หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล
    ตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล 

    พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    ฝรั่งมาเป็นนักวิชาการ พอจะดูพุทธศาสนา เขามักมีจุดอ่อนอย่างหนึ่ง คือ เขาคุ้นชินมากับศาสนาแบบบังคับความเชื่อในสังคมของเขา ซึ่งเมื่อเห็นคนที่เชื่อปฏิบัติอย่างไร ความเชื่อที่เป็นหลักของศาสนาก็มักจะอย่างนั้น แต่พุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาแบบนั้น (พวกที่ศึกษาเรื่องศาสนาอย่างจริงจัง จึงมักไม่ยอมเรียกพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนา ในความหมายของศัพท์ฝรั่งว่า religion) แต่พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ให้ศึกษาปฏิบัติ คนรู้เข้าใจแค่ไหนอย่างไร ก็เชื่อและปฏิบัติไปแค่นั้น

    เพราะเหตุที่ไม่ได้บังคับความเชื่อที่จะไปปฏิบัติให้แม่นมั่นลงไป และคำสอนที่จะศึกษาก็กว้างขวางมากมาย คนก็ปฏิบัติไปแค่ที่ตัวรู้เข้าใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ ถ้าการศึกษาอ่อน ได้แต่ถือตามฟังตามกันไป ไม่นานเลย ประชาชนก็เชื่อถือปฏิบัติพุทธศาสนาผิดเพี้ยนบ้าง ใช้ธรรมผิดทางผิดที่บ้าง ปฏิบัติไม่ครบชุดบ้าง ฝรั่งมาเห็น ก็จับเอาความเชื่อถือปฏิบัติผิดเพี้ยนพร่องแพร่งของชาวบ้าน มาบอกว่าเป็นพุทธศาสนา ไปอ่านคำสอนก็มากมายนักหนา ไม่สามารถศึกษาให้ทั่วถึง ก็จับเอาบางส่วนบางตอนที่เข้ากันมารับสมอ้าง เรื่องก็มาเป็นอย่างนี้

    คำกล่าวว่าของฝรั่งหรือนักวิชาการแบบที่ว่านั้น จึงมักเป็นการสรุปข้ามขั้นตอน จะได้ประโยชน์ก็ตรงที่เอามาดูคนไทยและสังคมไทย และเราก็เอามาใช้ประกอบในการพัฒนาให้การศึกษาแก่คนไทยได้ด้วย

    ทีนี้ เราก็มาดูคนไทยและสังคมไทย ซึ่งก็เป็นอย่างที่ว่านั้นแหละ เราก็จึงต้องใช้วิธีแยกว่า หนึ่ง ตัวหลักธรรมที่แท้สอนว่าอย่างไร สอง คนไทยที่ว่าเป็นชาวพุทธนี้ เข้าใจหลักธรรมนั้นอย่างไร คือธรรมะที่แท้ไม่ค่อยจะเป็นอย่างที่คนไทยเข้าใจ แล้วในสังคมไทยก็เลยมีแต่ปัญหาเรื่องอย่างนี้อยู่เรื่อย

    ขอแทรกอีกหน่อย วันหนึ่ง โดยบังเอิญได้ยินทางวิทยุ มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ยกเอาธรรมะในพุทธศาสนาขึ้นมาอ้าง บอกว่า นี่นะ พุทธศาสนาสอน อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ก็จึงทำให้คนไทยเอาแต่ตัว ไม่ช่วยกัน มีอะไรก็เป็นเรื่องของตัวเอง คุณก็ช่วยตัวเองไปสิ นี่รายหนึ่งละ

    ทีนี้ต่อมาอีกกี่วันไม่ทราบ ก็โดยบังเอิญได้ยินวิทยุอีกแหละ อีกอาจารย์หนึ่งมาพูดบอกว่า พุทธศาสนานี่สอนให้คนมีเมตตา กรุณา ทำให้คนไทยช่วยเหลือกันมาก คนไทยก็เลยขี้เกียจ ไม่ทำงานทำการ เพราะมัวหวังพึ่งให้คนอื่นเมตตา คอยรอรับเมตตา

    ที่ท่านพูดกันทางวิทยุนั้น ถูกไหม สองท่านนั้นพูดตรงกันข้าม แต่ก็ถูกทั้งนั้นเลย คือคนที่ปฏิบัติผิดอย่างนั้นมีอยู่ แล้วคนที่เอามาพูด ก็ดูถูกตามที่เขาปฏิบัติผิด แต่แล้วทั้งหมดนั้น ทั้งคนปฏิบัติและคนดู ก็มาผิดด้วยกันอีกชั้นหนึ่ง คือมีการศึกษาที่กะพร่องกะแพร่ง รวมตลอดไปถึงคนที่สอนก็กะพร่องกะแพร่ง ไปๆ มาๆ ก็กะพร่องกะแพร่งกันหมดทั้งสังคม เป็นสัญญาณเตือนมานานแล้วว่าควรจะชำระสะสางยกเครื่องสังคมชาวพุทธไทยทั้งหมด

    นี้เป็นเรื่องของการขาดความรู้ความเข้าใจ แล้วปฏิบัติไขว้เขว และมองธรรมะไม่ถูกทิศถูกทาง ไม่ถูกจุดถูกแง่ เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกับปัญหาในชุด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นั่นแหละ ที่แยกเอามาพูดเป็นเสี่ยงๆ และไม่พูดให้ตลอด พูดได้แค่เมตตา กรุณา ไม่ถึงอุเบกขา แล้วอุเบกขาก็เข้าใจผิดอีก ก็ยุ่งนุงนังและเป็นปมเสียหายไปหมด

    ฉะนั้น การที่เขาว่าเขาด่า ถึงจะไม่ใช่หมายความว่าเขาพูดถูกแล้ว แต่ก็ต้องเอามาเป็นเครื่องเตือนตัวเอง ต้องถือว่ามันเป็นตัวกระตุ้น กระตุกเราให้ทำการตรวจสอบสืบค้นให้ชัดเจน

    รู้อะไรก็ต้องเข้าใจทั่วตลอดคมชัด

    จึงจะมีความเข้มแข็งทางปัญญา

    ที่นำพาสังคมให้ก้าวไปได้มั่นคง



    • Update : 24/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch