หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    รากที่มาบิดา มารดา

    รากที่มาบิดา มารดา (2)

    วิถีแห่งการปฏิบัติ
    พระอาจารย์เทสก์ เกสรังสี

    คล้ายกับเป็นเรื่องบังเอิญที่ใน พ.ศ.2459 พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เดินรุกขมูลมากับ พระอาจารย์คำ

    เป็นเรื่องบังเอิญให้ต้องมาพบกับ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง ณ บ้านนาสีดา

    กระนั้น ความบังเอิญนี้หากพิจารณาประกอบกับ "สุบินนิมิต" ของ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง ก็จะมองเห็นลักษณะประสานกัน

    บางคนอาจจะมองเห็นว่าเป็นเรื่องของ "พรหมลิขิต"

    นั่นก็คือ ได้มีลิขิตเอาไว้แล้วว่า ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง จักต้องได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

    ขณะเดียวกัน หากศึกษาจากพื้นฐานเดิมอันเหมือนกับเป็นเนื้อนาบุญของ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง ก็จะสามารถทำความเข้าใจได้ในการประสานกลมกลืน ระหว่าง พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม กับ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง

    ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือการมีบทสรุปร่วมกันระหว่าง พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม กับบิดามารดาของ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง

    อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง เมื่อ พ.ศ.2459 เพิ่งอายุ ได้ 14 ปี



    ถึงแม้ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี จะเกิดที่บ้านนาสีดา ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2445

    แต่รากฐานความเป็นมาของบิดา และมารดา ก็มากด้วยความซับซ้อน

    บิดา นายอุส่าห์ เรี่ยวแรง มีภูมิลำเนาเดิมอยู่บนที่สูง อ.ด่านซ้าย จ.เลย ได้อพยพหนีความอดอยากแร้นแค้นลงสู่ที่ลุ่ม

    เป็นการอพยพผ่านภูเขาสูงๆ เช่น ภูฟ้า ภูหลวง และป่าดงทึบมาเป็นลำดับ ผู้มีช้างมีต่างเป็นพาหนะก็ค่อยยังชั่ว ผู้ไม่มีอะไรนั้นใช้บ่า แรงของใครของมันเป็นพาหนะหาบหาม กว่าจะมาลงหลักปักฐานที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ก็ต้องผ่านมาทางหนองคาย

    มารดา นางครั่ง เป็นชาวพวนซึ่งทัพไทยกวาดต้อนจากลาวในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ปล่อยทิ้งไว้ที่ จ.อุตรดิตถ์ จึงได้ตั้งรกรากที่เมืองฝาง อ.ลับแล

    ต่อมา อพยพจากอุตรดิตถ์ มาอยู่ที่ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดร ธานี

    พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เล่าว่า "ภายหลังจึงได้มาพบเนื้อคู่โยมผู้ชาย รักและแต่งงานอยู่กินร่วมกันตั้งหลักฐานลง ณ บ้านนาสีดา จนมีบุตรร่วมกัน"

    บุตรคนที่ 9 คือ เทสก์ เรี่ยวแรง

    รากที่มาของ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง จึงประสานระหว่างชนชาติบนที่สูงจากลาวพวนอันถูกกวาดต้อนมาจากฝั่งลาว

    เป็นรากของชาวไทอพยพ เป็นรากของคนพื้นถิ่นในลุ่มแม่น้ำโขง



    หากมองจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพหนึ่งของบรรพบุรุษ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง คือ อาชีพทำนา

    เสร็จจากการทำนา คือ การต้มน้ำอ้อย

    "ตอนบ่ายของทุกวันจะต้องเข้าสวนอ้อยตัดให้พอแก่การที่จะต้มในวันรุ่งขึ้น" พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เล่า

    "เมื่อตัดแล้วก็ต้องแบกขน ผู้มีเกวียนก็ใช้เกวียนเป็นพาหนะขนมาไว้ในโรงต้มอ้อย ตื่นเช้ามืดต้องออกไปหีบอ้อยจนกว่าจะแล้วเสร็จก็สายครันทีเดียว ถ้าคนไม่พอสายมากก็ต้องแบ่งกันมาทำอาหารไว้ท่า เสร็จจากหีบอ้อยก็รวมกันรับประทานอาหารแล้วต่างก็แยกไปทำงานตามหน้าที่ของตน"

    เด่นชัดยิ่งกว่า โรงหีบอ้อย เป็นการทำงานร่วมกัน เป็นการทำงานรวมหมู่ ช่วยเหลือกันอย่างมีสันถวมิตรสนิทสนมภายในหมู่บ้าน

    ความสนิทสนมและทำงานร่วมกันเช่นนี้มิได้จำกัดกรอบเพียงที่โรงหีบอ้อย

    หากที่สำคัญเป็นอย่างมากก็คือ การร่วมกันในเรื่องพระศาสนา การร่วมกันในการทะนุบำรุงวัดวาอาราม

    วัดบ้านนาสีดา ด้านหนึ่ง เป็นที่ประกอบการในทางศาสนาของชาวบ้าน ขณะเดียวกัน ด้านหนึ่งก็เป็นโรงเรียน

    เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ด.ช.เทสก์ เรี่ยวแรง ก็เริ่มเรียนหนังสือ



    การเรียนหนังสืออาจมิได้เป็นจุดเด่นนักสำหรับ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี แต่ก็สมควรสนใจ

    สนใจว่าเด็กในชนบทไกลปืนเที่ยงยุคนั้นเรียนหนังสืออย่างไร สนใจว่ารากฐานความเป็นมาทางการศึกษาของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เป็นอย่างไร

    ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ สายสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชาวบ้าน



    • Update : 14/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch