หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วิธีจับพระสึก (2)
    วิธีจับพระสึก (2)

    คอลัมน์ ศาลาวัด


    จากบทความ 'วิธีจับพระสึก' ในหนังสือ "มุมมองใหม่ในกฎหมายอาญา" ของ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิญญูชน ต่อจากครั้งที่แล้ว...

    ส่วนการขาดจากความเป็นพระภิกษุ อีกทางหนึ่งนั้น ได้แก่ การลาสิกขา หรือ สละสมณเพศ ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในพระธรรมวินัย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วินัยมุข เล่ม 3 กัณฑ์ ที่ 33 มหามกุฏราชวิทยาลัย 2538 น.210-215) ความโดยสรุปว่า

    ภิกษุผู้เบื่อหน่ายแต่การประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาจะกลับคืนไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์ ย่อมทำได้โดยการลาสิกขา คือ ปฏิญญาตนเป็นคฤหัสถ์ต่อคณะสงฆ์ หรือต่อหน้าบุคคลอื่นที่มิใช่ภิกษุก็ได้ แต่ต้องเป็นผู้มีสติสมบูรณ์เข้าใจถึงปฏิญญาด้วย

    วิธีการปฏิญญา (ตามอรรถกถา) กำหนดไว้ให้ ตั้งนโม 3 จบ แล้วกล่าวคำว่า "สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถ ข้าพเจ้าขอลาสิกขา ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว" ว่าอย่างนี้ 3 จบ ต่อจากนั้นพึงเปลื้องผ้าครอง สวมเสื้อผ้า และรับศีล 5 ต่อไป พร้อมรับพรจากพระเพื่อความเป็นสิริมงคล หากลาสิกขากับคฤหัสถ์ไม่ต้องรับศีล 5 และรับพร หรือกล่าวด้วยถ้อยคำอย่างอื่นทำนองเดียวกัน

    (จากหนังสือคู่มือการเรียนการสอนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียง 2543 น.347-348)

    ดังนี้จะเห็นได้ว่า หากเป็นกรณีขาดจากความเป็นพระภิกษุเมื่อต้องอาบัติปาราชิกนั้นเป็นไป เพราะภิกษุผู้นั้นได้กระทำความผิดขึ้นเอง จึงไม่จำต้องสมัครใจหรือบอกลาสิกขาก็ถือว่าขาดจากความเป็นสมณะแล้ว เปรียบเสมือนเป็นการตายจากการเป็นพระ ถึงไม่ลาออกก็ขาดคุณสมบัติ

    ส่วนการลาสิกขาหรือสละสมณเพศนั้นเป็นเรื่องที่พระภิกษุผู้ใดเบื่อหน่ายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ พระธรรมวินัยจึงถือเอาความสมัครใจเป็นที่ตั้ง เพียงแต่ขอให้มีพยานรู้เห็นการสละสมณเพศนั้นก็เพียงพอแล้ว ไม่จำต้องมีพิธีการเป็นพิเศษแต่อย่างใด

    อย่างไรก็ตาม การดำเนินการให้สละสมณเพศ จะต้องทำอย่างไรนั้น ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 27 บัญญัติ "ให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม" ซึ่งยังมิได้มีการบัญญัติขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ พนักงานสอบสวนจะต้องทำอย่างไร จึงจะถือว่าได้ดำเนินการให้สละสมณเพศแล้ว

    ประเด็นแรก เมื่อพิจารณาจากกรอบของการลาสิกขาบท ตามวินัยมุข ดังที่อ้างไว้ข้างต้นแล้ว จะพบว่าสาระของเรื่อง คือ ต้องมีการเปล่งวาจาลาสิกขา ต่อหน้าพระภิกษุหรือหากไม่มีก็ให้กระทำต่อหน้าคฤหัสถ์ที่มีสติสมบูรณ์เข้าใจการปฏิญญานั้น คือ ให้มีพยานรับรู้นั่นเอง



    • Update : 25/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch