หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทหารไทยในสงครามเกาหลี /7

    การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ ๔

    การเตรียมการจัดกำลังและการเดินทาง
                กองพันทหารไทยผลัดที่ ๔ เริ่มจัดตั้งเมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๙๕ ทำการฝึกเบื้องต้น ๔ เดือน
                การเดินทางแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนแรก ออกเดินทางเมื่อ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ส่วนหลังออกเดินทางเมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๔๙๖
                การเดินทางโดยทางเรือแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ส่วนที่ ๑ ออกเดินทางเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๕ โดยเรือสินค้าฮอร์ย ส่วนที่ ๒ ออกเดินทางเมื่อ ๒๘ ธันวาคม  ๒๔๙๕ โดยเรือทหารสหรัฐฯ ชื่อ USS General Charles Muir ส่วนที่ ๓ ออกเดินทางเมื่อ ๑๒ มกราคม ๒๔๙๖ โดยเรือฮอร์ย ส่วนที่ ๔ ออกเดินทางเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ โดยเรือของกองกำลังสหประชาชาติ
    การเริ่มการรบในแนวเจมส์ทาวน์ด้านเมืองแนชอน
                เที่ยงคืนของวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๕ ทหารข้าศึกประมาณ ๑ กองร้อย  พยายามเจาะแนวคอยเหตุทางปีกซ้ายของกองพันทหารไทยเข้าไป แต่ฝ่ายเราต้านทานไว้ได้โดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ข้าศึกจึงถอยกลับไป และเสียชีวิต ๓๐ คน
                คืนวันที่ ๒๐ ธันวาคม ทหารข้าศึก ๑ กองร้อยเพิ่มเติมกำลัง ได้พยายามเข้าตีปีกซ้ายของกองพันทหารไทยอีกครั้งหนึ่ง ข้าศึกส่วนหนึ่งได้ผ่านเข้ามาถึงหมวดคอยเหตุ กองร้อยที่ ๑ มีการต่อสู้กันในระยะประชิดประมาณ ๑ ชั่วโมง ฝ่ายเราจึงสามารถแย่งยึดที่ตั้งแนวคอยเหตุกลับคืนมาได้ ฝ่ายข้าศึกสูญเสียอย่างหนัก ทหารไทยเสียชีวิต ๘ คน
                ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๕ กองพันทหารเอธิโอเปีย ซึ่งขึ้นไปสมทบ กรมทหารราบที่ ๓๒ สหรัฐฯ ได้สับเปลี่ยนกับกองพันทหารไทย เนื่องจากมีการเปลี่ยนสับเปลี่ยนระดับ กองพลของสหรัฐฯ กองพันทหารไทยได้ลงไปเป็นกองหนุนโดยไปตั้งอยู่ที่หมู่บ้านฟิชอกโก ทางทิศใต้ของตำบลโปชอน ห่างออกไปประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
    การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์

                ปลายเดือนมกราคม ๒๔๙๖ กองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปผลัดเปลี่ยนกองพลที่ ๑ จักรภพอังกฤษ วางกำลังบนภูเขาเดอะฮุค และลิดเติลยิบรอลตาร์ ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำอินจินในแนวเจมส์ทาวน์
                ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ กองพันทหารไทยได้ขึ้นผลัดเปลี่ยนกองพันที่ ๑ ทางด้านซ้ายของกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ มีเขตรับผิดชอบทางปีกซ้าย เริ่มจากเขาทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านนาปู เขา ๑๕๖ หมู่บ้านพุดซัง จนสุดปีกขวาที่เขา ๑๖๖ และได้ตั้งมั่นอยู่ในแนวนี้จนถึง ๘ เมษายน ๒๔๙๖ ลักษณะการรบเป็นการลาดตระเวณ และดักซุ่มยิงเพื่อจับเชลย จึงได้ให้กองร้อยในแนวหน้าส่งหน่วยลาดตระเวณขนาดย่อม ออกไปสกัดซุ่มยิงข้าศึกทั้งกลางวันกลางคืน มีการปะทะกับหน่วยลาดตระเวณข้าศึกหลายครั้ง
                ๑ มีนาคม ๒๔๙๖ ฝ่ายข้าศึกซึ่งไม่ได้เคลื่อนไหวมานาน ได้เริ่มปฏิบัติการเชิงรุก โดยเริ่มระดมยิงปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนักไปยังกองร้อยที่ ๑ และที่ ๒ ของไทยอย่างรุนแรง จากนั้นกำลังข้าศึกประมาณ ๒ กองร้อย ได้เข้าโจมตีมีบางส่วนเข้ายึดหมู่คอยเหตุที่ ๓ ของกองร้อยที่ ๒ จึงเกิดการต่อสู้ถึงขั้นตะลุมบอน ฝ่ายเราส่งกำลังเข้าตีโต้ตอบยึดคืนกลับมาได้ ข้าศึกหยุดการโจมตี และถอนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  พร้อมกับการสูญเสียอย่างหนัก ฝ่ายเราเสียชีวิต ๗ คน บาดเจ็บ ๒๓ คน
                ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๖ เวลา ๒๓.๐๐ น. หมวดรบพิเศษของกองพันทหารไทย ได้เคลื่อนที่เข้าสู่ที่หมายอย่างเงียบ ๆ โดยมีหมู่ลาดตระเวณจากกองร้อยที่ ๑ และกองร้อยที่ ๒ เคลื่อนที่ตามออกไปวางกำลังคุ้มครองการถอนตัว ฝ่ายเราเข้าตีที่ตั้งหมู่คอยเหตุของข้าศึก และถอนตัวกลับมาได้ไม่มีการสูญเสีย
                ในคืนวันที่ ๑๗ มีนาคม  ข้าศึกประมาณ ๑ กองพัน ได้เข้าตีหน่วยทหารสหรัฐฯ กองพันทหารไทยได้ใช้อาวุธหนักยิงช่วยอย่างเต็มที่ ฝ่ายข้าศึกเสียกำลังมากกว่า ๔๐๐ คน ฝ่ายเราบาดเจ็บ ๑๐๐ คนเศษ นับเป็นการรบครั้งที่หนักที่สุดของกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ในแนวรบนี้
                ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ มีนาคม ๒๔๙๖ ข้าศึกส่งหน่วยลาดตระเวณเข้าไปหยั่งกำลังฝ่ายเราตลอดแนวของกรม ข้าศึกประมาณ ๔ หมวด ได้เคลื่อนที่เข้าไปข้างหน้ากองร้อยที่ ๑ ของไทย ปะทะกับยามพังการณ์ และหมู่คอยเหตุของเรา ฝ่ายเราถอนตัวได้ทัน และใช้อาวุธหนักทุกชนิดยิงสกัดกั้นข้าศึกอย่างรุนแรง จนข้าศึกต้องถอนตัวกลับไป
            กองพันทหารไทยได้เคลื่อนย้ายลงไปเป็นกองหนุน เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๙๖ โดยไปตั้งอยู่ที่ตำบลพับยอง ห่างจากเมืองอุยจองบูไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
                กองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ได้ย้ายไปขึ้นกับกองทัพน้อยที่ ๙ สหรัฐฯ เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๔๙๖ กองพันทหารไทยจึงได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายไปเข้าที่ตั้งในแนวแคนซัส ซึ่งเป็นแนวหนุนของกองทัพที่ ๘ สหรัฐฯ ที่ตั้งกองพันอยู่ที่บ้านเชิงเขาหลังแคนซัส ต่อมาเมื่อ ๖ พฤษภาคม ๒๔๙๖ ก็ได้รับคำสั่งให้ย้ายจากแนวแคนซัสไปที่หมู่บ้านคิโอ ทางทิศใต้ของเมืองชอร์วอน ๑๑ กิโลเมตร ในที่รวมพลของกองพลที่ ๒ สหรัฐฯ
                ๒๑ มิถุนายน ผู้บังคับกองพันทหารไทยผลัดที่ ๔ ได้ส่งมอบการบังคับบัญชาให้ผู้บังคับกองพันทหารไทยผลัดที่ ๕
                จากการปฏิบัติการของกองพันทหารไทยผลัดที่ ๔ ในบริเวณเมืองเคซอง มุรซาน อุยจองบู และชอร์วอน ประธานาธิบดีชิงมังรีแห่งเกาหลีใต้ ได้มอบแพรแถบเชิดชูเกียรติคุณหน่วย พร้อมทั้งคำประกาศเกียรติคุณหน่วย เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๘๗ ดังนี้


    ซิงมันรี
    ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
    ๘ เมษายน ๒๔๙๗

    คำประกาศเกียรติคุณหน่วย
    ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลีขอประกาศเกียรติคุณด้วยความปิติอย่างซาบซึ้ง แด่

    กองพันทหารไทย
    ในการที่ได้ประกอบภารกิจดีเด่นเป็นพิเศษ
    แก่สาธารณรัฐเกาหลี
    ในรอบระยะเวลาตั้งแต่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ ถึง ๘ เมษายน ๒๔๙๖

                กองพันทหารไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจเป็นผลดีเยี่ยม ในการสู้รบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ผู้รุกรานประเทศเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุทธบริเวณพื้นที่เมืองเคซอง มุนซาน ชุนชอน อุยจองบู และชอร์วอน เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๙๖ ข้าศึกได้ทำการเข้าโจมตีกองร้อยที่ ๑ โดยมีปืนใหญ่ยิงช่วยอย่างหนัก แต่กองร้อยที่ ๑ ได้ทำการผลักดันข้าศึกด้วยความกล้าหาญ จนฝ่ายข้าศึกต้องสูญเสียกำลังไปเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการรบนี้ ทหารทุกคนในกองร้อยที่ ๑ ได้แสดงให้เห็นความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว อย่างเด่นชัด
                การปฏิบัติของบรรดาทหารไทยในกองพันทหารไทยอันดีเด่นนี้ ได้เป็นผลเสริมส่งเกียรติคุณให้แก่กองพันทหารไทย ราชการแห่งกองทัพบกไทย และกำลังทหารสหประชาชาติที่ปฏิบัติการอยู่ในประเทศเกาหลี ด้วยเกียรติประวัติซึ่งกองพันทหารไทยได้ปฏิบัติการไปนี้จะได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐเกาหลี
                คำประกาศเกียรติคุณหน่วยนี้แสดงว่า ทหารไทยทุกคนซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจในสาธารณรัฐเกาหลีในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวแล้วนั้น ย่อมมีสิทธิที่จะประดับแพรแถบเชิดชูเกียรติคุณนี้ได้


    • Update : 30/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch