หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พิธีเททองหล่อพระ-ราหูย้าย มหาชนแน่นวัดไตรมิตรฯ


    เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2554 เป็นวันที่ราหูย้ายจากราศีธนูมาสถิตราศีพิจิก วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ นำโดย "พระพรหมเวที" เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม พระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ได้จัดพิธีรับ-ส่งพระราหู และ พิธีเททองหล่อ พระพุทธรูป 2 องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ โปรดอสุรินทราหู

    พระเทพภาวนาวิกรม กล่าวว่า ตามตำราโหราศาสตร์ท่านกล่าวไว้ว่า ช่วงที่ราหูย้ายจากราศีหนึ่งสู่ราศีหนึ่ง จะมีผลดลบันดาลให้ท่านที่ไม่บูชา ไม่พกพารูปลักษณ์ของราหู จะเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ การเดินทาง พบอุบัติเหตุ การประกอบธุรกิจทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริม ทรัพย์ จะประสบอุปสรรคต่างๆ นานา และท่านที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงานในราชการ หรือเอกชนก็จะมีปัญหากับผู้บังคับบัญชา หรือผู้หลักผู้ใหญ่ และจะเกิดเหตุวุ่นวายกับคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานพร้อมทั้งคนใกล้ชิด

    "ตำราโบราณจึงได้บอกไว้ว่าให้บูชารูปลักษณ์ของราหู ที่สร้างขึ้นจากเนื้อโลหะและเนื้อผงผสมว่าน ซึ่งเนื้อโลหะได้ผ่านความร้อนของไฟ มีความเชื่อกันว่าจะคงทนแข็งแกร่งและฝ่าฟันอุปสรรคใดใดทั้งปวง ส่วนเนื้อผงผสมว่านก็จะมีความเมตตา แคล้วคลาด เจริญรุ่งเรืองด้วย"



    สำหรับ "พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์" พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสอง ทอดพระบาทน้อยๆ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุเป็นพระกิริยาทรงรับ นิยมเรียกว่า "พระป่าเลไลยก์" พระพุทธรูปปางนี้ นิยมสร้างเป็นพระบูชาสำหรับคนเกิดวันพุธกลางคืน นับเข้าในเวลาพระราหูตามพิธีทักษา แม้คนที่มีอายุเข้าในเกณฑ์ดวงชะตาพระราหูเสวยอายุก็นิยมบูชา ถือว่าเป็นพระประจำเทวดานพเคราะห์ โดยเหตุที่พระพุทธรูปปางนี้ได้พระนามว่าพระปางป่าเลไลยก์ ก็เพราะช้างป่าเลไลยก์เชือกนี้ พระปางนี้ส่วนมากนิยมสร้างช้างหมอบถวายกระบอกน้ำอยู่แทบเท้าและลิงนั่งถวายรวงผึ้ง เป็นนิมิตร่วมอยู่ด้วยกัน

    ส่วน "พระพุทธรูปปางไสยาสน์โปรดอสุรินทราหู" เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รอง รับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "พระปางไสยาสน์"

    ในวันดังกล่าวได้มีคลื่นมหา ชนจากทั่วสารทิศเดินทางมาร่วมพิธีจนแน่นวัด เริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์สวดธัมจักรกัปปวัตนสูตร 14.00 น. พระเกจิอาจารย์สวดพระคาถามหาราชทั้ง 4 เวลา 17.15 น. เป็นพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่ และปางไสยาสน์ โปรดอสุรินทราหู พระเกจิอาจารย์อธิษฐานจิตนั่งปรกคุมธาตุทั้ง 4 ทิศ ประกอบด้วย หลวงปู่วาส วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี พระอาจารย์รักษ์ วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรอยุธยา หลวงพ่อเจิม วัดปรกรวยไม่เลิก จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อแย้ม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม

    โดยมี "พระพรหมเวที" เจ้าอาวาสวัดไตร มิตรวิทยาราม เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยข้าราชการทหาร-ตำรวจ และบรรดานักการเมือง ดารานักแสดงร่วมเจริญจิตตภาวนา บางท่านได้ถอดแหวนทองสร้อย ทองคำบริจาคใส่ในเบ้าหลอม เพื่อเททองหล่อองค์พระด้วย ซึ่งก่อนหน้านั้นบรรดาศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปได้เขียนชื่อ เขียนนามสกุล วันเดือนปีเกิดลงในแผ่นทอง เพื่อร่วมในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป 2 องค์ ไว้แล้วจำนวนมาก

    จากนั้นเวลา 18.15 น. พระคณาจารย์ชื่อดังร่วมสวดมนต์คาถาบูชาเทวดานพเคราะห์ เทวดาประจำวันเกิดของแต่ละท่าน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ร่วมพิธีทุกคน พิธีสวดบูชาเทวดานพเคราะห์เริ่มดำเนินการได้สักระยะหนึ่งก็เกิดฝนตกโปรยปรายลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้คนในพิธีไม่มีท่านใดกลับก่อนเลย ยอมตากฝนฟังการสวดจนจบ ผู้เข้าร่วมในพิธีหลายคนบอกว่า "พิธีเข้มขลังอย่างนี้ ถือเป็นมงคล ถ้าไม่อยู่ให้จบจะเสียเวลาเปล่า"

    พิธีกรรมจบลงในช่วงพลบค่ำของคืนนั้น ขอพร "หลวงพ่อทองคำ" แล้วก็แยกย้ายกันกลับอย่างชื่นมื่น

    • Update : 30/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch