หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทหารไทยในสงครามเกาหลี /9

    การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ ๖
    (๕ มิถุนายน ๒๔๙๗ - ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๙๘)

    การจัดการประกอบกำลัง และการเดินทาง
                ปลายเดือนมีนาคม ๒๔๙๗ กรมผสมที่ ๒๑ ได้ดำเนินการเรียกกำลังพลกองพันทหารไทย ผลัดที่ ๖ เข้าที่รวมพลในบริเวณกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์บางเขน โดยรับกำลังพลจากกองทัพที่ ๑ กองทัพที่ ๒  กองทัพที่ ๓ มณฑลทหารบกที่ ๕ และกองพลทหารม้า ตามที่กองทัพบกมอบหมาย เมื่อดำเนินกรรมวิธีด้านกำลังพลเสร็จ ก็ได้เคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อทำการฝึก
                การเดินทางแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนล่วงหน้า และส่วนใหญ่ ส่วนล่วงหน้ารวม ๒๗ คน ออกเดินทางด้วยเครื่องบินของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด เมื่อ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๙๗ ไปลงที่สนามบิน ฮาเนดะ กรุงโตเกียว แล้วเดินทางไปเกาหลีใต้โดยเครื่องบินบริการขนส่งทางอากาศ ทางทหารสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ รวม ๑,๐๘๘ คน เดินทางโดยทางเรือ ใช้เรือ ฮอร์ยุ และเรือพูจิกาวา เมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๗ ถึงเมืองปูซาน เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๔๙๗ แล้วเดินทางต่อโดยรถไฟ ต่อด้วยรถยนต์ไปยังที่ตั้งกองพันทหารไทยที่หมู่บ้านพุลกันด๊อก ตำบลอุนชอน เมืองโปชอน
    การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย  (๕ มิถุนายน ๒๔๙๗ - ๑๙ มกราคม ๒๔๙๘)
                ๑๐ มิถุนายน ๒๔๙๗ กรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ขึ้นเป็นกองรบในแนวหนุน (แนวแคนซัส) กองพันทหารไทยเป็นกองรบทางปีกขวาของกรม ในระหว่างห้วงเวลาดังกล่าว ได้มีกิจกรรมให้ปฏิบัติเป็นอันมาก เช่นการฝึกซ้อมการปฏิบัติตามแผนยุทธการ ฝึกซ้อมการเคลื่อนย้าย ฝึกซ้อมการหลบภัยทางอากาศ การอบรมวิชาเคมี ชีวะ รังสี การอบรมเรื่องการรบร่วม การอบรมการข่าวกรอง ฯลฯ
                เนื่องจากกองพลที่ ๒ สหรัฐฯ จะต้องถอนกำลังกลับสหรัฐฯ กองพันทหารไทยจึงได้รับคำสั่งให้ไปขึ้นสมทบ กองทัพน้อยที่ ๙ สหรัฐฯ ใน ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
                ๖ กันยายน ๒๔๙๗ ได้รับแจ้งจากหน่วยเหนือว่า กองพันทหารไทย จะต้องไปขึ้นสมทบกองพลนาวิกโยธินที่ ๑ สหรัฐฯ เพื่อประจำแนวคิมโปด้านเมืองฮินชอนต่อไป ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากหน่วยในกองทัพน้อยที่ ๙ สหรัฐฯ จะต้องถอนกลับสหรัฐฯ เช่นกัน กองพันทหารไทยจึงได้รับคำสั่งให้ไปสมทบกองทัพน้อยที่ ๑ สหรัฐฯ ตั้งแต่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๙๗ และให้สนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุง จากกองพลทหารราบที่ ๗ สหรัฐฯ ต่อมาเมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๔๙๗ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปสมทบกรมทหารราบที่ ๑๗ กองพลทหารราบที่ ๗ สหรัฐฯ พร้อมกันนี้ก็ได้เตรียมการถอนกำลังกองพัน (หย่อน ๑ กองร้อยปืนเล็ก) กลับประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาลไทย
                ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๗ กองพันทหารไทยกับ กองพันทหารเบลเยี่ยมได้ร่วมกันสวนสนามอำลา หน่วยทหารในกองบัญชาการสหประชาชาติ และเกาหลีใต้ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เป็นประธาน มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองบัญชาการสหประชาชาติเข้าร่วมพิธีด้วยเป็นจำนวนมาก
    การเตรียมถอนกำลังกลับประเทศไทย

                ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลังจากที่ได้มีการลงนาม ในความตกลงสงบศึกแล้ว สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีค่อนข้างสงบลงมาก ชาติพันธมิตรที่ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลี หลายประเทศเริ่มถอนกำลังทหารกลับ รวมทั้งสหรัฐฯ เอง รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายถอนกำลังทหารไทยกลับเช่นกัน
                ทุกเหล่าทัพยกเว้น กองทัพอากาศเห็นควรให้ถอนกำลังกลับ จึงมีมติให้คงเหลือเฉพาะหน่วยบินลำเลียง กระทรวงกลาโหมได้ติดต่อกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเจรจากระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ ขอถอนกำลังทหารกลับ แต่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แจ้งตอบให้เจรจากับกองบัญชาการ สหประชาชาติที่กรุงโตเกียวโดยตรง ผลการเจรจาทางกองบัญชาการสหประชาชาติไม่ให้ถอนกำลังทหารบกกลับทั้งหมด ให้คงเหลือไว้ ๑ หมวด แต่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองบัญชาการสหประชาชาติ ได้ขอร้องให้คงเหลือกำลังไว้ ๑ กองร้อย
                ๖ มกราคม ๒๔๙๘ กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้ถอนทหารบางส่วนกลับประเทศไทย กองพันทหารไทยผลัดที่ ๖ ได้เตรียมถอนกำลังกลับประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือน ธันวาคม ๒๔๙๗ และเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๔๙๘ กองพันทหารไทย (หย่อน ๑ กองร้อย) ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ จากท่าเรือปูซาน โดยเรือ เมอิโกะ ถึงประเทศไทย เมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๘
    กองร้อยอิสระ (๑๙ มกราคม - ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๘)
                กองร้อยอิสระของไทยยังคงอยู่ในที่ตั้งเดิมของกองพันทหารไทย และยังคงขึ้นสมทบ กรมทหารราบที่ ๑๗ กองพลทหารราบที่ ๗ สหรัฐฯ สถานการณ์ทั่วไปยังคงสภาพเดิม กำลังของทั้งสองฝ่ายยังคงประจำอยู่ในแนวที่มั่น
                หลังจากที่กองร้อยอิสระปฏิบัติการอยู่ในสมรภูมิเกาหลีเป็นเวลาประมาณ ๖ เดือน ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๙๘ ก็ได้ผลัดเปลี่ยนกับผลัดที่ ๘ แล้วเดินทางกลับโดยทางเรือของกองบัญชาการสหประชาชาติที่เมืองปูซาน

    การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ ๗ - ๒๓
    (๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๘ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕)

                ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สภากลาโหม มีมติเห็นควรที่จะถอนกำลังทหารไทยในเกาหลีกลับตามข้อเสนอของ พลตรี โชติ  คล่องวิชา เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ซึ่งแจ้งว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เตรียมที่จะถอนกำลังทหารที่ประจำในเกาหลีกลับ และบางส่วนได้ถอนกลับไปแล้ว กองร้อยอิสระของไทยได้รับการสนับสนุนลดน้อยลงมาก และทางสหรัฐฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าไม่ขัดข้องถ้าทางไทยจะถอนกำลังทหารไทยออกจากเกาหลีใต้  จึงสมควรถอนกำลังทหารกลับ และยุบเลิกหน่วยบินลำเลียง
                ตามมติสภากลาโหมดังกล่าว ให้กองทัพบกจัดกำลังทหารไว้ประจำ ๑ หมู่เกียรติยศ จำนวน ๖ คน ขึ้นอยู่ในความปกครองบังคับบัญชาของผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ให้ยุบเลิกสำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว และกรุงโซล ซึ่งจะได้ประกาศถอน และยุบเลิกภายหลังเดือน กรกฎาคม ๒๕๑๔
                กองร้อยอิสระผลัดที่ ๒๓ ซึ่งเป็นกำลังทหารบกผลัดสุดท้ายของไทย ได้เตรียมการถอนกำลังกลับประเทศไทยใน ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕ ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๑๕ กองบัญชาการสหประชาชาติได้จัดพิธีอำลา เป็นเกียรติยศแก่กองร้อยอิสระผลัดที่ ๒๓ ที่สนามไนท์ (Knight Field) ในกรุงโซล โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการสหประชาชาติ และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้เป็นประธาน มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก เช่น นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ผู้แทนประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ผู้แทนชาติพันธมิตรต่าง ๆ ที่ร่วมปฏิบัติการในสงครามเกาหลี กองบัญชาการสหประชาชาติได้จัดให้มีการยิงสลุต และพิธีสวนสนามเป็นเกียรติยศแก่กองร้อยอิสระของไทย
                ในวันเดินทางกลับของกองร้อยอิสระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เกาหลีใต้ ผู้แทนรัฐบาลเกาหลีใต้ ผู้แทนกองบัญชาการสหประชาชาติ รวมทั้งชาวเกาหลีใต้เป็นจำนวนมากได้ไปส่งที่สนามบินคิมโป กรุงโซลด้วยความอาลัย กองร้อยอิสระผลัดที่ ๒๓ ไดเดินทางโดยเครื่องบินลำเลียงแบบ C - ๑๔๑ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ถึงประเทศไทยในวันเดียวกัน
                รวมระยะเวลาที่กองกำลังทหารไทยไปปฏิบัติการในเกาหลีใต้ตั้งแต่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ ถึง ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕ รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา ๑๖ ปี ๗ เดือน ๑๕ วัน จำนวนทหารบกที่ไปร่วมปฏิบัติการ ๒๓ ผลัด รวม ๑๑,๗๗๖ คน
    หมู่เกียรติยศ
                หมู่เกียรติยศ จำนวน ๖ คน ประกอบด้วย จ่าสิบเอก ๕ คน สำนักงานนายทหารติดต่อ ๗ ได้มอบหมู่เกียรติยศของไทยให้ขึ้นสมทบกองร้อยกองเกียรติยศ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ (UNC Honor Guard Company) นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นมา ยังคงประจำอยู่ในเกาหลีใต้มาจนถึงปัจจุบัน มีหน้าที่เชิญธงชาติไทยเข้าร่วมพิธีเกียรติยศต่าง ๆ ในฐานะตัวแทนของประเทศไทย ซึ่งเป็นชาติหนึ่งที่ส่งกำลังเข้าร่วมรบในประเทศเกาหลี
    กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
                กองทัพที่ ๘ สหรัฐฯ ได้จัดตั้งหน่วยนี้ขึ้น เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ที่เมืองเตกู ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๖ ได้มีการปรับปรุงการจัดใหม่ โดยให้บรรดาชาติพันธมิตร ที่ส่งทหารเข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามเกาหลีทั้ง ๑๖ ชาติ อันได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา โคลัมเบีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศส กรีซ ลักแซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ อัฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา จัดทหารของตนเข้าสมทบในหมวดทหารกองเกียรติยศด้วย โดยจัดหมู่เชิญธงไปร่วมในหมวดทหารกองเกียรติยศมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เมื่อชาติพันธมิตรส่วนใหญ่ถอนกำลังทหารของตนกลับ การจัดหน่วยกองเกียรติยศจึงเปลี่ยนแปลงไป  เหลืออยู่เพียง ๕ ประเทศสคือ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักรฯ เกาหลีใต้ ไทย และตุรกี ต่อมาตุรกีได้ถอนกำลังออกไป เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ฟิลิปปินส์จึงจัดส่งทหาร ๑ หมู่ไปประจำหน้าที่แทน และในปี พ.ศ.๒๕๑๓ หน่วยกองเกียรติยศเป็นกองร้อยกองเกียรติยศ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ต่อมาสหราชอาณาจักรฯ ได้ถอนกำลัง ๑ หมวด ที่ประจำอยู่ในเกาหลีใต้กลับไปเกาะฮ่องกง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ จึงจัดกำลัง ๑ หมวดเข้าทดแทน

    การประกอบกำลัง
                การประกอบกำลังกองร้อยอิสระในระยะแรก ยังคงรับกำลังพลจากกองทัพที่ ๑ กองทัพที่ ๒ กองทัพที่ ๓ ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นกองทัพภาค มณฑลทหารบกที่ ๕ และกองพลทหารม้า คัดเลือกและจัดส่งให้ ต่อมาจึงได้มีการคัดเลือกกำลังพลจากศูนย์สงครามพิเศษ และหน่วยในส่วนกลางด้วย
                เมื่อได้กำลังพลก็ส่งเข้ารับการฝึกตามระยะเวลา และในพื้นที่ของหน่วยต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมดังนี้
                ผลัดที่ ๑๑  ฝึกในพื้นที่กรมผสมที่ ๒๑ ถนนอำนวยสงคราม เชิงสะพานเกษะโกมล กรุงเทพฯ ใช้เวลา ๑ เดือน
                ผลัดที่ ๑๓  ฝึกในพื้นที่ศูนย์ฝึกปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้เวลาฝึก ๑๐ สัปดาห์
                ผลัดที่ ๑๕  ฝึกในพื้นที่กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ กรุงเทพฯ
                ผลัดที่ ๑๘  ฝึกในพื้นที่ กรมผสมที่ ๒๑ รักษาพระองค์ กรุงเทพฯ และจังหวัดชลบุรี ใช้เวลาฝึก ๒๑ สัปดาห์
                ผลัดที่ ๑๙ ฝึกในพื้นที่ กรมผสมที่ ๒๑ รักษาพระองค์ชลบุรี ใช้เวลาฝึก ๔ เดือน
                ผลัดที่ ๒๐  ฝึกในพื้นที่ กรมผสมที่ ๒๑ รักษาพระองค์ชลบุรี ใช้เวลาฝึก ๒๑ สัปดาห์
                ผลัดที่ ๒๒ - ๒๓  ฝึกในพื้นที่ กรมผสมที่ ๒๑ รักษาพระองค์ชลบุรี และฝึกร่วมกับหน่วยนาวิกโยธิน ในพื้นที่ อำเภอสัตหีบ ชลบุรี เป็นเวลา ๒๒ สัปดาห์ มีการฝึกอบรมเพิ่มเติมในด้านการช่วยเหลือประชาชน เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
    ที่ตั้งและการบังคับบัญชา
                กองร้อยอิสระผลัดที่ ๗ - ๒๑ ตั้งอยู่ที่ตำบลอุนชอน เมืองโปชอน ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมตั้งแต่เป็นกองพันทหารไทยผลัดที่ ๖ โดยขึ้นสมทบกองทัพน้อยที่ ๑ สหรัฐฯ ในความควบคุมทางยุทธการ และรับการส่งกำลังบำรุง จากกองพลทหารราบที่ ๗ สหรัฐฯ
                เมื่อกองพลทหารราบที่ ๗ สหรัฐฯ ถอนกำลังออกจากเกาหลีใต้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ กองร้อยอิสระผลัดที่ ๒๒ จึงย้ายจากที่ตั้งเดิมไปอยู่ที่ค่ายเมอเมด (CampMermaid) ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของกองร้อยทหารปืนใหญ่ ค้นหาเป้าหมายสหรัฐฯ ที่ตำบลโฮวัน เมืองอุยจองบู อยู่ทางตอนใต้ของที่ตั้ง ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร
                กองร้อยอิสระผลัดที่ ๒๒ และ ๒๓ ได้เปลี่ยนไปขึ้นการควบคุมทางยุทธการ และรับการส่งกำลังบำรุงจากกองทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ
    การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ ๗ - ๒๓
                ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมพร้อม การฝึกทางยุทธวิธี และการฝึกตามวงรอบ การช่วยเหลือประชาชนชาวเกาหลีในพื้นที่ใกล้เคียง และการจัดกิจกรรมพิเศษ อันได้แก่การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาติพันธมิตรต่าง ๆ จัดงานในวันสำคัญของชาติไทย และวันสำคัญทางพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์
    การถอนกลับประเทศไทย

    • Update : 31/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch