หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/115
     ๔๐๘๓. ฟ้า  มีบทนิยามว่า "ส่วนเบื้องบนที่แลเห็นครอบแผ่นดินอยู่"
                        ฟ้ามีลักษณะเป็นผิวของรูปครึ่งทรงกลมกลวง โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ ณ จุดที่ผู้สังเกตอยู่ ทั้งนี้เพราะระยะจากผู้สังเกตที่มองไปยังจุดต่าง ๆ บนฟ้ายาวเท่ากันทุกทิศทาง ของระดับที่ฟ้าจดแผ่นดิน อันราบเรียบเป็นระดับต่ำสุดอยู่รอบตัว ผู้ดูทุกทิศทางเรียกว่า ขอบฟ้า จุดบนฟ้าที่ต้องเงยหน้าขึ้นไปดูมากที่สุดคือ จุดสูงสุดของฟ้าเรียกว่า จุดเหนือศีรษะ อยู่สูงกว่าขอบฟ้า ๙๐ องศา
                        มีจุดสำคัญสี่จุดที่ระดับขอบฟ้า คือ จุดทิศทั้งสี่ได้แก่จุดทิศตะวันออก จุดทิศตะวันตก จุดทิศเหนือและจุดทิศใต้ จุดทิศตะวันออกหมายถึงจุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในวันที่ ๒๑ มีนาคมหรือ ๒๓ กันยายน จุดทิศตะวันตก คือจุดที่ดวงอาทิตย์ตกใจวันที่ ๒๑ มีนาคมหรือ ๒๓ กันยายน จุดทิศเหนือและจุดทิศใต้อยู่ห่างจากจุดทิศตะวันออกไปข้างละ ๙๐ องศา
                        ฟ้ามีลักษณะกว้างใหญ่ไพศาลไกลสุดตาจึงเรียกจุดนี้ว่า ท้องฟ้า
                        ถ้าออกไปอยู่ในอวกาศไกลจากโลกจะเห็นฟ้าเป็นผิวของรูปทรงกลมกลางเรียกว่า ทรงกลมฟ้า
                        ฟ้าของโลกมีสีคราม ในอวกาศหรือบนดวงจันทร์ ฟ้ามีสีดำ ทั้งนี้เพราะในอวกาศ และบนดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ แต่บนโลกมีบรรยากาศที่หนาทึบมาก เมื่ออยู่ที่ผิวโลกบรรยากาศ สามารถแยกแสงอาทิตย์ออกเป็นสีต่าง ๆ ได้ และส่วนที่เป็นสีน้ำเงินถูกบรรยากาศกระเจิงกลับสู่ท้องฟ้ามากกว่าสีอื่น ๆ ดังนั้นฟ้าจึงมีสีครามหรือสีน้ำเงิน         ๒๑/ ๑๓๗๐๙
                ๔๐๘๔. ฟากท่า  อำเภอขึ้น จ.อุตรดิตถ์ มีอาณาเขตทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกจดประเทศลาว ภูมิประเทศเป็นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ อยู่ในทิวเขาทั้งฟากด้านตะวันออก และตะวันตก มีป่าไม้เบญจพรรณมาก
                        อ.ฟากท่า แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ ขึ้น อ.น้ำปาด ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑    ๒๑/ ๑๓๗๑๔
                ๔๐๘๕. ฟ้างุ้ม  เป็นพระนามของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๘๕๙ เป็นพระโอรสของขุนยักษ์ฟ้า เมื่อขุนยักษ์ฟ้าไปเป็นชู้กับพระชายาชาวเขมรของพระบิดา จึงถูกเนรเทศไปนอกอาณาจักรล้านช้าง เจ้าชายฟ้างุ้มติดตามพระบิดาไปด้วย โดยอาศัยแพเป็นพาหนะ ครั้นแพนี้ไปถึงแก่งลี่ผีติดกับอาณาจักรเขมรโบราณหรือขอม ภิกษุรูปหนึ่งได้เลี้ยงเจ้าฟ้างุ้มไว้ถึงเจ็ดปี แล้วจึงนำไปถวายตัวต่อกษัตริย์ขอม ซึ่งได้เลี้ยงดูเจ้าฟ้างุ้มเสมือนราชบุตรบุญธรรม ครั้นอายุได้ ๑๖ ปี พระเจ้าแผ่นดินขอมได้ประทานพระธิดาเป็นพระชายา ต่อมาได้โปรดให้แต่งทัพไปตีล้านช้าง เพื่อชิงราชสมบัติ
                        ระหว่างเดินทัพไปล้านช้างเจ้าฟ้างุ้มไปพบเจ้าคำย่อโอรสเจ้าเมืองพวน ซึ่งเป็นแคว้นอิสระอยู่ในเวลานั้น เจ้าคำย่อกลัวพระบิดาจะจับฆ่า เพราะได้ลอบเป็นชู้กับชายาของพ่อจึงได้หนีไปพบเจ้าฟ้างุ้ม ทั้งสองตกลงกันว่า ถ้าเจ้าฟ้างุ้มช่วยตีเมืองพวนได้ เจ้าคำย่อจะยอมเป็นเมืองขึ้นของเจ้าฟ้างุ้ม ในที่สุดเจ้าฟ้างุ้มตีเมืองพวนได้และเจ้าคำย่อได้เป็นพระยาคำย่อ และจัดกำลังจากเมืองพวนไปสมทบกองทัพเจ้าฟ้างุ้มยกไปตีล้านช้างได้ เจ้าฟ้างุ้มขึ้นครองราชย์ล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้างุ้ม เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๖ และสิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๖
                        เจ้าฟ้างุ้มได้แสดงความสามารถยกกองทัพไปตีบ้านเล็กเมืองน้อยได้มามาก นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ได้ยกย่องเจ้าฟ้างุ้มว่า ได้ทำความเข้มแข็งให้แก่อาณาจักรล้านช้าง เช่นเดียวกับพระเจ้ารามคำแหง ฯ ทรงทำให้แก่อาณาจักรสุโขทัย แต่เจ้าฟ้างุ้มประพฤติตนไม่ดีไม่งามชอบผิดลูกเมียผู้อื่น จนในที่สุดบรรดาข้าราชการได้ร่วมมือกันปลดพระองค์จากราชสมบัติ และขับไล่ออกจากอาณาจักรล้านช้าง         ๒๑/ ๑๓๗๑๕
                ๔๐๘๖. ฟ้ามุ่ย  เป็นกล้วยไม้ประเภทที่ความเจริญเติบโตเริ่มจากปลายยอดขึ้นไปปรกติชอบเกาะอยู่บนต้นไม้ ใบแคบรูปรางน้ำ ช่อดอกออกตามง่ามใบ ตอนปลายลำต้น ช่อหนึ่งมีประมาณ ๕ - ๑๕ ดอก สีม่วงอ่อนหรือม่วงเข้ม เกสรสีขาวออกดอกเดือนสิงหาคม - ตุลาคม พบตามป่าเขาทางภาคเหนือ ตั้งแต่ความสูง ๖๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป         ๒๑/ ๑๖๗๑๘
                ๔๐๘๗. ฟ้ารั่ว  เป็นพระนามของเจ้าฟ้ารั่ว ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ กรุงสุโขทัยได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้กระทำโดยสองวิธีคือ วิธีแรก โดยทำศึกสงครามปราบปรามเมืองต่าง ๆ ที่เป็นอิสระ วิธีหลังคือ เมืองเหล่านั้นอ่อนน้อมสวามิภักดิ์พ่อขุนรามคำแหงได้อาณาจักรมอญมาเป็นประเทศราช เนื่องจากเจ้าฟ้ารั่วผู้ครองอาณาจักรมอญมาสวามิภักดิ์
                        เจ้าฟ้ารั่วมีนามเดิมว่า มะกะโท หลักฐานไทยไม่ตรงกับหลักฐานมอญหรือพม่าเกี่ยวกับประวัติเจ้าฟ้ารั่ว ตามหลักฐานไทยเจ้าฟ้ารั่ว มีเชื้อสายไทยใหญ่อยู่ที่เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้เป็นพ่อค้าเร่เดินทางไปยังกรุงสุโขทัย ส่วนหลักฐานมอญมีใจความว่า เมื่อมอญได้รวมกันเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ การกบฏได้เกิดขึ้นในแคว้นตะนาวศรี เมื่อพระเจ้านรสีหบดีแห่งอาณาจักรพุกามขึ้นครองราชย์ มีพวกกบฎมอญพวกหนึ่งชื่อมะกะโทมีบิดาเป็นนักผจญภัยคนไทย มารดาเป็นมอญ เกิดที่เมืองสะโตง ตามหลักฐานพม่าเมื่อการกบฏล้มเหลว มะกะโทได้หนีมารับราชการในกรมช้าง ณ กรุงสุโขทัย ต่อมามีความชอบพ่อขุนรามคำแหง ฯ โปรดให้มะกะโทเข้ารับราชการในราชสำนัก และได้ผูกสมัครรักใคร่กับราชธิดาองค์หนึ่งของพระองค์ แล้วแอบหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ
                        เมื่อมะกะโททราบว่ากองทัพพม่าพ่ายแพ้พวกมองโกล เขาได้เกลี้ยกล่อมให้เจ้าเมืองมอญที่นิยมพม่าประจำเมืองเมาะตะมะมาทำการกบฏ ครั้นถูกปฎิเสธ เขาที่ได้ปลุกระดมชาวเมืองเมาะตะมะให้ก่อการจลาจล และจับเจ้าเมืองคบนั้นฆ่าเสียแล้วยกตนเองเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า เจ้าฟ้ารั่ว ต่อมาเมื่อกรุงพุกามแตกแล้วในปี พ.ศ.๑๘๓๐ มะกะโทได้รวบรวมพรรคพวกสมทบกับตะระพญา ซึ่งเป็นมอญเหมือนกัน และเจ้าเมืองหงสาวดีขับไล่พม่าออกจากแคว้นหงสาวดีได้ปกครองดินแดน ทั้งหมดทางใต้เมืองแปร และเมืองตองอูคือ หัวเมืองมอญทั้งหมด มะกะโทได้เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรมอญ
                        มะกะโทได้มีสาสน์กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหง ฯ ในการพาพระราชธิดาไปจากกรุงสุโขทัย อาณาจักรมอญ จึงเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ตลอดรัชกาลของพระองค์
                        ครั้นเจ้าฟ้ารั่วสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ แล้ว มีการชิงราชสมบัติในที่สุดพระเจ้าแสนเมืองมิ่งได้ขึ้นครองราชบัลลังก์มอญ และตั้งเป็นอิสระต่อกรุงสุโขทัย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นภายหลังพ่อขุนรามคำแหง ฯ สวรรคตแล้ว (พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๘๔๒)         ๒๑/ ๑๖๗๑๘
                ๔๐๘๘. ฟาสซิสต์  เป็นลัทธิการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อิตาลีได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบประชาธิปไตย มาเป็นระบอบฟาสซิสต์ของเบนิโตมุสโสลินี
                        หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อิตาลีไม่ได้ส่วนแบ่งดินแดนตามที่ตนต้องการ อิตาลีต้องการได้แอลบาเนียเป็นเมืองในอาณัติภายใต้สันนิบาตชาติ แต่ในที่สุดอิตาลีต้องถอนกำลังของตนออกจากแอลบาเนียและฟิอูเมในแอฟริกา อิตาลีได้ส่วนแบ่งดินแดนเพียงเล็กน้อยมารวมกับลิเบีย และโซมาลีแลนด์ ซึ่งเป็นอาณานิคมของตนอยู่แล้ว ทำให้พวกชาตินิยมโกรธเคือง ถึงกับได้ประกาศสัญญาว่าจะสร้างอิตาลีขึ้นใหม่
                        ในขณะเดียวกันสถานการณ์ภายในก็ตกต่ำ เกิดการว่างงาน ค่าครองชีพสูง เงินเฟ้อ เศรษฐกิจทรุดโทรมลงทำให้กรรมกรและเกษตรกรปั่นป่วน มีการนัดหยุดงานและการปิดโรงงานต่าง ๆ ตามชนบท ทำให้ชาวอิตาเลียนหลายกลุ่มแสดงความปรารถนาที่จะให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง ต้องการให้มีการปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ พวกชาตินิยม และทหารเรียกร้องที่จะให้มีบุคคลชุดใหม่มาบริหารบ้านเมือง
                         เบนิโตมุสโสลินี และพรรคฟาสซิสต์ จึงได้โอกาสเข้าควบคุมการปกครองของประเทศอิตาลี พระเจ้าวิกเตอร์เอมานูเอลที่สาม ทรงแต่งตั้งเบนิโตมุสโสลินี เป็นายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕
                        เบนิโตมุสโสลินีเกิด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๖ บิดาเป็นช่างตีเหล็กมีความโน้มเอียงไปทางลัทธิโซเชียลสิสต์ มารดาเป็นครู เขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนฝึกหัดครูแล้ว ประกอบอาชีพครู แต่ไม่ชอบเป็นครู ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาต้องเข้ารับราชการเป็นพลทหาร ต่อมาได้กลับไปเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ราษฎรอิตาเลียที่เคยทำอยู่เดิม ได้ตั้งพรรคฟาสซิสต์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๒ มีผู้นิยมพรรคนี้กันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พระเจ้าวิกเตอร์เอมานูเอลที่สามทรงมอบให้มุสโสลินีจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ.๒๔๖๕ และดำรงตำแหน่งผู้นำจนสิ้นอำนาจในปี พ.ศ.๒๔๘๖
                        ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงหลายอย่าง การเกษตรกรรมได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือ เพื่อให้อิตาลีสามารถผลิตอาหารเพียงพอเลี้ยงตัวเอง ด้านศาสนาได้ดำเนินการประสานความกลมเกลียวระหว่างสันตปาปากับรัฐบาล โดยได้ลงนามในสนธิสัญญาลาเตอราน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ รับรองฐานะของสันตะปาปาว่าเป็นประมุขของรัฐวาติกัน สำหรับคนว่างงานพรรคฟาสซิสต์ได้วางโครงการใหญ่โต เพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจรัฐสงวนลัทธิ ที่จะเข้าแทรกแซงในคิวภาคกรรม จำกัด การใช้วิธีการผลิตกรรม รัฐอาจจะเข้าทำงานเป็นเจ้าของแทนแล้วแต่กรณี
                        ในปี พ.ศ.๑๔๗๘ อิตาลีส่งกองทัพเข้าตีประเทศอะบิสซีเนีย (เอธิโอเปีย ปัจจุบัน) ได้เป็นอาณานิคม และยังได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศสอดคล้องกับอะคอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันตามที่เรียกกันว่า แกนโรม - เบอร์ลิน ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง         ๒๑/ ๑๖๗๒๑
                ๔๐๘๙. ฟาเหียน  เป็นชื่อพระธรรมจารึกชาวจีน ผู้ปรากฏชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานหนึ่งในจำนวนสามรูป คือฟาเหียน ถังซัมจั๋ง (หยวนจั้ง ฮวนฉ่าง หรือเซียนจัง) และอีจิ้ง (หงี่เจ๋ง)
                        พระธรรมจาริกชาวจีนทั้งสามรูปได้เดินทางจากประเทศจีนไปสืบพระศาสนายังประเทศอินเดีย เล่าเรื่องการเดินทางของท่านไว้ทุกรูปเป็นศาสนประวัติ แสดงเรื่องพระพุทธศาสนา วรรณคดีและโบราณคดีเป็นประโยชน์แก่การศึกษาอย่างกว้างขวาง (ดูถังซัมจั๋ง - ลำดับที่...๒๓๘๔)
                        ฟาเหียน (พ.ศ.๙๑๗ - ๑๑๐๓) เกิดที่ตำบลบู๊เอี๋ยง จังหวัดเพ่งเอี๋ยง มณฑลเชนสี คำว่า ฟาเหียนเป็นชื่อฉายา เมื่ออุปสมบทเป็นสมณะจีนรูปแรก ที่ได้เดินทางไปสืบพระศาสนา เมื่อปี พ.ศ.๙๔๒ ก่อนพระถังซัมจั๋งราว ๒๓๐ ปี
                        ฟาเหียนบรรพชนเป็นสามเณรแต่ยังเล็กเติบโตอยู่ในวัดจนได้อุปสมบทเป็นคนมีวิริยะกล้า ศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา เห็นความประพฤติของพระภิกษุมหายานวิปริตไม่ลงรอยกัน ต่างฝ่ายอ้างว่าฝ่ายตนปฏิบัติถูกต้องไม่มีครูบาอาจารย์คนใดตัดสินได้ จึงตั้งจิตอธิษฐานเดินทางไปสืบหาพระคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่ถูกต้องยังประเทศอินเดีย
                        ฟาเหียนกับสหายอีกหลายรูปออกเดินทางจากประเทศจีน โดยทางบกไปยังชมพูทวีป ดูการพระศาสนาไปตลอดทาง นัยว่าใช้เวลาถึงหกปีอยู่ศึกษา และคัดลอกพระคัมภีร์อยู่อีกสี่ปี ออกจากชุมพูทวีปข้ามไปแสวงหาพระคัมภีร์ที่เกาะลังกาอีกสามปี จึงเดินทางกลับประเทศจีนใช้เวลาทั้งหมดสิบห้าปี
                        เมื่อกลับถึงประเทศจีนได้พระภิกษุชาวอินเดียรูปหนึ่งผู้เป็นสหายใกล้ชิดชื่อ พุทธภัทสะ มาช่วยแปลคัมภีร์ที่เป็นภาษาสันสกฤตออกเป็นภาษาจีน และได้ช่วยบันทึกเรื่องการเดินทางตามคำบอกของตนด้วย
                        การเดินทางของฟาเหียน มีสมณทูตร่วมทางแบ่งเป็นสองคณะละห้ารูป ก่อนออกเดินทางฟาเหียนปรารภว่าเห็นพระวินัยปิฎกไม่มีระเบียบเป็นแบบปฏิบัติ
    ในหมู่สงฆ์มีความวิปลาสคลาดเคลื่อนไม่มีผู้ใดตัดสิ้นว่าผิดถูกจึงปรึกษากับเพื่อนภิกษุพร้อมใจกันออกเดินทางไปสืบพระศาสนา เฟ้นหาคัมภีร์พระวินัยปิฎกที่ถูกต้องสมบูรณ์
                        คณะธรรมจาริกออกจากเมืองเชียงอาน มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านด่านชายแดนหลายด่าน คณะธรรมจาริกทั้งสองคณะ แยกกันออกเดินทางแล้วนัดพบ
    กันข้างหน้าที่ด่านตุนกวนตรงสุดกำแพงใหญ่ นายด่านนิมนต์คณะธรรมจาริก นักสอนธรรมอยู่เดือนเศษ แล้วจัดพาหนะคนนำทาง และเสบียงเดินทางเตรียมตัว ข้ามทะเลทรายโกบี อันเป็นเส้นทางวิบากทางเดียว ที่ชาวอินเดียกับชาวจีน ใช้ติดต่อกันมาแต่โบราณ โกษีเป็นทะเลทรายกว้างใหญ่กลางทวีปเอเชียมีพายุร้อน ภูตผีปีศาจ ผู้เดินทางต้องล้มตายเป็นอันมาก เบื้องบนไม่มีนกบิน เบื้องล่างไม่มีสัตว์ออกหากินมองสุดสายตาไม่เห็นเส้นทางมองเห็นแต่กระดูกมนุษย์เป็นระยะ ๆ คณะของฟาเหียนผ่านไปได้แต่มีบางรูปเลิกล้มความตั้งใจ เดินทางกลับ
                        พ้นทะเลทรายแล้วต้องขึ้นเขาสูงผ่านแม่น้ำลึกไปตลอดแนว เดินไปหลายวันจึงพบบ้านผู้คน ตลอดทางที่ผ่านไปบางวัดมีภิกษุฝ่ายเถรวาท มีวินัยเคร่งครัดจำนวนหลายพันรูป บางวัดเป็นมหายาน เฉพาะที่เมืองโขตานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศทิเบต มีภิกษุฝ่ายมหายานเป็หมื่น มีวัดใหญ่ ๑๔ วัด เป็นเมืองพระพุทธศาสนาภิกษุฝ่ายเถรวาท และมหายานต่างฝ่ายต่างอยู่ศึกษาบำเพ็ญสมณธรรม ไม่มีการวิวาทกัน คณะธรรมจาริกพักที่เมืองโขตานสามเดือน เพื่อรอดูงานแห่พระพุทธรูป
                        ฟาเหียนเหยียบแผ่นดินชมพูทวีปทางเมืองตักกสิกา แคว้นคันธาระได้พบวัดและเจดีย์ที่มีความสวยงาม ทุกเวลาเช้าพระเจ้าแผ่นดิน เสด็จบูชาพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ และมีพระเจ้าแผ่นดินในเมืองอื่นส่งช่างมาวาดรูปพระพุทธฉายาอยู่ไม่ขาด
                        จากเมืองอุทยานผ่านไปถึงราชอาณาจักรมัธยะ (มัธยมประเทศ) เป็นใจกลางของจักรวรรดิ์ ราชวงศ์คุปตะ อากาศร้อนประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพการเกษตร ยึดมั่นในศีลธรรมต่างเคร่งครัดไม่มีใครเลี้ยง หมู เป็ด ไก่ เป็นอาหารไม่มีการขายวัว ควายให้เป็นอาหาร และไม่มีโรงต้มกลั่นสุรา
                        ในเวลานั้นพระพุทธศาสนาในอาณาจักรมัธยะเสื่อมโทรมมาก ยากแก่การแสวงหาพระคัมภีร์ที่สมบูรณ์ ฟาเหียนต้องจาริกไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อศึกษาภาษาสันสกฤต บาลีและต้องปลีกเวลาออกแสวงหาพระคัมภีร์ด้วย เมืองต่าง ๆ ดังกล่าวได้แก่ เมืองสังกัสสะ กันยากพย์ (กาโนช) สาเกต สาวัตถี กบิลพัสดุ เวสาลี ปาตลีบุตร นาลันทา ราชคฤห์ คยา พาราณสีโกสัมพี
                        ที่เมืองปาตลีบุตรหวังจะได้คัดลอกคัมภีร์พระวินัยปิฎก หรือพระปาติโมกข์ ฉบับดั้งเดิมกลับได้แต่คัมภีร์วินัยหมวดมหาสังคีติและอีกสิบแปดหมวด ทุกหมวดมีมติของอาจารย์ (ฝ่ายมหายาน) ปะปนอยู่ แต่หลักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ต่อจากนั้นได้คัดลอกพระวินัยอีกหมวดหนึ่งประมาณเจ็ดพันคาถา เป็นวินัยของสงฆ์นิกายสรวาสติวาท หมวดนี้พระสงฆ์ในประเทศจีนปฏิบัติอยู่ แต่ไม่ได้จารึกไว้เป็นลายลักษณอักษรที่แห่งเดียวกันนี้ ได้คัมภีร์สังยุตตอภิธัมมหทัย เป็นหนังสือประมาณหกพันคาถา กับได้พระสูตรอีกหมวดหนึ่งประมาณสองพันห้าร้อยคาถา ได้คัมภีร์ปรินิพพานสูตร คัมภีร์อภิธรรม และมหาสังคีติด้วย ฟาเหียนพักอยู่ที่สังฆารามแห่งนี้สามปี ศึกษาภาษาสันสกฤต และคัดลอกคัมภีร์ต่าง ๆ ได้มากกว่าที่อื่น
                       ในที่สุดฟาเหียนได้คัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ชุดหนึ่งที่มีผู้เก็บซ่อนไว้ในเจดีย์วัดมหายานในสุวรรโณทยาน เมืองสาวัตถีเป็นพระไตรปิฎก มีข้อความถูกต้องครบถ้วน ตามที่พระมหาเถระร่วมกันร้อยกรองเป็นหมวดหมู่ไว้ตั้งแต่สังคายนาครั้งแรก พระไตรปิฎกฉบับนี้เป็นของฝ่ายเถรวาท แสดงว่าในสมัยนั้นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในอินเดียหาผู้เอาใจใส่เกือบไม่ได้ เมื่อได้พระไตรปิฎกฉบับนี้แล้ว ฟาเหียนพยายามแสงหาคัมภีร์พระสูตรฝ่ายมหายานต่อไป ได้เดินทางไปอยู่ที่แคว้นจัมปาตามลำน้ำคงคา ไปทางทิศตะวันออกพักคัดลอกคัมภีร์พระสูตรภาษาสันสกฤต (ของมหายาน) รวบรวมพระพุทธรูปหล่อ และภาพเขียนเท่าที่หาได้ใช้เวลาที่เมืองนี้สองปี เตรียมตัวเดินทางไปเกาะลังกา เพื่อสืบศาสนาที่เกาะนั้นแล้วจะกลับประเทศจีนทางทะเล
                        มาตอนหลังฟาเหียนศึกษาคัดลอกพระคัมภีร์อยู่ผู้เดียว รวมเวลาตั้งแต่เดินทางจากเมืองเชียงอานมาเป็นเวลาสิบสองปี
                        ฟาเหียน อาศัยเรือสำเภาออกจากชมพูทวีปสิบสี่วันถึงเกาะลังกา พักอยู่ที่มหินตเลได้เข้าบูชาพระทันตธาตุ จาริกบูชาตามสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา คัดลอกคัมภีร์ที่ต้องการอยู่อีกสองปี ได้คัมภีร์พระวินัยปิฎกฉบับของนิกายมหิสาสกะ คัมภีร์ทีรฆาคม (ทีฆนิกาย) สัมยุตาคม (สังยุตนิกาย) และคัมภีร์ปกรณ์วิเสส จนเป็นที่พอใจแล้ว อาศัยเรือสำเภาจากเกาะลังกา หมายใจจะกลับประเทศจีน
                        ฟาเหียนรอนแรมไปกลางทะเลถูกพายุหนักอยู่สิบห้าวัน ต้องทิ้งสัมภาระหนักลงทะเลเหลือไว้แต่คัมภีร์ และพระพุทธรูป สำเภาลอยอยู่ในทะเลถึงเก้าสิบวัน คลื่นซัดเข้าสู่ฝั่งประเทศชวา ซึ่งเป็นเกาะใหญ่เห็นประชาชนนับถือศาสนาพราหมณ์ มีผู้เข้าพุทธรรมบ้างแต่เพียงเล็กน้อย ต้องอาศัยรอหาเรือใหญ่เตรียมเสบียงอาหาร อยู่บนเกาะนี้ห้าเดือน
                        สำเภาบรรทุกผู้โดยสารสองร้อยคน มุ่งหน้าไปทางทิศอีสานตรงไปมณฑลกวางตุ้ง แล่นไปได้เดือนเศษ บังเกิดพายุพัดอย่างหนัก พวกคนเรือส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ ต่างเห็นกันว่าเพราะมีนักบวชในพระพุทธศาสนา อาศัยมาเป็นกาลกิณี  ควรจะส่งขึ้นเกาะ บังเอิญผู้โดยสารคนหนึ่งนับถือพระพุทธศาสนา เป็นอุปัฎฐากฟาเหียนมาแต่เกาะลังกาคัดค้าน ยอมให้ส่งตัวเองขึ้นเกาะแทน แล้วขู่ว่าถ้าไปถึงแผ่นดินจีน จะนำเรื่องไปฟ้องพระเจ้าแผ่นดินจีน ผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนา คนเรือจึงไม่กล้าส่งฟาเหียนขึ้นเกาะ สำเภาแล่นต่อไปอีกสิบสองวัน ก็ถึงยังเมืองเชียงกวาง มณฑลซิงจิว ลีอี้ผู้รักษาการจังหวัดเป็นชาวพุทธเคร่งครัด ทราบว่ามีสมณะนำพระสูตรและพระปฎิมา มาจากชมพูทวีปก็ออกมาต้อนรับ ให้พักอยู่ตลอดพรรษา เมื่อออกพรรษา ฟาเหียนก็ลาเดินทางต่อไปเมืองเชียงอาน นำพระคัมภีร์ และพระพุทธรูปตรงไปเมืองหลวง (นานกิง) เข้าหาพระเถระผู้ใหญ่ รวบรวมสมณะน้อยใหญ่ ร่วมกับพระเถระพุทธภัทระ ชาวอินเดีย ตั้งกองแปลคัมภีร์ออกเป็นภาษาจีน รวมเวลาตั้งแต่ออกจากเมืองเชียงอาน (อายุ ๒๕ ปี) ศึกษาคัดลอกคัมภีร์รวมเวลาสิบห้าปี
                        พระจักรพรรดิ์ผู้ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ให้ตั้งกองนักปราชญ์พระพุทธศาสนามหายานของจีนขึ้น และให้รวบรวมพระคัมภีร์ทั้งหลาย ที่ฟาเหียนนำมาจากชมพูทวีปไว้เป็นคัมภีร์ในชุดพระไตรปิฎกมหายานของจีนทั้งหมด
                        ฟาเหียนมีชีวิตต่อมาอีกสี่สิบปี ถึงมรณภาพ เมื่ออายุแปดสิบปี  (ลำดับที่ ๒๓๘๔)         ๒๑/ ๑๓๗๒๗

    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch