หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จิตสำนึกของสังคมไทย/3
    อาตมภาพจะขอยกตัวอย่างให้ฟังสักนิดหนึ่ง เช่น นักวิชาการของเราไปเรียนเรื่องของรัฐศาสตร์ ในแขนงประวัติศาสตร์การปกครอง ซึ่งฝรั่งเขาก็เรียนมาถึงทางเอเชียด้วย โดยเฉพาะทางด้าน Southeast Asia ซึ่งมีประวัติของการถืออุดมการณ์ทางการเมือง ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา

    ในพระพุทธศาสนามีหลักการปกครองของจักกวัตติ คือพระเจ้าจักรพรรดิ เรื่องอย่างนี้อยู่ในสายวัฒนธรรมของเราเอง ซึ่งเราควรจะรู้ดีกว่าฝรั่ง แต่กลายเป็นจุดอ่อนของเรา ที่เรากลับต้องไปเรียนรู้จากฝรั่ง ซ้ำร้ายเรายังรู้ไม่เท่าเขา และรู้ไม่จริงอีก จนทำให้เกิดความผิดพลาดที่ไม่สมควร

    นักวิชาการของไทยเราไปเห็นบทนิพนธ์ของนักวิชาการฝรั่งเรื่องจักกวัตติหรือจักรพรรดินั้นเข้า แต่ไม่มีความรู้พื้นฐาน ไม่จัดเจนในสายวัฒนธรรมของตัวเอง ก็เข้าใจผิดพลาด

    ฝรั่งเขียนว่า Cakravartin คนไทยเรางง ไม่รู้ว่าฝรั่งเขียนเรื่องอะไร หลักการถ่ายทอดอักษร หรือวิธีเขียนคำบาลีสันสกฤตด้วยอักษรฝรั่งก็ไม่รู้ เลยจับเอามาว่า จักรวาทิน แล้วเราก็เอามาเขียนในตำราของเรา ว่าฝรั่งพูดเรื่อง "จักรวาทิน"

    จักรวาทินคืออะไร ที่จริงเป็นจักรวรรติน ซึ่งก็คือจักกวัตติ หรือพระเจ้าจักรพรรดินั่นเอง แต่ภาษาสันสกฤตเขียน จกฺรวรฺตินฺ ถอดเป็นอักษรโรมันว่า Cakravartin ตรงกับบาลีว่า จกฺกวตฺติ (Cakkavatti)

    เมื่อเราเข้าใจคำพูดไม่ถูกต้อง อ่านเป็นจักรวาทินเสียแล้ว เราอ่านเรื่องที่เขาเขียน ก็เข้าใจไม่ตรงกับเรื่องที่เขาต้องการจะพูด ทำให้เกิดความสับสน

    เราไปเรียนวิชาการรัฐศาสตร์ของฝรั่ง เขาเขียนเรื่องอุดมการณ์การปกครองในอดีตของ Southeast Asia เรามัวไปเข้าใจว่าเขาพูดเรื่องจักรวาทิน ก็เลยไม่รู้ว่าเขาพูดเรื่องพระเจ้าจักรพรรดินี่เอง กลายเป็นว่า เรื่องในสายของเราเอง ที่เราควรรู้ดีกว่าฝรั่ง เวลาไปอ่านของฝรั่ง เราควรจะวิเคราะห์และวินิจฉัยเขา และช่วยแก้ไขให้เขาได้ เรากลับรู้ได้ไม่ถึงเขา แถมยังเข้าใจผิดพลาดมาอีกด้วย

    อีกตัวอย่างหนึ่ง ในเวลาที่ฝรั่งเขาจะใช้ภาษาอังกฤษเขียนถ้อยคำในภาษาอื่น เขามีระบบการถ่ายอักษร พร้อมทั้งวิธีการอ่านการออกเสียง เป็นต้น เช่น เมื่อเขียนชื่อคนชาวศรีลังกา คนศรีลังกาก็เขียนตามระบบถ่ายตัวอักษรที่วางไว้

    ภาษาของศรีลังกานั้น มีรากฐานสืบมาจากภาษาบาลีเป็นอันมากทีเดียว ซึ่งก็อยู่ในสายวัฒนธรรมเดียวกับของเราเอง ซึ่งเราควรจะเข้าใจชัดเจนยิ่งกว่าฝรั่ง คนไทยเราไปอ่านชื่อของคนศรีลังกาที่เขียนเป็นภาษาฝรั่ง


    เมื่อเราไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่ได้ศึกษาระบบของเขา
    เราก็อ่านไม่ถูก (และมองเขาไม่ทะลุด้วย)


    เราไปเห็นชื่อประธานาธิบดีศรีลังกาคนก่อน ที่เขาเขียนว่า Jayawardene เราก็อ่านว่า "ชายาวาร์เดเน" ชายาวาร์เดเนอะไรที่ไหนกัน ที่จริงก็คือนายชยวรรธนะ หรือ ชัยวัฒน (ชัยวัฒน์) นั่นเอง แต่เขียนตามสำเนียงของเขา เมื่อเป็นภาษาอังกฤษจะเป็นอย่างนั้น

    อาตมาก็ลองฟังดูว่าที่คนไทยออกเสียง ชายาวาร์เดเน นี้ วิทยุฝรั่ง เช่น V.O.A. และ B.B.C. เขาจะออกเสียงอย่างไร ไปฟังฝรั่งยังออกเสียงใกล้จริงกว่า ฝรั่งออกเสียงว่า ชะยะวาดะนะ ก็ยังใกล้เข้ามา ทำไมฝรั่งออกเสียงได้ดีกว่าคนไทย ก็เพราะคนไทยเราไม่ได้ศึกษาสืบค้นหาความรู้

    ทั้งๆ ที่ว่า ศรีลังกานี้ใกล้เมืองไทยมากกว่าฝรั่ง เราอยู่ในสายวัฒนธรรมเดียวกัน คนศรีลังกานั้นชื่อของเขาส่วนมากก็มาจากพุทธศาสนา นายชัยวัฒนนี้ชื่อก็มาจากภาษาบาลีนี้แหละ

    อีกตัวอย่างหนึ่ง นายกรัฐมนตรีศรีลังกาคนที่แล้ว ที่ถูกสังหารไป เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Premadasa คนไทยเอามาอ่านออกเสียงทางวิทยุ โฆษกบางคนก็ออกว่า "เประมาดาซ่า" ลองดูว่าอะไรหนอ เประมาดาซ่า อ้อ นายเปรมทาสนี่เอง อย่างนี้เป็นต้น

    ที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องของการที่คนไทยเราตื่นความเจริญ แต่ตามความเจริญไม่ถึง ต้องขอพูดอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงได้แต่รูปแบบและเปลือกนอกมา

    แม้แต่ในเรื่องที่เราควรจะเหนือและนำเขา เราก็ยังรู้ไม่เท่าไม่ถึงไม่ถูกไม่ทัน ได้แต่งุ่มง่ามงมงำ ถ้าอย่างนี้เราก็จะต้องเป็นผู้ตามเขาแบบเถลไถลไถถาอยู่เรื่อยไป ไม่มีทางจะไปนำเขาได้


    พูดเรื่องเดียวกัน แต่เถียงกันคนละเรื่อง

    เมื่อถึงวาระที่มีการร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่ตั้งกำหนดกันไว้ ก็ปรากฏว่า ได้มีการถกเถียงกันว่า จะให้มีบทบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ในที่สุด ฝ่ายที่ไม่ให้มีบัญญัติก็ชนะคะแนนไป อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว

    ใครชนะคะแนน ใครชนะใจ เป็นอย่างไร ในที่นี้ไม่ขอวิจารณ์ แต่น่าสังเกตว่า ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น ดูท่าว่าได้มีความเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน และไม่ได้ตกลงกันให้คำจำกัดความเสียด้วยว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" มีความหมายว่าอย่างไร

    เมื่อเป็นอย่างนี้ จะถือว่าเป็นเรื่องน่าขำ หรือจะว่าน่าห่วงใยก็ได้ เพราะมันกลายเป็นว่า คนที่มาประชุมกันนั้น พูดเรื่องเดียวกันแต่เถียงกันคนละเรื่อง แล้วจะไปได้เรื่อง ได้อย่างไร

    ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น นอกจากเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกันแล้ว ความหมายที่แต่ละฝ่ายเข้าใจก็คลุมๆ เครือๆ ไม่ชัดเจนด้วย

    ฝ่ายชาวพุทธผู้เห็นควรให้มีบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็มองความหมายไปตามความคิดความเข้าใจของตน ตามแนวทางของวัฒนธรรมประเพณี

    บ้างก็มองแค่ว่า ไหนๆ พระพุทธศาสนาเท่าที่ตนมองเห็นก็เป็นศาสนาประจำชาติไทยโดยพฤตินัยอยู่แล้ว ก็ขอให้มีชื่อปรากฏในกฎหมายโดยนิตินัยด้วย

    บ้างก็มองว่า ให้มีการบัญญัติอย่างนั้น เพื่อว่ารัฐและสังคมจะได้เอาจริงเอาจังในการอุปถัมภ์บำรุง เป็นต้น

    ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น นอกจากเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกันแล้ว ความหมายที่แต่ละฝ่ายเข้าใจก็คลุมๆ เครือๆ ไม่ชัดเจนด้วย

    ฝ่ายชาวพุทธผู้เห็นควรให้มีบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็มองความหมายไปตามความคิดความเข้าใจของตน ตามแนวทางของวัฒนธรรมประเพณี

    บ้างก็มองแค่ว่า ไหนๆ พระพุทธศาสนาเท่าที่ตนมองเห็นก็เป็นศาสนาประจำชาติไทยโดยพฤตินัยอยู่แล้ว ก็ขอให้มีชื่อปรากฏในกฎหมายโดยนิตินัยด้วย

    บ้างก็มองว่า ให้มีการบัญญัติอย่างนั้น เพื่อว่ารัฐและสังคมจะได้เอาจริงเอาจังในการอุปถัมภ์บำรุง เป็นต้น

    จะมองแค่ไหนและอย่างไรก็ตาม ชาวพุทธเหล่านั้นก็มองไปแค่ในขอบเขตของวัฒนธรรมและหลักพระพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมา ที่ว่าทางฝ่ายพระศาสนาโดยเฉพาะพระสงฆ์ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง อาณาจักรก็มีหน้าที่อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และพุทธจักรก็มีหน้าที่สั่งสอนประชาชนตั้งแต่ผู้ปกครองรัฐลงมา

    ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่คัดค้าน ซึ่งโดยมากเป็นคนที่เรียกว่าสมัยใหม่ จบการศึกษามาจากเมืองฝรั่ง ก็มองความหมายของ "ศาสนาประจำชาติ" ในเชิงที่ว่าทางฝ่ายศาสนาจะมีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่อกิจการของรัฐอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ชัดไม่เจนว่าจะมีอำนาจหรืออิทธิพลแค่ไหนอย่างไร เพราะตนเองก็ไม่รู้ชัดอีกเหมือนกันในเรื่องของฝรั่งนั้น ตลอดจนในเรื่องของศาสนาอื่นและสังคมอื่น

    เรื่องนี้ควรจะถือเป็นบทเรียนสำหรับการปฏิบัติต่อไปภายภาคหน้า เพราะมีเค้าว่าจะมีการถกเถียงกันในเรื่องนี้อีก ซึ่งไม่ควรจะวกวนกันอยู่อย่างเก่า แต่ควรจะพูดกันให้ชัดเสียที ตั้งแต่จำกัดความหมายให้เข้าใจตรงกัน แล้วจึงเถียงกันว่าจะเอาหรือไม่เอา

    อย่างที่บอกแล้วว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ในความหมายของคนไทยชาวบ้านหรือชาวพุทธ มองแค่เป็นความยอมรับสนับสนุนและสัมพันธ์กันเชิงสั่งสอนแนะนำและอุปถัมภ์บำรุง อย่างที่เรารู้สึกกันในเมืองไทย จนจำติดใจกันสืบมาว่าพระสงฆ์เป็นผู้สละบ้านเรือนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง

    กิจการศาสนาในความหมายแบบของเราจะเกี่ยวข้องกับชาวบ้านและกิจการบ้านเมืองก็เพียงในการสั่งสอนแสดงหลักการในการบริหารการปกครอง

    แต่หันไปดูทางด้านตะวันตกเลยจากเราไป และในสังคมแบบอื่น เขาไม่ได้มองอย่างนี้เลย

    ในความหมายของสังคมแบบอื่น กิจการศาสนาของเขารวมไปหมด ทั้งการจัดกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนการจัดการเศรษฐกิจ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง

    อย่างที่บอกแล้วว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ในความหมายของคนไทยชาวบ้านหรือชาวพุทธ มองแค่เป็นความยอมรับสนับสนุนและสัมพันธ์กันเชิงสั่งสอนแนะนำและอุปถัมภ์บำรุง อย่างที่เรารู้สึกกันในเมืองไทย จนจำติดใจกันสืบมาว่าพระสงฆ์เป็นผู้สละบ้านเรือนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง

    กิจการศาสนาในความหมายแบบของเรา จะเกี่ยวข้องกับชาวบ้านและกิจการบ้านเมืองก็เพียงในการสั่งสอนแสดงหลักการในการบริหารการปกครอง

    แต่หันไปดูทางด้านตะวันตกเลยจากเราไป และในสังคมแบบอื่น เขาไม่ได้มองอย่างนี้เลย

    ในความหมายของสังคมแบบอื่น กิจการศาสนาของเขารวมไปหมด ทั้งการจัดกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนการจัดการเศรษฐกิจ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง

    ฝรั่งมีคำแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาในหลักการที่เรียกว่า Church and State หรือศาสนจักรกับอาณาจักร เพื่อรวบรัด ลองดูความหมายที่เขียนไว้ในสารานุกรมของฝรั่งฉบับหนึ่ง (Compton"s Interactive Encyclopedia, 2000) ขอยกคำของเขามาให้ดูเลยว่า (เพียงยกมาเป็นตัวอย่าง ข้อมูลในเรื่องนี้ยังมีที่น่ารู้อีกมาก)

    The name given to the issue--church and state--is misleading, however: Church implies Christianity in one or more of its many denominations.

    The issue is really between religion and politics. Which shall be the controlling force in a state?

    อย่างไรก็ดี ชื่อที่ใช้เรียกประเด็นนี้ว่า "ศาสนจักร กับ อาณาจักร" นั้น ชวนให้เข้าใจผิด คือ ศาสนจักรเล็งไปที่ศาสนาคริสต์ อันหลากหลายนิกาย นิกายหนึ่งหรือหลายนิกาย

    แท้จริงนั้น ประเด็นของเรื่องอยู่ที่ว่า ระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายการเมือง ฝ่ายไหนจะเป็นตัวกุมอำนาจบงการในรัฐ

    ที่เขาเขียนอย่างนี้ก็เห็นได้ชัดตามประวัติศาสตร์ของอารยธรรมตะวันตก ที่ฝ่ายศาสนจักรกับอาณาจักร ต่างก็มีอำนาจในการบริหารปกครองกิจการบ้านเมือง จนกระทั่งมีการแก่งแย่งช่วงชิงแข่งอำนาจกัน (ให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตกเอาเอง)

    ยิ่งกว่านั้น เมื่อศาสนจักร หรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือแม้แต่นิกายใดนิกายหนึ่ง ขึ้นมาเป็นศาสนาแห่งรัฐ หรือเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ศาสนาอื่นๆ หรือนิกายอื่นๆ ก็จะถูกกีดกันออกไป หรือแม้แต่ถูกบังคับกดขี่ข่มเหง

    ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งให้เข้าใจง่ายๆ

    คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" แบบพุทธ มีความหมายไปได้แค่ว่า รัฐอาจจะตรากฎหมายที่มีบทบัญญัติส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามข้อบัญญัติทางศาสนา (เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติตามหลักศีล 5)

    แต่ "ศาสนาประจำชาติ" แบบตะวันตก/แบบสังคมอื่น หมายความว่า รัฐต้องยกเอาข้อบัญญัติของศาสนา หรือศาสนบัญญัติ ขึ้นมาใช้เป็นกฎหมายบังคับแก่ประชาชน

    หรือให้องค์กรศาสนามีอำนาจตรากฎหมายของบ้านเมือง


    • Update : 15/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch