หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พิจารณาแล้วทิ้ง

    พิจารณาแล้วทิ้ง

    ทุกอย่างย่อมมีจุดสิ้นสุด ทุกอย่างย่อมมีจุดยุติ กระนั้น ภายในกฎแห่งอนิจจังทำให้จุดสิ้นสุด จุดยุติ สามารถดำเนินไป

    ที่ว่าสิ้นสุดคือการเริ่มต้น ที่ว่ายุติกลับนำไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง

    เป็นเรื่องหนึ่งอันสร้างความเข้าใจอย่างใหม่ เป็นการเริ่มต้นซึ่งมิได้ตัดขาดจากก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง

    มีความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กัน

    ในที่สุด ธรรมเทศนา "กว่าจะเป็นสมณะ" ของ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ก็เข้ามาถึงท่อนสุดท้าย

    เป็นเหมือนบทสรุป

    ความน่าสนใจเป็นอย่างมากก็คือ เป็นบทสรุปอันดำเนินไปอย่างเรียกร้องความรู้แจ้งตามสภาพความเป็นจริง

    เป็นเรื่องที่คล้ายกับง่าย แต่ยากเป็นอย่างยิ่ง

    กระนั้น ความยาก ความง่ายของเรื่องทั้งหมดอัน พระอาจารย์ชา สุภัทโท นำเสนอมาอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน ขึ้นอยู่กับเงื่อนปมเดียวที่พระอาจารย์เน้นย้ำ ซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างไม่รู้จักเหนื่อย

    นั่นก็คือ ต้องผ่านกระบวนการปฏิบัติที่เป็นจริง มีแต่ผ่านกระบวนการปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรับรู้ได้ตามความเป็นจริง

    โปรดอ่าน



    ความสงบของปัญญานั้น เมื่อจิตสงบแล้วไม่กลัวรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ทีนี้ไม่หนี มีกำลังแล้วไม่กลัว

    เมื่อก่อนเรากลัวเขา แต่เดี๋ยวนี้เรารู้แล้วเราไม่กลัว รู้กำลังของเราแล้ว เราไม่กลัว เห็นรูปเราก็พิจารณารูป ได้ยินเสียงก็พิจารณาเสียง

    เราพิจารณาได้ ตั้งตัวได้ ไม่กลัว

    กล้า แม้กระทั่งอาการรูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี เป็นต้น เห็นวันนี้วางวันนี้ อะไรๆ ก็วางได้หมด

    เห็นสุขวางสุข เห็นทุกข์วางทุกข์ เห็นมันที่ไหนวางมันที่นั่น เออ วางที่นั่น ทิ้งที่นั่น เรื่อยๆ ไป มันไม่เป็นอารมณ์อะไรล่ะทีนี้ เอาไว้ที่นั่น

    เราก็มาอยู่บ้านของเรา

    ไปเห็นเราก็ทิ้ง เห็นเราก็ดู ดูแล้วเรา ก็วาง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้หมดราคา ไม่สามารถทำอะไรเราได้

    อันนี้เป็นกำลังวิปัสสนา



    เมื่ออาการเกิดขึ้นมาอย่างนี้เปลี่ยนชื่อว่าเป็นวิปัสสนา รู้แจ้งตามความเป็นจริง นั่น รู้แจ้งตามความเป็นจริง

    อันนี้ความสงบขั้นหนึ่ง สงบของวิปัสสนา

    สงบด้วยสมาธินี่ยาก ยากจริงๆ นะ กลัวมาก ฉะนั้น เมื่อสงบเต็มที่แล้วทำอย่างไร เอามาหัด เอามาฝึก เอามาพิจารณา อย่าไปกลัว อย่าไปติด

    ทำสมาธินี้ไปติดแต่สุขนั่งเฉยๆ ก็ไม่ใช่นะ ถอนออกมา สงครามนั้นท่านว่าไปรบ ไม่ใช่เราไปอยู่ในหลุมเพลาะหลบแต่ลูกกระสุนเขาเท่านั้นหรอก ถึงคราวรบกันจริงๆ เอาปืนยิงกันตูมๆ อยู่ในหลุมเพลาะก็ต้องออกมา

    ถึงเวลาจริงๆ แล้วไม่ให้เข้าไปนอนในหลุมเพลาะรบกัน

    นี่ก็เหมือนกัน ไม่ใช่ให้เอาจิตไปหมอบอยู่อย่างนั้น อันนี้เบื้องแรกมันจะต้องผ่าน มีศีล มีสมาธิ จะต้องหัดค้นตามแบบตามวิธี มันก็ต้องไปอย่างนั้น

    อย่าไปสงสัยมัน มันมีสุขก็ดูสุข มันมีทุกข์ก็ดูทุกข์ ดูแล้วก็พยายามเข่นมันฆ่ามัน ปล่อยมัน วางมัน รู้อารมณ์นั้นปล่อยมันไปเรื่อยๆ มันอยากนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมก็ช่างมัน จะคิดไปก็ช่าง ให้รู้เท่าทันจิตของเรา ถ้าคิดไปมากๆ แล้วเอามารวมกันเสีย

    ตัดบทมันอย่างนี้ว่า สิ่งที่เจ้านึกมานี้เจ้าคิดมานี้เจ้าพรรณนามานี้เป็นสักแต่ว่าความนึกความคิดเฉยๆ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่แน่นอนหมดทุกอย่าง

    ทิ้งมันไว้นั่น



    บทสรุปอันรวบรัดยิ่งจากธรรมเทศนา พระอาจารย์ชา สุภัทโท คือ สัก แต่ว่า

    ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นสุข อย่าไปติดทุกข์ อย่าไปติดสุข ให้พิจารณาบนพื้นฐานแห่งความรู้ ให้พิจารณาบนพื้นฐานของการเข้าไปรับรู้ตามสภาพความ เป็นจริง

    แล้ววาง แล้วทิ้ง



    • Update : 7/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch