หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทหารไทยในสงครามเกาหลี /12
    การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๒

                หน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๒ ยังคงได้รับมอบภารกิจในการบินลำเลียง ระหว่างญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ กับระหว่างสนามบินต่าง ๆ ในญี่ปุ่นทุกสัปดาห์ เช่นเดียวกับชุดที่ ๑ สนามบินบางแห่งในทะเลเหลือง อยู่นอกฝั่งเกาหลีเป็นระยะทางบินประมาณ ๑ ชั่วโมง มีข้อจำกัดในการบินคือต้องบินระยะสูงเพียง ๑๐๐ - ๒๐๐ ฟุตเท่านั้น เพื่อมิให้เรดาร์ข้าศึกจับได้ สนามบินบางแห่งไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการบิน บางแห่งต้องลงบนชายหาดที่มีทรายแข็ง และขึ้นอยู่กับน้ำทะเลขึ้นลง
                ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ สถานีวิทยุกระจายเสียงของกองทัพสหรัฐฯ ภาคตะวันออกไกลได้ออกกระจายเสียง รายงานข่าวการปฏิบัติการของกองกำลังชาติต่าง ๆ ในสงครามเกาหลีเผยแพร่ไปทั่วโลก ได้ประกาศชมเชยการปฏิบัติงานของหน่วยบินลำเลียงไทยว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งการบินลำเลียงทางอากาศ (Airlift) และการบินส่งกลับทางอากาศ (Air Evacuation) จำนวนหลายร้อยเที่ยวบิน นับเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของหน่วยบิน และกองทัพอากาศไทยให้ปรากฏแก่ประชาคมโลก
                นอกจากนี้ผู้บังคับหน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๒ ได้รับเชิญให้ไปพูดออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ในกรุงโตเกียว เกี่ยวกับหน่วยบินลำเลียงของไทย กับได้ส่งเรื่องของหน่วยบินลำเลียง การปฏิบัติงานพร้อมภาพไปลงหนังสือพิมพ์ และวารสารต่าง ๆ เป็นประจำ
                เจ้าหน้าที่หน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๓ ได้เดินทางไปรับหน้าที่เสร็จสิ้นเมื่อเดือน กัยยายน ๒๔๙๖ เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อ ๙ ตุลาคม ๒๔๙๖ รวมระยะเวลาปฏิบัติงาน ๑ ปี ๓ เดือน มีสถิติการปฏิบัติงาน ดังนี้
                จำนวนเที่ยวบิน ๕๘๐ เที่ยวบิน ขนส่งผู้โดยสารทหาร ๑,๓๒๕ คน พลเรือน ๔๒๐ คน น้ำหนักบรรทุก ๑,๗๓๒,๖๐๐ ปอนด์
                หน่วยบินลำเลียงไทยได้รับแพรแถบเชิดชูเกียรติคุณหน่วยของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ จากการที่กองพลบินที่ ๓๑๕ สหรัฐฯ ได้รับเกียรติอันนี้ และได้มีคำสั่งทั่วไปเมื่อ ๖ เมษายน ๒๔๙๗ ยืนยันให้เจ้าหน้าที่หน่วยบินลำเลียงไทย ซึ่งปฏิบัติงานในสงครามเกาหลีในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว มีสิทธิ์ประดับแพรแถบเชิดชูเกียรติในฐานะหน่วยขึ้นสมทบกองพลบินที่ ๓๑๕ สหรัฐฯ
    การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๓
                การเดินทางของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๓ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกจำนวน ๑๖ คน ส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๒ คน การเดินทางวันแรกจะไปพักค้างคืนที่ฐานทัพอากาศสหรัฐฯ คลาร์ก ที่ฟิลิปปินส์ ๑ คืน รุ่งขึ้นจึงเดินทางไปถึงกรุงโตเกียว
                ตั้งแต่เดือน สิงหาคม ๒๔๙๖ เป็นต้นมา การรบในคาบสมุทรเกาหลีสงบลง เนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในความตกลงสงบศึกแล้ว ภารกิจของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๓ จึงลดลงด้วย เหลือเพียงการบินลำเลียงขนส่งทางอากาศเป็นประจำสัปดาห์ละ ๑-๒ เที่ยว ส่วนใหญ่เป็นการบินลำเลียงขนส่งสิ่งอุปกรณ์ และสัมภาระระหว่างญี่ปุ่นกับ เกาหลีใต้ โดยเฉพาะการบินลำเลียงระหว่างฐานบินตาชิกาวา กับสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ บนเกาะเซจู ปลายคาบสมุทรเกาหลี ใช้เวลาเดินทางไป - กลับ ๓ วัน โดยแวะที่ฐานบินอิตาสุเกะ เกาะคิวชิว การบินจากฐานบินตาชิกาวาไปยังฐานบินอิตาสุเกะต้องใช้เวลาเดินทาง ๖ - ๗ ชั่วโมง แล้วบินข้ามทะเลญี่ปุ่นอีกประมาณ ๒ ชั่วโมง
                ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗ ผู้บังคับการกองบินใหญ่ที่ ๓๗๔ สหรัฐฯ ได้มีหนังสือชมเชยผลการปฏิบัติงานของ หน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๓ และมอบธงเชิดชูเกียรติการบินปลอดภัย (Wing Flying Safety Pennent) ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๔๙๗ ให้แก่หน่วยบินลำเลียง
                ๖ มกราคม ๒๔๙๘ กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งให้ถอนทหารบางส่วนกลับประเทศไทย ในส่วนของกองทัพอากาศถอนหน่วยเจ้าหน้าที่พยาบาลทางทหารกลับ ให้เหลือไว้เพียง ๑ ชุด หน่วยบินลำเลียงไม่เปลี่ยนแปลง
    การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๔ - ๑๗

                ชุดที่ ๔  ออกเดินทางจากประเทศไทยเมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๙๗ รับหน้าที่เมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ การปฏิบัติงานคงได้รับมอบภารกิจเช่นเดียวกับชุดก่อน ๆ
                ชุดที่ ๕  รับมอบหน้าที่เมื่อ กลางเดือน ธันวาคม  ๒๔๙๘
                ชุดที่ ๖  รับมอบหน้าที่เมื่อ กลางเดือน ธันวาคม ๒๔๙๙ กองพลบินที่ ๓๑๕ สหรัฐฯ ได้ให้หน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๖ ไปขึ้นสมทบกับฝูงบินปฏิบัติการที่ ๖๔๘๕ กองบินใหญ่ ลำเลียงที่ ๓๗๔ สหรัฐฯ และได้ย้ายที่ทำการของหน่วยบินจากอาคารกองบังคับการกองบินน้อยบริการฐานบินที่ ๓๗๔ สหรัฐฯ ไปอยู่ที่อาคารโรงภาพยนตร์ของฐานบินคาชิการา
                ชุดที่ ๗  รับมอบหน้าที่เมื่อต้นเดือนมกราคม ๒๕๐๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ นี้กองทัพอากาศได้ฝากการบังคับบัญชาหน่วยพยาบาลทางอากาศ ไว้กับหน่วยบินลำเลียง ในเดือนเมษายน ๒๕๐๑ กองทัพอากาศได้รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอระงับการจัดส่งกำลังทางอากาศไปร่วมปฏิบัติงานกับ สหประชาชาติต่อไป กับขอถอนกำลังหน่วยบินลำเลียง และหน่วยพยาบาลทางอากาศกลับในเดือน ธันวาคม ๒๕๐๑ แต่ทางสหรัฐฯ ขอให้อยู่ต่อไป
                ชุดที่ ๘  รับมอบหน้าที่เมื่อต้นเดือน มกราคม ๒๕๐๒ ได้ส่งเครื่องบินเข้าซ่อมใหญ่ (IRAN) ที่เมืองไทนัม บนเกาะไต้หวัน กองทัพอากาศได้พิจารณาการผลัดเปลี่ยนเจ้าหน้าที่หน่วยบินลำเลียงเป็น ชุดละ ๒ ผลัด โดดเริ่มตั้งแต่ชุดที่ ๙ เป็นต้นไป แต่ละชุดห่างกัน ๖ เดือน
                ชุดที่ ๙  ผลัดที่ ๑ รับมอบหน้าที่เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๓ ผลัดที่ ๒ รับมอบหน้าที่เมื่อ มิถุนายน ๒๕๐๓ ต่อมาเพื่อสะดวกและประหยัดแก่การ รับ-ส่ง ทางเครื่องบินของกำลังพลที่ไปผลัดเปลี่ยน จึงได้มีการปรับแผนการผลัดเปลี่ยนใหญ่ตั้งแต่ชุดที่ ๑๐ เป็นต้นไป โดยให้เครื่องบินมาส่ง และรับในวงรอบเดียวกัน
                ชุดที่ ๑๐  ผลัดแรกรับมอบหน้าที่เมื่อ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๐๓ ผลัดที่สองรับมอบหน้าที่เมื่อ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๐๔
                ชุดที่ ๑๑  ผลัดแรกและผลัดที่สอง รับมอบหน้าที่ เมื่อเดือน มกราคม และกรกฎาคม ตามลำดับ
                ชุดที่ ๑๒  ผลัดแรกรับมอบหน้าที่ เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๐๖ ผลัดที่สองเมื่อต้นเดือน ตุลาคม ๒๕๐๖ ในเดือนมีนาคม ๒๕๐๗ กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้กองพลบินที่ ๓๑๕ สหรัฐฯ โอนเครื่องบินลำเลียงแบบ C - ๔๗ ของกองพลจำนวน ๒ เครื่อง ที่ได้รับอนุมัติให้จำหน่ายจากบัญชีคุมแล้ว ให้กับหน่วยบินลำเลียงของไทย โดยแลกเปลี่ยนกับเครื่องบินแบบเดียวกัน ๒ เครื่องของหน่วยบินลำเลียง
                ชุดที่ ๑๓  ผลัดแรกรับมอบหน้าที่เมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗ และผลัดที่ ๒ เมื่อต้นเดือนตุลาคม ๒๕๐๗
                ชุดที่ ๑๔  ผลัดแรกรับมอบหน้าที่เมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ และผลัดที่ ๒ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๐๗
               ชุดที่ ๑๕  ผลัดแรกรับมอบหน้าที่เมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๙ และผลัดที่ ๒  เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๐๘
                ชุดที่ ๑๖  ผลัดแรกรับมอบหน้าที่เมื่อ กลางเดือนเมษายน ๒๕๑๐ และผลัดที่ ๒ เมื่อต้นเดือนตุลาคม ๒๕๑๐
                ชุดที่ ๑๗  ผลัดแรกรับมอบหน้าที่เมื่อ ต้นเดือนเมษายน ๒๕๑๑ และผลัดที่ ๒ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๑
                ทางการสหรัฐฯ ได้ตกลงใจมอบเครื่องบิน C - ๑๒๓ B จำนวน ๒ เครื่องให้แก่กองทัพอากาศไทย โดยให้กองทัพอากาศที่ ๕ สหรัฐฯ ดำเนินการ ได้รับมอบเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ ที่ฐานบินตาชิกาวา
    การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๑๘ - ๒๔

                ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ กองทัพอากาศได้ปรับปรุงอัตราหน่วยบินจาก ๒๐ คน เป็น ๒๕ คน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานกับเครื่องบินลำเลียงแบบ C - ๑๒๓ B จำนวน ๒ เครื่อง ที่ได้รับมอบจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ อัตรานี้ใช้กับชุดที่ ๑๘ และ ๑๙ เท่านั้น ต่อมาเมื่อได้รวบรวมหน่วยพยาบาลทางอากาศเข้าไว้ด้วย จึงมีจำนวนเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็น ๒๗ คน และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้ลดลงเหลือ ๒๕ คน โดยลดและเพิ่มอัตราต่าง ๆ ให้เหมาะสม
                หน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๑๘ ยังขึ้นสมทบกับฝูงบินปฏิบัติการ ๖๔๘๕ กองบินใหญ่ลำเลียงที่ ๓๗๔ กองพลบินที่ ๓๑๕ สหรัฐฯ ตามเดิม แต่ตั้งแต่หน่วยบินที่ ๑๙ เป็นต้นมา กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนแปลงการจัดกำลังในกองทัพอากาศที่ ๕ สหรัฐฯ ที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับการปฏิบัติการในเกาหลีใหม่ จึงให้หน่วยบินลำเลียงของไทยไปขึ้นการบังคับบัญชา สายธุรการของกองบัญชาการสหประชาชาติส่วนหลัง และอยู่ในความควบคุมทางยุทธการของ กองบินใหญ่ขับไล่ทางยุทธวิธีที่ ๓๔๗ สหรัฐฯ (๓๔๗ th Tactical Wing) มีที่ตั้งอยู่ที่ฐานบินโยโกตะ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของฐานบินตาชิกาวาห่างออกไปประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ส่วนงานด้านธุรการ และส่งกำลังบำรุงให้ขึ้นกับกองบินใหญ่บริการฐานบินที่ ๔๗๕ สหรัฐฯ (๔๗๕ th Air Base Wing)
                ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๑๙ ชาติพันธมิตรที่ปฏิบัติการอยู่ในกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี คงเหลือเพียง ๓ ชาติ คือ สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และไทยเท่านั้น หน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๑๘ - ๒๔ ยังคงได้รับมอบภารกิจให้ปฏิบัติการบินลำเลียงขนส่งทางอากาศ ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้เป็นครั้งคราว แต่ลดจำนวนเที่ยวบินลงจากเดิมเป็นจำนวนมาก
                ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๘ รัฐบาลไทยมีนโยบายให้ถอนกำลังหน่วยบินลำเลียงกลับประเทศไทย สถานการณ์ทางการเมืองของญี่ปุ่นต้องการเร่งรัดให้กองกำลังทหารต่างชาติ ถอนตัวออกไปจากญี่ปุ่น กองทัพอากาศจึงได้รายงานขออนุมัติ ถอนหน่วยบินลำเลียงกลับ
                กระทรวงกลาโหมอนุมัติตามที่กองทัพอากาศเสนอ และให้หน่วยบินลำเลียงชุดที่ ๒๔ เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๑๙ โดยได้นำเครื่องบินลำเลียงแบบ C - ๑๒๓ B จำนวน ๒ เครื่อง พร้อมเจ้าหน้าที่ ๒๔ คน เดินทางออกจากสนามบินโยโกตะ แวะพักที่สนามบิน คาดินา ในเกาะโอกินาวา สนามบินมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ สนามบินบรูไน ประเทศบรูไน สนามบินเซเลดาร์ ประเทศสิงคโปร์ ถึงท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๑๙


    การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย

                หลังจากเกิดสงครามเกาหลีขึ้น นายเดลเวอรลี ผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการในต่างประเทศขององค์การ อาสากาชาดสหรัฐฯ ได้มีหนังสือ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๔๙๓ ทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษบริพัตร อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทยว่า การที่ประเทศไทยจะส่งทหารไปร่วมรบกับกองทัพสหประชาชาติใน ประเทศเกาหลีนั้น ถ้าสภากาชาดไทยยังไม่พร้อมที่จะทำหน้าที่ในการช่วยทหารที่จะไปรบแล้ว องค์การอาสากาชาดสหรัฐฯ จะรับหน้าที่แทนไปก่อน จนกว่าสภากาชาดไทยจะดำเนินการได้เอง
                อุปนายกสภากาชาดไทย ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๓ ขอส่งหน่วยพยาบาลไปช่วยในสงครามเกาหลี จากการประสานงานในเวลาต่อมา สภากาชาดไทยตกลงจัดเจ้าหน้าที่ จากกองบรรเทาทุกข์และอนามัย จำนวน ๒๐ คน ประกอบด้วยแพทย์ ๕ คน นางพยาบาล ๘ คน และบุรุษพยาบาล ๗ คน เป็นหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย ไปร่วมในสงครามเกาหลี หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ ร่วมเดินทางไปกับคณะผู้สำรวจทางทหารฝ่ายไทยด้วย ได้พบกับนายแพทย์ใหญ่ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ได้ข้อยุติให้บรรจุหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยเข้าไว้ใน กองบัญชาการสหประชาชาติ เพื่อให้ทำหน้าที่รักษาพยาบาล และบำรุงขวัญแก่ทหารไทยที่อาจจะต้องเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาล ของกองบัญชาการสหประชาชาติ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและในประเทศเกาหลีใต้ต่อไป
                เจ้าหน้าที่หน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย ที่ไปร่วมในสงครามเกาหลีกำหนดให้ใช้เครื่องแบบทำนองเดียวกับทหาร แต่ไม่มีการประดับเครื่องหมายยศ คงประดับแต่เครื่องหมายสภากาชาดไทย และเครื่องหมาย Thailand ที่ต้นแขนเสื้อเครื่องแบบเท่านั้น สำหรับสิทธิต่าง ๆ คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับทหาร
    เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ ๑ - ๔
              รุ่นที่ ๑  จำนวน ๒๐ คน ส่วนที่ ๑ ออกเดินทางเมื่อ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๓ โดยเรือหลวงสีชัง พร้อมกับกองกำลังทางบก ถึงเมืองปูซาน เกาหลีใต้เมื่อ  ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ ส่วนที่ ๒ เดินทางโดยเครื่องบิน เมื่อ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๙๓ ถึงกรุงโตเกียวเมื่อ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๓
                หน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยได้ปฏิบัติงาน อยู่ในความควบคุมดูแลของ Chief Surgeon โรงพยาบาลส่งกลับที่ ๘๐๕๔ สหรัฐฯ ส่วนนางพยาบาลอีก ๘ คน ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงพยาบาลกองทัพบก สหรัฐฯ ที่กรุงโตเกียว (Tokyo Army Hospital)
              รุ่นที่ ๒  จำนวน ๑๙ คน โดยได้รับการจัดบุรุษพยาบาล แล้วจัดนางพยาบาลแทน กลุ่มที่ ๑ ออกเดินทางเมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๔๙๔ กลุ่มที่ ๒ ออกเดินทางเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๙๔
              รุ่นที่ ๓  จำนวน ๑๓ คน โดยลดจำนวนแพทย์ลงเหลือเพียง ๒ คน และพยาบาล ๑๑ คน กลุ่มที่ ๑ ออกเดินทางเมื่อ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๕ กลุ่มที่ ๒ ออกเดินทางเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
             รุ่นที่ ๔  จำนวน ๑๕ คน เป็นแพทย์ ๒ คน และพยาบาล ๑๓ คน กลุ่มที่ ๑ ออกเดินทางเมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๖ กลุ่มที่ ๒ ออกเดินทางเมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๙๖
    การปฏิบัติงาน

                โรงพยาบาลที่ปฏิบัติงานได้แก่
                ๔๙ th General Hospital หรือ Tokyo Army Hospital กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เริ่มปฏิบัติงานเมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ อีกแห่ง
                ๘๐๕๔ th Station Holpital เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี เริ่มปฏิบัติงานเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๓
                ๘๑๖๒ nd Station Hospital เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เริ่มปฏิบัติงานเมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔
                ๘๐๐๙ th Station Hospital เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เริ่มปฏิบัติงานเมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๙๔
                งานที่ปฏิบัติ ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งในโรงพยาบาล ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้นจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลกองทัพสหรัฐฯ นั้น ๆ
                นางพยาบาลในหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย ได้ปฏิบัติงานอย่างได้ผล และมีประสิทธิภาพ จนได้รับคำชมเชยเป็นประจำ
                ในด้านการบังคับบัญชา ได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมรับฝาก หน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยไว้ให้อยู่ในความปกครองดูแล เพื่อช่วยเหลือเหมือนหน่วยทหารในบังคับบัญชา แต่ไม่ให้ขัดกับหลักการของสภากาชาดสากล ตามที่สภากาชาดไทยได้มีหนังสือฝากมา
                ตลอดระยะเวลา ๓ ปี ที่ปฏิบัติงานในสงครามเกาหลี หน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย ได้ปฏิบัติงานโดยไม่มีการสูญเสียกำลังพล ทุกคนปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็งอดทนเสียสละ มีความสำนึกสูงในหน้าที่ ีที่รับผิดชอบ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ปรากฏตามคำชมเชยที่ได้รับ จากผู้บังคับบัญชาตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ได้ไปร่วมปฏิบัติงานเป็นประจำ

    • Update : 1/6/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch