หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วิถีแห่ง พระอาจารย์ชา

    วิถีแห่ง พระอาจารย์ชา


    วิถีของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท เป็นวิถีอันควรศึกษา ปัจจัย 1 คือ ปัจจัยแห่งการเกิด ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ต.ธาตุ อ.วาริน ชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2461

    อันเท่ากับเกิดในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 6

    เกิดในตระกูลชาวนา เกิดในชนบทแห่งจังหวัดอุบลราชธานี ห่างไกลอย่างยิ่งจากมหานครกรุงเทพฯ

    ร่ำเรียนเล็กน้อยในทางโลก จากนั้นก็เข้าหนทางแห่งสมณะ

    เริ่มจากบรรพชาเป็นสามเณรระยะหนึ่ง เป้าหมายเป็นการบรรพชาเพื่อการศึกษามากกว่าเพื่อการปฏิบัติธรรม

    จากนั้นก็สึกหาลาพรตเข้ามาเป็นฆราวาส

    ใช้เวลา 4 ปีในชีวิตฆราวาสก็หวนกลับไปอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2482

    ได้รับฉายาว่า "สุภัทโท"

    จาก พ.ศ.2482 จนถึง พ.ศ.2489 ด้านหลักของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท คือการศึกษาในทางปริยัติกระทั่งได้นักธรรมเอก

    แต่ก็เกิดการแปรเปลี่ยนในพ.ศ.2489

    ข้อน่าสนใจเป็นอย่างมากก็คือ แม้จะเป็นคนอันเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กับแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

    แต่ก็ต้องยอมรับว่าอุบลราชธานีอยู่ห่างไกลมหานครกรุงเทพฯ ยิ่ง

    ไม่ว่าจะเป็น ด.ช.ชา ช่วงโชติ ไม่ว่าจะเป็น นายชา ช่วงโชติ เขาไม่ได้รับผลสะเทือนอะไรจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อเดือนมิถุนายน 2475 เลย

    ทุกอย่างว่างเปล่าเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    แม้สถานการณ์สงครามอินโดจีนในพ.ศ.2484 กระทั่งต่อมากลายเป็นสงครามมหาเอเชียบูรพานับแต่พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป

    ก็แทบไม่มีผลสะเทือนอะไร

    ระยะกาลนั้น พระอาจารย์ชา สุภัทโท หมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับการศึกษาในทางปริยัติ แก้ไขปัญหาทางธรรมมากกว่าจะเป็นในทางโลก

    ผลสะเทือนทางโลกเรื่องสงครามไม่ปรากฏให้เห็น

    หรืออาจจะมีบ้าง แต่จากมุมมองของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ปัญหาอาจจะอยู่กับเรื่องในครอบครัวเรื่องภายในอารามมากกว่า

    หลังสงครามในพ.ศ.2489 ก็เป็นการตัดสินใจในอีกเรื่อง เป็นการตัดสินใจทางการปฏิบัติ

    นับแต่เริ่มออกธุดงค์เมื่อต้นปีพ.ศ.2489 เป็นต้นมา กล่าวสำหรับ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ถือได้ว่าวันเวลาแห่งการแสวงหาอาจารย์ แสวงหากัลยาณมิตร ได้เริ่มขึ้นแล้ว

    เป็นการเริ่มต้นในทางธรรม มิได้เป็นการเริ่มต้นในทางโลก

    เป็นการเริ่มต้นในลักษณะเดินหน้า เป็นการเริ่มต้นโดยมิได้ถอยกลับหลัง มีแต่เดินไปข้างหน้า

    ไม่ว่าจะเป็นที่สระบุรี ไม่ว่าจะเป็นที่ลพบุรี

    น่าสนใจก็ตรงที่แม้จะเดินหน้าข้ามดงพระยาเย็นไปยังภาคกลาง แต่ในที่สุดจุดข้างหน้าของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ก็เหมือนกับเป็นการย้อนกลับ

    หากแต่เป็นการย้อนกลับในลักษณะอันเท่ากับเดินไปข้างหน้า

    นั่นก็คือ ย้อนกลับดงพระยาเย็นมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งต้นที่อุบลราชธานีแล้วไปยังนครพนม สกลนคร

    เป้าหมายคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    ความน่าสนใจของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ก็คือ การเข้ากราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นการเข้ากราบนมัสการโดยความเคารพอย่างยิ่ง

    เป็นการฝากตัวเป็นศิษย์

    เป็นศิษย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ด้วยความเคารพ โดยมิได้ขอญัตติใหม่จากมหานิกายเป็นธรรมยุติกนิกาย

    กล่าวสำหรับความเคารพต่อครูบาอาจารย์ของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท น่าศึกษาอย่างยิ่ง

    ท่านมิได้มีแต่เพียง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หากยังมี พระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล และยังมี พระอาจารย์กินรี จันทิโย

    ยิ่งกว่านั้นยังมี พระอาจารย์วัง ซึ่งสถิตอยู่บนยอดภูลังกาแห่งนครพนม



    • Update : 8/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch