หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    รากฐาน สังคมพุทธ

    รากฐาน สังคมพุทธ

    วิถีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์เทสก์ เกสรังสี
    เสถียร จันทิมาธร



    หากไม่เข้าใจต่อรายละเอียดอันปรากฏผ่าน ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา จะไม่เข้าใจหรอกว่าทำไม สามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง จึงมากด้วยความสะเทือนใจ

    นี่มิได้เป็นเรื่องของ อารมณ์ อ่อนไหว ล้วนๆ

    นี่เป็นเรื่องอันสัมพันธ์กับเรื่องราวของโลก เรื่องราวของมนุษย์ วิถีดำเนินแห่งภพภูมิต่างๆ และรวมถึงวิถีดำเนินของมนุษย์

    ความจริง ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สัมพันธ์กับ เตภูมิกถา

    ดังที่ ประคอง นิมมานเหมินทร์ กล่าวว่า เนื้อหาของ เตภูมิกถา สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญทางพุทธศาสนาที่เผยแผ่ในสังคมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดในเรื่องเกี่ยวกับโลกและจักรวาล

    แนวคิดเรื่องไตรลักษณ์ หรือลักษณะสามัญของโลก 3 ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

    และแนวคิดเกี่ยวกับผู้ปกครองที่ดี

    นอกจากเป็นเรื่องสำคัญในทางพุทธศาสนาแล้ว อิทธิพลของ เตภูมิกถา ยังส่งผลสะเทือนทั้งในทางวรรณคดี ในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม อันดำรงอยู่ในสังคมอย่างลึกซึ้งและยาวนานอย่างยิ่ง

    เตภูมิกถา เป็นอย่างนี้ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ก็เป็นอย่างนี้

    วิพุธ โสภวงศ์ ช่วยให้การเดินทางไปทำความเข้าใจต่อ ไตรภูมิโลกวินิจฉย กถา มีความรวบรัดมากยิ่งขึ้น

    จากการสรุปว่า เนื้อความของ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา แบ่งออกเป็น 4 ภาค

    โอกาสวินาสโลกกถา 1 โอกาสสัณฐาหนโลกกถา 1 นิริยโลกกถา 1 เปตโลกกถา 1 ติรัจฉานโลกกถา 1 เทวโลกกถา 1 พรหมโลกกถา 1

    นี่ย่อมเป็นเรื่องราวของโลกและจักรวาลโดยแท้

    โอกาสวินาสโลกกถา ว่าด้วยความพินาศของโลกซึ่งเกิดจากไฟเรียกว่า เพลิงประลัยกัลป์เกิดจากน้ำเรียกว่า น้ำประลัยกัลป์ เกิดจากลมเรียกว่า ลมประลัยกัลป์ ชี้ให้เห็นความไม่แน่นอนของสรรพสิ่ง

    โลกและจักรวาลล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งอนิจจัง

    จากนั้นก็พรรณนาถึง ว่าด้วยกำเนิดของโลก กำเนิดมนุษย์ ประถมกษัตริย์ แผ่นดินและเขาจักรวาล กล่าวไปแล้วก็คือ กำเนิดสังคม

    จากนั้น ล้วนเป็นวิถีอันสัมพันธ์ระหว่าง นรก เปรต ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม แล้วก็จบลงด้วยนิพพานกถา

    นี่ย่อมตรึงตราในความรู้สึกของสามเณรวัย 18 อย่างลึกซึ้ง

    ถามว่าเหตุปัจจัยทำให้ สามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง มีความประทับจิต ฝังจำกับ ไตรภูมิวินิจฉยกถา มากมายและยาวนานถึงเพียงนี้

    คำตอบ 1 สัมพันธ์กับสังคมไทยอย่างแนบแน่น

    สังคมไทยเป็นสังคมพุทธ แต่ก็มิได้เป็นสังคมพุทธทางสายตรง ตรงกันข้าม เป็นสังคมพุทธอันมีรากฐานมาจากการถือผี

    มีความกลัวบาป เกรงกรรม

    ไม่ว่า เตภูมิกถา ไม่ว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา คือ การนำเสนอภาพเปรียบเทียบอย่างมองเห็นได้

    ไม่เพียงมองเห็นได้ด้วยใจ หากมองเห็นได้จากภาพเขียนตามอารามต่างๆ

    ภาพเปรียบเทียบที่ว่าจะมองอย่างผิวเผินหรือมองอย่างลึกซึ้งล้วนสัมพันธ์กับวัตรปฏิบัติและการครองตนในสังคมทั้งสิ้น

    เป็นภาพเปรียบเทียบ นรก สวรรค์ พรหมโลก

    เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่าง เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวดาและพระพรหมซึ่งแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

    เป็นความแตกต่างจากวัตรปฏิบัติ เป็นความแตกต่างจากการครองตน ดำรงอยู่ในสังคม เป็นความแตกต่างจากสภาพความเป็นจริงจากสัมมาอาชีวะ

    คำตอบ 1 สัมพันธ์กับตัวตนของ สามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้พ้น

    ตัวตนของ สามเณรเทสก์ เรี่ยวแรง เหมือนบัวอันเพิ่งหลุดพ้นมาจากโคลนตม

    การดำรงตนของ เทสก์ เรี่ยวแรง ตลอด 10 กว่าปีในหมู่บ้านสีดา สัมพันธ์กับอารามสัมพันธ์กับพระ แม้จะเคยเฉไฉไปบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของความเชื่อในยุคนั้น

    บริสุทธิ์อย่างยิ่ง จริงใจกับตัวตนของตนอย่างยิ่ง



    • Update : 24/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch