หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ความหมายของเบี้ยแก้

    สวัสดีครับท่านผู้อ่านข่าวสดที่เคารพ วันนี้เราจะพูดถึงความหมายของ "เบี้ยแก้" กัน เบี้ย ก็คือ เปลือกหอยที่พ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียโบราณที่ค้าขายแถบชายฝั่งทะเล นำเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ

    เนื่องจากเปลือกหอยดังกล่าวมีความสวยงามและคงทน ในระยะแรกจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ โดยนำมาจากหมู่เกาะมัลดีฟ และมีบางส่วนมาจากฟิลิปปินส์ ด้วย "หอยเบี้ย" เป็นสิ่งหายากและสวยงามพ่อค้าชาวต่างชาติจึงหามาแลกข้าวของสินค้าจนนิยมใช้กันเป็น "เงินตรา"

    ในคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่เจริญในยุคพระ เวทและยุคมหากาพย์เรื่อยมา นั้น ได้ให้ความสำคัญกับ "หอยทะเล" โดยกล่าวถึงสังข์อสูรที่ลักลอบกลืนคัมภีร์พระเวทของพระพรหมลงไป ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องตามมาล้วงคัมภีร์จากท้องหอยสังข์ จึงบังเกิดเป็นร่องพระดัชนีจากพระหัตถ์ขององค์นารายณ์บริเวณร่องส่วนท้อง

    พราหมณ์อินเดียจึงเคารพและนำ "หอยสังข์" ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียมาประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยนับถือว่าเคยเป็นที่สถิตแห่งคัมภีร์พระเวท และมีรอยพระ หัตถ์พระนารายณ์ปรากฏอยู่

    นอกจากนี้ หอยทะเลที่เรียกว่า "เบี้ย" ยังได้รับความเคารพจากพวกพราหมณ์ในฐานะสัญลักษณ์แห่ง "ศักติ" อันเป็นลัทธิที่บูชาเทวสตรี เช่น พระลักษมี พระอุมา พระสรัสวตี เรียกกันว่า "ภควจั่น" ซึ่งมาจาก ภควดี หมายถึง อิตถีเพศที่ควรเคารพบูชา ลักษณะของหอยเบี้ยนั้นพจนานุกรมของมติชนกล่าวถึงว่า เป็นหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกแข็ง หลังอูมนูน ส่วนท้องแบนเป็นช่อง ปรากฏรอยขยักคล้ายฟันเล็กๆ บ้างรู้จักกันในชื่อ หอยจั่นหรือหอยจักจั่น และหอยพลู

    สมัยก่อนเมื่อเบี้ยถูกนำมาใช้เป็นเงินตรา "เบี้ย" จึงมีความสำคัญและผูกพันกับคติความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถใช้แก้บนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวาอารักษ์ ตลอดจนผีสางนางไม้ได้ เช่น ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงตอนนาง เทพทองจะคลอดขุนช้างว่า "บ้างก็เสกมงคลปลายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" ดังนั้น คำว่า "เบี้ยแก้" เดิมจึงมาจากคำว่า "เบี้ยแก้บน" เนื่องจากใช้เป็นเงินบนบานศาลกล่าวและเกิดสัมฤทธิผลความหมายจึงพ่วงการแก้ไขจากร้ายให้กลายเป็นดี จึงมีอานุภาพทางแก้กันสิ่งอาถรรพ์ที่จะให้โทษ และทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน

    โบราณาจารย์จะทำเบี้ยแก้โดยนำหอยเบี้ยมาบรรจุปรอท แล้วอุดด้วยชันโรง หุ้มด้วยแผ่นตะกั่วหรือผ้า แล้วนำมาถักด้วยเชือกทารักหรือยางมะขวิด ผ่านการปลุกเสกกำกับ ใช้ผูกเอวหรือห้อยคอ แก้คุณไสยโดยการแช่น้ำมนต์ดื่ม อาบ

    "ปรอท" คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมีความหนักแต่เป็นของเหลว มวลของปรอทจะแน่นหนามากถึงขนาดลอยธาตุอย่างอื่นบนปรอทได้ และเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ แต่ก่อนจะใช้ปรอทในการแยกธาตุให้บริสุทธิ์ ดังนั้นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของปรอทก็คือ การแยกสิ่งที่แปลกปลอมให้ออกไปให้พ้นไป และยังใช้ในการรักษาโรคต่างๆ อีกด้วย คนโบราณจะโปรยปรอทไว้รอบๆ บ้าน เพื่อไล่ธาตุที่แปลกปลอม และเสนียดจัญไร

    ส่วน "ชันโรง" นั้น คือรังของสัตว์มีปีกอยู่ในตระกูลผึ้งแต่ตัวมีขนาดเล็ก จะถ่ายมูลทำรังตามต้นไม้ กิ่งไม้ และใต้ดินทำนองปลวก มีลักษณะเหนียวคล้ายชัน สีน้ำตาลเข้ม นับเป็นวัสดุอาถรรพ์ที่นำมาใช้อุดไม่ให้ปรอทหนีออกจากตัวเบี้ย บางสำนักก็ใช้อุดใต้ฐานพระเมื่อบรรจุเม็ดกริ่ง แผ่นยันต์ หรือ พุทธาคมต่างๆ

    เบี้ยแก้ เมื่อเขย่าจะดังขลุกๆ อันเป็นเสียงปรอทที่กรอกเข้าไปในตัวเบี้ยกลิ้งไปกลิ้งมา เนื่องจากสามารถหดและขยายตัวตามอุณหภูมิ หากเขย่าเบี้ยแก้ตอนอากาศร้อนจะไม่ค่อยได้ยินเสียงเพราะปรอทจะขยายตัว แต่ถ้าอากาศเย็นจะมีพื้นที่ว่างในตัวเบี้ยมากกว่า เสียงจะดังฟังชัด

    เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือทางด้านการทำ "เบี้ยแก้" ได้แก่ หลวงปู่รอด วัดนายโรง บางกอกน้อย กทม., พระพุทธวิถีนายก(บุญ ขันธโชติ) หรือหลวงปู่บุญ หลวงปู่ทอง หลวงปู่เพิ่ม หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี นครปฐม, หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ กทม., หลวงพ่อซำ อินทสุวัณโณ วัดตลาดใหม่ ฯลฯ

    แต่ละสำนักล้วนแล้วแต่มีกรรมวิธีการจัดสร้างเบี้ยแก้ตามสูตรโบราณ และมีพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์แก้ไขสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดีสมดังชื่อจริงๆ ครับผม

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
    ราม วัชรประดิษฐ์


    • Update : 31/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch