หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/144
    ๔๘๑๘. ลืออำนาจ  อำเภอ ขึ้น จ.อำนาจเจริญ แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ ขึ้น อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี เมื่อ อ.อำนาจเจริญ ยกฐานเป็นจังหวัด จึงโอนมาขึ้นกับ อ.เมือง ฯ แล้วยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙       ๒๕/๑๖๒๙๒
                ๔๘๑๙. ลุ้ง  เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือของอย่างอื่น กับใช้เรียกภาชนะที่ต่างรูปแบบ ต่างขนาด แต่ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับลุ้งว่า ลุ้ง ด้วย
                        ลุ้ง  เป็นภาชนะที่นิยมใช้กันในสมัยโบราณ ทำด้วยไม้จริง ไม้ไผ่สาน ลงสมุก ทารัก โลหะ ทองเหลือง หรือสังกะสี มีรูปแบบและหน้าที่ใช้สอยดังนี้
                        ลุ้งสำหรับใส่อาหาร  มักทำด้วยไม้จริง กลึงเป็นรูปอย่างตะลุ่ม ปากกลม ทรงเตี้ย ส่วนหนึ่งกับกลึงเป็นรูปอย่างฝาชี ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อีกส่วนหนึ่งสำหรับคลุมปิดปากลุ้ง ตัวลุ้งและฝาลุ้งนี้มักทารักน้ำเกลี้ยง เขียนลายปิดทองรดน้ำ ตกแต่งด้านนอกแต่พอง่าย ภายในและฝามักนิยมทารักแดง มักใช้จัดถ้วยใส่กับข้าว คุมเป็นสำหรับถวายพระสงฆ์ที่มีฐานะต่ำกว่าพระราชาคณะ หรือเจ้านายที่มิได้รับกรมและขุนนางในสมัยก่อน
                        ลุ้งสำหรับใส่เครื่องสิราภรณ์  ทำด้วยวัสดุ มีลักษณะรูปทรงและขนาดต่าง ๆ กันดังนี้
                            ก. ลุ้งสำหรับเก็บพระมหามงกุฎ พระชฎาต่าง ๆ ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน กลึงเป็นรูปอย่างงพานปากกลมทรงเตี้ย ฝาลุ้งกลึงเป็นรูปทรงฟักตัดขนาดสูง ปลายฝาทำเป็นทรงหัวเปิด ตัวลุ้งและฝาทารักน้ำเกลี้ยง เขียนลายรดน้ำปิดทอง ข้างในและฝาทารักสีแดง พื้นตรงกลางลุ้งตั้งเสาสำหรับรับพระวมหามงกุฎหรือชฎา
                            ข.ลุ้งสำหรับเก็บพระมหามาลา พระมาลาต่าง ๆ ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนหรือโลหะ มีลักษณะคล้ายถาดกลมขอบตั้งขึ้นเป็นลิ้นบังใบ ฝาลักษณะเป้นทรงกระบอก หลังตัดปากฝา ทำเป็นลิ้นบังใบ เมื่อเอาฝาครอบลงบนตัวลุ้งปากฝาจะสวมเข้ากับบังใบของขอบตัวลุ้งสนิทพอดีอมักลงรักน้ำเกลี้ยงภายนอก
                            ค. ลุ้งสำหรับเก็บชฎาและศีรษะโขน มักทำด้วยทองเหลือง ลักษณะรูปทรงกระบอกเตี้ย ๆ คล้ายลังดึง ฝาทำเป็นสองลักษณะให้เหมาะกับศีรษะโขน
                        ลุ้งสำหรับใส่เครื่องนุ่งห่ม  รูปทรงคล้ายลุ้งสำหรับใส่อาหาร มักทำด้วยไม้ไผ่สานลงสมุกทารัก เมื่อปิดฝาลุ้งแล้วสามารถกันฝุ่นละออง แมลงสาบและหนูได้ รักษากลิ่นหอมที่อบผ้าได้
                        ลุ้งสำหรับใส่ศพ  นิยมทำด้วยไม้เนื้ออ่อน รูปทรงอย่างหีบรูปสี่เหลี่ยม ปากผายก้นสอบ ฝาลุ้งนิยมทำทรงคลุ่ม และตกแต่งบนหลังฝาลุ้งให้สวยงาม ด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ บางสมัยเรียกว่าหีบเหม และยังเรียกว่าโลง อีกด้วย        ๒๕/๑๖๒๙๓
                ๔๘๒๐. ลุมพินี  เป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่งทางพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ระหว่างนครกบิลพัสดุ์กับนครเทวะทหะ ในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชเรียกว่าลุมมินี ปัจจุบันเรียกว่ารุมมินเด อยู่ในตำบลเตไรของประเทสเนปาล
                    ลุมพินีวัน เป็นพระราชอุทยานหรือสวนหลวงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองทั้งสองนคร
                    หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกทรงผนวช และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จมาทรงพัก ณ สวนลุมพินี และได้ทรงแสดงเทวทหสูตรโปรดภิกษุทั้งหลาย พระสูตรนี้ว่าด้วยกฎแห่งกรรมของศานาเชน เปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนาโดยละเอียดชัดแจ้ง
                    ในสมัยพระเจ้าอโศก ฯ (ราวปี พ.ศ.๒๗๑ - ๓๑๒) พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ทรงบูชาด้วยเครื่องสักการะหลายอย่าง แล้วนรับสั่งใให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่ง และเสาศิลาจารึก (เสาอโศก) ต้นหนึ่ง ณ บริเวณนั้น ที่เสานั้นจารรึกข้อความว่าพระเจ้าอโศก ฯ ได้เสด็จมานมัสการลุมพินีด้วยพระองค์เอง หลังจากทรงครองราชย์แล้วยี่สิบปี รับสั่งใให้ยกเสาหิน (เสาศิลาจารึก) ขึ้นไว้เพื่อแสดงว่าที่ตรงนี้ เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติ และให้หมู่บ้านลุมพินีปลอดภาษีท้องถิ่น และให้จ่ายผลิตผล (แก่รัฐ) เพียงหนึ่งในแปดส่วนเท่านั้น
                    ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ หลวงจีนฟาเหียนได้จาริกไปถึงสวนลุมพินี บรรยายว่าอยู่ห่างจากซากเมืองกบิลพัศดุ์ไปทางทิศตะวันออก ๕๐ ลี้
                    ในพระพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หลวงจีนถัวซัมจั๋ง ได้จาริกไปถึงสวนลุมพินี ได้บันทึกไว้ว่า ณ ที่ใกล้สระมีเสาอโศกและสถูปสี่องค์ นอกจากนี้ในปี พ.ศ.๑๓๐๗ หลวงจีนววู่คุง ก็ได้จาริกไปถึงสวนลุมพินีเช่นกัน หลังจำกนั้นเรื่องราวของลุมพินีก็เงียบหายไปและตลอดช่วงเวลาสมัยกลางคือช่วงที่พวกมุสลิมเข้าปกครองอินเดีย สวนลุมพินีถูกปล่อยไว้จนกลายเป็นป่าทึบ จนนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๙ ดร.ฟีอเรอร์ได้พบเสาอโศกที่จารึกเรื่องราวของลุมพินี จึงรู้ว่าสถานที่นี้คือที่ประสูติของพระพุทธเจ้า รัฐบาลประเทศเนปาลได้เข้ามาปรับปรุงแผ้วถางป่าได้ขุดแต่งบางส่วนให้ประชาชนเข้าไปศึกษาและนมัสการ
                    สภาพของสวนลุมพินีในปัจจุบันประกอบด้วย เสาศิลาจารรึกของพระเจ้าอโศก ฯ หรือเสาอโศก มายาเทวีวิหาร ซากวิหารเก่าและซากพระเจดีย์ที่พระเจ้าอโศก ฯ สร้างไว้ตลอดจนซากสถูปอื่น ๆ หลายองค์ในบริเวณนั้น สระสนานพระวรกาย และหลักเขตแดนระหว่างกบิลพัสดุ์กับเทวะทหะ             ๒๕/๑๖๒๙๕
                ๔๘๒๑. ลูกกรอก  ลูกคนหรือลูกสัตว์ เช่น แมวตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก ซึ่งน่าจะเกิดจากการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สอง ถึงช่วงต้นไตรมาสที่สาม ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีอวัยวะครบแล้ว       ๒๕/๑๖๒๙๙
                ๔๘๒๒. ลูกไก่ ดาว  เป็นชื่อดาวกฤษ์หลายดวงที่เห็นอยู่ใกล้ ๆ กันในกลุ่มดาววัว มองดูคล้ายฝูงลูกไก่ เห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างน้อยหกดวง บางครั้งเห็น ๗ - ๙ ดวง หรือมากว่านั้น ดาวเหล่านี้เรียงกันเป็นรูปคล้ายกระบวยเล็ก ๆ ด้ามสั้น ๆ ที่ใช้ตักนม นักดาราศาสตร์เรียกดาวกฤษ์ในลักษณะนี้ว่ากระจุกดาวกฤษ์       ๒๕/๑๖๓๐๕
                ๔๘๒๓. ลูกน้ำ  ดูที่ยุง - ลำดับที่ ๔๖๐๕         ๒๕/๑๖๓๑๒
                ๔๘๒๔. ลูกนิมิต  มีบทนิยามว่า "ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตรใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ" คำว่า นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย หมายถึง เขตที่กำหนดขึ้นเพื่อให้รู้ทั่วกันว่าอาณาเขต หรือแดนที่เรียกสีมาของอุโบสถนั้น  กว้าง ยาวเท่าใด จากไหนถึงไหน มีอะไรเป็นเครื่องหมาย คำว่า สีมาของอุโบสถ หมายถึง เขตหรือแดนที่สงฆ์กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประชุมกระทำสังฆกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเป็นเขตที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้เป็นสมานสังวาสสีมา คือ แดนที่พระภิกษุทุกรูปผู้อยู่ในสีมานี้ มีสิทธิเสมอกันในการเข้าร่วมสังฆกรรมทั้งหลาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นเขตความพร้อมเพรียงของสงฆ์
                        พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้สิ่งต่อไปนี้เป็นนิมิต คือ
                            ๑. ภูเขา หมายถึง  ภูเขาสามชนิด ได้แก่ ภูเขาศิลาล้วน ภูเขาดินล้วน และภูเขาศิลาปนดิน เรียกว่า ปัพพตนิมิต
                            ๒. ศิลา หมายถึง ก้อนหิน หรือแท่งหิน  ขนาดโตเท่าหัววัวขึ้นไป แต่ไม่โตเท่าช้าง ปัจจุบันนิยมใช้ก้อนศิลา หรือแท่งศิลา นี้เป็นนิมิต และเนื่องจากนิยมทำเป็นลูกกลม ๆ จึงเรียกว่า ลูกนิมิต นิมิตชนิดนี้เรียกว่า ปาสาณนิมิต
                            ๓. ป่าไม้  หมายถึง ไม้ประเภทมีแก่น หรือมีเนื้อแน่น เรียกว่า วนนิมิต
                            ๔. ต้นไม้ หมายถึง  ต้นไม้ประเภทมีแก่น หรือมีเนื้อแน่น เพียงต้นเดียว และยังเป็นอยู่ สูงตั้งแต่ ๘ นิ้ว ขึ้นไป แต่ต้องเป็นต้นไม้ที่งอกขึ้นในที่นั้น เรียก่า รุกขนิมิต
                            ๕. หนทาง  หมายถึง ทางคนเดิน หรือทางเกวียน ก็ได้ แต่ต้องเป็นทางที่ยังใช้อยู่ ยาวตั้งแต่ชั่วระยะ ๑ - ๓ บ้าน ขึ้นไป เรียกว่า มัคคนิมิต
                            ๖. จอมปลวก หมายถึง จอมปลวก ที่มีขนาดตั้งแต่เท่าเขาวัว และสูง ๘ นิ้วขึ้นไป เรียกว่า วัมมิกนิมิต
                            ๗. แม่น้ำ หมายถึง แม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลอยู่อย่างน้อย เวลาสี่เดือนแห่งฤดูฝน มีความลึกประมาณพอเปียกผ้าอันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ของภิกษุณีผู้นุ่งห่มเป็นปริมณฑล ที่เดินข้ามแม่น้ำนั้น ณ บริเวณใดบริเวรหนึ่ง เรียกว่า นทีนิมิต
                            ๘. น้ำ หมายถึง หมายถึงน้ำนิ่ง จะเป็นน้ำในบ่อ หนอง บึง หรือ สระ ก็ได้ เรียก อุทกนิมิต
                                นิมิตทั้งแปดชนิดนี้ ใช้เป็นเครื่องหมาย หรือหลักเขตสีมาของอุโบสถสองประเภทคือ พัทธสีมา และอัพทธสีมา พัทธสีมา แปลว่า แดนที่ผูก อพัทธสีมา แปลว่า แดนที่ไม่ได้ผูก
                           พัทธสีมา  คือ แดนที่ทางคณะสงฆ์กำหนดขึ้นเอง บนพื้นที่ที่ทางบ้านเมืองยกให้ที่เรียกว่า วิสุงคามสีมา เพื่อใช้เป็นที่ประชุมทำสังฆกรรมต่าง ๆ ได้แก่ เขตอุโบสถของวัดต่าง ๆ ในปัจจุบัน ส่วน อพัทธสีมา คือ แดนที่ทางราชการบ้านเมืองกำหนดขึ้น เพื่อสะดวกในการปกครองท้องถิ่น คณะสงฆ์มิได้กำหนดขึ้นเอง แต่นิยมใช้ตามแนวเขตที่ทางการบ้านเมืองกำหนดไว้แล้ว
                           ในการผูกพัทธสีมา หรือที่เรียกกันทางพระวินัยว่า สมมติสีมา ให้เป็นพัทธสีมานั้น มีพระพุทธานุญาตให้ใช้นิมิต ตั้งแต่สามลูกขึ้นไป น้อยกว่านั้นถือเป็นสีมาวิบัติ คือ ใช้ทำสังฆกรรมไม่ได้ ในปัจจุบันนิยมใช้ลูกนิมิตเก้าลูก โดยวางไว้ทั้งแปดทิศ ส่วนลูกที่เก้าวางไว้กลางอุโบสถข้างหน้าพระประธาน นิมิตลูกที่เก้าไม่มีในพุทธบัญญัติ คณะสงฆ์กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายว่า สงฆ์ทำพิธีสวดสมมติสีมา ณ ที่ตรงนั้น
                           ก่อนสวดสมมติสีมา จะมีการทักลูกนิมิต โดยมอบหมายให้พระสงฆ์สี่รูป เป็นผู้ทักลูกนิมิต เมื่อเสร็จพิธีสมมติสีมา หรือที่เรียกว่า การผูกพัทธสีมา ต่อไปเป็นพิธีที่เพิ่มขึ้นภายหลัง ไม่มีในพระพุทธบัญญัติ แต่ไม่ขัดพุทธบัญญัติ จึงได้ถือปฎิบัติกันมา จนเป็นประเพณีคือ พิธีฝังลูกนิมิต
                ๔๘๒๕. ลูกรัง และหินแลง  คำว่า ลูกรัง บางคนเรียกว่า ดินลูกรัง เพราะว่าพบปะปนอยู่ในดิน ส่วนหินแลงก็คือ ศิลาแลง นั่นเอง
                        คำว่า หินแลง หมายถึง หินตะกอนชนิดหนึ่ง เชื่อมยึดจับตัวกันเป็นก้อน หรือแผ่นแข็งต่อเนื่องกันเป็นพืด ลักษณะเป็นรูพรุน มีออกไซด์ของเหล็ก และอลูมิเนียม อยู่มาก ตอนที่อยู่ในดินชั้นล่างจะอ่อน จะแข็งตัวเมื่อสัมผัสอากาศ และไม่กลับอ่อนตัวอีก สามารถตัดเป็นก้อน หรือเป็นแท่งได้ ในสมัยโบราณจะใช้แทนอิฐในการก่อสร้าง บางคนเรียก แม่รัง
                        คำว่า ลูกรัง หมายถึง ศิลาแลงที่เกาะตัวกันแบบหลวม ๆ เป็นเม็ดคล้ายก้อนกรวดอิสระ ใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างถนนและสนามบิน เป็นต้น       ๒๕/๑๖๓๑๗
                ๔๘๒๖. ลูกเสือ  มีบทนิยามว่า  "สมาชิกแห่งองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็ก ช่วยให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่น เป็นต้น " ปัจจุบันลูกเสือ ได้แก่ เยาวชนชาย และหญิง อายุระหว่าง ๘ - ๒๓ ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ วิธีการ และวัตถุประสงค์ของการลูกเสืออย่างเคร่งครัด สาระสำคัญของลูกเสือประกอบด้วย
                        ๑. หลักการ  ได้แก่
                                ๑.๑  มีศาสนาเป็นหลักยึดทางจิตใจ จงรักภักดีต่อศาสนาที่ตนเคารพนับถือ และพึงปฎิบัติศาสนกิจด้วยความจริงใจ
                                ๑.๒  จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และประเทศชาติของตน พร้อมด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนสันติสุข และสันติภาพ ความเข้าใจที่ดีซึ่งกันและกัน ความร่วมมือซึ่งกันและกัน นับแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
                                ๑.๓  เข้าร่วมในการพัฒนาสังคม ยอมรับและให้ความเคารพในเกียรติ และศักดิ์ศรีของผู้อื่น และเพื่อนมนุษย์ทุกคน รวมทั้งการยอมรับ และให้ความเคารพในความถูกต้อง และความเป็นธรรมต่อธรรมชาติ และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก
                                ๑.๔  มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
                                ๑.๕  ลูกเสือทุกคนต้องยึดมั่นในกฎ และคำปฎิญาณของลูกเสือ ตามความเหมาะสมกับวัฒนธรรมของตน กฎและคำปฎิญาณของลูกเสือ ต้องได้รับการอนุมัติจากองค์การลูกเสือโลกก่อน
                         ๒. วิธีการ  วิธีการของลูกเสือ คือ ระบบการศึกษาด้วยตนเอง ให้เกิดความก้าวหน้าตามลำดับชั้น
                         ๓. วัตถุประสงค์  คือ การช่วยเหลือให้เยาวชนได้รับการพัฒนาศักยภาพทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ให้สมบูรณ์อย่างเต็มที่ เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
                        การแบ่งประเภทลูกเสือ  แบ่งออกเป็นสี่ประเภท โดยยึดระดับอายุของเด็กเป็นเกณฑ์ และคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจของเด็กเป็นพื้นฐานในการจัดหลักสูตร และกิจกรรมในการฝึกอบรม คือ
                                ๑.  ลูกเสือสำรอง มีอายุ ๘ - ๑๑ ปี มีคติพจน์ว่า   "ทำดีที่สุด"
                                ๒.  ลูกเสือสามัญ  มีอายุ ๘ - ๑๕ ปี  มีคติพจน์ว่า  "เตรียมพร้อม"
                                ๓.  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  มีอายุ ๑๕ - ๑๘ ปี  มีคติพจน์ว่า  "มองไกล"
                                ๔.  ลูกเสือวิสามัญ  มีอายุ ๑๗ - ๒๓ ปี  มีคติพจน์ว่า  "บริการ"
                        กำเนิดลูกเสือโลก เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐  โดยเกิดจากแนวความคิดของ ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์  (พ.ศ.๒๔๐๐ - ๒๔๘๕)
                        สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงตราพระราชกำหนดลูกเสือ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔  และได้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้น เป็นกองแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง พระราชทานนามว่า กองลูกเสือหลวง       ๒๕/๑๖๓๒๒
                ๔๘๒๗. ลูทีเซียม  เป็นธาตุลำดับที่ ๗๑ มีผู้ค้นพบและตรวจสอบธาตุนี้ในปี พ.ศ.๒๔๕๑  ธาตุนี้มีปรากฎในธรรมชาติ โดยมีปนอยู่ในแร่หายากหลายชนิด
                        ประโยชน์ของธาตุนี้ คือ นำไปใช้ในงานของวัติเรืองแสง ในงานสารกึ่งตัวนำ ในงานชิ้นส่วนอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ บางชนิด และในงานวิจัยอื่น ๆ ทางวิทยาศาสตร์       ๒๕/๑๖๓๓๑
                ๔๘๒๘. เลตเตอร์ออฟเครดิต  มีบัญญัติศัพท์ไว้ว่า ตราสารเครดิต คือ หนังสือรับรองการชำระเงินที่ออกโดยธนาคารของผู้สั่งซื้อสินค้า (ตามคำขอของผู้ซื้อ)  ซึ่งสัญญาว่า จะจ่ายเงินให้กับผู้ขายสินค้า หรือยินยอมให้ผู้ขายออกตั๋วแลกเงิน ประเภทชำระเงินทันที เมื่อเห็น หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยประกันว่า ตั๋วดังกล่าว จะต้องได้รับการชำระเงินแน่นอน หรือรับรองตั๋วให้จ่ายเงินทันที เมื่อผู้ขายได้ปฎิบัติถูกต้อง ตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ได้ระบุไว้ ในตราสารเครดิตทุกประการ
                        ตราสารเครดิต แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ประเภทเพิกถอนได้ และประเภทเพิกถอนไม่ได้
                        ตราสารเครดิต ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย เป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยให้การชำระเงินค่าสินค้าได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น เท่านั้น        ๒๕/๑๖๓๓๔
                ๔๘๒๙. เล็น  คนไทยมักเรียกสัตว์ที่มีขนาดเล็กมากเท่าหัวเข็มหมุด หรือเล็กกว่า ที่มาอาศัยกัดและเล็ม หรือทำให้เกิดความระคายเคืองตามร่างกายคน หรือสัตว์ เรียกรวม ๆ กันว่า เล็น เล็นจึงอาจเป็นพวกไร เห็บ หมัด หรือมดไร ก็ได้
                       ในที่นี้ จะกล่าวเฉพาะเล็น อันเป็นแมลงอีกกลุ่มหนึ่ง แตกต่างไปจากแมลงดังกล่าวข้างต้นอย่างสิ้นเชิง เป็นพวกที่ควรเรียกว่า เล็นอย่างแท้จริง เล็นพวกนี้มีรูปร่างลักษณะหลายอย่างคล้ายกับเหา ได้มีการแยกชนิดของเล็นว่า มีไม่ต่ำกว่า  ๒,๘๐๐  ชนิด       ๒๕/๑๖๓๓๘
                ๔๘๓๐. เล็บมือนาง - ต้น  เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง สูง ๑.๕ - ๕ เมตร เลื้อยพันต้นไม้อื่น หรือสิ่งที่ยึดเกาะได้ โดยพันเวียนซ้าย ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรี หรือรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง และง่ามใบ ช่อห้อยลงมายาว ดอกใหญ่กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเขียว อมเหลือง เมื่อดอกตูม หรือแก่บานสีขาว ต่อไปสีจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู จนที่สุดเป็นสีแดง
                        เล็บมือนาง ใช้เป็นยา และเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวย มีทั้งชนิดดอกลา และดอกซ้อน กลิ่นหอม ออกดอกเกือบตลอดปี ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ เมล็ด ตำรายาไทย และต่างประเทศอีกหลายประเทศ ใช้เนื้อในเมล็ด เป็นยาขับพยาธิ ไส้เดือน สำหรับเด็ก       ๒๕/๑๖๓๔๓

    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch