หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร

    "กรวดน้ำคว่ำขัน" และ "กรวดน้ำคว่ำกะลา" เป็นสำนวนที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ตัดขาดไม่คบหาสมาคมกันต่อไป สำนวนทั้ง ๒ นี้มีที่มาจากการกรวดน้ำ แต่เป็นการกรวดน้ำโดยคว่ำภาชนะที่ใช้ กรวดน้ำคว่ำขัน และกรวดน้ำคว่ำกะลา จึงมีความหมายว่า เลิก หรือ ตัดขาด"

    ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “กรวดน้ำ” หมายถึง การรินน้ำจากภาชนะด้วยความปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ทำไปให้แก่ผู้มีพระคุณ เรียกว่า “ตรวดน้ำ” ก็มี

      กรดน้ำ มีวิธีทำดังนี้ เตรียมภาชนะสำหรับกรวดใส่น้ำสะอาดไว้ เมื่อพระรูปแรกเริ่มอนุโมทนาด้วยบทว่า “ยถา...” ก็เริ่มกรวดน้ำ โดยมือขวาจับภาชนะสำหรับกรวด มือซ้ายประคองรินน้ำใส่ภาชนะที่รองรับ พร้อมทั้งตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รินไปกระทั่งพระรูปแรกว่าจบ เมื่อรูปที่สองรับว่า “สัพพี...” ให้เทน้ำให้หมด แล้วประนมมือรับพรพระต่อไป

     ทั้งนี้มีคำพูดเล่นๆ ว่า “ยถา ให้ผี สัพพี ให้คน” หมายความว่า ตอนที่พระท่านว่า ยถา เป็นการให้กุศลแก่คนตาย ตอนที่ว่า สัพพี เป็นการให้กุศลแก่คนเป็น

     ส่วนคำว่า คว่ำขัน ถือเป็นกริยา ทำให้จบให้สิ้น ให้ความสัมพันธ์ขาดกันไปเหมือนสายน้ำ (อาศัยอาการเทให้หมด ให้มันหมดสิ้นกันไป) คล้ายคลึงแต่แตกต่าง ในขณะที่สำนวน “คว่ำบาตร” ความหมายทางโลกหมายถึง การยุติการติดต่อกันในมิติใดมิติหนึ่ง ส่วนใหญ่การคว่ำบาตรจะใช้ในทางการค้า มักใช้ในระดับการค้าระหว่างประเทศโดยกลไกการคว่ำบาตรอาจจะมีทั้งการไม่ยอมขายสินค้า หรือบริการให้ประเทศคู่ค้า หรือไม่ซื้อสินค้า หรือบริการจากประเทศคู่ค้า หรืออาจจะทั้งสองกรณีก็ได้

     สำหรับความหมายในทางธรรมนั้น เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า การที่พระสงฆ์พร้อมใจกันทำสังฆกรรมสวดประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้คิดร้ายต่อพระพุทธศาสนา หรือพระสงฆ์เพื่อให้รู้สึกตัว และเข็ดหลาบ วิธีลงโทษคือไม่คบหา ไม่พูดคุยด้วย และไม่รับอาหารบิณฑบาต โดยอาการเหมือนคว่ำบาตรเสีย ไม่ยอมเปิดบาตรรับอาหารจากผู้นั้น

     ในพุทธศาสนาเมื่อมีคำ “คว่ำบาตร” ก็มีคำ “หงายบาตร” คู่กัน นั่นคือเมื่อประกาศ “คว่ำบาตร” ใครแล้ว ต่อมาคนผู้นั้นสำนึกรู้สึกตนกลับมาประพฤติดี คณะสงฆ์จึงประกาศเลิก “คว่ำบาตร” ยอมให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคม

    "พระธรรมกิตติวงศ์"


    • Update : 24/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch