ทำจิตใจให้รู้จักจิตว่า สงบหรือไม่สงบ"

    หลังจากออกวิเวกเที่ยวธุดงค์ไป พระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล ได้กลับมาเรียนถาม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ว่า

    "จิตสงบเป็นอย่างไร"

    "เท่าที่ทองรัตน์ปฏิบัติทุกวันนี้รู้สึกว่าเป็นแบบใด" พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ย้อนถาม

    "มีเหตุหนักกาย หนักใจ ใจฝืดเคืองนัก" พระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล ตอบ

    "เรื่องที่หนักกาย หนักใจนั่น ไม่ใช่เพราะการบำเพ็ญภาวนา แสดงว่ามีความเชื่อมั่นศรัทธาอยู่ในการปฏิบัติ อยากทำแต่ไม่รู้จักวิธี"

    เป็นการไขรหัสนัยโดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พลางอธิบายต่อ

    "การปฏิบัติให้รักษาจิต รักษาระเบียบวินัย กิจวัตร ข้อวัตรวินัยต้องเข้มงวด ปฏิบัติถึงแล้วก็จะเกิดเมตตา มีเมตตาแล้วแสดงว่ามีศีลบริสุทธิ์ มีศีลบริสุทธิ์แล้วจิตก็สงบ จิตสงบแล้วจะเกิดสมาธิ"

    นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์ระหว่าง ศีล กับ สมาธิ นั่นก็คือความเกี่ยวเนื่องระหว่าง สะอาด และ สงบ ในเชิงอุปมา

    บทเรียนจาก พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม บทเรียนจาก พระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล สำคัญยิ่ง

    สำคัญยิ่งต่อบาทก้าวการเข้ากราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี อย่างจำหลักหนักแน่น

    เป็นการเข้ากราบนมัสการพร้อมกับ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล



    • Update : 1/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch