หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒/10
    อนุสัญญาฉบับ ลงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๕ มีอยู่ ๑๐ ข้อ มีใจความว่า
                    ข้อ ๑  กำหนดพรมแดนระหว่างไทยกับเขมรตอนเหนือ และรวมเอาดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงแคว้นหลวงพระบาง
                    ข้อ ๒  ให้ไทยยกเมืองมโนไพร และจำปาศักดิ์ให้ฝรั่งเศส
                    ข้อ ๓  ให้ไทยมีได้แต่ทหาร และนายทหารที่เป็นคนไทยในดินแดน ภาคอีสาน
                    ข้อ ๔  การสร้างท่าเรือคลอง และทางรถไฟ ในดินแดนภาคอีสาน จะทำได้ด้วยทุนของไทยและโดยคนไทย
                    ข้อ ๕,๖ และ ๗ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนในบังคับ
                    ข้อ ๘,๙ และ ๑๐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้และการตีความในสัญญา
                แม้ว่าไทยกับฝรั่งเศสจะได้ทำอนุสัญญาฉบับนี้กันแล้ว แต่ทางรัฐสภาฝรั่งเศสยังไม่ยอมให้สัตยาบัน และฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกไปจากจันทบุรี ดังนั้นต่อมาอีกปีเศษจึงได้มีการทำอนุสัญญาฉบับลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับก่อน มี ๑๖ ข้อ มีใจความว่า
                    ข้อ ๑  กำหนดเขตแดนไทยกับเขมรโดยถือเอาภูเขาบรรทัดเป็นหลัก แล้ววกกินดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามปากเซ
                    ข้อ ๒  กำหนดเขตแดนทางหลวงพระบาง โดยไทยต้องยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงหน้าหลวงพระบางให้ฝรั่งเศส
                    ข้อ ๓  บัญญัติให้ตั้งข้าหลวงผสมปักปันเขตแดนตามความในข้อ ๑ และ ๒ ให้เสร็จภายในสี่เดือน
                    ข้อ ๔  ให้รัฐบาลไทยยอมเสียสละอำนาจที่จะเป็นเจ้าของแผ่นดินเมืองหลวงพระบางทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แต่อนุญาตให้คนไทยขึ้นล่องในแม่น้ำโขงตอนทีตกเป็นของฝรั่งเศสตอนนั้นได้สะดวก
                    ข้อ ๕  เมื่อได้ทำการปักปัน และตกลงกันตามความข้างต้นนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ฝรั่งเศสรับว่าจะออกไปจากจันทบุรีทันที
                    ข้อ ๖  ทหารของประเทศไทยที่จะประจำดินแดนภาคอีสานต้องเป็นชาติไทยทั้งหมด ส่วนตำรวจนั้นให้นายตำรวจเป็นชาติเดนมาร์ค แต่ถ้าจะเปลี่ยนเป็นชาติอื่นต้องให้ฝรั่งเศสตกลงด้วยก่อน ส่วนตำรวจที่รักษาพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณนั้น ต้องเป็นคนพื้นเมืองนั้นทั้งสิ้น
                    ข้อ ๗  การทำท่าเรือ คลอง ทางรถไฟในดินแดนภาคอีสาน ต้องทำด้วยทุนและแรงงานของไทย ถ้าทำไม่ได้ต้องปรึกษาฝรั่งเศส
                    ข้อ ๘  ไทยจะต้องให้ฝรั่งเศสเช่าที่ทำท่าเรือที่เชียงคาน หนองคาย ชัยบุรี ปากน้ำก่ำ มุกดาหาร เขมราฐ และปากน้ำมูล
                    ข้อ ๙  ไทยกับฝรั่งเศสจะต้องร่วมมือกันสร้างทางรถไฟจากพนมเปญถึง พระตะบอง
                    ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑  บัญญัติวิธีการจดทะเบียนคนในบังคับของฝรั่งเศส
                    ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓  ว่าด้วยอำนาจศาล
                    ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้และการตีความในสัญญา
                ฝรั่งเศสยังไม่ยอมออกจากเมืองจันทบุรี เพราะไทยต้องปฏิบัติตามข้อตกลง (Agrement) ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๗ เกี่ยวกับการปักปันเขตแดนใหม่ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน ฝรั่งเศสได้ถอนทหารออกจากจันทบุรีหมดเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗ โดยไทยต้องเสียดินแดนไปถึง ๖๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร
                ฝรั่งเศสออกจากเมืองจันทบุรีแล้ว ได้ไปยึดเมืองตราดแทน เพื่อเรียกร้องจากไทยต่อไปอีก
    ไทยเสียพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ
                การที่ฝรั่งเศสยึดเมืองตราด ทำให้เกาะทั้งหลายใต้แหลมลิงไปจนถึงเกาะกูด คงอยู่ในความยึดครองของฝรั่งเศส ดังนั้น เพื่อให้ฝรั่งเศสออกไปจากเมืองตราดไทยต้องเสียพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ไปให้ฝรั่งเศสอีก โดยสัญญา ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๙ และมีพิธีสาร (Protocol) ต่อท้ายว่าด้วยการปักปันเขาแดน ลงวันที่เดียวกัน มีใจความว่า
                "ไทยยอมยกดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยอมยกเมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) เมืองตราด และเกาะทั้งหลายที่อยู่ใต้แหลมลิง ลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่ไทย
                มีพิธีสารต่อท้ายอีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่เดียวกันเรื่องอำนาจศาลในกรุงสยาม มีใจความว่า
                "ให้คนในบังคับฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในประเทศไทยมีสิทธิมากขึ้น" ครั้งนี้ไทยต้องเสียดินแดนไปอีก ๕๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
                ได้มีการประกอบพิธีรับมอบเมืองตราดจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๐ โดยมีพระยาศรีสหเทพ (เส็ง  วิริยะศิริ) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยทหารเรือ ๑ กองร้อย เดินทางไปรับมอบ

    จันทบุรีถูกยึดครอง


                ในสมัย ร.ศ.๑๑๒ เมืองจันทบุรีขึ้นกับกระทรวงการต่างประเทศ มีข้าราชการในตำแหน่งสำคัญประจำอยู่ ดังนี้
                    พระยาวิชยาธิบดี (หงาด  บุนนาค) เป็นผู้ว่าราชการเมือง
                    พระยาเทพสงคราม (เยื้อง  สาณะเสน) เป็นปลัดเมือง
                    พระกำแพงฤทธิรงค์ (แบน  บุนนาค) เป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง
                    พระวิเศษสงคราม เป็นนายด่านปากน้ำ
                    ขุนกลางบุรี (ปลิว  พันธุมนันท์) เป็นตุลาการ
                    นายร้อยเอก ตรุศ เป็นผู้บังคับการทหารเรือ
                    นายร้อยโท คอลส์ ชาติเดนมาร์ค เป็นครูทหารเรือ
                    นายร้อยโท จ้อย  เป็นผู้บังคับกองทหารเรือ
                ในระหว่างที่กองเรือฝรั่งเศสประกาศปิดอ่าว เรือฟอร์แฟได้มาตรวจการปิดอ่าวทางด้านเมืองจันทบุรี เมื่อประมาณ วันที่ ๓๐ - ๓๑ กรกฎาคม ได้มาทำการหยั่งน้ำทำแผนที่บริเวณปากน้ำจันทบุรี และได้จัดส่งเรือกลไฟเล็กไปที่ป้อมที่แหลมลิง เอาประกาศปิดอ่าวมาแจ้งให้ทราบ
                เมื่อเลิกการปิดอ่าวแล้วเรือลูแตงและเรือแองคองสตังต์ได้ไปยึดปากน้ำจันทบุรี ต่อมาเมื่อได้มีการลงนามในสัญญาสงบศึกที่กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ กองทหารฝรั่งเศสก็ได้ยกไปตั้งที่เมืองจันทบุรี ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งหลวงอุดมสมบัติ (หนา  บุนนาค) กับหลวงวิสูตรโกษา (เจิม  บุนนาค) เป็นข้าหลวงออกไปช่วยราชการ ม.ปาวี ได้ไปตรวจราชการพร้อมกับนี้ด้วย ก่อนที่กองทหารฝรั่งเศสจะยกไป กองทหารเรือที่แหลมสิงห์ และที่เมืองจันทบุรีก็ต้องย้ายไปตั้งที่เมืองขลุง
                เรืออาสปิค ซึ่งรับ ม.เลอมีร์ เดอ วิเลร์ส จากกรุงเทพ ฯ กลับไซ่ง่อน ได้แวะที่ปากน้ำจันทบุรี เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖
                เรือสวิฟท์ของอังกฤษ ได้เดินทางไปจอดที่ปากน้ำ จันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ได้ติดต่อสอบถามกับผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรี ในฐานะที่ต้องถูกยึดครอง
                เรือเมล์เยอรมัน ชื่อ ชวัลเบ (Schalbe) ซึ่งฝรั่งเศสเช่ามาได้บรรทุกกองทหารฝรั่งเศสหนึ่งกองพัน เดินทางจากไซ่ง่อนมาถึงปากน้ำจันทบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ กองทหารนี้ มีทหารฝรั่งเศสประมาณ ๑๐๐ คน ทหารญวน ประมาณ ๓๐๐ คน ได้จัดกำลังทหารประมาณ หนึ่งกองร้อย รักษาการณ์อยู่ที่แหลมสิงห์ห์ นอกนั้นไปตั้งอยู่ที่ค่ายทหารในเมืองจันทบุรี ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งกองทหารเรือ
                กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีทราบล่วงหน้าถึงการที่กองทหารฝรั่งเศส จะยกมาตั้งที่เมืองจันทบุรี ดังนั้นผู้ว่าราชการเมือง พร้อมด้วยกรมการจึงได้ไปต้อนรับกองทหารฝรั่งเศสที่ปากน้ำแหลมสิงห์ห์ฉันมิตร ข้าหลวงจากกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองนาย ก็ได้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่กองทหารฝรั่งเศส ในการติดต่อกับข้าราชการฝ่ายไทย เมื่อทหารฝรั่งเศสเข้าอยู่ในที่ตั้งแล้ว ก็ได้จัดการก่อสร้างที่พักของทหาร จัดการคมนาคมติดต่อระหว่างหน่วยทหารในเมืองกับหน่วยทหารที่ปากน้ำแหลมสิงห์
                ในระหว่างที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีอยู่นั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งด่านตรวจเรือที่หัวแหลมตึกแดงปากน้ำแหลมสิงห์ โดยทำสะพานยื่นจากหัวแหลมตึกแดงออกไปทางทะเล สำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจตราบรรดาเรือเมล์ หรือเรือใบที่จะผ่านเข้าออกไปมา บรรดาเรือเมล์ก่อนที่จะผ่านเข้าออกปากน้ำจันทบุรี เมื่อใกล้ถึงหัวแหลมตึกแดงแล้ว ต้องชักหวูดให้กองทหารฝรั่งเศสได้ยิน และต้องคอยให้พวกทหาร หรือล่ามของเขาขึ้นมาตรวจก่อนทุกครั้ง กัปตันเรือจะต้องยื่นบัญชีจำนวนสินค้า และจำนวนคนโดยสารให้เขาทราบทุกเที่ยวเมล์ เมื่อเขาการตรวจและรับบัญชีไปแล้ว เรือเมล์จึงเดินทางต่อไปได้ เรือเมล์ที่เดินอยู่ระหว่างกรุงเทพ ฯ กับจันทบุรีในยุคนั้น มีอยู่หลายลำและหลายเจ้าของด้วยกัน
                ส่วนบรรดาเรือใบ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกสินค้า ก็ต้องแวะให้ตรวจเช่นกัน ถ้าเรือลำใดไม่แวะให้เขาตรวจเขาก็ใช้อำนาจยิงเอา การเช่นนี้ทำความลำบากแก่บรรดาเรือกลไฟ และเรือใบที่ต้องเสียเวลาหยุดเครื่องจักรหรือลดใบให้เขาตรวจเสียก่อน


                ในระยะแรกที่ฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี จะพักอาศัยอยู่ตามโรงเรือนฝ่ายไทย เช่น โรงทหารเก่าของไทย และบ้านเรือนของข้าราชการ ต่อมาฝรั่งเศสจึงได้ก่อสร้างบ้านเรือนและที่พักทหาร ที่สร้างเป็นตึกถาวรในบริเวณค่ายทหาร มีอยู่หลายหลังคือ
                    ตึกรูปสี่เหลี่ยมชั้นเดียว หลังคาตัด ใช้เป็นตึกกองบังคับการ และเป็นที่อยู่ของผู้บังคับกองทหาร (ตึกดองมันดอง)
                    ตึกชั้นเดียวขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่เก็บอาวุธยุทธภัณฑ์
                    ตึกชั้นเดียวขนาดเล็ก ใช้เป็นที่อยู่ของพนักงานคลัง
                    ตึกชั้นเดียวขนาดยาว ใช้เป็นโรงพยาบาลทหาร
                    ตึกชั้นเดียวขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่อยู่ของนายทหารมี ๒ หลัง
                    ตึกชั้นเดียวขนาดใหญ่ ใกล้ประตูหน้าค่ายทหารใช้เป็นที่อยู่ของกองรักษาการณ์ ด้านหลังใช้เป็นที่คุมขังนักโทษทหาร


                นอกจากนี้ ยังได้สร้างตึกถาวรอีกแห่งหนึ่งที่ปากน้ำแหลมสิงห์เรียกกันว่า ตึกแดง และได้สร้างคุกทหารไว้หลังหนึ่งด้วย
                เมื่อไทยได้ทำอนุสัญญากับฝรั่งเศสอีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ แล้ว ฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกไปจากเมืองจันทบุรี แต่เมื่อออกจากจันทบุรีไปแล้ว ก็ได้ไปยึดครองเมืองตราดต่อไปอีก
                กองทหารฝรั่งเศสในบังคับบัญชาของ นายพันตรี โฟเดต์ ได้ถอนกำลังออกจากเมืองจันทบุรี เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗ แล้วไปตั้งอยู่ที่เมืองตราด กองทหารฝรั่งเศสเริ่มย้ายออกไปจากเมืองจันทบุรี ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม และได้ถอนกำลังออกไปเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ ๘ เดือนเดียวกัน
                ในระยะแรกที่กองทหารฝรั่งเศสเข้ามายึดครองจันทบุรี ได้มีเรือรบฝรั่งเศสผลัดกันมารักษาการณ์ อยู่ที่ปากน้ำจันทบุรี และมีทหารประมาณ หนึ่งกองร้อย ประจำอยู่ที่แหลมสิงห์ จนถึงปลายเดือน มกราคม พ.ศ.๒๔๓๘ จึงไม่ส่งเรือรบมาจอดที่ปากน้ำจันทบุรีอีกต่อไป และเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับไซ่ง่อนและกรุงเทพ ฯ จึงได้มีเรือเมล์ของฝรั่งเศสเดินระหว่างไซ่ง่อนกับกรุงเทพ ฯ เป็นประจำ และได้แวะที่จันทบุรีทั้งขาไป และขากลับ นอกจากนี้ยังมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่เดินทางจากไซ่ง่อน มาตรวจกองทหารที่จันทบุรีตามระยะเวลา


                วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗ พระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลองมหาดไทย ได้ออกเดินทางจากจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยเรือจำเริญ บรรทุกทหารเรือ ๑ กองร้อยเดินทางไปฉลองเมืองจันทบุรี ในโอกาสที่กองทหารฝรั่งเศสได้ถอนกำลังออกไปแล้ว
                งานพิธีฉลองเมืองจันทบุรีได้จัดทำที่ค่ายทหาร มีการตั้งเสาธงสูง ๑๓ วา ที่กลางค่ายปลูกโรงพิธี โรงเลี้ยง โรงการเล่น มีงิ้ว หุ่นจีน ละคร ลิเก ในเวลากลางคืนมีการจุดโคมไฟสว่างไสวตามค่ายทหาร และตามบ้านเรือนราษฎรทั่วไป วันที่ ๑๔ มกราคม ตอนเย็นมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วมีการเลี้ยงใหญ่ ไวซ์กงสุลฝรั่งเศสและภริยาก็มาร่วมงานด้วย มีผู้มาร่วมงาน ประมาณ ๒,๐๐๐ คน เป็นที่รื่นเริงกันมาก รุ่งขึ้นวันที่ ๑๕ มกราคม ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาต และเครื่องไทยทานแก่พระสงฆ์ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระยาศรีสหเทพ พร้อมด้วยผู้ว่าราชการเมือง กรมการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า และประชาชน มาประชุมพร้อมกันรอบเสาธง พระยาศรีสหเทพได้อ่านประกาศ และคำถวายพระพรชัยมงคล เสร็จแล้วได้ชักธงมหาราชขึ้นสู่ยอดเสา ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เรือรบที่จอดอยู่ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ยิงสลุต ๒๑ นัด
                เมื่อกองทหารฝรั่งเศสได้ถอนออกไปจากเมืองจันทบุรีแล้ว ก็ได้ย้ายกองทหารเรือที่เมืองขลุง กลับมาตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรีอีก ได้เข้าไปตั้งอยู่ที่ค่ายทหารฝรั่งเศส แล้วเรียกกองทหารเรือนี้ว่า กองโรงเรียนพลทหารเรือที่ ๗ ขึ้นกับกรมทหารเรือชายทะเล

    • Update : 28/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch