หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เที่ยวทั่วไทย-พระราชวังพญาไท/1
    พระราชวังพญาไท

               ผมเชื่อว่าน้อยท่านที่จะเคยเข้าไปเที่ยวชมภายในพระราชวังพญาไท พอดีพอร้ายพาลไม่รู้จักด้วยซ้ำไปแต่หากบอกว่าโรงพยาบาลพระมงกุฎ บอกอย่างนี้คนรู้จักแยะ เพราะทุกวันนี้โรงพยาบาลพระมงกุฎของทหารบกแห่งนี้รับคนไข้มากมายและคนไข้ ๗๔% ล้วนแต่เป็นประชาชนพลเรือน มีทหารเพียง ๒๖ % โดยประมาณเท่านั้น
               พระราชวังพญาไท เมื่อได้ให้ทหารเข้ามาใช้พื้นที่แล้ว ก็เป็นหน่วยกรมแพทย์ทหารบกซึ่งอยู่ติดกับโรงพยาบาลพระมงกุฎตราบจนกระทั่งกรมแพทย์ทหารบกได้ย้ายออกไปอยู่ ณ สถานที่ตั้งในปัจจุบัน ทางกองทัพบกจึงได้ขออนุมัติจากกรมศิลปากร(เพราะประกาศเป็นโบราณสถานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒) เพื่อบูรณะให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุดบัดนี้การปรับปรุงบูรณะต่าง ๆ เรียกได้ว่าเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว และคงความเป็นพระราชวังไว้มิได้นำมาเป็นสถานที่ราชการเช่นแต่ก่อนอีก และได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ในวันราชการซึ่งผมจะลองพยายามเสนอแนะทางกองทัพบกว่า ให้เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมในวัดหยุดราชการได้หรือไม่ จากเข้าชมฟรีเป็นเก็บค่าเข้าชมสังคนละ ๒๐ บาท แล้วนำเงินจำนวนนี้มาเป็นเบี้ยเลี้ยงแก่เจ้าหน้าที่และวิทยากรซึ่งปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ มีวิทยากรที่เป็นทหารทั้งสิ้น จึงทำงานกับแต่วันราชการและการเป็นวิทยากรของแต่ละท่านก็แบบสมัครเล่น ไม่มีอัตราให้บรรจุแต่ประการใด
               การได้เข้าชมพระราชวังพญาไทนั้นจะคุ้มค่าอย่างยิ่ง เพราะผมเองก็ไม่เคยมีโอกาสได้เข้าชมอย่างใกล้ชิดมาก่อนเลยทั้งๆ ที่ตอนรับราชการก็เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เคยเป็นผู้แทนของกองทัพบกในการไปบำรุงขวัญทหารป่วยซึ่งมีการจัดเลี้ยงอาหารและการแสดงดนตรีหรือการบันเทิงต่าง ๆ เป็นประจำทุกเดือนแต่ทุกครั้งที่ไปก็ได้แต่อยู่บริเวณจัดเลี้ยงคือบริเวณสวนโรมัน ไม่เคยมีโอกาสไปเดินชมภายในพระราชวังและเมื่อก่อนนี้ก็เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการของกรมแพทย์ทหารบกด้วย ไปเดินชมก็ไม่สะดวกและหาความงดงามไม่ได้อย่างเต็มที่ภายในอดีตไม่ปรากฏให้เห็น แต่คราวนี้ผมมีโอกาสได้ไปชมภายในพระราชวัง เพราะทางกรมการแพทย์ทหารบกเชิญประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและคณะไปเยี่ยมกรมแพทย์ทหารบก ผมอยู่ในคณะที่ปรึกษาจึงได้มีโอกาสร่วมขบวนไปด้วยและเมื่อจบภารกิจทางทหารแล้วทางกรมแพทย์ ฯ ก็แบ่งกลุ่มให้หมุนเวียนกันเข้าชมภายในพระราชวังโดยละเอียดโดยมีวิทยากรเป็น พันเอกหญิง นำกลุ่มผมชมพระราชวัง เมื่อชมแล้วก็นึกไม่ถึงเลยว่าจะงดงามมากเช่นนี้และจุดที่สำคัญที่สุดของผมซึ่งคิดว่าเป็นคนเขียนหนังสือคนหนึ่ง ได้มีโอกาสไปเห็นห้องทรงพระอักษรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวณ มุขของพระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งจากห้องนี้ได้ทรงนิพนธ์วรรณคดีและทรงงานเขียนออกไปสู่บรรณกรรมอย่างมากมายแต่น่าเสียดายที่กองทัพบกคงจะไม่มีงบประมาณ จึงมีหนังสือที่นิพนธ์โดยพระองค์ท่านน้อยเกินไปผมเลยถือโอกาสเสียเลยว่าหากท่านผู้ใดมีหนังสือพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่๖ จำนวนมากแล้วหรือไปซื้อหาได้จากศึกษาภัณฑ์จะเป็นที่ราชดำเนิน หรือลาดพร้าวก็พอมีเป็นหนังสือเก่าราคาถูกเพราะขายไม่ดี และพิมพ์ไว้นานแล้ว ช่วยกันซื้อไปบริจาคให้หนังสือเต็มห้องทรงพระอักษรแห่งนี้ได้ก็จะดียิ่ง
               ส่วนจะไปชมได้อย่างไร ติดต่อใครที่ไหนเดี๋ยวผมจะบอกไว้ในตอนท้าย
               ทีนี่มาดูความเป็นมาของพระราชวังพญาไท ซึ่งมักจะเข้าใจกันว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นความจริงแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๔๕๒ หลังการก่อสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ได้มีพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลคฤหมงคล(ขึ้นบ้านใหม่) ในวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๓ และหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จมาประทับที่พระราชวังพญาไท หรือนามพระราชทานว่า "พระตำหนักพญาไทย"บ่อยครั้ง ครั้งสุดท้ายที่เสด็จประพาสตรงกับวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๕๓ ก่อนเสด็จสวรรคตเพียง๑ สัปดาห์เท่านั้น
               วังพญาไท ตั้งอยู่ริมคลองสามเสนต่อกับทุ่งพญาไทเมื่อแรกสร้างวังนี้ที่ดินบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิทั้งหมดรวมทั้งส่วนที่เป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎ มหาวิทยาลัยแพทย์ทหาร ฯ "เป็นท้องทุ่ง"และสวนมีคลองสามเสนไหลผ่าน ที่ว่างบริเวณนี้มีอาณาเขตติดต่อกับทุ่งพญาไท ในสมัยรัชกาลที่๕ มีการสร้างพระราชวังดุสิตและจัดถนนเพิ่มอีกหลายสาย สายหนึ่งที่ตัดเข้ามายังบริเวณสวนนี้คือถนนซังฮี้ หรือถนนราชวิถี ("ซังฮี"เป็นคำมงคลของจีน มีความหมายว่า "ยินดีอย่างยิ่ง") รัชกาลที่ ๕  จึงโปรดให้ซื้อที่ดินที่เป็นสวนผักตอนหนึ่งที่เป็นทุ่งนาอีกตอนหนึ่งเป็นพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่เศษ แล้วโปรดให้สร้างพระตำหนักเพื่อเสด็จประพาสทรงพระราชทานนามว่า "พระตำหนักพญาไท" แต่ชาวบ้านเรียกขานกันต่อมาว่า "วังพญาไท"
               ที่ตำหนักพญาไท รัชกาลที่ ๕ โปรดใช้เป็นที่ทดลองปลูกธัญพืชต่าง ๆ มีการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นที่วังนี้เมื่อถึงฤดูทำนา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงนำเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จลงดำนาด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นการประเดิมชัยในการเกษตรกรรมของประเทศในแต่ละปีล้อมรอบพระราชวังคือทุ่งนา หากยืนที่พระที่นั่งพิมานจักรีมองออกไปทางด้านนาจะเห็นภาพงามตามธรรมชาติคือทุ่งนาผมเกิดไม่ทันเห็นภาพนี้ทั้งหมดแต่ยังทันเห็นในวัยเด็ก ว่าแถวทางด้านตะวันออกของสถานีรถไฟสามเสนยังเป็นสวนฝรั่งอยู่
               โรงเรือนหลังแรกที่รัชกาลที่ ๕  โปรดให้สร้างขึ้นคือ "โรงนา" และพระราชทานนามว่า"โรงนาหลวงคลองพญาไท"
               เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้วเป็นผลให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีทรงพระประชวร พระอนามัยทรุดโทรมลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้กราบบังคมทูลให้แปรพระราชฐาน จากในพระบรมมหาราชวังมาประทับที่วังพญาไทเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้ทรงสำราญและเพื่อความสะดวกของแพทย์ ที่จะถวายการรักษาตลอดจนพระประยูรญาติจะได้เข้าเยี่ยมได้โดยง่าย
               เมื่อเสด็จมาประทับนั้นปรากฎว่ามีผู้ติดตามมาอยู่ในพระราชสำนักของสมเด็จพระพันปีหลวงวังพญาไทเป็นจำนวนร่วม ๕๐๐ คน มีทั้งพระประยูรญาติที่ใกล้ชิด ข้าหลวง โขลน จ่า ข้าราชบริพารน้อยใหญ่ซึ่งทุกคนจะได้รับเบี้ยหวัดเงินเดือน เงินปี ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ตลอดจนเครื่องนุ่งห่มอย่างอุดมสมบูรณ์ตามสมควรแก่ฐานะโดยทั่วถึง
               พ.ศ.๒๔๖๒ หลังจากที่สมเด็จ ฯ ประทับอยู่เป็นเวลาร่วม ๑๐ ปี ก็สวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระราชดำริที่จะสร้างพระราชมณเฑียรสถานขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ประทับในวังพญาไทและได้โปรดเกล้าให้ยกวังพญาไทเป็นพระราชวังพญาไทเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี
               เมื่อทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชมณเฑียรสถานขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประทับจึงโปรดให้รื้อย้ายพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไปปลูกสร้างเป็นหอเรียนวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงท้องพระโรงหน้า ซึ่งโปรดให้สร้างถวายสมเด็จพระบรมราชชนนีในตอนต้นรัชกาลเพียงองค์เดียวและระหว่างที่กำลังก่อสร้างพระราชมณเฑียรสถานอยู่นั้น ได้สร้างพระตำหนักอุดมวนาภรณ์หรือที่ได้พระราชทานนามใหม่ในภายหลังว่า พระตำหนักเมขลารูจีเป็นที่ประทับ ซึ่งต่อมาเมื่อพระตำหนักต่าง ๆ สมบูรณ์แล้ว ตำหนักน้อยเมขลารูจีที่อยู่ริมคลองสามเสนนี้ก็เป็นที่ทรงเครื่องใหญ่(ตัดผม)
               การก่อสร้างพระราชมณเฑียรสถานขึ้นแทนที่พระตำหนักเดิมนั้น ได้สร้างเป็นหมู่พระที่นั่ง๓ องค์ พระที่นั่งเดิมคงเหลือ พระที่นั่งประธานองค์เดียว คือ พิมานจักรีบริเวณหลังพระที่นั่ง ๓ องค์ คือ พระราชอุทยานซึ่งจัดเป็นสวนรูปแบบเรขาคณิตตามแบบสถาปัตยกรรมอิตาเลียน สมัย "เรอเนสซองค์" แต่เรียกกันว่า "สวนโรมัน"
               โปรดให้ย้าย "ดุสิตธานี" เมืองจำลอง ที่ทรงมีเจตนาสร้างขึ้นเพื่อฝึกหัดสั่งสอนวิธีการปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลตามรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ณ พระราชวังดุสิตมายังพระราชวังพญาไทเป็นการถาวร
               บทพระราชนิพนธ์ทางวรรณคดีอันทรงคุณค่า ทั้งเนื้อหาและวรรณศิลปหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่อง"มัทนะพาธา" ตำนานแห่งดอกกุหลาบก็ได้นิมิตขึ้นมาจากพระราชวังแห่งนี้
               พ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สนองพระราชดำริของรัชกาลที่๖ ซึ่งได้เคยมีพระราชปรารภเป็นการส่วนพระองค์กับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธินผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ว่าพระราชวังพญาไทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่โต มีบริเวณกว้างขวางสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในการบำรุงรักษา หากปรับปรุงให้เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งซึ่งเมืองไทยยังไม่มีเลยก็จะอำนวยความสะดวกให้แก่ชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมเยียน และติดต่อธุรกิจในประเทศสยามและยังนำค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารวมไว้ในงบของโรงแรมได้ด้วย แต่ไม่ทันดำเนินการตามพระราชดำริก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบสนองจากองค์สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชแล้วจึงโปรดเกล้าให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงพระราชวังพญาไท เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งชื่อ"PHYA THAI PALACE HOTEL" และได้เสด็จมาเปิด "โฮเต็ลพญาไท"เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘
               โฮเต็ลพญาไทจัดว่าเป็นโรงแรมที่หรูหรา และได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมที่สุดในภาคตะวันออกไกลมีวงดนตรีสากลชนิดออเคสตร้า มีนักดนตรีประมาณ ๒๐ คน คัดมาจากวงดนตรีของกองดุริยางค์ทหารบกและดนตรีวงนี้จะบรรเลงให้ลีลาศกันในวันสุดสัปดาห์ สลับกับการแสดงโชว์กับคณะนักร้องจากยุโรปและเมื่อหลวงสุขุมนับประดิษฐ์ จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาก็ได้นำวงดนตรีแจ๊สเข้ามาบรรเลงที่โฮเต็ลแห่งนี้
               โฮเต็ลพญาไทได้รับเกียรติเป็นสถานที่จัดประชุมก่อตั้งสโมสรโรตารี่กรุงเทพฯ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๗๓ และในปีเดียวกันนั้นเองพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ทรงเปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงจาก "สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ที่พญาไท" ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่พระที่นั่งไวกูณฑเทพยสถานในบริเวณโฮเต็ลพญาไท โดยได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัสตอบ เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยถ่ายทอดจากท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย มาตามสายแล้วเข้าเครื่องส่งกระจายเสียงสู่ประชาชนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓ นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย
               พ.ศ.๒๔๗๕ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน โฮเต็ลพญาไทในเวลานั้นขาดทุนอย่างมากกระทรวงกลาโหมต้องการใช้สถานที่เป็น "กองเสนารักษ์" คณะกรรมการราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงได้มีมติให้เลิกกิจการโฮเต็ลพญาไท พร้อมกับให้ย้ายสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพ ฯ ไปตั้งรวมกับสถานีเครื่องส่งโทรเลขที่ศาลาแดง
               ตุลาคม ๒๔๗๕ กองเสนารักษ์ จังหวัดทหารบกกรุงเทพ ฯ ได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่พระราชวังพญาไทจนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๔๘๓ กองทัพบกได้พัฒนากองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ ๑ เป็นโรงพยาบาลทหารบกใช้พื้นที่ภายในเขตพระราชฐานทั้งหมด
               เนื่องจากพระราชวังพญาไท เคยเป็นพระราชฐานที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของพระองค์ท่าน กองทัพบกจึงขอพระราชทานนามโรงพยาบาลทหารบกเป็น"โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า"ซึ่งได้ประกอบพิธีเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคต(เสด็จสวรรคต กลางคืนวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๖ เวลา ๐๑.๔๕ ซึ่งความจริงนับเป็นวันที่๒๖ แล้ว และ พ.ศ. ก็เช่นกันต้องทราบว่าเวลานั้นถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่)
               ต่อมาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้สร้างอาคารใหม่และย้ายไปอยู่อาคารใหม่ ส่วนกรมแพทย์ทหารบกยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ของพระราชวังจนกระทั่งปีพ.ศ.๒๕๓๒
    จึงย้ายไปอยู่ที่บริเวณถนนพญาไทเขตราชเทวี และปรับปรุงพระราชวังพญาไทจนงดงามเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับประชาชนให้เข้าชม
               ผมคงต้องขอต่อในรายละเอียดของพระราชวังแห่งนี้อีกสักตอน เพราะแม้แต่ตัวผมเองซึ่งท่องเที่ยวไปทั่ว
    ยังมีโอกาสได้มาเห็นพระราชวังแห่งนี้โดยละเอียดก็เมื่อายุใกล้ร้อยเต็มทีหากท่านไปชมโปรดติดต่อ สำนักงานชมรมคนรักวัง ฯ พระที่นั่งพิมานจักรี ชั้น๒ พระราชวังพญาไท
    เลขที่๓๑๕ ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ ๑๐๔๐๐ โทร ๐๒ ๒๔๕ ๙๗๗๐ และ ๐๒ ๒๔๖ ๑๖๗๑- ๙ ต่อ ๙๓๖๙๔
               ก่อนที่ไปอ่านรายละเอียดของแต่ละพระที่นั่งในตอนที่ ๒ ก็พาไปกินอาหารกันเสียก่อนร้านไชยโรจน์ อยู่ไม่ไกลนักจากพระราชวัง "ร้านนี้ปิดวันอาทิตย์"
    ไปชิมวันเสาร์จะดีที่สุดคนจะได้แน่นน้อยหน่อยวันธรรมดาคนจะแน่น อาหารร้านนี้เลิศ เร็วมาก บริการเยี่ยม ราคาถูก แถมยังมีอาหารประเภทซีเต็กซีตูว์ ด้วย ซึ่งอาหารฝรั่ง
    ครึ่งจีนแบบนี้หากินยากเข้าทุกทีที่ผมรู้จักก็มี มิ่งหลี ฟูมุ่ยกี่ และอาคาเว่
               ถ้าเริ่มต้นจากสี่แยกปฏิพัทธ์ มาตามถนนพระราม ๖ วิ่งเรื่อยมาจนถึงสี่แยกตึกชัยฯ หากเลี้ยวซ้ายก็จะมายังพระราชวังพญาไท และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
    ให้ตรงไปก็จะไปผ่านโรงพยาบาลสงฆ์ให้เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกโรงพยาบาลสงฆ์นี้ตรงเรื่อยไป ผ่านกองพันทหารสารวัตร ผ่านโรงเรียนสันติราษฎร์บำรุงทางขวา
    ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือติดกับศูนย์ทันตกรรมและหากเลยไปนิดหนึ่งคือพญาไท เพลส จอดรถได้แต่ต้องเสียสตางค์ หรือข้ามไปจอดอีกฝั่งหนึ่งคงจะพอแอบๆ
    เข้าจอดได้ของธนาคารทหารไทย
               ร้านขนาด ๒ ห้อง ดูเก่าแก่ ตอนอิ่มแล้วเดินเข้าสุขาจึงเห็นว่ามีป้ายเก่าแก่ใส่กรอบไว้ว่าเชลล์มาชิมเมื่อพ.ศ.๒๕๒๕ คือ เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว
    ต้องบอกอีกทีว่าอาหารอร่อยมากบริการเร็วมาก ราคาถูก ได้กินข้าวสวยร้อน ๆ อาหารร้อน ๆ
               ปลากะพงราดพริกสามรส  ปลาหั่นมาเป็นชิ้นทอดกรอบนอก นุ่มใน เผ็ดนิดเดียว
               สตูว์ลิ้นวัว  ใครกินเนื้อวัวได้ต้องสั่ง เพราะอร่อยสุด ๆ เนื้อนุ่มน้ำเข้มข้น มันฝรั่งเหนียวมีรสซึมเข้าเนื้อ ตักน้ำสตูว์ราดข้าว เหยาะเสียด้วยน้ำปลาพริกข้าวสวยร้อน ๆ
    เข้ากันดีนัก
               ผัดเผ็ดหอยลาย  ผัดกับพริกแกง เอามาคลุกข้าวได้ แกะเนื้อหอยออกจากเปลือกให้แล้วหอมกลิ่นโหระพา
               ซี่โครงหมูอบ  ต้องสั่ง โรยมาด้วยถั่วลันเตา เช่นเดียวกับสตูว์ เพราะยกมาร้อนๆ ราดข้าวสวยร้อน ๆ อย่าบอกใครทีเดียวเป็นเนื้อติดซี่โครง จบแล้วจานนี้ไม่มีอะไรเหลือ
               ต้มยำกุ้ง ใช้กุ้งเล็กเสริฟมาในชามใบโต หอมกลิ่นตะไคร้ ใบมะกรูด ซดชื่นใจ
               ปิดท้ายด้วยไอศกรีมกะทิสด โรยหน้าด้วยข้าวโพด เคี้ยวสนุก


    • Update : 12/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch