หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    โต้แย้ง พระอาจารย์

    โต้แย้ง พระอาจารย์

    วิถีแห่งการปฏิบัติ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
    เสถียร จันทิมาธร

    ปีพ.ศ.2466 คณะของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกจากวัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    เป้าหมายแรกนอกจังหวัดอุบลราชธานีคือร้อยเอ็ด เป้าหมายต่อไปคือกาฬสินธุ์ จากนั้น ค่อยเข้าไปยังเขต อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี แล้วเข้าไปยังวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

    ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี นี้เองที่เป็นจุดเปลี่ยนอย่างสำคัญ

    เปลี่ยนเพราะว่าเมื่อ พระมหาจูม พันธุโล เดินทางมาพร้อมกับเจ้าคณะมณฑลเพื่อประจำอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์

    พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จึงคิดจะให้ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล อยู่สกลนคร

    ขณะเดียวกัน พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ก็มาดหมายที่จะให้ พระอาจารย์ เทสก์ เทสรังสี อยู่กับ พระมหาจูม พันธุโล

    "เพราะทางนี้ก็ไม่มีใครและเธอก็คนทางเดียวกัน" พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม กล่าว

    และต่ออีกว่า "อนึ่ง เธอก็ได้เรียนมาบ้างแล้ว จงอยู่บริหารหมู่คนช่วยดูแลกิจการคณะสงฆ์ด้วยกัน"

    พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้ยินดังนั้นจึงกราบเรียนว่า

    "กระผมออกปฏิบัติเพื่อฉลองพระเดชพระคุณเพราะผู้ปฏิบัติมีน้อยหายาก ส่วนพระปริยัติและผู้บริหารมีมากและจะหาได้ไม่ยาก"

    นับเป็นความกล้าหาญอย่างยิ่ง



    เป็นความกล้าหาญเพราะว่า พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เพิ่งอุปสมบทพรรษาแรก เป็นความกล้าหาญเพราะเท่ากับเป็นการโต้แย้ง พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    น่าสังเกตว่าเป้าหมายแท้จริงมิใช่ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

    น่าสังเกตว่าเป้าหมายแท้จริงของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม คือการจัดวางบาทก้าวให้กับ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นสำคัญ

    พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เสมอเป็นเพียงองค์ประกอบ

    เดิมทีการออกรุกขมูลจากจังหวัดอุบลราชธานีไปยังจังหวัดอุดรธานีเพราะว่า จังหวัดอุดรธานียังไม่มีพระธรรมยุตอันแข็งแกร่ง

    แต่เมื่อปะเข้ากับ พระมหาจูม พัน ธุโล เข้าก็ต้องคิดใหม่ ทำใหม่

    พระมหาจูม พันธุโล เดิมชื่อ จูม จันทร์วงศ์ เป็นคนบ้านท่า อุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม อุปสมบทที่วัดมหาชัย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดร ธานี เล่าเรียนศึกษาทางปริยัติธรรมที่วัดเทพศิรินทราวาสจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค

    การย้ายมาจากวัดเทพศิรินทราวาสของ พระมหาจูม พัน ธุโล เมื่อปี พ.ศ.2466 เพื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี

    ต่อมาในปีพ.ศ.2488 ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมเจดีย์



    การโต้แย้งของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี มีลักษณะประวัติศาสตร์ และมีลักษณะยืนยันในทิศทางอันมั่นแน่วบนเส้นทางธรรม

    เป็นสายปฏิบัติ มิใช่สายการบริหาร

    หากศึกษาบันทึกของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เมื่อกล่าวและอ้างอิงถึงบทบาทของ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล ก็จะประจักษ์

    ประจักษ์ในเจตนาและความตั้งใจ

    นั่นก็คือ "พระมหาปิ่น ปัญญาพโล ป.5 นับว่าเป็นพระมหาองค์แรกในเมืองไทยที่ออกธุดงค์ ในยุคนั้นในหมู่พระเปรียญโดยมากเขาถือกันว่า การออกธุดงค์เป็นเรื่องขายขี้หน้า"

    ขายขี้หน้าอย่างไรต้องศึกษาต่อไป

    แม้จะเป็นเรื่องขายขี้หน้าสำหรับพระเปรียญ แต่กล่าวสำหรับ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ซึ่งไม่ได้แม้กระทั่งนักธรรมตรี นี่เป็นเรื่องที่ต้องเดินหน้าพิสูจน์ตนเอง

    อย่าได้แปลกใจที่เมื่อ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ยืนยันในแนวทาง พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ก็ยอมรับ

    ยอมรับพร้อมกับแนะให้อยู่ช่วย พระมหาปิ่น ปัญญาพโล

    เป้าหมายสำคัญของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ก็คือ ต้องการให้ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เรียนรู้จาก พระมหาปิ่น ปัญญาพโล

    เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือพาทั้ง 2 ไปกราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต



    จากนี้จึงเห็นได้ว่าการปฏิเสธของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เป็นการปฏิเสธอันเป็นคุณ

    เพราะการปฏิเสธไม่อยู่ที่จังหวัดอุดรธานีนั้นเองทำให้ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้เดินทางไปกับคณะ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ต่อไปยังบ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    และก็ได้กราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นครั้งแรก




    • Update : 30/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch