หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒/3
    การเตรียมการของไทย

                เมื่อฝรั่งเศสได้เริ่มดำเนินการทางทหารบีบบังคับไทยในปลายเดือน มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๕ โดยยกกองทหารบุกรุกเข้ามา และขับไล่กองทหารของไทยให้ถอยออกไปจากดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และในขณะเดียวกันก็ได้ส่งเรือลูแตงเข้ามาจอดอยู่ในกรุงเทพ ฯ อีกด้วย จึงได้โปรดเกล้า ฯ แต่ตั้งกรรมการปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาเขต รวม ๘ ท่าน ด้วยกัน คือ
                    ๑)  เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
                    ๒)  กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ
                    ๓)  เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงคลัง
                    ๔)  กรมหมื่นพิทยลาภ พฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
                    ๕)  กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
                    ๖)  เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม  ศรีไชยยันต์) เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
                    ๗)  นายพลเรือโท พระองค์เจ้าจรัสวงศ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
                    ๘)  พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม - แสงชูโต) เสนาบดีกระทรวงเกษตรพานิชการ
                ทางด้านกองทัพบก ได้โปรดเกล้า ฯ ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นแม่ทัพด้านลาวกาว บัญชาการทัพอยู่ที่เมืองอุบล กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพด้านลาวพวน บัญชาการทัพอยู่ที่หนองคาย กรมยุทธนาธิการได้จัดส่งกำลังทหารบก พร้อมด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์ไปเพิ่มเติมให้แก่กองทัพแต่ละด้าน และได้ระดมเกณฑ์คนทางหัวเมืองชายแดนเข้าประจำกองทัพ ส่งหนุนเนื่องไปยังตำบลต่าง ๆ ที่คาดหมายว่าฝรั่งเศสจะรุกล้ำเข้ามา


                ทางด้านทหารเรือได้มีการปรับปรุงป้อมแผลงไฟฟ้า ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ เพื่อเตรียมรับการบุกรุกของฝรั่งเศส ได้มีการติดต่อสั่งซื้อยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสิงคโปร์มาใช้ในราชการ เมื่อเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๓๖
                วันที่ ๑๐ เมษายน  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จตรวจป้อมพระจุลจอมเกล้า และทรงเปิดการเดินรถไฟสายปากน้ำในวันรุ่งขึ้น
                วันที่ ๒๕ เมษายน โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้จัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ซึ่งในเวลานั้น ขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศ (เดิมเป็นกรมท่า)
                วันที่ ๒๖ เมษายน พระยาชลยุทธโยธินทร์ ได้มีหนังสือกราบทูลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศให้ทราบถึงแผนการจัดกำลังทหารเรือ ตามหัวเมืองฝ่ายตะวันออก มีความว่า
                    ๑)  ที่เกาะกง  จัดทหารมะรีน จากกรุงเทพ ฯ ๑๔ คน ทหารจากเมืองตราด ๒๔ คน ทหารจากเมืองแกลง ๑๒ คน รวม ๕๐ คน แจกปืนมาตินี ๑๐๐ กระบอก พร้อมกระสุน
                    ๒)  ที่แหลมงอบ  จัดทหารไว้ ๒๐๐ คน พร้อมที่จะส่งไปช่วยที่เกาะกง ถนนระหว่างแหลมงอบกับเมืองตราดมีสภาพไม่ดี ให้บ้านเมืองเร่งซ่อมให้เสร็จภายใน ๑ เดือน พอให้เกวียนเดินได้ จ่ายปืนเฮนรี มาตินี ๒๘๘ พร้อมกระสุน
                    ๓)  ที่แหลมสิงห์  ปากน้ำจันทบุรี จัดคนจากเมืองจันทบุรี เมืองแกลง และเมืองขลุง (อายุ ๒๓ - ๔๑ ปี) มารวมไว้ที่แหลมสิงห์ เหลือคนไว้ที่เมืองจันทบุรี เมืองแกลง และเมืองขลุง พอรักษาการณ์ มีกำลังทหารที่แหลมสิงห์ ๖๐๐ คน ให้ฝึกหัดทั้งเช้า และเย็น กับให้ทำงานโยธาตกแต่งป้อมในเวลากลางวัน
                ย้ายปืนอาร์มสตรอง ๔๐ ปอนด์ จำนวน ๓ กระบอก จากป้อมหมู่บ้านแหลมสิงห์ไปตั้งไว้ทางเขาแหลมสิงห์ (ด้านกระโจมไฟ) รีบตกแต่งป้อมให้เสร็จโดยจ้างคนจีนก่ออิฐโบกปูน ในความควบคุมของมิสเตอร์ตรุศ และนายร้อยโท คอลส์ ซึ่งบังคับบัญชาทหารที่แหลมสิงห์ ที่เมืองจันทบุรี และแหลมสิงห์จ่ายปืนมันลิเดอร์ ๑,๐๐๐ กระบอก ที่เมืองแกลง และเมืองระยอง จ่ายปืนเฮนรี มาตินี ๑๐ กระบอก ให้แห่งละ ๑๐๐ กระบอก พร้อมกระสุน
                พวกกองรักษาด่านภายในจากเมืองระยองถึงเกาะกง จัดคนท้องถิ่นดูแลรักษาใช้คนประมาณ ๑,๑๐๐ คน จ่ายปืนเอนฟิลด์ ชนิดบรรจุปากกระบอก ๖๐๐ กระบอก มีดินปืน และกระสุนไว้ตามสมควร และจ่ายดาบให้ด้วย
                เดือนพฤษภาคม มีการปรึกษาถึงเรื่องการใช้แพไฟทำลายข้าศึก เตรียมถ่านหินไว้ให้เพียงพอแก่ราชการในยามฉุกเฉิน จัดเรือคอยเหตุไปจอดไว้นอกสันดอนโดยมีกัปตันวิล ผู้เป็นเจ้าท่าเป็นผู้ควบคุม
                วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปปากน้ำเจ้าพระยาโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เสด็จไปตรงป้อมพระจุลจอมเกล้า มีการทดลองยิงปืนใหญ่ให้ทอดพระเนตร
                วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จปากน้ำเจ้าพระยา เสด็จตรวจป้อมที่ปากน้ำจนถึง วันที่ ๑ มิถุนายน จึงเสด็จกลับกรุงเทพ ฯ
                วันที่ ๒ มิถุนายน พระยาชลยุทธโยธินทร์ กราบบังคมทูลเรื่องการติดต่อกับนาย นาวาเอก แมค เคลาด์ ผู้บังคับการเรือพาลลาสว่าจะให้เรือสวิฟท์รออกไปฝึกยิงปืนในวันที่ ๓ มิถุนายน ในระยะนี้เจ้าพระยาอภัยราชา คอยติดต่อกับราชฑูตอังกฤษ และพระยาชลยุทธโยธินทร์ ติดต่อกับผู้บังคับการเรือรบอังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันอยู่เสมอ
                วันที่ ๘ มิถุนายน มีพระราชหัตถเลขาถึง พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ มีความว่า ตกลงปิดปากน้ำโดยเอาเรือไปจม และให้พระยาชลยุทธโยธินทร์ กำหนดตำบลที่จะเอาเรือไปจมลงในแผนที่ แล้วเอามาถวายให้ทอดพระเนตร ให้จัดเตรียมเรือไว้สำหรับ จะจมได้ทันท่วงทีเมื่อถึงคราวจำเป็น
                วันที่ ๒๒ มิถุนายน พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า การจมเรือลำหนึ่งใช้เวลา ๑ วัน โดยทำในเวลาน้ำหยุด เอาเรือที่จะจมไปทอดสมอ แล้วตรึงด้วยโซ่สมอ ๔ สาย แล้วเจาะเรือให้จมในการนี้ต้องใช้เรือ ๑๐ ลำ เวลานี้มีอยู่เพียง ๓ ลำ ต้องจัดซื้อมาอีก เรือจำพวกเรือโป๊ะจ้ายคงจะจมได้วันละ ๒ ลำ ทำเร็วไม่ได้
                ต่อมามีพระราชกระแสว่า กองทัพเรือฝรั่งเศสมาถึงไซ่ง่อนแล้ว เรือลิออง มาที่เกาะอยู่เสม็ดลำหนึ่ง การปิดช่องทางเรือนั้นให้เหลือช่องไว้ชั่วเรือเดินได้ลำหนึ่ง และควรจะให้ปิดได้ทันทีเมื่อต้องการ เห็นว่าเป็นการดีกว่าที่จะยิงปืนห้ามไม่ให้เข้ามาโดยเรือรบของเขาไม่ได้ทำการยิงก่อน จะได้ไม่เป็นการก่อสงครามใหญ่ขึ้น ช่องทางเดินเดินเรือที่เปิดไว้นั้น ถ้ามีเรือรบเข้ามาห้ามไม่ฟังแล้ว ก็จะปิดช่องนั้นเสียโดยไม่ต้องรอคำสั่งอีก
                การจมเรือที่ปากน้ำเริ่มทำประมาณวันที่ ๒๖ มิถุนายน ในการนี้ฟังว่าราชฑูตอังกฤษประจำกรุงเทพ ฯ และผู้บังคับการเรือสวิฟท์เห็นพ้องด้วย
                วันที่ ๒๘ มิถุนายน กรมยุทธนาธิการ กราบบังคมทูลว่า นายพันตรี หลวงศัลวิธานนิเทศ (Major schau) สัญชาติเดนมาร์ค ผู้บังคับการโรงเรียนนายสิบ ได้วางแผนจัดกำลังทหารบก เพื่อป้องกันพระนครโดยกำหนดไว้ว่า
                    ๑)  กำลังทหาร ๖๐๐ คน อยู่ที่สมุทรปราการ ที่ป้อมเสือซ่อนเล็บ มีปืนใหญ่ ๖ กระบอก
                    ๒)  กำลังทหาร ๒๐๐ คน อยู่ที่คลองสำโรง มีปืนใหญ่ ๑๒ กระบอก
                    ๓)  เตรียมปืนใหญ่ ๑๖ กระบอก ตั้งที่บางนา บางจาก และคลองพระโขนง
                    ๔)  รายปืนใหญ่ไว้ตามริมแม่น้ำ ๙ กระบอก สำหรับยิงเรือ และเป็นกำลังหนุนกำลังทหารทางบางนา และบางจาก
                วันที่ ๓๐ มิถุนายน พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ มีหนังสือกราบบังคมทูล มีความว่า ในการจมเรือที่ปากน้ำนั้นได้จมเรือบางกอก และเรือแผงม้า กระแสน้ำแรงจึงทำให้เรือเหไปบ้าง พระยาชลยุทธโยธินทร์ จึงเอาโซ่คั่นต่อกันทุกลำแล้วลงหลักในระหว่างที่เป็นช่อง ร้อยโซ่ผนึกเป็นตับเข้ากับหลักไม่ให้มีช่อง และอาศัยยึดเหนี่ยวกันทุกลำ
                วันที่ ๔ กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับที่ปากน้ำเจ้าพระยาโดยรถไฟพิเศษ ได้ทอดพระเนตรป้อมเสือซ่อนเล็บ แล้วประทับในเรือองครักษ์ เสด็จไปทอดพระเนตรป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งมีทหารประจำอยู่ ๖๐๐ คน ปืนกรุป ได้วางที่แล้ว ได้เรียกทหารขึ้นประจำป้อมทดลองดู ทหารทำได้พรักพร้อม แล้วเสด็จไปตรวจเรือที่จมตั้งแต่ฟากตะวันออกจนถึงเรือแดง การจมเรือทำไปมากแล้ว แต่ยังไม่พอขาดเรือลำเลียงอีก ๔ ลำ เรือบางกอกและเรือแผงม้าที่จมนั้น กระแสน้ำพัดเชี่ยวพาเรือเคลื่อนที่ไปห่างจากจุดที่หมายไว้ แล้วมาตรวจทางฟากตะวันตกตรงมุมป้อม แนวนี้ปักไม้หลักแพต้นหนึ่งเป็นขาทรายค้ำด้วยอีกสองต้น ไม้เหล่านี้ปักลงดิน ๘ ศอก ขัดด้วยโซ่ดูเป็นการแน่นหนาดี
                การตรวจแนวป้องกันคราวนี้ ทรงมีพระราชดำรัสว่า อย่าว่าแต่จะจมเรือหรือจะทำเขื่อนเพียงเท่านี้เลย อย่างไร ๆ เรือของเขาก็คงที่ทำลงนี้พอเป็นสังเขปสำหรับที่จะห้าม ถ้าขืนดันเข้ามาก็ต้องยิงกันเท่านั้น
                เมื่อได้ตรวจแนวไม้หลักแล้ว ก็เสด็จมาจอดที่ริมช่องทางเดินเรือ ลองระเบิดตอร์ปิโดขนาดเล็ก ซึ่งทำที่กรุงเทพ ฯ หนึ่งลูก ปรากฏว่าเป็นผลดีมีอำนาจมาก จากนั้นไปตรวจเรือบรรจุตอร์ปิโด ที่บรรจุเสร็จแล้ว ๗ ลูก และยังจะบรรจุต่อไป ตอร์ปิโดทำในนี้มีสองขนาด เล็กอย่างหนึ่งโตอย่างหนึ่ง ตอร์ปิโดจากนอกรูปอย่างกระทะ ก็มีอยู่ในเรือนี้ด้วย จากนั้นได้เสด็จขึ้นเรือฟิลลา ซึ่งจอดอยู่ที่สะพานหน้าป้อมพระจุลจอมเกล้า เสวยกลางวันแล้วออกเรือฟิลลามาขึ้นที่สะพานรถไฟ เสด็จขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพ ฯ
                วันที่ ๕ กรกฎาคม นายนาวาเอก แมคเคลาด์ ผู้บังคับการเรือพาลลาส ได้ติดต่อกับพระยาชลยุทธโยธินทร์ ขอเรือกลไฟเล็กลำหนึ่ง เพื่อเดินทางกลับไปเรือพาลลาส ซึ่งจอดอยู่นอกสันดอน เรือพาลลาสจะย้ายไปจอดที่เกาะสีชัง และขอพักบนเกาะสีชังเพื่อให้ทหารที่เจ็บป่วยได้ขึ้นพักบนเขา ขอส่งทหารจำพวกสัญญาณไปประจำที่เสาธงเกาะสีชัง กับขอน้ำจืดสำหรับหม้อน้ำ หากมีข่าวการเคลื่อนไหวของฝรั่งเศสก็ขอทราบด้วย และจะได้มาจอดอยู่ที่นอกสันดอนอีก เมื่อพระยาชลยุทธโยธินทร์นำความขึ้นกราบบังคมทูล ก็ทรงอนุญาตตามที่ผู้บังคับการเรือพาลลาสร้องขอมา และกำหนดว่าจะให้เรือจำเริญ ซึ่งจะกลับจากเกาะกงในอีก ๒ - ๓ วัน ลากเรือโป๊ะบรรทุกน้ำจากกรุงเทพ ฯ ไปส่งให้
                วันที่ ๗ กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับตรวจป้อมแผลงไฟฟ้า ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ปรากฏว่าปืนกรุป สำหรับจะยิงสลุตรับเจ้าชายออสเตรียจัดไว้พร้อมแล้ว ทรงเห็นว่าป้อมนี้มีทางปืนดี และเป็นที่แคบ สามารถใช้ตอร์ปิโดได้ถนัด มีรับสั่งให้จัดการวางตอร์ปิโดไว้ด้วย
                วันที่ ๙ กรกฎาคม พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า ควรจัดเตรียมป้อมวิชัยประสิทธิ์เตรียมไว้รับข้าศึกอีกป้อมหนึ่ง ทรงมีพระราชดำริว่าจะหมดเปลืองการใช้จ่ายมากไป ให้จัดการแต่เพียงถากถางบริเวณป้อม และกะที่จะตั้งปืนเท่านั้น ส่วนเรื่องแพไฟนั้นมีรับสั่งว่า ยังมิได้กการอย่างหนึ่งอย่างใดว่าใครจะเป็นผู้รับหน้าที่
                วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลายพระหัตถ์ถึงพระยาชลยุทธโยธินทร์ มีความว่า "กำหนดเรือรบฝรั่งเศสจะเข้าในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม เวลาเย็น และฝ่ายเราไม่ยอมนั้น ให้พระยาชลยุทธโยธินทร์ คิดวางตอร์ปิโดเสียให้เต็มช่อง ถ้าเข้ามาเมื่อไร ก็เป็นการจำเป็นที่จะต้องระเบิด อย่าให้ต้องรอคำสั่งอีกเลย และถ้าเขายิงก่อนแล้วเราต้องยิง"
                ในวันเดียวกัน กรมยุทธนาธิการ กราบบังคมทูลว่า ให้จัดทหารสำหรับรักษาพระนคร แบ่งออกเป็น ๔ กอง คือภายในกำแพงพระนคร ๑ กอง อยู่ที่ตำบลปทุมวัน ๑ กอง ที่ตำบลบางรัก ๑ กอง และที่ฝั่งธนบุรี ๑ กอง
                ทหารสำหรับรักษาพระนครนี้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี ขอรับอาสาเรียกระดมทหารเก่าที่เคยไปราชการทัพคราวปราบฮ่อด้วยกัน สมทบช่วยราชการร่วมกับทหารประจำการในกรุงเทพ ฯ โดยที่ตัวพระยาสุรศักดิ์มนตรีเอง เป็นผู้บังคับบัญชาทหารที่อาสาสมัครในคราวนี้ด้วย มีจำนวนทั้งสิ้นกว่าหนึ่งพันคน
                วันที่ ๑๑ กรกฎาคม มีพระบรมราชโองการ ถึงพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ผู้บัญชาการทหารเรือเกี่ยวกับการป้องกันมิให้เรือรบฝรั่งเศสแล่นเข้ามากรุงเทพฯ เป็นเด็ดขาด
                วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ฝ่ายไทยเตรียมการรับเสด็จ อาร์ชดยุคออสเตรีย ซึ่งกำหนดว่าจะมาถึงปากน้ำเจ้าพระยาในวันนี้ จึงได้จัดส่งเรือมกุฏราชกุมาร และเรือนฤเบนทร์บุตรีออกไปรับที่ปากน้ำ เรือมกุฏราชกุมารออกไปจอดคอยอยู่ที่นอกสันดอน ภายหลังเมื่อทราบว่าเจ้าชายออสเตรียยังเสด็จมาไม่ถึง และในตอนเย็นราชฑูตฝรั่งเศสก็ได้แจ้งให้ทราบว่าเรือรบฝรั่งเศสสองลำจะเข้ามาถึงสันดอน โดยตกลงว่าจะจอดอยู่ที่สันดอนก่อน แต่เพื่อความไม่ประมาท นายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธินทร์ได้ออกไปที่สันดอนแต่เช้าได้สั่งให้ เรือมกุฏราชกุมารถอยเข้ามาจอดภายในแนวป้องกันที่ปากน้ำ ในวันนี้ฝ่ายไทยได้จมเรือโป๊ะที่แนวป้องกันอีกลำหนึ่ง และได้วางทุ่นระเบิดเพิ่มเติมอีก รวมแล้วได้วางทุ่นระเบิดได้ทั้งหมดเพียง ๑๖ ลูก
                เวลา ๑๗.๐๐ น. เรือมกุฏราชกุมารเข้าประจำที่ภายในแนวป้องกัน โดยมีเรือนฤเบนทร์บุตรี และเรือทูลกระหม่อมจอดอยู่ถัดไปทางฝั่งเดียวกันตรงแหลมฟ้าผ่า ทางฝั่งตะวันออกของช่องเดินเรือมีเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์จอดอยู่ กับมีเรือหาญหักศัตรูจอดอยู่ทางฝั่งเดียวกัน รวมเรือรบฝ่ายไทยที่คอยต้านทานอยู่ในแนวป้องกัน รวม ๕ ลำด้วยกัน นอกแนวป้องกันออกไปมีสนามทุ่นระเบิดบังคับการยิงจากเรือยิงทุ่นระเบิด ซึ่งจอดอยู่ทางฝั่งตะวันตกใกล้เรือทุ่นไฟ ที่แหลมลำพูราย มีสถานีโทรเลขสำหรับรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้าไปยังกรุงเทพฯ
                พระยาชลยุทธโยธินทร์ ได้อำนวยการป้องกันอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และได้สั่งการแก่ผู้บังคับการเรือทุกลำว่า ในกรณีที่เกิดการสู้รบกันขึ้น เมื่อป้อมพระจุลจอมเกล้า ทำการยิงไปเป็นนัดที่สี่แล้ว เรือฝรั่งเศสยังไม่หยุด ก็ให้เรือเริ่มทำการยิงร่วมกับป้อมได้ทีเดียว
                เวลา ๑๗.๐๐ น. หมู่เรือรบฝรั่งเศสมาถึงสันดอน และได้หยุดเรือโดยไม่ทอดสมออยู่ใกล้ ๆ กับเรือนำร่อง และเรืออรรคราชวรเดช ซึ่งมีกัปตันวิล เจ้าท่าไทยสัญชาติเยอรมันประจำอยู่ เรือลาดตระเวณอังกฤษชื่อพาลลาสก็จอดอยู่ในบริเวณนี้ด้วย เมื่อเรือรบฝรั่งเศสมาถึง มิสเตอร์แจคสัน นำร่องใหญ่สัญชาติอังกฤษ ซึ่งอยู่ที่เรือนำร่องได้ขึ้นไปบนเรือเซย์ กัปตันวิลได้ขึ้นไปบนเรือแองคองสตังต์ ห้ามปราบมิให้เรือรบฝรั่งเศสเดินทางเข้าไป เรือสตรู ซึ่งเป็นเรือกลไฟไทยเข้าเทียบเรือแองคองสตังต์ โดยมีนายเรือโทนายทหารประจำเรือลูแตงเอาถุงไปรษณีย์มาให้ด้วย ผู้บังคับการเรือพาลลาสได้ส่งนายเรือเอก เอดเวิดส์ นายทหารฝ่ายพลาธิการขึ้นไปบนเรือแองคองสตังต์ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ราชฑูตฝรั่งเศสให้มีคำสั่งมาให้เรือรบฝรั่งเศสจอดทอดสมออยู่นอกสันดอนก่อน แต่ผู้บังคับการเรือแองคองสตังต์ไม่ยอมฟังการห้ามปรามใด ๆ ดังนั้นทุกคนที่ขึ้นไปบนเรือแองคองสตังต์จึงล่ากลับ ส่วนมิสเตอร์แจคสันนำร่องไทยคงอยู่ในเรือเซย์ มิได้กลับไปยังเรือนำร่อง ม.วิเกล กัปตันเรือเซย์ได้ขึ้นไปบนเรือแองคองสตังต์ ทำหน้าที่นำร่องตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว ต้นเรือเซย์ทำหน้าที่กัปตันเรือเซย์
                เวลา ๑๗.๓๐ น. มีฝนตกบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า ทำให้อากาศมืดครึ้ม มองอะไรไม่ใครเห็น
                เวลา ๑๘.๑๕ น. ฝนหยุดตก ทางป้อมพระจุลจอมเกล้า ได้แลเห็นเรือรบฝรั่งเศสกำลังแล่นผ่านกระโจมไฟเข้ามา เสียงแตรสัญญาณดังขึ้น เพื่อสั่งให้ทหารประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า "เข้าประจำสถานีรบ"
                เรือสตรูออกจากเทียบ เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ
                ขณะนั้นน้ำที่สันดอนกำลังจะขึ้น นายนาวาโทโบวี ผู้บังคับการเรือแองคองสตังต์ได้จัดเรือกลไฟเล็กของเรือแองคองสตังต์ ออกไปหยั่งน้ำล่วงหน้าที่บริเวณโป๊ะจับปลา ส่วนกัปตันวิลเมื่อกลับไปถึงเรืออรรคราชวรเดชแล้ว ก็ได้ชักธงสัญญาณประมวลให้ทางป้อมพระจุลจอมเกล้าทราบเพื่อ "เตรียมพร้อม"
                เวลา ๑๘.๐๕ น. หมู่เรือรบฝรั่งเศสออกเดินทางสู่ปากน้ำเจ้าพระยา โดยมีเรือเซยแล่นนำหน้า ติดตามด้วยเรือแองคองสตังต์ และเรือโคเมตเป็นขบวนเรียงตามกันปิดท้ายระยะ ๔๐๐ เมตร มีเรือสินค้าอังกฤษสามลำแล่นออกมาสวนทางกับเรือรบฝรั่งเศส อากาศครึ้มฝน ลมอ่อนพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีระลอกคลื่นตามชายฝั่งเล็กน้อย ดวงอาทิตย์กำลังใกล้จะตก

    • Update : 28/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch