หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระเจ้าแสนคำเมือง วัดปันเสา จ.เชียงใหม่
    คอลัมน์เดิน สายไหว้พระพุทธ
    วิชัย ทาเปรียว



    "พระพัฒนนพบุรีศรีล้านนาประชา นาถ" หรือ "พระเจ้าแสงคำเมือง" พระพุทธรูปประธานในวิหารจันทรสถิตมหาทานบารมีศรีวิชัยมงคล ภายในวัดปันเสาเฉลิมพระเกียรติฯ ดูแลโดยมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    พระเจ้าแสงคำเมือง เป็นพระพุทธรูป สร้างขึ้นถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์

    พ.ศ.2550 ได้เริ่มสร้างพระเจ้าแสนคำเมือง ไว้ในวิหารจันทรสถิตมหาทานบารมีศรีวิชัยมงคล (ยังสร้างไม่เสร็จ) โดยพระมหาอาวรณ์ ภูริปัญโญ ประธานคณะสงฆ์ ผู้ดูแลศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเสา

    หลังจากสร้างองค์พระเสร็จเรียบร้อย ได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระเจ้าแสงคำเมือง เข้าเมืองเชียงใหม่ทางประตูช้างเผือก

    หลังจากนั้น ประชาชนได้พากันมากราบไหว้ พระเจ้าแสงคำเมือง ด้วยเชื่อว่าจะดลบันดาลให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

    สำหรับวัดปันเสา ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวัดแสนตาห้อย (ด้านหลังคณะแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในสมัยราชวงศ์มังราย มีร่องรอยโบราณคดีที่เห็นได้จากภายนอก คือ เจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ประกอบด้วยฐานเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมประมาณสามชั้น รองรับด้วยฐานบัวย่อเก็จลูกแก้ว ถัดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานกลมประมาณ 3 ชั้น รองรับมาลัยเถาที่เป็นแบบบัวคว่ำหน้ากระดาน 3 ชั้น แบบสุโขทัย องค์ระฆังใหญ่ที่บังลังก์เป็นสี่เหลี่ยมยอกเป็นปล้องไฉนแบบสุโขทัย

    พ.ศ.2528 ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียง ใหม่ กรมศิลปากร ได้ขุดค้นทางโบราณคดี เบื้องต้นพบว่า เจดีย์วัดนี้มีการสร้างซ้อนกัน 2 ชุด เจดีย์องค์เดิมที่อยู่ด้านในมีสัณฐานประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อเก็จ และถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมย่อเก็จและฐานบัวคว่ำบัวหงายแปดเหลี่ยม ตามลำดับ ลักษณะด้านแปลนส่วนล่างคล้ายเจดีย์อิทธิพลพุกาม ส่วนลักษณะแปดเหลี่ยมอิทธิพลหริภุญชัย ส่วนที่เป็นย่อเก็จหายไป มีพัฒนาการเป็นรูปแบบทรงแปดเหลี่ยมอิทธิพลทวารวดี (เช่น เจดีย์แปดเหลี่ยมเวียงท่ากาน และที่วัดกุมกามบริเวณเวียงกุมกาม)

    ส่วนเจดีย์ที่สร้างครองภายหลัง สัณฐานล่างสุดเป็นเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 10.10 เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวย่อเก็จ หน้ากระดานฐานเขียงทรงกลมซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไป 3 ชั้น และชั้นมาลัยเถาแบบดั้งเดิมพื้นเมืองเชียงใหม่ คือ ฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นลูกแก้วคาด 2 เส้นแบบฐานบัวผสม ซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปสามชั้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังและบัลลังก์สัณฐานบัวสี่เหลี่ยมจัตุรัส

    นักโบราณคดี ประมาณว่าระยะเวลาที่ก่อสร้างเจดีย์ทั้งสององค์ที่ซ้อนกันทับกันในวัดนี้ ควรอยู่ในระยะแรกของราชวงศ์มังราย ประ มาณรัชกาลพญาผายู (พ.ศ.1879-1898) และพญากือนา (พ.ศ.1898-1928) หรือหลังจากนั้นไม่นานนัก

    ชื่อของวัดแห่งนี้ยังมีปัญหาเรื่องชื่อ พันเส่า มาจากข้อสัณนิษฐานว่า "พัน" คือจำนวน 1 พัน "เส่า" หมายถึง เตาหลอมที่ใช้หล่อพระพุทธรูปซึ่งเชื่อกันว่าวัดนี้เป็นสถานที่หล่อ "พระเจ้าเก้าตื้อ" เมื่อ พ.ศ.2048

    ชื่อวัดพันเส่า จึงหมายถึง เตาหลอมจำนวนนับพัน ภาษาเขียน "พ" ภาษาอ่านจึงออกเสียง "ป" จึงเป็น "ปันเส่า"

    หรือชื่อว่า "พันเสา" ในความหมายว่า วัดที่มีวิหารขนาดใหญ่มีเสานับพัน ซึ่งจากการขุดหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปลายปี พ.ศ.2552 พบว่า วิหารของวัดแห่งนี้มีขนาดใหญ่ประมาณเท่าวิหารหลวงวัดพระสิงห์ แต่เสาวิหารคงไม่มากถึงพันเสา

    สำนักงานมาลาเรียเขต 2 เคยเช่าพื้นที่วัดและกลายเป็นที่ราชพัสดุ พื้นที่ของเทศบาลนครเชียงใหม่บางส่วน ต่อมา พ.ศ.2550 ศูนย์มาลาเรีย เขต 2 เชียงใหม่ ได้บอกคืนพื้นที่ของวัดให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่

    มูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ได้ฟื้นฟูให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย สร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป และสร้างเป็นสถานที่สำหรับรองรับพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ตึกสงฆ์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

    • Update : 30/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch