หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พรุ่งนี้หรือชาติหน้าอะไรจะมาก่อน

    พรุ่งนี้หรือชาติหน้าอะไรจะมาก่อน

    พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ได้บรรยายธรรมในรายการวิทยุแห่งหนึ่งว่าด้วยชีวิตและงาน ที่ช่วงหลังตั้งแต่ พ.ศ.2547 เน้นการอบรมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทางสำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะได้เรียบเรียง ตัดต่อและจัดทำหนังสือ “พรุ่งนี้หรือชาติหน้า ไม่มีใครรู้ว่า อะไรจะมาก่อน” มีเนื้อหาหลากหลาย เน้นหนักเรื่องการเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับความตาย ซึ่งเป็นความจริงอย่างหนึ่งที่ผู้คนไม่อยากนึกถึง ทั้งที่ความตายเกิดกับเราได้ทุกเวลา
       
    ตอนหนึ่ง พระไพศาล บรรยายว่า สนใจเรื่องความตายมานานแล้ว เหมือนคนทั่วไปที่คิดถึงเรื่องความตาย จิตใจก็หวั่นไหว ในช่วงปลายปี 2518 ได้มีโอกาสไปอยู่ที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นช่วงที่ยังมีการสู้รบจะได้ยินเสียงปืนใหญ่ เสียงระเบิด มีคนถูกยิงตายอยู่บ่อย ๆ จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ถ้าเราจะต้องตายจะทำใจยอมรับกับมันได้หรือไม่ พอมาบวชเป็นพระก็คุ้นกับความตาย เพราะพระพุทธศาสนาพูดถึงบ่อยมากเรื่องความไม่เที่ยงของชีวิต พูดถึงความตาย ต่อมาได้อ่านหนังสือชื่อ เดอะ ทิเบแทน บุ้ก ออฟ ลิฟวิง แอนด์ดายอิง (The Tibatan Book of Living and Dyiing) ของโซเกียล รินโปเช นักบวชชาวทิเบต โดยหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงภาวะใกล้ตายและก่อนตาย อาตมาได้รับประโยชน์เป็นส่วนตัวในเรื่องนี้อย่างมาก ส่วนคนอ่านก็ได้รับประโยชน์อย่างที่คาดไม่ถึง เช่นการช่วยให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ ให้ความสำคัญกับการปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ช่วยให้เขาปล่อยวางให้หมด
       
    ทางทิเบตเชื่อว่า คนแม้ตายแล้วก็ยังสามารถหลุดพ้นเข้าสู่นิพพานได้ หากได้ฟังธรรมเป็นเครื่องเตือนใจให้ประจักษ์ถึงจิตเดิมแท้ โดยพระไพศาลยกตัวอย่างหลายรายที่คนใกล้ตายซึ่งยังมีความกังวล อาจทุรนทุราย แต่เมื่อมีญาติ หรือคนใกล้ชิดพูดให้สติ ก็ปล่อยวางและสิ้นใจอย่างสงบได้
       
    ความในหนังสืออีกตอนหนึ่งระบุว่า การระลึกถึงความตายนั้นพุทธศาสนาเรียกว่าการเจริญมรณสติ เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำ เพราะคือการพิจารณาหรือเตือนตนให้ระลึกถึงความจริงว่า ความตายต้องเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอน แต่จะเกิดเมื่อไรไม่รู้ อาจเป็นเดือนหน้า พรุ่งนี้  วันนี้ หรือคืนนี้ก็ได้ มีภาษิตทิเบต บอกว่า “ระหว่างชาติหน้ากับพรุ่งนี้ ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะมาก่อน” อาตมาก็ไม่รู้ ทุกท่านก็ไม่รู้ อย่าคิดว่าพรุ่งนี้จะมาก่อนชาติหน้าเสมอไป เพราะสำหรับหลายคนพ้นจากวันนี้ไปแล้วก็เป็นชาติหน้าเลย ไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเขา
       
    สาระจากหนังสือเล่มนี้ ให้ข้อคิดที่ดีสำหรับทุกคนได้ตระหนักว่า จะประมาทกับการดำเนินชีวิตไม่ได้ เพราะเราอาจไม่มีชีวิตอยู่ถึงพรุ่งนี้
       
    แต่สำหรับคนที่มิได้ฝึกศึกษามาก่อน มองความตายเป็นเรื่องน่าเกลียด น่ากลัว ควรหลีกเลี่ยง คงยากจะยอมรับกับเรื่องนี้  ทั้งยังมองได้ว่าจะขัดกับความมุ่งมั่นพัฒนาตนและกิจการเพื่อความก้าวหน้า โดยนัยนี้ เราได้ตั้งประเด็นนมัสการกราบเรียนถาม พระไพศาล ได้คำตอบว่า การเตรียมใจรับมือกับความตาย กับการพัฒนาตนและกิจการ ไปด้วย
    กันได้
       
    ในเรื่องการพัฒนาตนนั้น ถ้าหมายถึงการพัฒนาจิตใจ อันนี้ได้ประโยชน์โดยตรงอยู่แล้วจากการเตรียมใจเผชิญความตาย
       
    พระไพศาลกล่าวว่าหากตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเป็นนิจ ก็จะทำให้ไม่ใช้เวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่จะทำงานด้วยความตั้งใจ เพราะรู้ว่ามีเวลาในโลกนี้จำกัด (ไม่เอาเวลาไปเที่ยวเตร่ สนุกสนาน รวมทั้ง ไม่คิดจะโกงหรือคอร์รัปชั่นเพราะรู้ว่าเป็นบาปที่จะส่งผลต่อตนเอง ทำให้ตายไม่สงบ) ขณะเดียวกันก็จะพยายามทำงานไม่ให้คั่งค้าง เพื่อไม่ให้เป็นห่วงหรือภาระแก่จิตใจ รวมทั้งรู้จักปล่อยวาง เวลาเจออุปสรรคหรือความขัดแย้งระหว่างทำงาน เพราะไม่รู้จะทะเลาะกันไปทำไมเนื่องจากอีกไม่นานก็ต้องตายจากกัน
       
    “การยึดมั่นถือมั่นกับการทำงานและความสำเร็จบ่อยครั้ง กลับบั่นทอนจิตใจและร่างกาย จนเป็นอุปสรรคต่อการทำงานด้วยซ้ำ การเตรียมใจพร้อมรับความตายจะช่วยให้ปล่อยวางได้มากขึ้น ทำให้ทำงานได้อย่างมีความสุข และสามารถประสบความสำเร็จได้ง่าย”
       
    การเตรียมใจรับมือกับวาระสุดท้ายจึงไม่ใช่เรื่องน่าหวาดวิตก
       
    เพราะนี่คือการพัฒนาจิตใจให้บรรลุความดีอีกขั้น.

    อุเปกชินทรีย์


    • Update : 24/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch