หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วิธีจับพระสึก (3)
    วิธีจับพระสึก (3)

    คอลัมน์ ศาลาวัด


    จากบทความ "วิธีจับพระสึก" ในหนังสือ "มุมมองใหม่ในกฎหมายอาญา" ของ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิญญูชน ต่อจากครั้งที่แล้ว

    การดำเนินการให้สละสมณเพศ จะต้องทำอย่างไรนั้น ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 27 บัญญัติ "ให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม" ซึ่งยังมิได้มีการบัญญัติขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ พนักงานสอบสวนจะต้องทำอย่างไร จึงจะถือว่าได้ดำเนินการให้สละสมณเพศแล้ว

    ประเด็นแรก เมื่อพิจารณาจากกรอบของการลาสิกขาบท ตามวินัยมุข ดังที่อ้างไว้ข้างต้นแล้ว จะพบว่าสาระของเรื่อง คือ ต้องมีการเปล่งวาจาลาสิกขา ต่อหน้าพระภิกษุหรือหากไม่มีก็ให้กระทำต่อหน้าคฤหัสถ์ที่มีสติสมบูรณ์เข้าใจการปฏิญญานั้น คือ ให้มีพยานรับรู้นั่นเอง

    การปฏิญญาต่อหน้าพระพุทธรูปย่อมไม่ใช่สงฆ์ แต่การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำลาสิกขาบนสถานีตำรวจนั้น ซึ่งพนักงานสอบสวนก็อยู่ด้วยเท่ากับได้กระทำต่อหน้าคฤหัสถ์ซึ่งมีสติสมบูรณ์เข้าใจการปฏิญญานั้นแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการ "จัดดำเนินการให้ (จำเลย) สละสมณเพศ" ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ภายในกรอบแห่งพระธรรมวินัยแล้ว

    ประเด็นที่ 2 โดยวัตถุประสงค์ของกฎหมายไม่ต้องการให้กักขังควบคุมพระภิกษุที่ยังอยู่ในผ้าเหลือง ดังนั้น การที่ตำรวจได้พาจำเลยไปที่วัดที่จำเลยสังกัด เพื่อให้จำเลยสึกแต่เจ้าอาวาสไม่ยอมสึกให้ ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการ "จัดดำเนินการให้สละสมณเพศ" ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์

    เมื่อวิธีการดังกล่าวไม่ได้ผล พนักงานสอบสวนจึงต้องดำเนินการอย่างอื่นในทางที่จะให้เกิดผล จึงได้ดำเนินการให้จำเลยเปล่งวาจาลาสิกขาต่อหน้าพยานที่เป็นคฤหัสถ์ ซึ่งก็สามารถทำได้ตามกรอบแห่งพระธรรมวินัย จะว่าเป็นการกระทำโดยพลการไม่ได้ เพราะสงฆ์ที่จำเลยสังกัดไม่ยอมรับเสียแล้ว

    ประเด็นที่ 3 การสละสมณเพศของจำเลยสมบูรณ์แล้ว จำเลยขาดจากความเป็นพระแล้ว

    ประเด็นที่ 4 ดังที่กล่าวแล้วว่าการขาดจากสมณเพศด้วยเหตุปาราชิกตามพระวินัยนั้น พระแต่ละรูปย่อมต้องรู้ดีว่าการกระทำใดของตนที่เข้าข่ายเป็นปาราชิก เพราะต้องรับปาฏิโมกข์ (ศีลของพระ) และปลงอาบัติ (ระลึกถึงความผิดที่ได้กระทำลงในรอบเดือน) ทุกวันพระขึ้น 15 ค่ำ

    กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น หากจำเลยเป็นผู้ค้ายาเสพติดย่อมเทียบได้กับการกระทำ "ทุติยปาราชิก" คือ เอาทรัพย์ของผู้อื่นมา (ได้แก่การขายยาเสพติด) โดยไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งอาจได้รับโทษถึงประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ

    ประเด็นที่ 4 ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก เอาไว้ต่อตอนหน้า



    • Update : 26/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch