หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ใช้ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย...สร้างมาตรฐานการผลิต

    ใช้ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย...สร้างมาตรฐานการผลิต

    ทุกวันนี้ ผู้บริโภคตระหนักและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านอาหารกันมากขึ้น ดังนั้น การจะผลิตพืชผลทางเกษตรซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการแปรรูปเป็นอาหารประเภทต่างๆ นั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการดำเนินการเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร หรือ Food Safety มาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ มารองรับเพื่อนำไปสู่การสร้างความปลอดภัยทางอาหารและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

    นางมัณฑนา มิลน์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ดำเนินการด้านความปลอดภัยทางอาหาร โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้านที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรฯ ประกอบด้วย การตรวจรับรองปัจจัยการผลิต และควบคุมการนำเข้าปัจจัยการผลิตให้ได้มาตรฐาน, ส่งเสริมการผลิตในระดับไร่นาให้เข้าสู่ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช หรือ GAP โดยมุ่งเน้นให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและปลอดภัย รวมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน, การผลิตในระดับโรงงานหรือโรงคัดบรรจุจะต้องมีการผลิต แปรรูปที่ได้มาตรฐานการรับรองมาตรฐาน GMP และมีระบบการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าตั้งแต่แปลงปลูก โรงงานคัดบรรจุ ไปจนถึงด่านตรวจพืชก่อนส่งออก

    ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความปลอดภัยทางอาหารมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 มีการต่อยอดยุทธศาสตร์เดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีเป้าหมายดำเนินการตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2552-2556 โดยเป็นความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตรในการเข้าไปสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่มกัน เพื่อจะได้สะดวกในการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปส่งเสริมระบบการผลิตพืช GAP ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งความรู้ในเรื่องการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องด้วย

    การดำเนินการตามยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย  ของกรมวิชาการเกษตรในช่วงที่ผ่านมาสามารถให้การรับรองแปลงเกษตรกร GAP ได้แล้วกว่า 1.2 แสนแปลงทั่วประเทศ ซึ่งต่อจากนี้จะเร่งส่งเสริมและให้การรับรองแปลง GAP ให้ขยายสู่เกษตรกรรายย่อยที่มีการรวมกลุ่มกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากประเทศคู่ค้าหลายประเทศมีความเข้มงวดในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียู ดังนั้นการผลักดันให้เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตในกระบวนการที่สำคัญให้มีการผลิตที่ถูกต้องตามระบบมาตรฐานก็จะยิ่งสร้างความปลอดภัยทางอาหารมากขึ้น

    การพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย ทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากในยุคการค้าเสรีเช่นนี้ ถ้าประเทศใดสามารถสร้างมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออก และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคมากขึ้นด้วย.


    • Update : 28/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch