หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทหารไทยในสงครามเกาหลี /10

    การปฏิบัติการของทหารเรือ

                หลังจากที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารบกไปปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี เมื่อ ๒๒ กันยายน ๒๔๙๓ แล้ว ต่อมาเมื่อ ๒๙ กันยายน ๒๔๙๓ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้ส่งกำลังทหารเรือ และทหารอากาศไปร่วมปฏิบัติการในสงครามเกาหลี
    การเตรียมการ
                กองทัพเรือได้รับคำสั่งจากกระทรวงกลาโหมให้เตรียมเรือรบสำหรับเดินทางไปยังเกาหลีใต้ และกองทัพเรือได้มีคำสั่งเมื่อ ๒๘ กันยายน ๒๔๙๓ ให้กองเรือยุทธการ จัดเรือหลวงประแส เรือหลวงบางปะกง และเรือหลวงสีชัง สำหรับลำเลียงกำลังพล และคุ้มกันขบวนเรือที่จะเดินทางไปเกาหลีใต้
                ในวันที่ ๑๓ ตุลาคม กองทัพเรือได้มีคำสั่งตั้งกองบังคับการหมู่เรือไปราชการเกาหลี (บก.หมู่เรือ)
                ๑๖ ตุลาคม ๒๔๙๓ กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการปฏิบัติ โดยในส่วนของกองทัพเรือให้จัดเรือลำเลียง และคุ้มกันดังนี้
                ๑ ให้เรือสินค้าเอกชน ๑ ลำ เพื่อลำเลียงทหารส่วนแรกของกรมผสมที่ ๒๑
                ๒ ให้จัดเรือหลวงสีชัง ทำการลำเลียงส่วนหนึ่งของกรมผสมที่ ๒๑ เจ้าหน้าที่หน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย เมื่อเสร็จภารกิจแล้ว ให้เป็นเรือลำเลียงประจำหน่วยทหารไทย ประจำเกาหลีหรือที่ญี่ปุ่นต่อไป
                ๓ ให้จัดเรือหลวงประแสกับ เรือหลวงบางปะกง ทำหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือ เมื่อหมดหน้าที่ให้เข้าร่วมปฏิบัติการยุทธตามที่กองกำลังสหประชาชาติเห็นสมควรต่อไป และมีฐานทัพเรืออยู่ที่ซาเซโบ
                ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๓ กองทัพเรือได้มีคำสั่งให้เรือรบทั้งสามลำรวมขึ้นเป็นหมู่เรือเรียกว่า หมู่เรือปฏิบัติการร่วมกับสหประชาชาติ (มส.)
    การเดินทางไปปฏิบัติการ

                ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๓ เรือหลวงทั้งสามลำพร้อมด้วยเรือสินค้า เฮอร์ตาเมอร์สค์ ซึ่งทางราชการเช่ามาสำหรับลำเลียงทหารเดินทางไปเกาหลีใต้ ออกเดินทางจากท่าเรือกรุงเทพ ฯ คลองเตย ไปยังฐานทัพเรือสัตหีบแวะรับเสบียง น้ำจืด น้ำมันเชื้อเพลิง และอาวุธกระสุน และได้ออกเดินทาง เมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๓ ผ่านแหลมญวน ถึงเกาะโอกินาวา เมื่อ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ เข้าจอดในอ่าวบัคเนอร์ (Buckner Bay) และได้ออกเดินทางต่อ เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ ถึงท่าเรือปูซาน เมื่อวันที่ ๗ เดือนเดียวกัน อีก ๒ วันต่อมาก็เดินทางไปยังฐานทัพเรือซาเซโบ ประเทศญี่ปุ่น และได้มีการมอบเรือของไทยทั้งสามลำ ให้อยู่ในบังคับบัญชาของผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจที่ ๙๕
    การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
                กำลังทางเรือ สหประชาชาติได้มอบให้กองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นผู้บังคับบัญชากองเรือสหประชาชาติ (United Nation Naval Forces ) โดยให้กองกำลังทางเรือภาคตะวันออกไกล รับผิดชอบงานด้านยุทธการ และยุทธบริการ กำลังทางเรือที่ปฏิบัติการรบในสงครามเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือที่ ๗ ( 7 th Fleet) ของกองกำลังทางเรือสหรัฐ ภาคตะวันออกไกล (Naval Forces Far East)
                กองเรือเฉพาะกิจที่ ๙๒  (Task Force 92 : TF92) มีภารกิจเป็นกองเรือปฏิบัติการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือที่ ๗ สหรัฐฯ
                กองเรือเฉพาะกิจที่ ๙๕  (Task Force 95 : 7F95) มีภารกิจเป็นกองเรือปฏิบัติการปิดอ่าว และคุ้มกันของสหประชาชาติ กองเรือนี้ยังแบ่งออกเป็นหมวดเรือเฉพาะกิจ และหน่วยเรือเฉพาะกิจ
                มส.ขึ้นตรงกับหมวดเรือเฉพาะกิจที่ ๙๕๕ ซึ่งมีภารกิจคุ้มกันการลำเลียง (Frigate Escorts) มส.ได้รับมอบภารกิจให้ปฏิบัติการดังนี้
                ๑ ทำการคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมัน เรือลำเลียงอมภัณฑ์ และเรือลำเลียงเสบียง และพัสดุในน่านน้ำรอบชายฝั่งเกาหลีเหนือ จากการโจมตีของเรือดำน้ำ และเครื่องบินของฝ่ายข้าศึก
                ๒ ปฏิบัติการร่วมกับกำลังทางเรือสหประชาชาติในการระดมยิงฝั่ง และที่หมายทางทหาร
                ๓ ปฏิบัติการตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ได้แก่การตรวจการณ์ และรักษาด่าน เป็นต้น
    การปฏิบัติการของ มส.
                ในระยะแรก ต้องเผชิญอุปสรรคหลายประการ เพราะเรือหลวงประแสและเรือหลวงบางปะกงของไทย เป็นเรือประเภทคอร์เวต ที่ซื้อจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บรรดาอาวุธยุทธภัณฑ์เดินเรือล้วนเป็นแบบอังกฤษ และค่อนข้างล้าสมัย อังกฤษเลิกผลิตทั้งอาวุธ และตัวปืนประจำเรือแล้ว จึงต้องขอเปลี่ยนมาใช้อาวุธของ สหรัฐฯ
                - การปฏิบัติการครั้งแรก ตรวจและรักษาช่องทางเข้าฐานทัพเรือซาเซโบ  เริ่มตั้งแต่ ๔ ธันวาคม ๒๔๙๓ จนถึง ๓ มกราคม ๒๔๙๔ ทำการตรวจการณ์ และรักษาด่าน
                - การปฏิบัติการระดมยิงชายฝั่งตะวันออกของเกาหลีเหนือครั้งแรก เริ่ม ๓ มกราคม ๒๔๙๔ โดยได้ระดมยิงชายฝั่งบริเวณเส้น ละติจูดที่ ๓๘ - ๓๙ องศาเหนือ ระหว่างแนวเมืองชังจอน กับเมืองยังยัง วันที่ ๕ และ ๖ มกราคม ๒๔๙๔ ได้ทำการระดมยิงสถานีรถไฟ เส้นทางคมนาคม และสิ่งปลูกสร้างทางทหาร บริเวณเมืองโชโด หลังจากนั้นเรือหลวงประแส และเรือหลวงบางปะกงประสบกัยพายุหิมะหนักตลอดคืน เรดาร์ประจำเรือใช้การไม่ได้ เช้าวันรุ่งขึ้นเรือหลวงประแสได้แล่นไปเกยตื้น ในเขตข้าศึกบริเวณแหลม คิซามุน เหนือเส้นขนานที่ ๓๘ ขึ้นไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เรือลากจูงของสหรัฐฯ พยายามที่จะลากจูงเรือออกมาหลายวันแต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นในวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๙๔ จึงได้รับคำสั่งจากกองทัพเรือให้สละเรือ และอนุมัติให้ทำลายเรือได้ เรือพิฆาตสหรัฐฯ จึงได้ระดมยิงเรือหลวงประแส ประมาณ ๕๐ นัด จนกระทั่งกลายสภาพเป็นเศษเหล็ก
    การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
                - การระดมยิงฝั่งเมืองวอนชานครั้งที่ ๑ (๑๖ เมษายน - ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๙๔)  เรือหลวงบางปะกงร่วมกับเรือรบสหรัฐฯ ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ไปยังอ่าววอนชาน เรือหลวงบางปะกงได้ทำการระดมยิง หน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งของข้าศึกบนแหลมกัลมากัก ใช้เวลาปฏิบัติการ ๑๘ วัน (๑๓ พฤษภาคม ได้ทำการผลัดเปลี่ยนกำลังพล ทำเสร็จใน ๑ มิถุนายน ๒๔๙๔)
                - การระดมยิงฝั่งเมืองวอนชานครั้งที่ ๒ (๑๓ - ๑๘ มิถุนายน ๒๔๙๔)  เรือหลวงบางปะกง และเรือฟรีเกต สหรัฐฯ ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ถึงอ่าววอนชาน ได้ระดมยิงที่หมาย หน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งที่ตำบลฮัมจิ กับเส้นทางลำเลียงบริเวณชองดอง การปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับคำชมเชยเป็นอันมาก
                ในเดือนสิงหาคม ๒๔๙๔ กำลังพลประจำเรือ รุ่นที่ ๒ จำนวน ๕๕ คน ได้เข้าผลัดเปลี่ยนรุ่นที่ ๑ ส่วนที่เหลือ
                - การปฏิบัติการที่เมืองวอนชานครั้งที่ ๓ (๓ - ๑๐ กันยายน ๒๔๙๔)  เรือหลวงบางปะกงเดินทางถึงอ่าววอนชาน ได้รับมอบภารกิจเป็นเรือรักษาด่าน วันต่อมาได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามแผนการลาดตระเวณ ได้รับคำสั่งให้ยิงที่หมายโดยอิสระ ได้ระดมยิงที่หมายทางรถไฟ และสะพานรถไฟชายฝั่งเมืองชองจิน วันต่อมาทำหน้าที่รักษาด่าน และเข้ายิงที่หมายเส้นทางลำเลียงบริเวณเหนือแหลมโฮโด ปันโด ในอ่าววอนชาน เข้ายิงที่หมายหน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งของข้าศึก บริเวณปลายแหลมโฮโดปันโดในอ่าววอนชาน แล้วออกลาดตระเวณไปยังชองจิน วันต่อมายิงที่หมายทางรถไฟ สถานีรถไฟ สะพานรถไฟ บริเวณชายฝั่งเมืองชองจิน วันต่อมาทำหน้าที่รักษาด่านเขตทิ้งระเบิด และยิงที่หมายบริเวณอ่าววอนชาน
                - การปฏิบัติการที่เมืองวอนชาน ครั้งที่ ๔ (๒๔ ตุลาคม ๒๔๙๔)  ได้ไปปฏิบัติการ ณ เมืองวอนชาน โดยทำการลาดตระเวณฝั่งตะวันออก ขึ้นไปทางเหนือแหลมไฮโดปันโด ป้องกันเรือเล็กข้าศึกลอบเข้าไปวางทุ่นระเบิด หรือทำการลำเลียงทหาร
                - การปฏิบัติการที่เมืองวอนชาน ครั้งที่ ๕ (๑๗ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔)  ทำหน้าที่รักษาด่านเวลากลางคืน และลาดตระเวณเวลากลางวัน
    เรือหลวงบางปะกงเดินทางกลับประเทศไทย
                ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๔ เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส (ลำใหม่) เรียกว่า หมู่เรือฟรีเกต (มฟ.) ได้เดินทางมาถึงฐานทัพเรือซาเซโบ กองทัพเรือได้กำหนดให้เรือหลวงบางปะกงพ้นจากหน้าที่ ให้เข้าอู่ซ่อมใหญ่ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากที่ซ่อมเสร็จเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ และได้เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๕
    การส่งเรือสีชังกลับประเทศไทย
                เนื่องจากเรือหลวงสีชังมีขนาดเล็ก จึงมิได้ใช้ให้ปฏิบัติการอย่างใด จึงพิจารณาให้เดินทางกลับ กระทรวงกลาโหมเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๙๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๔ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศเจรจากับกองบัญชาการสหประชาชาติ เพื่อขออนุญาตอย่างเป็นทางการต่อไป เรือหลวงสีชังเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๔
    การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
                รัฐบาลไทยให้กระทรวงการต่างประเทศติดต่อกับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อเจรจาขอซื้อเรือฟรีเกต ๒ ลำ ซึ่งทางรัฐบาลสหรัฐฯ ยินดีขายให้โดยมีเงื่อนไข ให้ใช้เรือดังกล่าวในการปฏิบัติการรบร่วมกับสหประชาชาติ ในสงครามเกาหลี และให้ทัพเรือสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิค (U.S.Pacific Fleet) จัดเรือฟรีเกตประจำการ ๒ ลำ คือเรือ USS Glendale กับเรือ USS Gallup ขายให้ไทย ในราคา ๘๖๑,๙๔๖ เหรียญสหรัฐฯ เรือทั้งสองลำนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่า เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส ตามลำดับ
                ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๔ ได้มีพิธีส่ง และรับมอบเรือฟรีเกตทั้งสองลำที่ท่าหมายเลข ๑๒ ฐานทัพเรือโยโกสุกะ โดยมีผู้บัญชาการฐานทัพเรือสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น และเกาหลี ในฐานะผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ส่งมอบให้กับหัวหน้าคณะทูตไทย ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้รับมอบในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย เรือฟรีเกตทั้งสองลำได้ขึ้นระวางประจำการในกองทัพเรือไทยใน ๒๙ ตุลาคม ๒๔๙๔


    การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน

                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๑ (๑๑ - ๒๔ มกราคม ๒๔๙๕)  ออกเดินทางไปปฏิบัติการคุ้มกันเรือลำเลียงพัสดุ และเรือบรรทุกน้ำมัน จากนั้นไปลาดตระเวณหน้าอ่าววอนซาน
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒ (๑๓ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕)  ปฏิบัติการคุ้มกันเรือลำเลียงไปยังเมืองชองจิน ระดมยิงหน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่ง คุ้มกันขบวนเรือลำเลียงบริเวณแนวทิ้งระเบิด
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๓ (๑๘ มีนาคม - ๗ เมษายน ๒๔๙๕)  คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปยังพื้นที่ปฏิบัติการ คุ้มกันเรือลำเลียงบริเวณเส้นขนานที่ ๓๘
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๔ (๒๖ เมษายน - ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๕)  คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปยังเมืองปูซาน คุ้มกันหน่วยเรือเฉพาะกิจไปบริเวณเกาะอูลลัง
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๕ (๒ - ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๙๕)  คุ้มกันขบวนเรือลำเลียงบริเวณน่านน้ำเมืองซูยอง คุ้มกันหน่วยเรือเฉพาะกิจ ไปบริเวณเกาะอูลลัง คุ้มกันกองเรือใหญ่เข้ารับน้ำมันเชื้อเพลิง จากเรือบรรทุกน้ำมัน
                - การผลัดเปลี่ยนกำลังพลและซ่อมใหญ่
                ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๙๕ กำลังพลรุ่นที่ ๒ ชุดที่ ๒ ลงประจำเรือ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๙๕  เรือหลวงท่าจีนเข้าอู่ซ่อม ซ่อมเสร็จ ๒๑ กันยายน ๒๔๙๕ ค่าซ่อม ๓๒,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ
                - การยุบเลิกกองบัญคับการหมู่เรือฟรีเกต
                กองทัพเรือได้มีคำสั่งเมื่อ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๕ ให้ยุบเลิกกองบังคับการหมู่เรือฟรีเกต (มฟ.) ให้กำลังพลส่วนหนึ่งเดินทางกลับประเทศไทย
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๖ (๗ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๕)  คุ้มกันเรือลำเลียงอมภัณฑ์ และคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันเดินทางไปชองจิน
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๗ (๑๕ - ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๕)  คุ้มกันเรือลำเลียงอมภัณฑ์เดินทางไปเมืองโปฮา และไปวอนชาน
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๘ (๒๑ พฤศจิกายน - ๒ ธันวาคม ๒๔๙๕)  คุ้มกันเรือลำเลียงอมภัณฑ์
                - การปฏบัติการ ครั้งที่ ๙ (๑๑ - ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๕)  คุ้มกันเรือลำเลียงอมภัณฑ์
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๑๐ (๒๔ ธันวาคม ๒๔๙๕ - ๑๔ มกราคม ๒๔๙๖)  คุ้มกันเรือลำเลียงเดินทางไปบริเวณวอนชาน ซองจิน คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันเดินทางกลับฐานทัพเรือ
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๑๑ (๒๗ มกราคม - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖)  คุ้มกันเรือลำเลียงอมภัณฑ์ และเรือบรรทุกน้ำมัน
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๑๒ (๒๔ - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖)  คุ้มกันเรือลำเลียงเดินทางไปปฏิบัติการบริเวณเกาะอูลลัง
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๑๓ (๒๗ กุมภาพันธ์ - ๓ มีนาคม ๒๔๙๖)  คุ้มกันเรือลำเลียงเดินทางไปบริเวณเมืองวอนชาน
                - การผลัดเปลี่ยนกำลังพล กำลังพลรุ่นที่ ๕ ชุดที่ ๑ จำนวน ๒๐๕ คน เดินทางมาถึง และผลัดเปลี่ยนเมื่อ ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๖
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๑๔ - ๑๙ (๒๗ มีนาคม - ๙ ตุลาคม ๒๔๙๖)  ทำหน้าที่คุ้มกันเรือลำเลียงอมภัณฑ์ เรือบรรทุกน้ำมันไปยังพื้นที่ปฏิบัติการ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกของเกาหลีเหนือ
                - การเดินทางกลับมาผลัดเปลี่ยนกำลังพลในประเทศไทยครั้งแรก
                    หลังจากได้รับอนุมัติจากกองบัญชาการสหประชาชาติแล้ว เรือหลวงท่าจีนซึ่งปฏิบัติการอยู่ในยุทธบริเวณเกือบ ๒ ปี ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๖ ถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๙ เดือนเดียวกัน
                เมื่อได้ผลัดเปลี่ยนกำลังพลประจำเรือครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นรุ่นที่ ๖ ชุดที่ ๑ แล้วใน ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖ เรือหลวงท่าจีนพร้อมด้วยพลประจำเรือหลวงประแสจำนวนหนึ่ง ออกเดินทางไปยังฐานทัพเรือซาเซโบ
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒๐ - ๒๖ (๓๐ มีนาคม - ๑๐ เมษายน ๒๔๙๗)  ทำหน้าที่คุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันให้กับกองเรือในพื้นที่ปฏิบัติการในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
                - การเดินทางกลับมาผลัดเปลี่ยนกำลังพลในประเทศไทย ครั้งที่ ๒ ในเดือนเมษายน ๒๔๙๗ ครบกำหนดการผลัดเปลี่ยนทหารประจำเรือ รุ่นที่ ๖ ชุดที่ ๒ เรือหลวงท่าจีนจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ ผลัดเปลี่ยนกำลังพลชุดที่ ๒ แล้วเดินทางกลับถึงฐานทัพเรือ เซซาโบ เมื่อ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗
                - การปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒๒ - ๒๖ (๖ มิถุนายน - ๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๗)  ปฏิบัติการคุ้มกันเรือลำเลียง และบรรทุกน้ำมัน ในเขตน่านน้ำเกาหลีเหนือ และครั้งสุดท้ายคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันไปยังเมืองอินชอนทางฝั่งตะวันตกของเกาหลีใต้
                รวมเวลาปฏิบัติการทั้งสิ้นของเรือหลวงท่าจีน ๒๒๙ วัน


    • Update : 31/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch