หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ท่องเที่ยวเชิงธรรมะ
    ท่องเที่ยวเชิงธรรมะ

    คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา


    "วัด" นอกจากจะเป็นศาสนสถานแล้ว ยังนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สะท้อนอารยธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น อันเป็นแหล่งรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ การศึกษา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม

    รวมทั้งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชนและการตั้งถิ่นฐานของชุมชนด้วย

    ศิลปะสำคัญที่น่าศึกษาเรียนรู้ภายในวัดโดยทั่วไป ได้แก่ ศิลปะทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม

    สำหรับประติมากรรม ที่พบเห็นโดยทั่วไปจะมี 3 ลักษณะ คือ รูปลอยตัว ที่สามารถมองเห็นได้รอบด้านในลักษณะสามมิติ เช่น พระพุทธรูป รูปปั้นยักษ์ ตุ๊กตาจีน ส่วนรูปนูนต่ำรูปนูนสูง คือ รูปที่นูนออกมาค่อนข้างสูงจนเกือบลอยตัว แต่จะยังติดอยู่กับพื้นหลังของตำแหน่งที่ก่อสร้างอยู่ เช่น รูปปั้นตามกำแพง ลายจำหลักหน้าบันรูปต่างๆ เป็นต้น จะมีพื้นหลัง หรือ พื้นล่างรองรับ ส่วนรูปจะนูนออกมาตามสัดส่วนแต่ไม่มาก เช่น บัวหัวเสา พนักธรรมาสน์

    ในส่วนของจิตรกรรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพที่เขียนอยู่ที่ฝาผนังโบสถ์ วิหาร บานประตู หน้าต่าง ศาลาการเปรียญ ตามคติความเชื่อ เช่น พุทธประวัติและชาดกต่างๆ ภาพทวารบาลผู้รักษาทางเข้าออก หรือเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น

    นอกจากภาพวาดที่มีเนื้อหาสาระแล้ว กรรมวิธีในการวาดภาพก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

    ในหนังสือ วัดกับชีวิตไทยของกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวไว้ว่า สีที่นิยมใช้ในสมัยโบราณจะมีลักษณะเฉพาะของที่เรียกว่าเบญจรงค์ เป็นสีฝุ่น 5 สีหลัก คือ แดง เหลือง คราม ขาว ดำ ที่เมื่อนำมาผสมกันแล้วจะได้สีหลายหลากสี ส่วนการรักษาให้ภาพวาดมีความงดงามคงทนมีหลายวิธี แต่ที่นิยม คือ การใช้ทองเข้ามาประกอบกับงานจิตรกรรม โดยการนำแผ่นทองเปลวมาปิดลงบนภาพ หรือการใช้ทองประกอบไปกับการระบายสี

    นอกจากนี้ ยังมีงานประณีตศิลป์ที่เรียกว่า ลายรดน้ำ ซึ่งเป็นการใช้ทองปิดภาพ ตัดเส้นด้วยรักสีดำและสีแดง วิธีนี้ใช้ตกแต่งผนัง บานประตู หน้าต่าง และเครื่องใช้บางชนิด เช่น ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น

    สำหรับงานด้านสถาปัตยกรรม การก่อสร้างอาคารสถานที่ในวัดนั้น หากเป็นวัดทั่วไป ซึ่งประชาชนเป็นผู้สร้างมักเป็นเครื่องไม้ แต่ถ้าเป็นวัดหลวงซึ่งสร้างโดยพระมหากษัตริย์ หรือบุคคลที่มีอำนาจวาสนา หรือมีทรัพย์มาก ก็จะสร้างด้วยไม้และก่ออิฐสอปูนผสมกันไป

    การสอปูน หมายถึงวิธีการใช้ปูนประสานแผ่นอิฐให้ติดกันนั่นเอง ส่วนรูปทรงที่งดงามนั้นก็ขึ้นอยู่กับความนิยมของศิลปะแต่ละสมัย และมีลักษณะเฉพาะตัวที่ได้รับอิทธิพลจากลักษณะของภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ



    • Update : 12/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch