หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทหารไทยในสงครามเกาหลี /5
    การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ ๒


    การเตรียมรุกใหญ่เพื่อเข้าตี และยึดที่มั่นขั้นต่อไป
                ในปลายเดือนกันยายน ๒๔๙๔ แม่ทัพน้อยที่ ๑ สหรัฐฯ ได้กำหนดแผนยุทธการ เพื่อเข้าตีทำลายข้าศึก และยึดแนวภูมิประเทศสำคัญ หน้าแนวไวโอมิง ออกไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร แล้วจัดที่มั่นหลักใหม่ให้ชื่อว่า แนวเจมส์ทาวน์ ซึ่งเมื่อยึดได้แล้วจะอำนวยประโยชน์ทั้งในทางยุทธวิธีและการเจรจาหยุดยิง
                ในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๔๙๔ กองทัพน้อยที่ ๑ สหรัฐฯ ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนที่เข้าตี และยึดแนวภูมิประเทศสำคัญในพื้นที่รับผิดชอบ  ๓ ตุลาคม ๒๔๙๔ กองพลทหารม้าที่ ๑ สหรัฐฯ เริ่มเข้าตีโดยใช้กำลัง ๒ กรม เป็นกองรบเดียวกันอีก ๑ กรมเป็นกองหนุน กองพันทหารไทยขึ้นสมทบอยู่ในกองหนุน เตรียมเคลื่อนที่เข้าตีต่อไปทางทิศเหนือ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้เคลื่อนที่เข้ารวมพลในเขตตำบลยัลดอง  ต่อมาเมื่อ ๘ ตุลาคม กรมทหารม้าที่ ๘ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นกองหนุน ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนที่เข้าประจำแนว แทนกรมทหารม้าที่ ๗ สหรัฐฯ ในแนวหน้า กองพันทหารไทยยึดพื้นที่อยู่บนสันเขาสูง ตามสันเขายอด ๓๓๔ ถึงยอด ๔๑๘  ต่อมา เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๙๔ กองพันทหารไทยปรับแนวรับผิดชอบกว้างด้านหน้าในการตั้งรับ ๓,๕๐๐ เมตร หน่วยลาดตระเวณของกองพันทหารไทย ได้ปะทะกับข้าศึก จำนวนหนึ่งบนแนวสันเขาที่เรียกว่า เขาทีโบน (T - Bone)  ๑๔ ตุลาคม ๒๔๙๔ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้ขึ้นสมทบ กรมทหารม้าที่ ๗ สหรัฐฯ ๒๐ ตุลาคม กองพันทหารไทยปรับแนวใหม่โดยเข้ายึดที่มั่นตามสันเขาตั้งแต่ ยอด ๔๑๘ ไปทางขวา และได้รับคำสั่งให้กลับไปขึ้นกับกรมทหารม้าที่ ๘ สหรัฐฯ ตามเดิม
                ปลายเดือนตุลาคม ๒๔๙๔ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้วางแผน และเตรียมการเข้าตีจากแนวที่ยึดอยู่ เพื่อเข้ายึดเขาทีโบน โดยใช้กำลังกองพันทหารไทยเพียงกองพันเดียว สมทบกำลังด้วยรถถังและเครื่องยิงหนัก พร้อมด้วยการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่กองพล และเครื่องบินโจมตี แต่ในที่สุดทางกองพลทหารม้าที่ ๑ สหรัฐฯ ได้ยกเลิกแผนนี้ เพราะกำลังยิงสนับสนุนมีไม่เพียงพอ
    การปฏิบัติการของหมวดคอยเหตุ
                กองพันทหารไทยได้ใช้กำลัง ๑ หมวดปืนเล็กไปทำหน้าที่หมวดคอยเหตุ อยู่หน้าแนวตลอดเวลาโดยไปตั้งอยู่ที่เนิน ๒๐๐ ห่างออกไปจากแนวต้านทานหลักของฝ่ายเราประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร และห่างจากแนวที่มั่นข้าศึกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ที่เนิน ๒๐๐ นี้ ดัดแปลงพื้นที่สำหรับตั้งรับวงรอบ มีการวางเครื่องกีดขวางลวดหนาม ประกอบการวางทุ่นระเบิด และพลุสดุด หลายชั้น วางสายโทรศัพท์ติดต่อกับที่บังคับการกองพัน และยังคงใช้วิทยุเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักตลอดเวลา ฝ่ายข้าศึกได้ส่งกำลังเข้ารบกวนหลายครั้งในเวลากลางคืน
                เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ข้าศึกได้เริ่มระดมยิงอย่างรุนแรงตั้งแต่ เวลา ๑๙.๐๐ น.เศษ ด้วยเครื่องยิงหนัก และปืนใหญ่มายังที่มั่นของหมวดคอยเหตุ ข้าศึกประมาณ ๒ กองร้อย พร้อมด้วยรถถังประมาณ ๑๐ คัน ได้เคลื่อนที่เข้ามาตรงหน้า และพื้นที่ราบสองข้างของเนิน ๒๐๐ และระดมยิงที่มั่นใหญ่ของกองพันทหารไทยหนาแน่น การติดต่อทางสาย และวิทยุถูกตัดขาด จนใกล้รุ่งสว่างจึงทราบจากผู้ที่เล็ดลอดกลับมาได้ว่าหมวดคอยเหตุบนเนิน ๒๐๐ ละลายแล้วทั้งหมวด เนื่องจากข้าศึกเข้าล้อมและบุกเข้าประชิดถึงตัว มีการสู้รบกันถึงขั้นตะลุมบอน ข้าศึกมีจำนวนมากกว่าหลายเท่า การยิงฉากป้องกันจากที่มั่นใหญ่ช้าเกินไปไม่ทันการ ทหารประมาณครึ่งหมวดเสียชีวิต ส่วนที่เหลือได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ฝ่ายข้าศึกก็สูญเสียเป็นจำนวนมากเช่นกัน นับเป็นการสูญเสียในการรบครั้งแรกของกองพันทหารไทย  ต่อมาอีก ๗ วัน กองพันทหารสหรัฐฯ ก็ถูกโจมตีในทำนองเดียวกัน ทำให้กองพลทหารม้าที่ ๑ สหรัฐฯ สั่งเปลี่ยนที่ตั้งหมวดคอยเหตุใหม่ ให้ใกล้เข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน ๑.๕ กิโลเมตร จากแนวต้านทานหลัก
    การกลับไปเป็นกองหนุน

                กองพันทหารไทยเริ่มเคลื่อนที่ออกจากที่รวมพลหมู่บ้านชอนกอง เมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๔ ด้วยขบวนยานยนต์เดินทางเลียบชายฝั่งทิศเหนือของลำน้ำฮัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สู่เมืองกุมหว่าเข้าที่รวมพลในที่ตั้งใหม่ที่หมู่บ้านวาสุ ในพื้นที่กองหนุนของกองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ และเมื่อ ๒๗ ธันวาคม ๒๔๙๔ หน่วยกำลังทดแทนของไทยจำนวน ๒๐๐ คน ก็ได้เดินทางจากตำบลทองเนเมืองบูซานมาเข้าที่ตั้งของกองพันทหารไทย
    การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
                ๒๕ มกราคม ๒๔๙๕ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่ง ให้เตรียมการขึ้นไปสับเปลี่ยนกับกองพันทหารฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหน่วยในบังคับบัญชาของกรมทหารราบที่ ๒๓ กองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ในแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์ ทางเหนือเมืองกุมหว่า การสับเปลี่ยนกระทำในเวลากลางคืนเริ่มตอนค่ำของ ๒๙ มกราคม ๒๔๙๕ ใช้เวลา ๒ คืนจึงแล้วเสร็จ ระหว่างนี้หิมะตกหนักมาก ข้าศึกส่วนใหญ่ปฏิบัติการอยู่บนเทือกเขานสูงจึงเป็นฝ่ายได้เปรียบ กองพันทหารไทยตั้งรับอยู่ในพื้นที่ราบ ต้องขุดคูติดต่อไปยังแนวคอยเหตุของแต่ละกองร้อย
                กองทัพที่ ๘ สหรัฐฯ ได้มีคำสั่งสให้ทุกหน่วยในแนวหน้า ปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาตามแผนที่เรียกว่า Operation Calm - up ระหว่าง ๑๐ - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ โดยให้กำลังทหารทุกหน่วยอยู่ในความสงบ ไม่ให้ปฏิบัติการหรือเคลื่อนไหวทางยุทธวิธีใด ๆ งดการส่งหน่วยออกลาดตระเวณ และไม่ยิงปืนใหญ่ รวมทั้งไม่มีการสนับสนุนทางอากาศตลอดระยะ ๒๐,๐๐๐ หลาจากหน้าแนว เพื่อลวงให้ข้าศึกเข้าใจว่าฝ่ายเราได้ถอนตัวออกไปหมดแล้ว มีการเตรียมเสบียงสำเร็จรูปให้เพียงพอใช้ถึง ๗ วัน กระสุน ๕ อัตรายิง และห้ามยิงเด็ดขาดตลอดแนวจนกว่าข้าศึกจะบุกเข้าตีฝ่ายเราก่อน ห้ามการติดต่อทางวิทยุ ให้ติดต่อทางโทรศัพท์เท่านั้น ปฏิบัติการเช่นนี้อยู่ ๖ วัน จึงกลับสู่การปฏิบัติตามปกติ
                กองพันทหารไทยได้กลับไปเป็นกองหนุนของกรม โดยลงไปพักที่บ้านชอนกอง ตั้งแต่ ๒๐ กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม ๒๔๙๕ จากนั้นได้กลับขึ้นไปประจำแนวเจมส์ทาวน์บริเวณเมืองกุมหว่า
                กองพันทหารไทยกลับไปเป็นกองหนุน ตั้งแต่ ๑๓ - ๒๖ เมษายน ๒๔๙๕ ในที่ตั้งเดิม

    การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ ๓

    การปฏิบัติหน้าที่เป็นกองหนุนของกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ
                การสงครามดำเนินมาถึงปีที่ ๓ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติ แม้ว่าจะมีการเจรจาความตกลงสงบศึก ตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๔ แล้วก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังคงยึดภูมิประเทศ เผชิญหน้ากันอยู่ในแนวมิสซูรี (Missouri Line)
                กองพลที่ ๒ สหรัฐฯ ได้รับคำสั่งให้เข้าประจำแนว กรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปผลัดเปลี่ยนกรมทหารราบที่ ๒๗๙ สหรัฐฯ บนแนวเจมส์ทาวน์ ด้านเขาทีโบนกับเขาอัลลิเกอร์จอส์ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่ง จากกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ให้เคลื่อนย้ายติดตามไป กำหนดการเคลื่อนย้ายใน ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๕
                ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๑ กรกฎาคม ๒๔๙๕ กำลังพลของผลัดที่ ๓ ส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๓ ได้เดินทางไปผลัดเปลี่ยนกับผลัดที่ ๒
                กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งเตรียมจากกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ให้ผลัดเปลี่ยนกองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ประมาณต้นเดือน สิงหาคม ๒๔๙๕
    การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
                กองพันทหารไทยได้เข้าประจำแนวเจมส์ทาวน์ เมื่อ ๒ สิงหาคม ๒๔๙๕ ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน เป็นช่วงฤดูร้อนของเกาหลี อากาศอบอุ่นฝนตกชุก ลักษณะภูมิประเทศหน้าแนวที่ตั้งรับของกองพันทหารไทยเป็นที่ราบลุ่มและโล่ง มีเขาทีโบนที่ฝ่ายข้าศึกยึดอยู่เป็นตำบลสำคัญ กำลังฝ่ายข้าศึกที่เผชิญหน้ากับกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ และกองพันทหารไทยมีอยู่ ๒ กรมทหารราบ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ได้กำชับให้กองพันในแนวหน้า ทำการลาดตระเวณทุกวัน และให้มีการปฏิบัติการเชิงรุก โดยส่งหน่วยลาดตระเวณรบเข้าตีโฉบฉวยต่อที่มั่นตั้งรับของข้าศึก ทั้งนี้ให้กองพันทหารไทยเริ่มปฏิบัติก่อนต่อที่หมายเขาทีโบน เมื่อ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๙๕ ในขั้นต้นได้ทำการตรวจภูมิประเทศด้วยเครื่องบินเบา แอล - ๑๙ บริเวณหัวเขาทีโบน ขั้นต่อมามีการซ้อมปฏิบัติการเวลากลางคืน แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแผนให้กองพันที่ ๑ สหรัฐฯ เข้าปฏิบัติการแทน
    ผู้บังคับกองพันทหารไทย กับคณะได้รับเชิญไปร่วมพิจารณาปัญหาการเจรจาสงบศึกที่ปันมุมจอม

                เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๕ ผู้บังคับกองพันทหารไทย (พันตรี เกรียงศักดิ์  ชมะนันท์) และคณะได้เดินทางไปยังหมู่บ้านมุนซานตามคำเชิญของ พลตรี แฮริสัน หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาความตกลงสงบศึก ฝ่ายสหประชาชาติ ที่ต้องการให้บรรดาผู้บังคับหน่วยทหารพันธมิตร ในสนามที่ร่วมรบในประเทศเกาหลีได้ทราบเรื่องราวที่ฝ่ายสหประชาชาติกับ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ กำลังเจรจากันอยู่ และขอทราบความคิดเห็นส่วนตัวอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งอาจจะช่วยคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ลุล่วงไปได้อย่างสมศักดิ์ศรีของฝ่ายกองบัญชาการสหประชาชาติด้วย
    การเจรจาความตกลงสงบศึก มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังนี้
                ๑.  คณะผู้แทนเจรจาความตกลงสงบศึก ฝ่ายสหประชาชาติขึ้นอยู่กับกองบัญชาการสหประชาชาติ กรุงโตเกียว มีสำนักงานอยู่ที่หมู่บ้านมุนซาน รวมทั้งเป็นที่พักของคณะผู้แทน และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ด้วย
                ๒.  เรื่องที่กำลังเจรจาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเชลยศึก ซึ่งยังไม่เป็นที่ตกลงกัน เนื่องจากฝ่ายสหประชาชาติเสนอว่า การแลกเปลี่ยนเชลยศึกต้องให้เป็นความสมัครใจของเชลยศึกเอง แต่ฝ่ายคอมมิวนิสต์เสนอว่า การแลกเปลี่ยนเชลยศึกต้องให้เชลยศึกกลับประเทศของตนทุกคน
    การจับเชลยศึก และพิธีประดับเหรียญบรอนซสตาร์

                เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๕ กองร้อยที่ ๒ ได้ตรวจการณ์เห็นข้าศึก จำนวนหนึ่งเคลื่อนที่เข้ามา จึงได้ออกปฏิบัติการและจับข้าศึกส่วนนี้ได้ ๑ คน นับว่ากองพันทหารไทยเป็นหน่วยแรกของกองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ที่จับเชลยศึกได้ตามนโยบายของหน่วยเหนือ  ต่อมาใน วันที่ ๑๑ กัยยายน ๒๔๙๕ กองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ได้จัดพิธีประดับเหรียญบรอนซ์สตาร์ ให้แก่ สิบตรี ศรีบุตร  หน่องาม กับพลทหาร บุญธรรม  บุญเรือง ซึ่งเป็นผู้จับเชลยศึกได้ ณ บริเวณที่บังคับการกองพันหลังแนวที่มั่น โดยมีผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ เป็นประธานในพิธี ต่อหน้าทหารเกียรติยศผสม ไทย - สหรัฐฯ
    การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
                เมื่อ ๒๑ กันยายน ๒๔๙๕ กองพันทหารไทยได้รับการผลัดเปลี่ยนจากกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒๓ สหรัฐฯ ที่ค่ายเคซี อยู่เหนือเมือง อุยจองบู ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ค่ายเคซีเป็นที่พักสนามสำหรับหน่วยทหารที่เคลื่อนย้ายตามแผนของหน่วยเหนือ หมุนเวียนเข้าไปพักเป็นประจำ
                ในปลายเดือนกันยายน ๒๔๙๕ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งจากกรมทหารราบที่ ๙ สหรัฐฯ ให้เคลื่อนย้ายไปเข้าที่รวมพลหลังแนวเจมส์ทาวน์ ด้านเขาโอลด์บอลดี เพื่อเพิ่มเติมกำลังแนวรบด้านนี้ แต่ต่อมาได้ถูกระงับภารกิจหลังจากที่เดินทางไปถึง ได้ ๑ คืน


    • Update : 30/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch