หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สันโดษ-มักน้อย ก็รวยได้
    มีบางท่านมาถามว่า ได้พบในหนังสือบางฉบับ แสดงเป็นเชิงไม่อยากให้พระเทศน์สอนประชาชนเกี่ยวกับความสันโดษและความมักน้อย เพราะสมัยนี้เป็นสมัยที่กำลังฟื้นฟูเศรษฐกิจของบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้า การสอนธรรมทั้งสองข้อนี้ จะเป็นการขัดแย้ง หรือเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของบ้านเมือง ท่านจะเห็นว่าเป็นอย่างไร?
           
           ในข้อนี้ สำคัญอยู่กับผู้ที่ตีความหมายในธรรม แล้วนำมาชี้แจงให้คนฟังคนอ่าน ถ้าตีความหมายว่า ธรรมทั้งสองบทนี้สอนให้เกียจคร้านอ่อนแอ สอนให้คนกินน้อยใช้น้อย ที่อยู่อาศัยก็ทำให้คับแคบ ไม่เพียงพอกับการหลับนอน เครื่องใช้สอยทุกอย่างก็ทำให้น้อย ไม่พอกินพอยู่พออาศัย ทำอะไรก็ให้ทำแบบอดๆอยากๆ แม้รับประทานก็ไม่ให้อิ่มและเพียงพอกับธาตุขันธ์ที่ต้องการ ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็กลัวคนจะลำบากและอดตายกันหมดทั้งประเทศ ก็จำต้องบอกให้ทราบ เพราะปกติของคนก็ขี้เกียจอยู่ด้วย การบอกเพื่อให้คนมีความขยันหมั่นเพียร จึงไม่เป็นทางผิด
           
           ความจริง ความมักน้อยกับความสันโดษ เป็นธรรมคู่เคียงของโลกตลอดมา และเป็นธรรมจำเป็นทั้งนักบวชและคฤหัสถ์ ที่จะนำไปใช้ให้เหมาะกับเพศและฐานะของตนเท่าที่จะเห็นควร เพราะความหมายของธรรมก็บ่งชัดอยู่แล้วว่า จงเป็นผู้มักน้อยในสิ่งที่ควรมักน้อย เช่น คู่สามีภรรยา มีเพียงผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้นเป็นที่เหมาะสมและงามยิ่งแล้ว ไม่พะรุงพะรัง หามบาปหามกรรม เพราะมีเมียมากเรื่องมาก เวลาตายไปคนข้างหลังจะไม่ยุ่ง ยากในการแบ่งปันมรดก ยกให้เมียโทนคนเดียวเก็บไว้ เลี้ยงลูก เขาจะได้เห็นบุญคุณของพ่อที่ล่วงลับไป ทั้งต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นคู่ครองของกันและกัน ไม่ประพฤตินอก ใจซึ่งผิดจากหลักความมักน้อย ต่างก็ไว้วางใจกันได้ในทาง อารมณ์ นี้คือบ่อแห่งความสุขในครอบครัว
           
           ความสันโดษคือความพอดี เช่นน้ำที่เต็มแก้วแล้ว จัดว่าพอดีแล้ว จะเทน้ำลงเพิ่มอีกก็ผิดความพอดี ไม่เป็นประโยชน์อะไร คนที่ตั้งอยู่ในความพอดี คือคนที่รู้จักเราและรู้จักท่าน รู้จักของเราและรู้จักของท่าน เห็นใจเราและเห็นใจท่าน ซึ่งมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน จะเป็นคนมีหรือคนจน คนโง่หรือคนฉลาด ก็รู้จักฐานะของกันและกัน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหยียดหยาม ไม่กล้ำกราย ไม่ล่วงล้ำ ไม่เห็นแก่ได้
           
           สมบัติของท่านมีมากหรือมีน้อย ไม่ล่วงล้ำเขตแดนโดยเห็นว่าพอเอาได้ เห็นว่าเขามีอำนาจน้อยพอจะเคี้ยวกลืนได้ เห็นว่าเขาโง่พอตบตากินได้ เห็นว่าเขามีพวกน้อยพอข่มขู่เอาได้ เห็นว่าเขาเผลอพอหยิบฉวยเอาได้ เห็นว่าเขานอนหลับพอขโมยเอาได้ เห็นว่าเขามีช่องโหว่พอคดโกงได้ เห็นว่าเขาไม่มีอาวุธพอปล้นจี้เอาได้ เห็นว่ามีแต่ผู้หญิงเฝ้ารักษาสมบัติพอขู่เข็ญเอาได้
           
           ผู้มีธรรมสันโดษในใจแล้วทำไม่ลง ปลงจิตไม่ตกเพื่อจะทำ เพราะความเห็นใจกันและสงสาร เนื่องจากคิดดูใจเรากับใจท่านผู้อื่นแล้ว มีความรู้สึกอันเดียวกัน เรามีสมบัติน้อยมาก เรารักและสงวนของเรา ไม่อยากให้ใครมาล่วงล้ำ มีความยินดีที่จะแสวงหาสมบัติด้วยความชอบ ธรรม หาได้มากเท่าไหร่ก็เป็นที่เย็นใจ เพราะการแสวงหาสมบัติด้วยความชอบธรรม จะได้มามากมายเท่าไหร่ ไม่เป็นการขัดแย้งต่อธรรมสันโดษ เพราะพระพุทธเจ้าสอนให้คนมีความขยันหมั่นเพียรในทางที่ชอบ แต่มิได้สอนให้ขยันในการเบียดเบียนกันและทำลายกัน และถือเอาสมบัติเขามาเป็นของตน
           
           ดังนั้น ความมักน้อยและสันโดษ จึงมิได้เป็นข้าศึกแก่ การงานของโลกทุกประเภท ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเจริญ
           
           พระองค์ยังกลับสรรเสริญคนมีความขยันและอดทนในการงานที่ชอบอีกด้วย สมกับปฏิปทาที่สอนไว้ทุกบททุกบาท เพื่อการรื้อฟื้นโลกและธรรมให้เจริญด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่มีปฏิปทาขี้เกียจแฝงอยู่ในวงธรรมของพระพุทธเจ้าเลย
           
           ธรรมสันโดษ คือ ความยินดีในสมบัติที่มีอยู่ของตน จะมีน้อยมากเท่าไหร่ก็ให้ยินดีในของที่ตนมีอยู่ ถ้าเรามีความขยันและฉลาดสามารถพอ จะทำการเพาะปลูกหรือจะปลูกสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆขึ้นทั่วประเทศ ก็จะเป็นที่นิยมยินดีของคนจนๆเป็นอันมาก เผื่อเขาจะได้อาศัยพึ่งร่มเงาแห่งบารมีของเรา ทั้งจะเป็นที่เบาใจของรัฐบาล ซึ่งกำลังเป็นห่วงพี่น้องชาวไทยเรา กลัวจะไม่มีที่อยู่อาศัย เครื่องอุปโภคบริโภคเพียงพอกับความเป็นอยู่ในครอบครัว ทั้งจะเป็นที่เทิดทูนศาสนธรรมในบทว่า
           
           “อุฏฐานสมฺปทา” ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ว่าเป็นประโยชน์แก่โลกจริง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่เป็นโมฆะอยู่เปล่าๆ โดยไม่มีผู้สนใจและปฏิบัติตามจนเกิดผล
           
           ธรรมข้อที่สองว่า “อารกฺขสมฺปทา” ถึงพร้อมด้วยการ เก็บรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความชอบธรรม ไม่จับจ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยไม่มีขอบเขต การจับจ่ายควรถือความจำเป็น เป็นประมาณ ทรัพย์จะมีสถานที่จอดแวะบ้าง ไม่ไหลผ่านมือไปเสียทีเดียว ธรรมคือ มตฺตญญุตา ความรู้จักประมาณในการเก็บรักษา และการจับจ่ายที่เป็นฝาปิดและเปิดทรัพย์ในคราวจำเป็นที่ควรปิดและควรเปิด แม้แต่บ้านเรือนก็ยังมีประตูเปิดปิด ที่เก็บทรัพย์ ก็ควรจะมีบ้าง ถึงคราวจำเป็น เช่น เจ็บไข้ เป็นต้น ทรัพย์ก็จะมีทางช่วยเปลื้องทุกข์ได้เท่าที่ควร
           
           ข้อที่สาม “สมชีวิตา” การเลี้ยงและรักษาตัวให้เป็นไปพอประมาณ อย่าให้ถึงกับฟุ่มเฟือยหรือฝืดเคืองจนเกินไป ทั้งๆที่ทรัพย์เครื่องแก้ขัดจนมีอยู่ แต่อย่าให้กลายไปว่า ทรัพย์เป็นเครื่องเสริมคนให้เสีย และเสริมคนให้ขี้เหนียวจนเข้ากับใครไม่ได้ เหม็นฟุ้งไปหมดด้วยกลิ่นของความตระหนี่ถี่เหนียว และส่งกลิ่นฟุ้งไปไกลด้วย ทั้งตามลมและทวนลมจนหาที่หลบซ่อนจมูกไม่ได้เลย
           
           ข้อที่สีี่่ “กัลยาณมิตตตา” ความมีมิตรสหายที่ดีงาม การคบมิตรเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรเลือกเฟ้นด้วยดี แม้อาหารในถ้วยในจานซึ่งเป็นสิ่งสำเร็จรูปมาเรียบร้อยแล้ว ผู้รับประทานยังต้องเลือกเฟ้นทุกครั้ง เพราะในอาหารย่อมมีทั้งกระดูกทั้งก้าง ซึ่งเป็นภัยต่อร่างกายปะปนอยู่ และอาหารบางชนิดยังแสลงต่อโรค จำต้องสังเกตด้วยดี ไม่เช่นนั้นอาจเป็นภัยต่อร่างกาย
           
           บาปมิตรยิ่งเป็นภัยอย่างร้ายแรง ถ้าคบด้วยความสะเพร่า ไม่ใช้ความสังเกตและเลือกเฟ้น ถ้าเป็นกัลยาณมิตร ก็เป็นคุณอย่างมากมาย พึ่งได้ทั้งคราวเป็นคราวตาย ไม่ยอม ทอดทิ้ง สุขก็สุขด้วย ทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อมีกิจจำเป็น ก็ช่วยเหลือได้เต็มไม้เต็มมือ ไม่กลัวความสิ้นเปลืองใดๆทั้งสิ้น ขอแต่เพื่อนผู้จำเป็นหรือจนมุม รอดพ้นออกมาได้ จึงจะเป็นที่พอใจ นี่คือเพื่อนผู้พึ่งเป็นพึ่งตายจริงๆ ควรคบตลอดกาล เพื่อนที่ดีเราชอบคบ แต่เราไม่ดีเพื่อนก็รังเกียจเหมือนกัน ต้องมองดูตัวบ้าง เพื่อจะได้เป็นเพื่อนที่ดีของเขา เขาพลีชีพเพื่อเราฉัน ใด เราต้องพลีชีพเพื่อเขาฉันนั้น
           
           (เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๗)
           
           (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 125 เมษายน 2554 โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)


    • Update : 29/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch