หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    รุกขมูลครั้งแรก

    วิถีแห่งการปฏิบัติ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

    รุกขมูลครั้งแรก
    เสถียร จันทิมาธร


    ปีพ.ศ.2466 ทรงความหมายกับ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เป็นอย่างสูงทรงความหมายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเมื่อปีพ.ศ.2459 ที่ได้พบกับ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    ประการหนึ่ง เพราะได้อุปสมบท

    ขณะเดียวกัน ประการหนึ่งซึ่งฝังจำอย่างไม่รู้ลืมเลือน เพราะเมื่อออกพรรษาหมดกฐินแล้ว พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ก็จะนำลูกศิษย์ออกเที่ยวรุกขมูล

    แน่นอน คนหนึ่งคือ พระเทสก์ เทสรังสี ซึ่งเพิ่งอุปสมบท

    การออกเที่ยวรุกขมูลครั้งนี้เป็นคณะใหญ่รวมทั้งหมดแล้ว 12 องค์ด้วยกัน เป็นพระ 8 สามเณร 4 มี พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นหัวหน้า

    ออกจากอุบลราชธานีในระหว่างเดือน 12

    หยุดที่บ้านหนองขอน ต.หัวตะพาน อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี อันเป็นบ้านเกิด พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม นานพอสมควร

    ย้ายไปพักบ้านหัวงัว เตรียมเครื่องบริขารพร้อมแล้วก็ออกเดินทาง

    ประสบการณ์การออกรุกขมูลครั้งแรกกล่าวสำหรับ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เป็นอย่างไร ผู้ที่ตอบได้ดีที่สุดย่อมเป็นตัว พระอาจารย์เทสก์ เทส รังสี เอง

    โปรดอ่าน

    การออกเดินรุกขมูลครั้งนี้ถึงแม้จะไม่ได้วิเวกเท่าที่ควรเพราะเดินด้วยกันเป็นคณะใหญ่ แต่ก็ได้รับรสชาติของการออกเที่ยวรุกขมูลพอน่าดูเหมือนกัน

    กล่าวคือ

    คืนวันหนึ่งพอจัดที่พักแขวนกลด กางกลด ตกมุ้ง ไหว้พระสวดมนต์เรียบร้อยแล้ว ฝนตกเทลงมาพร้อมด้วยลมพายุอย่างแรง

    นอนไม่ได้ นั่งอยู่น้ำยังท่วมก้นเลย

    พากันหอบเครื่องบริขารหนีเข้าไปขออาศัยวัดบ้านเขา แถมยังหลงทางเข้าบ้านไม่ถูก เดินวกไปเวียนมาใกล้ๆ ริมบ้านนั้นตั้งหลายชั่วโมง

    พอดีถึงวัด

    ณ ที่นั้น มีโยมเข้าไปนอนอยู่ก่อน คือ โยมที่เขาเดินทางมาด้วย 6 คน เขามีธุระการค้าของเขา แต่เขาเห็นก้อนเมฆในตอนเย็น

    เขาบอกว่า พวกผมไม่นอนละจะเข้าไปพักในบ้าน

    พอพวกเราไปถึงเข้า เขาจึงช่วยจัดหาที่นอนตามมีตามได้ หมอนเสื่ออะไรก็ไม่มีทั้งนั้น แล้วจึงรีบกลับไปรับอาจารย์กับพวกเพื่อนๆ อีก 7-8 รูป

    พอถึงเก็บบริขารเรียบร้อยแล้วก็นอนเฉยๆ ไปอย่างนั้นเพราะกุฏิก็เปียกไปหมดทั่วทั้งห้อง เสื่อหมอนก็ไม่มีเพราะเป็นวัดร้าง แต่เมื่อความเหนื่อยเพลียมาถึงเข้าแล้วก็นอนหลับได้ชั่วครู่ทั้งที่นอนเปียกอยู่นั่นเอง

    แถมรุ่งเช้าบิณฑบาตก็ไม่ได้อาหาร ได้กล้วยน้ำว้ากับข้าวสุก ฉันข้าวกับกล้วยคนละใบแล้วก็ออกเดินทางต่อ

    การเดินทางดำเนินไปอย่างค่อนข้างยอกย้อน แต่ก็เป็นการยอกย้อนบนเส้นทางของการออกรุกขมูลครบถ้วน

    จากคำบอกเล่าของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

    "ท่านอาจารย์พาพวกเราบุกป่าฝ่าดงมาทางร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ผ่านดงลิงมาออกทางสหัสขันธ์ เข้าเขตกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แต่ไม่ได้เข้าในเมือง เว้นไปพักอยู่บ้านเชิงพินตะวันตกของอุดรฯ เพื่อรอการมาจากกรุงเทพฯ ของเจ้าคณะมณฑล"

    ที่ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ให้คณะมารออยู่ที่จังหวัดอุดรธานีมีจุดประสงค์อยากให้ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล มาประจำอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เพราะจังหวัดอุดรธานียังไม่มีคณะธรรมยุต

    "แต่ที่ไหนได้เมื่อเจ้าคณะมณฑลมาจากกรุงเทพฯ ครั้งนี้ พระยาราชนุกูล (ทีหลังเป็นพระยามุขมนตรี) ได้นิมนต์ พระมหาจูม พันธุโล (ภายหลังเป็นพระธรรมเจดีย์) มาพร้อม เพื่อจะให้มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ที่อุดรฯ"

    เช่นนี้แผนของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ก็เปลี่ยนจากให้ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล อยู่อุดรธานีไปยังสกลนคร

    ปมเงื่อนของเป้าหมายของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เช่นนี้ล้วนเป็นเป้าหมายเพื่อพุทธศาสนา

    สะท้อนให้เห็นว่า พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม มิได้เป็นพระนักปฏิบัติอย่างธรรมดา หากแต่เป็นพระนักปฏิบัติอย่างมีการวางแผน

    เป็นแผนการบริหาร เป็นแผนการจัดวางกำลังคน



    • Update : 29/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch