หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/142

    ฤา

                ๔๗๕๓. ฤา   ตัวอักษร ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "อักษร รือ หรือ ตัว รือ " คู่กับ ฤ (ตัว รึ)  เป็นอักษรในภาษาไทย ที่ไม่นับรวมอยู่ในอักษร ที่เป็นพยัญชนะ ๔๔ ตัว ของทย เพราะไม่ใช่อักษรที่เป็นพยัญชนะธรรมดา ซึ่งใช้แทนเสียงพยัญชนะหนึ่งเสียง แต่ ฤา ใช้แทนเสียงพยัญชนะ + สระ หรือใช้แทนพยางค์ ออกเสียงว่า รือ
                        พจนานุกรม ฯ เรียงลำดับ ฤา ต่อ จาก ฤ อักษร ฤา มีใช้น้อยกว่า ฤ มาก ปรากฎในคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ฤาชุ ฤาดี ฤาทัย ฤาษี ฤาสาย
                        เช่นเดียวกับอักษร ฤ ถือว่า ฤา เป็นรูปสระในภาษาไทยคู่กับ ฤ แต่บางท่านถือว่าเป็นพยัญชนะแทนพยางค์      ๒๕/๑๖๐๒๐
                ๔๗๕๔. ฤาษีแปลงสาร  เป็นชื่อกลอักษรชนิดหนึ่ง ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเรื่อง จินดามณี อันเป็นตำราภาษาไทยรุ่นโบราณ ที่พระโหราธิบดี แต่งไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
                        ชื่อกลอักษรฤาษีแปลงสารนี้ มีที่มาจากเรื่อง รถเสนชาดก ซึ่งเป็นชาดกเรื่องหนึ่งรวมอยู่ในชุดปัญญาสชาดก อันภิกษุคณะหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ รวบรวมจากนิทานพื้นบ้านของไทย ผสมกับนิทานต่างประเทศ แล้วอ้างว่าเป็นพุทธวจนะ ที่เรียกว่า ฤาษีแปลงสารนั้น เป็นเรื่องราวตอนท้ายของรถเสนชาดก
                        กลอักษรฤาษีแปลงสารนี้ ควรนับได้ว่าเป็นกลอักษรชนิดเดียวในจินดามณี ที่มีเรื่องราวความเป็นมา      ๒๕/๑๖๐๒๐
     
     

     

                ๔๗๕๕. ล  พยัญชนะตัวที่ยี่สิบหก  ในจำนวนตัวอักษรที่เป็นพยัญชนะ ๔๔ ตัว ของไทยใช้เป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว ๆ ได้ และใช้ผสมกับพยัญชนะอื่นเป็นอักษรควบกล้ำ นอกจากนั้น ล ยังใช้เป็นตัวสะกดอ่านออกเสียงแม่กน
                        อักษร ล เป็นอักษรต่ำ ดังนั้น คำที่มี ล เป็นพยัญชนะต้นจะผันได้สามเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ สามัญ โท และตรี เช่น ลา ล้า ล้า แต่จะผันได้ครบทั้งห้าเสียง ก็โดยใช้ ห นำ เป็น ลา หล่า ล้า ล้า หลา
                        เสียงที่แทนโดยอักษร ล เป็นเสียงข้างลิ้น ออกเสียงโดยกระดกปลายลิ้นขึ้น และให้ลมออกมาข้างลิ้นทั้งสองข้าง      ๒๕/๑๖๐๒๔
                ๔๗๕๖. ลงแดง  เป็นอาการแทรงซ้อนที่เกิดขึ้นตามมาภายในเวลา ๒๔ - ๔๘ ชม. ที่ผู้ติดยาฝิ่น หรือติดเหล้าหยุดเสพสารดังกล่าวทันทีทันใด ลงแดงประกอบด้วยอาการหลายอย่าง ซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกัน ได้แก่
                        ๑. อาการทางกาย อันเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานผิดปรกติ ได้แก่ อาการหน้าแดง ตาแดงก่ำ เหงื่อออกทั้งตัว คลื่นไส้ เรอ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเดิน ถ่ายเป็นเลือด ใจสั่น มือสั่น ตกใจง่าย และนอนไม่หลับ อาจมีไข้สูงได้
                        ๒. อาการทางจิตประสาท แสดงออกในรูปของภาวะสับสน จำบุคคลหรือสถานที่ หรือเวลาไม่ได้ นอกจากนี้ บางรายยังอาจมีอาการหวาดระแวง หรือเอะอะโวยวาย ในรายที่มีภาวะประสาทหลอน และหลงผิดร่วมด้วย
                        ๓. อาการทางระบบประสาท มีอาการมือสั่นตัวสั่น เป็นอาการหลัก บางรายตกใจง่าย ความคิดอ่านจะผิดแปลกไปจากเดิม อาการอาจรุนแรงมาก จนเกิดอาการชักหมดสติ และถึงแก่กรรมได้
                        ภาวะลงแดง ในรายที่อาการไม่มาก อาจหายได้เองภายในเวลาสองสามวัน โดยไม่จำเป็นต้องให้การบำบัดยาแต่อย่างใด สำหรับรายที่มีอาการมาก จนถึงกับมีประสาทหลอน จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล      ๒๕/๑๖๑๒๖
                ๔๗๕๗. ลงยาสี  เป็นกรรมวิธีการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำด้วยทองแดง เงิน และทองคำ ช่างและคนไทยทั่วไปเรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าคือ การใช้ตัวยาที่เป็นสีต่าง ๆ แต้มลงตามตำแหน่งที่ต้องการให้เป็นสี กรรมวิธีลงยาสีของไทย คงสืบเนื่องมาจากชาวเปอร์เซีย ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่การลงยานี้ มีมาแต่ครั้งโบราณในหลายประเทศ และมีอยู่หลายแบบหลายอย่าง เช่น การทำตามกรรมวิธีที่เรียกว่า ถม ปัด ก็นับเป็นการลงยาสีชนิดหนึ่ง
                        การลงยาสีนี้ ถ้าเป็นโลหะมักจะใช้ทองแดง เงิน หรือทองคำ เท่านั้น โลหะอื่น ๆ ไม่ค่อยรับตัวยาคือ ตัวยาสีจะไม่ติด      ๒๕/๑๖๑๒๙
                ๔๗๕๘. ลดาวัลย์ - ต้น  เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง อายุหลายปี ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบเรียบ ดอกสีขาวอมเขียว และเหลืองอ่อน ๆ กลิ่นหอม ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกแน่น ผลเป็นแบบผลแห้งแตก รูปไข่ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ      ๒๕/๑๖๑๓๑
                ๔๗๕๙. ลพบุรี  จังหวัดในภาคกลาง มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับ จ.นครสวรรค์ และจ.เพชรบูรณ์  ทิศตะวันออกติดต่อกับ จ.ชัยภูมิ และจ.นครราชสีมา ทิศใต้ติดต่อกับ จ.พระนครศรีอยุธยา และจ.สระบุรี ทิศตะวันตกติดต่อกับ จ.สิงห์บุรี และจ.อ่างทอง ภูมิประเทศมีทิวเขาทอดตัวเป็นแนวยาว ตามเส้นกั้นเขตแดนกับ จ.เพชรบูรณ์  จ.ชัยภูมิ และจ.นครราชสีมา ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด บริเวณอื่น ๆ เป็นที่ราบ มีภูเขาลูกเตี้ย ๆ ตั้งอยู่กระจัดกระจาย ทางด้านตะวันออกของจังหวัดมีแม่น้ำป่าสัก ไหลจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ ส่วนทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีแม่น้ำลพบุรี ไหลผ่าน
                        จ.ลพบุรี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มากเมืองหนึ่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี ที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เมืองลพบุรีเป็นเมืองสำคัญ สมัยทวารวดีคู่กับเมืองนครปฐม โดยเป็นที่อยู่ของพวกละว้า ซึ่งตั้งเมืองขึ้นเมืองหนึ่งเรียกว่า เมืองละโว้ ต่อมาเมื่อพวกขอมมีอำนาจมากขึ้น ได้แผ่อาณาเขตทางด้านตะวันตก เข้ามารุกรานแดนพวกละว้า จนได้เมืองละโว้ไว้ในอำนาจ และตั้งเมืองละโว้ไว้เป็นราชธานีของขอม ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อราวปี พ.ศ.๑๔๐๐
                        เมื่อราชวงศ์พระร่วง ตั้งราชอาณาจักรขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.๑๗๐๐ ได้แผ่อำนาจลงมาปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และตีได้เมืองละโว้จากขอม ต่อมาในสมัยอยุธยา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่หนึ่ง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา และราชาภิเษก แล้ว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระราเมศวร ราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓
                        ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ พ่อค้าชาวฮอลันดาได้นำเรือรบมาลาดตระเวณ ปิดปากน้ำ เนื่องจากไม่พอใจที่ไทยทำให้ผลประโยชน์ของชาวฮอลันดาลดลงไป สมเด็จพระนารายณ์ ฯ จึงให้สร้างลพบุรีไว้เป็นราชธานี อีกแห่งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๘ เมื่อพระองค์สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ หลังจากนั้น เมืองลพบุรีจึงทิ้งร้างไป
                        ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดให้สร้างพระที่นั่ง และซ่อมแซมพระราชวังเมืองลพบุรี พระราชทานนามว่า พระนารายณ์ราชนิเวศน์
                        ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้สร้างเมืองลพบุรีใหม่ เป็นที่ตั้งกองกำลังทหาร อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟ ส่วนเมืองเก่านั้น อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟ ลพบุรีจึงมีความสำคัยทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และด้านยุทธศาสตร์         ๒๕/๑๖๑๓๒
                   ๔๗๖๐. ลลิตวิสตรเป็นคัมภีร์สำคัญเล่มหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นคัมภีร์ประเภทพุทธประวัติ ทำนองเดียวกับคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ที่แต่งในประเทศไทยคือ  กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ผู้ทรงบำเพ็ญพระบารมีจนครบถ้วน แล้วขึ้นไปเสวยสุขในสวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมแล้ว จึงจุติลงมาปฎิสนธิในโลกมนุษย์ กระทำความเพียรอันอุกฤษฎ์  จนได้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงประกาศธรรมอันนำไปสู่ความหลุดพ้นทุกข์  แก่บรรดาชาวโลกทั้งมวล เนื้อเรื่องของลลิตวิสตร จบลงที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาครั้งแรก แล้วทรงประกาศอานิสงส์ผลบุญ แก่ผู้ฟังธรรมของพระองค์ แต่พระปฐมสมโพธิกถา ดำเนินเรื่องต่อไปอีกมากมายไปจบลงตรงที่ พระบรมสารีริกธาตุอันตรธาน คราวสิ้นสุดอายุของโลก
                        คัมภีร์นี้ แต่งด้วยภาษาสันสกฤตผสมภาษาถิ่นของอินเดีย ที่เรียกว่า ภาษาสันสกฤตพันทาง ข้อความที่แต่มีทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง (โศลกและฉันท์)  ผสมกัน แบ่งออกเป็น ๒๗ อัธยายะ (บท) เรียงตามลำดับเหตุการณ์
                        ประวัติของพระสูตรนี้ ก็เช่นเดียวกับพระสูตรมหายานอื่น ๆ คือ ไม่ปรากฎปีที่แต่ง แต่อ้างไว้เป็นกลาง ๆ ว่า เป็นพระพุทธวัจนะแท้ ๆ ที่พระศาสดาทรงแสดงแต่ผู้เดียว แต่มีผู้พบหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่า คัมภีร์นี้เขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๕ - ๖ คือ ได้มีการกล่าวถึงพระพุทธรูป และปรากฎว่าในระยะเวลานั้น ได้มีการถ่ายทอดพระคัมภีร์นี้ เป็นภาษาจีนแล้วโดยอาศัยหลักฐานจากบัญชีพระสูตรของ นันชิโอ       ๒๕/๑๖๑๓๔
                ๔๗๖๑. ลอง  อำเภอ ขึ้น จ.แพร่ เดิมเป็นเมืองเรียกว่า เมืองลอง ลดลงเป็น อ.เมืองลอง ตอนแรขึ้น จ.ลำปาง ภายหลังโอนมาขึ้น จ.แพร่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ เปลี่ยนเป็น อ.ลอง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑           ๒๕/๑๖๑๓๘
                ๔๗๖๒. ลอบ  เป็นเครื่องมือประมงประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้จับสัตว์น้ำ มีลักษณะเป็นโครงรูปทรงต่าง ๆ ใช้วัสดุหุ้มโดยรอบ และมีส่วนที่เรียกว่า วา เป็นช่องให้สัตว์น้ำเข้าภายใน
                        ลอบ ที่พบในประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ อาจมีรูปร่างต่างกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละประเทศ
                        ลอบ แบ่งเป็นประเภทที่สำคัญสามประเภทคือ ลอบน้ำจืด ลอบน้ำกร่อย และลอบทะเล
                        ๑.  ลอบน้ำจืด  มีเครื่องมือประเภทลอบหลายชนิด ได้แก่ ไซ มีสี่แบบ ได้แก่ ลอบนอกดักปลา ลอบนอนดักกุ้ง ลอบปลาหลด ลอบยืน อีจู้
                        ๒.  ลอบน้ำกร่อย  ได้แก่ ลอบปูทะเล และลอบกุ้ง
                        ๓.  ลอบทะเล  ได้แก่ ลอบปลา ลอบลูกปลากะรัง ลอบหมึก ลอบปู ลอบหอยหวาน       ๒๕/๑๖๑๓๘
                ๔๗๖๓. ลอมพอก  เป็นเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง สำหรับขุนนางและข้าราชการแห่งราชสำนัก มีมาแต่อดีต ลอมพอก มีสองประเภท ประเภทแรก เป็นเครื่องแสดงยศตามตำแหน่ง และบรรดาศักดิ์ อีกประเภทหนึ่ง เป็น ลอมพอก ที่ผู้เข้าร่วมในการเดินขบวนประกอบพระราชอิสริยยศ   ในการเสด็จพระราชดำเนิน หรือขบวนในพระราชพิธีสำคัญ ใช้สวมใส่
                        ลักษณะโดยรวมของลอมพอกคือ ตอนล่างเป็นรูปทรงกระบอกสูงเสมอศีรษะ หนึ่งฝ่ามือเศษ ส่วนบนรวบเป็นลอมทรงกรวย ตอนปลายเรียวแหลมคล้ายหน่อไม้
                        ธรรมเนียมใช้ลอมพอก เป็นเครื่องสวมศีรษะเริ่มมีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐาน และได้ใช้ต่อมาจนภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีประกาศเลิกบรรดาศักดิ์ ลอมพอกสำหรับยศก็หมดที่ใช้ ยังคงมีอยู่แต่ลอมพอกสำหรับเจ้าพนักงาน สวมเข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธีสำคัญ โดยธรรมเนียมแห่งพระราชอิสริยยศ เท่านั้น             ๒๕/๑๖๑๔๖
                ๔๗๖๔. ลอว์เรนเทียม  เป็นธาตุลำดับที่ ๑๐๓  เป็นธาตุกัมมันตรังสี ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นไม่มีปรากฎในธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔
                    สมบัติอื่นทางกายภาพ และทางเคมีของธาตุนี้  ยังไม่เป็นที่รู้จักกัน เพราะธาตุนี้มีอายุครึ่งชีวิต สั้นมากเกินไปจนไม่สามารถศึกษาสมบัติอื่น ๆ เพื่อความถูกต้องแน่นอนได้       ๒๕/๑๖๑๕๐
                ๔๗๖๕. ละคร  มีบทนิยามว่า "การเล่นจำพวกหนึ่ง ปรกติตัวแสดงแต่งเครื่อง มีบอกบท ลำนำดัง ๆ มีท่ารำ และมีทำเพลง มักแสดงเป็นเรื่องราว (ยกเว้น โขน ลิเก)  ละครจำพวกนี้มีแตกต่างกันออกไปบ้าง ตามชนิดละครนั้น ๆ เช่น ละครร้อง ละครดึกดำบรรพ์ ; การเล่นจำพวกหนึ่งคล้ายคลึงละคร แต่ไม่มีเครื่องแต่ง ไม่มีร้อง ไม่มีรำ หรือทำเพลง โดยตรง เช่น ละครพูด ละครตลก ; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์ "
                        ละครไทยแต่เดิม มีความหมายกว้าง โดยหมายถึง การแสดงทั่วไป และชนิดใดก็ได้ ที่แสดงเป็นเรื่องราว มักมีการร่ายรำเป็นองค์ประกอบสำคัญ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ โขน หนัง ละคร หุ่น ต่อมาความหมายของละครแคบเข้า โดยหมายถึงการแสดงประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ละคร หมายเพียงละครรำเท่านั้น เพราะอาศัยการรำเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีแบบแผน และศิลปะที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากรูปแบบละครตะวันตก จึงเกิดละครชนิดใหม่ ทั้งชนิดที่ใกล้เคียงกับละครรำ และแตกต่างไปจากเดิม อีกทั้ง ละครบางชนิดมีวิวัฒนาการมาเป็นรูปแบบละคร ที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
                        มีบทละครเกิดขึ้นในสมัยอยุธยามากมาย เช่น การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริย์วงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย
                        นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เป็นต้นมา เป็นยุคแห่งการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ ละครได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก เกิดเป็นละครชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด และมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ เช่น ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครร้อง ละครสังคีต และละครพูด
                        ละครไทย ค่อนข้างชัดเจนเป็นแบบแผนขึ้น ราวปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีการจำแนกการเรียกชื่อละคร ตามวิธีการแสดง ละครที่มีมาแต่เดิมซึ่งยึดถือการร่ายรำเป็นสำคัญ เรียกว่า ละครรำ ส่วนละครที่เกิดขึ้นใหม่ แบ่งแยกประเภทตามองค์ประกอบสำคัญของการแสดง เรียกว่า ละครร้อง และ ละครพูด
                            ๑. -  ละครรำ  หมายถึง ละครที่ใช้ศิลปะในการร่ายรำ ดำเนินเรื่อง ได้แก่ ละครชาตรี ละครใน และละครนอก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีการปรับปรุงละครรำขึ้น โดยนำรูปแบบของละครตะวันตก เข้ามาผสมผสานเกิดเป็นละครแบบใหม่ เรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง และละครเสภา
                        ละครชาตรี  เป็นต้นกำเนิดของละครรำ สันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลจากอินเดียภาคใต้ โดยผ่านทางแหลมมลายู และมีผู้นำแสดงในภาคกลางตั้งแต่สมัยอยุธยา นิยมเล่นเรื่องมโนห์รา และพระรถเสน  ใช้ผู้แสดงสามตัวคือ ตัวนายโรง ตัวนาง ตัวตลก ตัวละครจะทำบทร้อง มีพวกลูกคู่และปี่พาทย์รับ
                        ละครใน  เป็นละครในราชสำนักใช้ผู้หยิงแสดงล้วน การแสดงมุ่งการรำที่ประณีตงดงาม ใช้ถ้อยคำสละสลวย และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด ไม่มีบทตลก มักนิยมเล่น เรื่อง อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุทธ และดาหลัง การแต่งกายวิจิตรบรรจง
                        ละครนอก  มีวิวัฒนาการมาจากละครชาตรี การแสดงคล้ายละครชาตรีมาก โดยใช้ผู้ชายล้วน มุ่งดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว โลดโผน ตลกขบขัน ศิลปะการรำว่องไว กระฉับกระเฉง เพลงปี่พาทย์บรรเลงในจังหวะค่อนข้างเร็ว ต่อมเริ่มมีผู้หญิงเข้ามาเล่น
                        ละครดึกดำบรรพ์  ปรับปรุงวิธีเล่นโดยนำละครโอเปราของฝรั่ง มาดัดแปลงศิลปะการแสดงดำเนินตามแบบละครใน และละครนอก คงมีแต่บทร้อง มีฉากประกอบ ตามท้องเรื่องมีกลไกประกอบเรื่องให้เห็นจริง ตัดบทพรรณนาฉาก และกิริยาอาการของตัวละครออก คงมีแต่บทร้องซึ่งเป็นคำพูด ตัวละครร้องเองในบทของตน บทที่ต้องดำเนินเรื่องรวดเร็วทันใจ ในตอนพูดจาโต้ตอบหรือทุ่มเถียง ทะเลาะกันก็ใช้บทสนทนา การรำเพลงหน้าพาทย์ก็มีน้อย
                        ละครพันทาง  เป็นละครที่ปรับปรุงตามแนวตะวันตก และเกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่นำลีลาท่าที และอิริยาบทของคนต่างชาติ และท่าทางของสามัญชนปรับปรุงเข้ากับท่ารำไทย มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เพลงที่บรรเลงเป็นเพลงที่เรียกว่า เพลงภาษา  ถ้าแสดงเรื่องของชาติใด ก็บรรเลงเพลงภาษาทำนองของชาตินั้น เช่น เพลงจีนหลวง เพลงแขกพราหมณ์ การพูดเจรจาก็ใช้สำเนียงตามสัญชาติ ของตัวละครที่ตนแสดงบทอยู่
                        ละครเสภา  มีลักษณะคล้ายละครนอก ที่สำคัญคือ ใช้การขับเสภาเป็นการดำเนินเรื่อง ผู้แสดงร้องและขับเสภาเอง ในบทที่เป็นคำพูดของตนเอง ในขณะที่ออกท่าร่ายรำไปด้วย ปัจจุบันอนุโลมให้ต้นเสียง และลูกคู่ร้องเพลง และขับเสภาแทนผู้แสดงตลอดเรื่อง
                        ๒. -  ละครร้อง  หมายถึง ละครที่ใช้ศิลปะร้องดำเนินเรื่อง เป็นละครแบบใหม่เกิดขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากละครตะวันตก ละครร้องนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
                        ๓ . - ละครพูด  หมายถึง ละครที่ใช้ศิลปะการพูดดำเนินเรื่อง เป็นละครแบบใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมด็จพระบรมโอราสาธิราช ฯ ทางเป็นผู้ให้กำเนิดดำเนินเรื่อง โดยใช้บทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ตัวละครแสดงท่าทางตามธรรมชาติ ประกอบบทบาทไปตามเนื้อเรื่อง เดิมใช้ตัวแสดงเป็นชายล้วน ต่อมาจึงเป็นชายจริงหญิงแท้
                        นอกจาก ละครที่ใช้ผู้แสดงเป็นคนแล้ว ยังมีละครที่มนุษย์ได้ฝึกหัดสัตว์เป็นตัวแสดง  เช่น ละครลิง ละครสัตว์        ๒๕/๑๖๑๕๓
                ๔๗๖๖. ละครยก  เครื่องสังเวยพระภูมิ หรือเครื่องแก้บน ที่ทำเป็นตุ๊กตาจำลองตัวละคร สร้างขั้นเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ยกขึ้นมีเสาสี่มุม บางครั้งอาจมีกระดาษทำเป็นหลังคาด้วย บนเวทีมีตุ๊กตาสมมุติ เป็นตัวละครรำจำนวนสามถึงห้าตัว มีทั้งตัวพระ ตัวนาง เสียบตั้งไว้ ตุ๊กตา นั้นสร้างขึ้นด้วยดินเหนียวปั้นทาสี กระดาษทาสี หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ไม้ระกำ ก็มี
                        ละครยก คงจะมีที่มาจากละครชาตรี หรือละครรำแก้บน ซึ่งได้รับคติการฟ้อนรำ และแสดงดนตรีเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า ตามความเชื่อ และข้อปฎิบัติในศาสนาพราหมณ์ ตามเทวสถานในประเทศอินเดีย รวมทั้งปราสาทนครวัด ในประเทศกัมพูชา ยังพบลานเวทีศิลาหน้าเทวสถานเหล่านั้น สร้างไว้เพื่อให้นางเทวทาสี มาร่ายรำเพื่อบูชาเทพเจ้า เป็นปฎิบัติบูชาอยู่เป็นประจำ       ๒๕/๑๖๑๖๕
                ๔๗๖๗. ละงู  อำเภอ ขึ้น จ.สตูล  มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศตะวันตก ตกทะเลในสช่องแคบมะละกา
                        อ.ละงู เคยเป็นเมืองในสมัยโบราณ เรียกว่า เมืองละงู ต่อมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่ง อ.ละงู ขึ้น อ.ทุ่งหว้า แล้วยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓       ๒๕/๑๖๑๖๖
                ๔๗๖๘. ละติน  หมายถึง ชาวละติน ภาษาละติน หรือจารีตละติน ก็ได้
                        ๑. ชาวละติน  ได้แก่  ชาวเผ่าอารยันที่อาศัยอยู่แถบกลางของคาบสมุทรอิตาลี เดิมเรียกว่า แคว้นละติน แบ่งออกเป็นรัฐมากมาย โรมา หรือโรม เดิมเป็นตำบลที่รกร้าง ตามตำนานกล่าวว่า เป็นถิ่นที่หลบซ่อนของเหล่าโจร มีเนินลูกหนึ่งเรียกว่า เนินแคปปิตอล แล้วประกาศตัวรัฐอิสระขึ้น โดยมีอาณาเขตดั้งเดิมแค่เนินเจ็ดลูก ล้อมรอบเนินแคปปิตอล หัวหน้าโจรซึ่งตั้งตัวเป็นกษัตริย์ องค์แรกชื่อ โรมุลูส  ตั้งชื่อนครรัฐใหม่ ตามพระนามของพระองค์ว่า โรมา
                        ต่อมา นครรัฐโรม ขยายอำนาจออกไปครอบคลุมแคว้นละตินไว้ทั้งหมด จึงเปลี่ยนชื่อเป็นแควนโรมัญญา แปลว่า โรมใหญ่ ใช้ภาษาละตินเป็นภาษาราชการ มีการปรับปรุงใช้ภาษาละติน แทนภาษากรีก
                        ๒. ภาษาละติน  คือ ภาษาที่ชาวละติน ใช้มาแต่เดิมนั่นเอง ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาทางราชการ ของมหาอาณาจักรโรมัน
                        ภาษาละติน เป็นหนึ่งในห้า ภาษาอารยันเท่าที่รู้จักในขณะนี้คือ ภาษาบาลี สันสกฤต กรีก ละติน และเปอร์เชีย
                        ๓. จารีตละติน  ศาสนาคริสต์ตอนต้นยุคกลาง จัดแบ่งตามภาษาศาสนาที่ใช้เรียกว่า จารีต นั่นคือ กลุ่มที่ใช้ภาษาหนึ่งประกอบพิธีทางศสาสนา เช่น จารีตละติน จารีตกรีก จารีตรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีจารีตซีเรีย จารีตมาโรไนต์ กลุ่มคอปต์ จารีตซีโรมาลาบาร์ หลังยุคกลางกลุ่มจารีตอื่น ๆ นอกจากจารีตละตินได้กลายมาเป็น นิกายออร์โทดอกซ์ ส่วนจารีตละติน กลายเป็นนิกายโรมันคาทอลิก
                ๔๗๖๙. ละมั่ง  ดูที่ กวาง  - ลำดับที่ ๒๑๗       ๒๕/๑๖๐๗๐
                ๔๗๗๐. ละแม  อำเภอ ขึ้น จ.ชุมพร มีอาณาเขตทิศตะวันออก ตกทะเลในอ่าวไทย อ.ละแม เดิมตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ ขึ้น อ.หลังสวน ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐       ๒๕/๑๖๑๗๐
                ๔๗๗๑. ละหานทราย  อำเภอ ขึ้น จ.บุรีรัมย์ มีอาณาเขตทิศใต้ ติดต่อ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว และพรมแดนประเทศกัมพูชา
                        อ.ละหานทราย แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ขึ้น อ.นางรอง ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖         ๒๕/๑๖๑๗๑
                ๔๗๗๒. ละอง  ดูที่ กวาง - ลำดับที่ ๒๑๗        ๒๕/๑๖๐๗๑
                ๔๗๗๓. ละอุ่น  อำเภอ ขึ้น จ.ระนอง เดิมเป็นอำเภอ ต่อมายุบเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ แล้วยกฐานะเป็นอำเภอ อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖       ๒๕/๑๖๑๗๑
                ๔๗๗๔. ลักกะปิดลักกะเปิด โรค   มีบทนิยามว่า "ชื่อโรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟัน และเหงือกน่วม เนื่องจากขาดวิตามินซี"
                        โรคนี้รู้จักกันมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว จัดเป็นโรคเก่าแก่ที่สุดโรคหนึ่ง ที่มีการบันทึกไว้ในวงการแพทย์ และโภชนาการ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย ซีด เหงือกนุ่ม มักมีเลือดออกตามบริเวณรอยต่อ ระหว่างผิวหนังกับเยื่อบุอวัยวะ และมีตุ่มแข็งที่กล้ามเนื้อน่อง และขา ปัจจุบันทราบแล้วว่า โรคนี้เกิดจากการขาดวิตามินซี       ๒๕/๑๖๑๗๒
                ๔๗๗๕. ลักษณวงศ์  เป็นนิทานคำกลอนเรื่องหนึ่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวกันว่า สุนทรภู่ เป็นผู้แต่งเนื้อเรื่อง โดยย่อมีว่า
                        กษัตริย์องค์หนึ่งชื่อ ท้าวพรหมทัต ครองเมืองพาราณสี มีพระมเหสีชื่อ สุวรรณอำภา มีพระโอรสชื่อ ลักษณวงศ์
                        เรื่องลักษณวงศ์ เป็นบทประพันธ์ประเภทเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ แบบนิทานโบราณ       ๒๕/๑๖๑๘๓
                ๔๗๗๖. ลัน  เป็นเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ทำจากวัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่และหวาย ใช้วางดักสัตว์น้ำ อยู่ประจำที่ มีใช้ทำประมงทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ตามบริเวรแม่น้ำ ลำคลอง
                        ลัน แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ได้แก่ ลัน ลันปลาไหล และ ลันกุ้ง       ๒๕/๑๖๑๘๕


    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch