หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    คำวัด - ฉัน - หอฉัน

    คำวัด - ฉัน - หอฉัน

        พุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยคิดว่า ภิกษุจะฉันได้แค่ก่อน เวลาเพล หรือก่อนเที่ยงวันเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ในพระวินัยปิฎก หมวด มหาวรรค บทที่ ๖. เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔) กล่าวไว้ว่า

       กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ

     ๑. ยาวกาลิก  รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้นเช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ

     ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต

     ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ ๑.สัปปิ หมายถึง เนยใส ๒.นวนีตะ หมายถึง เนยข้น ๓.เตละ หมายถึง น้ำมัน ๔.มธุ หมายถึง น้ำผึ้ง และ ๕.ผาณิต หมายถึง น้ำอ้อย

     ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา

     ทั้งพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ฉัน” ในคำวัดใช้ใน ๒ ความหมาย คือ

     ๑.ใช้แทนคำว่า กิน และ ดื่ม ของพระภิกษุสามเณร เช่นใช้ว่า “ฉันภัตตาหาร ฉันเช้า ฉันเพล” หรือ “ฉันน้ำปานะ ฉันน้ำส้ม”

     ๒.ใช้แทนตัวเองเมื่อพระภิกษุสามเณรพูดกับชาวบ้านที่คุ้นเคยกัน หรือ ไม่เป็นทางการ คือ ใช้แทนคำว่า อาตมา หรือ อาตมภาพ ซึ่งเป็นภาษาเขียน และค่อนข้างเป็นทางการ เช่นใช้ว่า "วันนี้ฉันไม่ว่าง ขอไปวันอื่นก็แล้วกัน" หรือ "ฉันขอร้องโยมละ ค่อยๆ พูดกันก็ได้"

     ฉัน ในความหมายหลังนี้ มาจากคำเต็มว่า ดีฉัน ซึ่งเป็นคำที่ผู้ชายพูดแทนตัวเองในสมัยก่อน ปัจจุบันคำว่า ดีฉัน ไม่นิยมใช้กันแล้ว ใช้ว่า ฉัน เฉยๆ

     ส่วนคำว่า “หอฉัน” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า อาคารหรือศาลาที่สร้างไว้สำหรับเป็นที่ฉันอาหารของพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า โรงฉัน หรือ ศาลาหอฉันก็ได้

     หอฉัน ปกติจะเป็นศาลาโถงที่โปร่งไม่อับทึบ มองเห็นได้ทุกทิศทุกทาง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นิยมสร้างเป็นสัดส่วนไว้ท่ามกลางวัด หรือ ท่ามกลางหมู่กุฏิหมู่ ใช้เป็นที่ฉันรวมกันของภิกษุสามเณรทั้งวัด หรือเฉพาะในแต่ละคณะสำหรับวัดที่มีหลายคณะ

     หอฉัน คำเดิมใช้ว่า อุปัฏฐานศาลา หมายถึง ศาลาเป็นอุปัฏฐากพระ  และ อาสนศาลา หมายถึง ศาลาสำรับนั่งฉัน

    "พระธรรมกิตติวงศ์"

     


    • Update : 12/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch