หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/72
    ๒๘๓๐. นางหงส์  เป็นชื่อของวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับบรรเลงในงานศพ นอกจากนั้นยังเป็นชื่อเพลงดนตรี ซึ่งบรรเลงประกอบกันขึ้นเป็นชุดเรียกว่า เพลงชุดนางหงส์อีกด้วย ใช้บรรเลงแต่เฉพาะในงานศพเช่นเดียวกัน            ๑๕/ ๙๕๕๒
                ๒๘๓๑. นาเชือก  อำเภอขึ้น จ.มหาสารคาม ภูมิประเทศเป็นที่ราบ
                    อ.นาเชือกแรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๓ โดยยก ต.นาเชือกใน อ.พยัคฆภูมิพิสัยเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้น อ.บรบือ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖          ๑๕/ ๙๕๕๓
                ๒๘๓๒. นาฎกรรม  หมายความถึง การฟ้อนรำ หรือการละคร  การฟ้อนรำ หมายถึงการร่ายรำที่ใช้แขนและมือเป็นส่วนสำคัญมีศรีษะ หน้า ลำตัว ขา และเท้า เป็นส่วนประกอบ  การละคร หมายเฉพาะแต่การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องเป็นราวอาจใช้ท่าร่ายรำซึ่งเรียกว่า ละครรำ หรือการแสดงที่ไม่ใช้ท่ารำใช้เแต่ท่าสามัญชนก็ได้           ๑๕/ ๙๕๕๔
                ๒๘๓๓. นาฎบุตร  เป็นชื่อเจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนหกคนที่เรียกว่า ครูทั้งหก ในสมัยพุทธกาล ชื่อเต็มที่เรียกกับทางพระพุทธศาสนาคือ นิคัณฐะ นาฏปุตตะ หรือนิครนถ์ นาฏบุตร
                    นิครนถ์ นาฏบุตร เป็นคนเดียวกับศาสดามหาวีระ แห่งศาสนาเช่น มีนายเดิมว่า วรรธมานะ เป็นโอรสพระเจ้าสิทธารถ ซึ่งเป็นหัวหน้าเผ่ากษัตริย์ตระกูลนักฟ้อน พระมารดาเป็นกนิษฐภคินีของพระเจ้าเชตกะ หัวหน้าเผ่าลิจฉวี
                    นาฏบุตรแก่กว่าพระพุทธเจ้าและผนวชก่อนพระพุทธเจ้า
                    นิครนถ์ นาฏบุตรดับขันธ์ที่เมืองปาวา และหลังจากนั้นไม่นานสาวกของท่านได้แตกออกเป็นสองพวก (ดูนิครนถ์ - ลำดับที่ ๒๘๘๙  ประกอบ)         ๑๕/ ๙๕๕๙
                ๒๘๓๔. นาฏราช  หมายถึง เจ้าแห่งการฟ้อนรำ เป็นสมญานามที่แพร่หลายนามหนึ่ง ของพระศิวะหรือพระอิศวร ในฐานะที่ทรงเป็นเทพผู้ประทานกำเนิดการฟ้อนรำในโลก           ๑๕/ ๙๕๖๕
                ๒๘๓๕. นาฏศิลป์ ๑  หมายถึง ศิลปะแห่งการฟ้อนรำ หรือศิลปะแห่งการแสดงละคร           ๑๕/ ๙๕๗๒
                ๒๘๓๖. นาฏศิลป์ ๒ - วิทยาลัย  เป็นชื่อสถานศึกษาของกรมศิลปกรซึ่งสอนวิชาสามัญ และวิชาร้องรำทำเพลง เปิดเรียนเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ในชื่อว่าโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ สอบวิชาสามัญตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการกับวิชานาฏศิลป์ไทย ดุริยางค์ไทย และคีตศิลป์ไทย ถึงชั้นมัธยมปีที่แปด ต่อมากรมศิลปกรได้รับโอนข้าราชการกรมมหรสพจากกระทรวงวัง ซึ่งสามารถเป็นครูได้ทั้งทางนาฏศิลป์และช่าง จึงขยายกิจการโรงเรียนขึ้นเป็นสองแผนก ชื่อว่า โรงเรียนศิลปากรแผนกนาฏดุริยางค์กับแผนกช่าง ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๔๘๕ โรงเรียนศิลปกรแผนกนาฏดุริยางค์ปรับปรุงหลักสูตรและชั้นเรียนใหม่ให้หนักไปในวิชาศิลปะ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสังคีตศิลป์ ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ได้มีการปรับปรุงโรงเรียนอีกครั้งให้มีวิชาเรียนเป็นหกสาขา คือ นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์สากล (บัลเล่ย์) ดุริยางค์ไทย ดุริยางค์สากล สังคีตศิลป์ไทย และสังคีตศิลป์สากล กำหนดเรียนเป็นสามชั้น คือ ชั้นต้น หกปี (เทียบ ม.๖) ชั้นกลางสามปี (เทียบ ป.ป.ช.) ชั้นสูงสองปี (เทียบ ป.ม.ช.) เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนนาฏศิลป์ ต่อมาได้รับยกวิทยฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัย ชื่อ วิทยาลัยนาฏศิลป์          ๑๕/ ๙๕๗๖
                ๒๘๓๗. นาดำ  มีบทนิยามว่า "นาที่มีคันน้ำขังได้ เมื่อไถดะ ไถแปรและคราด ทำเทือกแล้วจึงเอาต้นกล้ามาดำ" โดยนัยนี้นาดำเมื่อไถดะ ไถแปร และคราดแล้วจะต้องตกกล้าเสียก่อนแล้วจึงถอนกล้าไปปักดำในแปลงนี้จะปักดำโดยทำเป็นขั้นตอนคือ ทำเป็นร่องตื้น ๆ ห่างกันประมาณ ๑ - ๑.๒๕ เมตร ให้แปลงยาวไปตามทิศทางลม เพื่อให้อากาศบริเวณแปลงตกกล้าถ่ายเทได้สะดวก ปรับหน้าแปลงให้สม่ำเสมอไม่ให้เป็นแอ่งน้ำ ปล่อยให้น้ำไหลลงร่องที่เบิกไว้ทั้งหมด เมื่อปรับหน้าแปลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงหวานปุ๋ยแล้วจึงหว่านข้าว ที่ได้แช่หนึ่งคืนหุ้มสองคืน โดยโรยลงบนหลังแปลงไม่เกินแปดถังต่อเนื้อที่หนึ่งไร่ เมื่อกล้าเริ่มตั้งหน่อได้แล้วจึงค่อยๆ ระบายน้ำเข้าไปในแปลง รักษาระดับน้ำในแปลงตกกล้าให้พอดี อย่าให้ลึกเกินไปหรือน้ำแห้ง กล้าที่ดีควรมีลำต้นโต ใบค่อนข้างสั้นแต่กว้าง
                    เมื่อกล้าอายุได้ ๒๕ - ๓๐ วัน ก็ถอนไปปักดำ          ๑๕/ ๙๕๗๗
                ๒๘๓๘. นาทวี  อำเภอ ขึ้น จ.สงขลา ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ ต.นาทวีเคยเป็นที่ตั้ง อ.จะนะมาก่อน มีอาณาเขตทิศใต้จดทิวเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย ภูมิประเทศทางตะวันออก ทิศใต้และทางตะวันตกเป็นป่ามีภูเขาล้อมรอบ          ๑๕/ ๙๕๗๘
                ๒๘๓๙. น่าน  จังหวัดภาคเหนือ มีอาณาเขตทิศเหนือ และทิศตะวันออกจดประเทศลาว ทิศใต้จด จ.อุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจด จ.เชียงราย จ.ลำปางและจ.แพร่ ภูมิประเทศเป็นที่ดอน มีป่าและภูเขาทั่ว ๆ ไป มีโบราณสถานที่สำคัญคือ พระธาตุแช่แห้ง ประชากรในจังหวัดนี้นอกจากไทยแล้ว ยังมีพวก ทิ่น ฮ่อ ขมุ แม้ว เย้า ผีตองเหลือง รวมอยู่ด้วย
                    จ.น่าน ในพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่า ท้าวผากองราชวงศ์ภูคา เมืองปัวเป็นผู้สร้าง เมื่อปี พ.ศ.๗๓๐ ราชวงศ์ภูคาครองเมืองต่อมาได้ ๑๖ ชั่ว ในระยะเหล่านี้ เมืองน่านได้มาฝักใฝ่อยู่กับพญาเชลียงจึงเสียเมืองแก่พระเจ้าติโลกราช เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๓ เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชแล้วอำนาจเชียงใหม่เสื่อมลงจนตกไปเป็นของพม่า เมืองน่านก็ขึ้นแก่พม่าต่อมา บางคราวเมื่อไทยมีอำนาจก็กลับได้ลานนาไทยคืนมา จนถึงสมัยพระเจ้าตากสิน ฯ เมื่อลานนาไทยมาขึ้นแก่ไทยแล้ว เมืองน่านก็มาสวามิภักดิ์ต่อไทยด้วย          ๑๕/ ๙๕๗๙
                ๒๘๔๐. นานกิง  เป็นชื่อนครใหญ่แห่งหนึ่งของจีน เป็นเมืองหลวงของมณฑลเกียงสู ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแยงซี เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและคมนาคม ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน
                    นานกิงเดิมมีชื่อว่า จินหลิง เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติยาวนานกว่า ๒,๐๐๐ ปี และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามยุคสมัย เป็นเมืองหลวงของจีนในสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑ - ๒๑๘๗) ในปี พ.ศ.๑๙๑๑ พระเจ้าไท่จู่ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงทรงขนานนามเมืองหลวงนี้ว่ายิ่งเทียน ครั้นถึงรัชสมัยพระเจ้าเฉินจู่ รัชการที่สามแห่งราชวงศ์หมิงได้ย้ายราชสำนักไปตั้ง ณ กรุงปักกิ่ง (นครหลวงเหนือ) ในปี พ.ศ.๑๙๖๔ เมืองยิ่งเทียนจึงเปลี่ยนชื่อเป็นหนันจิ่ง (เมืองหลวงใต้) และยังคงเป็นเมืองหลวงแฝดต่อไป เมื่อพวกแมนจูเข้ามายึดครองประเทศจีน ได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นเจียงหนิง แต่ก็ยังคงนิยมเรียกนานกิงสืบต่อมา
                    เมืองนานกิงเป็นที่ลงนามในสนธิสัญญานานกิง ในปี พ.ศ.๒๓๘๕ ซึ่งยุติสงครามฝิ่น เป็นผลให้จีนต้องเปิดเมืองท่าสำคัญห้าเมือง สำหรับการค้ากับต่างประเทศ
                    เมื่อเกิดขบถไต้เผง (ไท่ผิง) นานกิงเป็นเมืองหลวงของฝ่ายขบถ ตั้งปี พ.ศ.๒๓๙๖ ถึง พ.ศ.๒๔๐๗ และเปลี่ยนชื่อเป็นเทียนจิง
                    ในระหว่างการปฏิวัติของจีน เมืองนานกิงถูกกองทัพปฏิวัติของ ซุนยัดเซ็นยึดได้ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ และใช้เป็นที่ตั้งชั่วคราวของรัฐบาลปฏิวัติในปี พ.ศ.๒๔๗๑ นานกิงเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลจีนคณะชาติของเจียงไคเช็ก
                    ในสงครามจีน - ญี่ปุ่น เมืองนานกิงตกเป็นของญี่ปุ่นในปี พ.ศ.๒๔๘๐ หลังจากที่รัฐบาลจีนคณะชาติได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่เมือง จุ้งชิ่ง เมื่อญี่ปุ่นลงนามยอมจำนนแก่จีนในกรุงนานกิงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว รัฐบาลจีนคณะชาติได้ย้ายเมืองหลวงกลับมาที่เมืองนานกิงอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ต่อมาเมื่อนานกิงถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดครองได้ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ รัฐบาลจีนได้กลับไปใช้กรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง           ๑๕/ ๙๕๘๐
                ๒๘๔๑. น่านเจ้า  เป็นชื่ออาณาจักรไทย วีรบุรุษไทยผู้หนึ่งชื่อสินุโลได้รวบรวมแคว้นต่าง ๆ ของชาวไทยรวมหกแคว้นตั้งเป็นอาณาจักรน่านเจ้า (เจ้าฝ่ายใต้) ใกล้เมืองหว่าติงใบ มณฑลยูนนาน อาณาจักรน่านเจ้าได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๗
                   พระเจ้าสินุโล (พ.ศ.๑๑๙๔ - ๑๒๑๗) ได้แต่ทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีนแห่งราชวงศ์ถัง พระเจ้าพีล่อโก๊ะ (พ.ศ.๑๒๗๑ - ๑๒๙๑) เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพได้โค่นอำนาจเจ้าผู้ครองแคว้นทั้งหกเข้ามาอยู่ในอำนาจของพระองค์โดยตรง พระองค์ได้รับความยกย่องจากจีนเป็นอันมาก เคยเสด็จไปสู่ราชสำนักจีน ช่วยจีนทำศึกกับทิเบต ตลอดจนปราบขบถและโจรผู้ร้ายตามหัวเมือง พระเจ้าโก๊ะล่อฝง พระราชโอรสพระเจ้าพีล่อโก๊ะ ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ.๑๒๙๑ ทรงย้ายราชธานีไปอยู่ที่ เมืองหนองแส หรือตาลีฟู ในมณฑลยูนนาน มีสาเหตุให้พระองค์กลายเป็นศัตรูกับจีน นำทัพเข้าตีดินแดนจีน กองทัพจีนพ่ายแพ้ถึงสองครั้ง ต่อมาพระองค์ได้ไปผูกไมตรีกับทิเบตเพื่อเพิ่มกำลังไว้สู้กับจีน กองทัพจีนบุกรุกดินแดนน่านเจ้าอีกครั้งในปี พ.ศ.๑๒๙๗ แต่ถูกตีล่าถอยกลับไป
                    ในปี พ.ศ.๑๓๒๑ พระเจ้าอิโมสุน ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าโก๊ะล่อฝงได้ครองน่านเจ้าระหว่างปี พ.ศ.๑๓๒๑ - ๑๓๕๑ พระองค์ทรงเปิดฉากโจมตีจีนโดยอาศัยกองทัพทิเบตแต่ถูกตีโต้ล่าถอยกลับมา ต่อมาพระเจ้าอิโมสุมได้เห็นว่าน่านเจ้าไม่ได้ประโยชน์จากการเป็นไมตรีกับทิเบตจึงมีพระราชสารถึงพระเจ้ากรุงจีนว่า น่านเจ้าดูเหมือนจะเสียเปรียบในความสัมพันธ์กับทิเบต พอดีเวลานั้นพระเจ้าไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง โปรดให้เจ้าเมืองเช็งตูเป็นทูตมาทาบทามขอเป็นไมตรีด้วย พระองค์จึงรับเป็นไมตรีกับจีน ต่อมาในปี พ.ศ.๑๓๓๗ ทิเบตแต่งกองทัพไปตีจีน และขอให้น่านเจ้าส่งกองทัพไปช่วย แต่กองทัพน่านเจ้ากลับตีกองทัพทิเบต เกิดการบกันที่แม่น้ำสาละวิน กองทัพทิเบตแพ้และเสียเมืองใหญ่น้อยหลายเมืองแก่กองทัพน่านเจ้า
                    ต่อจากรัชสมัยพระเจ้าอิโมสุนแล้วมีกษัตริย์ครองน่านเจ้าอีกห้าองค์ น่านเจ้ากลับไปเป็นปรปักษ์ต่อจีน ครั้นถึงปี พ.ศ.๑๔๒๐ พระเจ้าลุงชุนขึ้นครองราชย์ รู้จักกันโดยพระนามว่า "พระเจ้าฟ้า" (พ.ศ.๑๔๒๐ - ๑๔๔๐) พระองค์โปรดให้ทำไมตรีกับจีน พระราชโอรสของพระองค์ได้พระราชธิดาเจ้ากรุงจีนเป็นพระชายา ยังผลให้น่านเจ้ากับจีนสนิทสนมกันยิ่งขึ้นพระเจ้าฟ้า ถูกขันทีลอบปลงพระชนม์ พระเจ้าชุนวาเชง พระราชโอรสของพระเจ้าลุงชุนก็ถูกลอบปลงพระชนม์เช่นเดียวกัน บ้านเมืองเริ่มเสื่อมลง ฝ่ายจีนแทรกซึมมีอำนาจปกครองเหนือน่านเจ้าขึ้นเป็นลำดับ ในเวลาเดียวกันชาวจีนสาขาต่าง ๆ เช่น พวกโลโล้ได้อพยพเข้าไปอยู่ในน่านเจ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๖ กองทัพพระเจ้ากุบไลข่านหรือง่วนสีโจ๊วฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หงวนได้เข้าตีอาณาจักรน่านเจ้าได้ น่านเจ้าจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
                    อาณาจักรน่านเจ้ามีการปกครองเป็นระเบียบ การบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออกเป็นเก้ากระทรวง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสำมะโนครัว และกระทรวงวังหรือราชประเพณีเป็นต้น อาณาจักรน่านเจ้าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๐ มณฑล แต่ละมณฑลมีเมืองเอก เมืองโท เมืองตรีและเมืองจัตวา แต่ละเมืองมีเจ้าเมืองและข้าราชการแผนกต่าง ๆ ลดหลั่นกันลงมาเป็นสี่ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรีและชั้นจัตวา ข้าราชการได้รับพระราชทานที่นาสำหรับทำกิน เพื่อหารายได้มากน้อยตามฐานะคล้ายระบบศักดินาของไทย ราษฎรมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของที่ดินตามที่ทางราชการกำหนดไว้ เหมือนกับข้าราชการ และเสียภาษีเป็นสิ่งของ           ๑๕/ ๙๕๘๒
                ๒๘๔๒. นาน้อย  อำเภอขึ้น จ. น่าน ภูมิประเทศตอนกลางเป็นที่ราบ นอกนั้นเป็นป่าและเขา ในเขต อ.นาน้อย เดิมเป็นเมืองเล็ก ๆ หลายเมือง คือ เมืองศรีษะเกษ เมืองหิน เมืองสี มีพ่อเมืองปกครองขึ้นนครน่าน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ ทางราชการได้ตั้งข้าหลวงไปควบคุมการปกครองเรียกว่า ข้าหลวงประจำบริเวณ ถึงปี พ.ศ.๒๔๕๐ เลิกตำแหน่งนี้แล้วรวมเมืองสามเมืองเข้าเป็นอำเภอเรียกว่า อ.ศรีษะเกษ ตั้งที่ว่าการที่ ต.นาน้อย แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อ.นาน้อย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖             ๑๕/ ๙๕๘๖
                ๒๘๔๓. นานักคุรุ   เป็นศาสดาผู้ประกาศศาสนาซิกองค์ปฐม (ดูคำ "ซิก" - ลำดับที่ ๑๘๔๓ ประกอบ) ท่านนานักคุรุ (พ.ศ.๒๐๑๒ - ๒๐๘๑) เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๒ ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ตำบลหนึ่งชื่อตัลวันที ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น นานักนคร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองลาฮอร์ เมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ ประมาณ ๔๘ กม. ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน ท่านอยู่ในตระกูลพราหมณ์ ท่านมีนิสัยเสียสละมาแต่เดิม เวลาเดินไปไหนจะสำรวม บางครั้งชอบพาเพื่อนเด็ก ๆ ออกไปในที่สงบเงียบ แล้วชวนให้นั่งสมาธิสวดมนต์ด้วยกัน มีนิสัยชอบสมณะและพราหมณ์ สงสัยสิ่งใดก็ไต่ถามแสวงหาความรู้จนหมดสงสัย จึงเป็นที่รักของคนทั้งหลายมาแต่เยาว์
                    เมื่ออายุได้เจ็ดปี ได้เข้าศึกษาในโรงเรียน ท่านได้แสดงปัญญาสามารถ ไต่ถามความรู้เรื่องพระเจ้าต่ออาจารย์ มีความรู้แตกฉานในคัมภีร์ไตรเพท ตั้งแต่อายุเก้าปี มีความเพียรแรงกล้า ปรารถนาเรียนรู้ศาสนศาสตร์ของเพื่อนบ้าน จึงศึกษาภาษาเปอร์เซีย (อิหร่าน) เพื่อเรียนรู้ศาสนาปาร์ซี (ดูคำ "ปาร์ซี-ลำดับที่... ประกอบ) จนเจนจบในวิทยาการนั้น ๆ จนสามารถปุจฉาวิสัชนาได้ในระหว่างคณาจารย์แห่งศาสนาอื่น ชาวซิกเชื่อกันว่าคัมภีร์ของศาสนาซิกที่เรียกว่า ครันถ์ ได้หลักหลายหลักมาจากคัมภีร์ในศาสนาปาร์ซี ที่ยังจารึกเป็นภาษาเปอร์เซีย อยู่ก็มีและเชื่อว่าปฐมศาสดาของตนสั่งสอนได้ตั้งแต่อายุเก้าปี ครูของท่านมีสี่คนมีทั้งที่เป็นพราหมณ์ มุสลิม
                    นานักได้มีโอากาศเดินทางไกลได้ศึกษาภูมิประเทศ และชีวิตคน และได้แต่งงานเมื่อมีวัยสมควร นานักตั้งตัวเป็นซิก มุ่งหน้าแต่การศึกษา เมื่อถึงเวลาจะสั่งสอนคนอื่นได้ก็ตั้งตัวเป็นครู เที่ยวสั่งสอนคนตั้งแต่เป็นแพทย์เที่ยวพยาบาลคน และเที่ยวแนะนำให้คนทั้งหลายอยู่ในความยุติธรรม
                    ก่อนหน้าที่นานักจะละบ้านเรือนเที่ยวสั่งสอนคน มีประวัติประกอบเป็นสองเรื่องด้วยกัน เรื่องหนึ่งคือ ระหว่างนั้นเกิดความขัดแย้งแข่งดีกันขึ้น ระหว่างพวกนับถือศาสนาฮินดูกับพวกนับถือศาสนาอิสลาม มุสลิมใช้อำนาจการเมืองเข้าข่มขี่ชาวฮินดูทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในบ้านเมือง ประกอบกับชีวิตครอบครัวไม่ปรกติสุข นานักจึงหลีกหนีไปหาความสงบอยู่ในป่าเมื่ออายุ ๓๖ ปี นานักได้รับปรากฏการณ์ทางจิต ว่ามีผู้ศักดิ์สิทธิ์คนหนึ่งให้ดื่มน้ำอมฤต และบอกว่าจะอยู่กับนานักให้นานักทำให้โลกสะอาดเป็นผู้มีเมตตา เป็นผู้สะอาด ทำใจเป็นสมาธิ และให้นานักเป็นคุรุ (ครู) ของคนทั้งหลาย หลังจากนั้นนานักก็สละสมบัติส่วนตัวทั้งหมด ท่องเที่ยวไปด้วยเครื่องแต่งกายชุดเดียว
                    นานักมุ่งแก้ไขความขัดแย้งทุกทางด้วยการยอมตัวเป็นทั้งฮินดูและมุสลิมเพื่อน้อมนำศาสนิกทั้งสองฝ่ายให้ได้คติเป็นกลาง ท่านสอนว่าซิกเป็นศาสนาของคนทั้งหลาย พระเจ้าเป็นผู้ปราศจากภัย ปราศจากเวร เป็นผู้สร้างไม่ใช่เป็นผู้ทำลาย ไม่มีพระเจ้าสำหรับชาวมุสลิม ไม่มีพระเจ้าสำหรับชาวฮินดู เรามีพระเจ้าหนึ่งเดียว ผู้เป็นเจ้าโลก ไม่โปรดวรรณะ หรือลัทธิอันแยกบัญญัติไปแต่ละอย่าง พระเจ้าไม่มีความเกลียด ไม่มีการแช่งสาป เหมือนพระเจ้าองค์อื่น
                    ในขณะที่ชาวฮินดูกับมุสลิมวิวาทกันด้วยเรื่องเชื้อชาติและศาสนา ท่านกลับมุ่งมั่นให้ฮินดูกับมุสลิมเลิกรังเกียจเดียจฉันท์กัน
                    ตามประวัติปรากฏว่าท่านได้เดินทางไปเทศนาออกไปทั้งสี่ทิศ กำหนดเป็นเมืองใหญ่ได้หลายเมืองมีเดลี โครักขฆาต พาราณสีเป็นต้น และตลอดลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร อันเป็นแหล่งกลางของศาสนาฮินดู ขึ้นไปถึงแคว้นแคชเมียร์ ท่านใช้เวลาอยู่ในดินแดนเหล่านี้อยู่ ๑๒ ปี แล้วออกเดินทางไปสู่อินเดียภาคใต้ลงไปถึงแคว้นมัทราส อันเป็นศูนย์กลางของศาสนาเชน ข้ามไปเกาะลังกา และตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย และออกไปถึงแคว้นอาหรับ เข้านครเมกกะศูนย์กลางของศาสนาอิสลาม ไปถึงเมืองเมตินะและนครแบกแดดในอิรัก
                    นานักได้รับการยกย่องเป็นศาสดา (คุรุ) คนแรกในจำนวนสิบคนของศาสนาซิก           ๑๕/ ๙๕๘๗
                ๒๘๔๔. นาปรัง  มีบทนิยามว่า "นาที่ต้องทำนอกฤดูทำนา เพราะในฤดูทำนาน้ำมักจะมากเกินไป" โดยนัยนี้นาปรังก็คือนาข้าวที่ทำนอกฤดูกาลจากนาปี ข้าวที่ใช้ทำนาปรังเป็นข้าวที่แสงไม่มีอิทธิพลต่อการออกดอก หรือมีน้อยมากซึ่งเรียกว่า ข้าวไม่ไวแสง เป็นข้าวที่ออกดอกตามอายุ ข้าวนาปรังนี้นำไปปลูกในฤดูนาปีได้ ถ้าสามารถควบคุมระดับน้ำได้ เพราะข้าวนาปรังส่วนใหญ่มักจะต้นเตี้ย ถ้าน้ำมีระดับสูงเกินไปจะท่วมเสียหาย           ๑๕/ ๙๕๙๔
                ๒๘๔๕. นาปี  คือ ข้าวที่ทำในระหว่างเดือน เมษายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูทำนาตามปรกติ พันธุ์ข้าวนาปีจะออกดอกตามวันและเดือนที่ค่อนข้างตายตัว เนื่องจากช่วงของแสงต่อวันบังคับ ข้าวที่ปลูกในนาปีเมื่อกลางวันยาวขึ้นก็จะเจริญทางลำต้น ไม่ออกรวงหรือถ้าออกรวงได้ก็จะออกรวงไม่พร้อมกันในต้นเดียวกัน เมื่อช่วงของกลางวันเริ่มสั้นลง ข้าวพวกนี้จะเจริญทางพันธุ์ ดังนั้น การทำนาล่า เช่น ปักดำในเดือนตุลาคม ต้นข้าวจะเตี้ย แตกกอน้อย รวงเล็ก เพราะข้าวยังไม่เจริญทางลำต้นก็ต้องมาเจริญทางพันธุ์เสียแล้ว           ๑๕/ ๙๕๙๕
                ๒๘๔๖. นาฟางลอย (ดูนาเมือง - ลำดับที่ ๒๘๔๘)           ๑๕/ ๙๕๙๖
                ๒๘๔๗. นามธารี  เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งในศาสนาซิก เกิดขึ้นภายหลังสิ้นโควินทสิงห์คุรุคนที่สิบ ซึ่งเป็นศาสดาองค์สุดท้าย แต่นิกายนามธารีตั้งข้อนิยามว่า ศาสนาซิกต้องมีศาสดาเป็นผู้นำสืบศาสนาต่อไป คุรุองค์ที่ ๑๑ มีนามว่าคุรุบาลักสิงห์ คุรุองค์ที่ ๑๒ ชื่อศรีสัตยคุรุรามสิงห์องค์ที่ ๑๓ ชื่อศรีสัตยคุรุหริสิงห์คือองค์ปัจจุบัน เฉพาะพวกนามธารีไม่เกี่ยวกับซิกนิกายอื่น            ๑๕/ ๙๕๙๖
                ๒๘๔๘. นามบัตร  เป็นแผ่นชื่อพิมพ์บนกระดาษแข็งอย่างบางขนาดเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๔ x ๖ ซม. จะเล็กกว่าหรือใหญ่กว่านี้ก็ได้ มักจะใช้กระดาษสีขาว กระดาษสีไม่เป็นที่นิยมและไม่ใช้ในวงราชการ
                    กล่าวกับว่าการใช้นามบัตรหรือสิ่งในทำนองเดียวกันมีมาตั้งแต่กาลดึกดำบรรพ์ในประเทศจีน ส่วนในยุโรปมีการใช้นามบัตรในประเทศเยอรมนี มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑
                    นามบัตรส่วนตัวมีสามลักษณะคือ นามบัตรที่มีชื่ออย่างเดียว นามบัตรคู่สามีและภริยา และนามบัตรสองลักษณะที่กล่าวมานี้ แต่แจ้งที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วย         ๑๕/ ๙๕๙๙
                ๒๘๔๙. นาเมือง  มีบทนิยามว่า "เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสิ้นเนื้อฟ่ามว่าข้าวนาเมือง" โดยนัยนี้นาเมืองก็คือ นาที่เรียกว่า นา "ข้าวขึ้นน้ำ" ซึ่งข้าวประเภทนี้มักใช้วิธีหว่านสำรวย เนื่องจากมีรากยาว ถอนยาก ข้าวชนิดนี้มีลักษณะพิเศษคือสามารถหนีน้ำที่บ่ามาได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อได้ และตามข้อมักจะมีรากออกมา ดังนั้นข้าวพวกนี้แม้จะขาดลอยจากโคนต้นเดิมแล้ว ก็ยังสามารถหาอาหาร และออกรวงได้ตามปรกติข้าวฟางลอย หรือข้าวขี้นน้ำจะปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑ เมตรขึ้นไปถึง ๔ เมตร หรือกว่านั้น ข้าวนาเมืองไม่ว่าจะตื้นหรือลึกจะล้มทั้งนั้น           ๑๕/ ๙๖๐๒
                ๒๘๕๐. นายกเทศมนตรี  คือ หัวหน้าคณะเทศมนตรี ในสมัยโบราณนายกเทศมนตรีในยุโรปส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลหรือราชการฝ่ายปกครอง
                    นายกเทศมนตรีของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปส่วนใหญ่สภาเทศบาลเป็นผู้เลือก โดยเลือกจากสมาชิกสภาเทศบาลนั้นเอง แต่ในสวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา อเมริกา และนิวซีแลนด์ นายกเทศมนตรีได้รับเลือกโดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นเลยทีเดียว
                    ประเทศไทยมีระบบเทศบาลหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมี พ.ร.บ. ระเบียบเทศบาล พ.ศ.๒๔๗๖ เป็นกฏหมายฉบับแรกจำแนกเทศบาลออกเป็นสามประเภทคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
                    เมื่อมีเทศบาลทำหน้าที่ปกครองท้องถิ่นแล้ว หน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านย่อมมารวมอยู่ในหน้าที่ของคณะผู้บริหารคือคณะเทศมนตรี           ๑๕/ ๙๖๐๓
                ๒๘๕๑. นายกรัฐมนตรี  คือ ผู้นำคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นคณะผู้บริหารของประเทศที่เรียกว่า คณะรัฐบาล ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี้ มีต้นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศษ เมื่อตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒
                    นายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นประมุขแห่งรัฐ แต่อยู่ภายใต้ประมุขแห่งรัฐซึ่งอาจเป็นกษัตริย์ ประธานาธิบดี หรือประธานผู้นำองค์กรการปกครองสูงสุดของประเทศนั้น ๆ แต่นายกรัฐมนตรีบางประเทศเป็นประมุขแห่งรัฐด้วย
                    นายกรัฐมนตรีของบางประเทศเลือกตั้งโดยประชาชน บางประเทศแต่งตั้งจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง เว้นแต่กรณีรัฐบาลผสม         ๑๕/ ๙๖๐๖
                ๒๘๕๒. นายแก้วนายขวัญ ๑  เป็นชื่อพี่เลี้ยงของพระลอในวรรณคดีเรื่องพระลอ มีตำแหน่งเป็นขุนแก้วและหมื่นขวัญ ในข้อความบางตอนใช้ว่า "สองขุน" และบางตอนก็ใช้ว่าสองนาย           ๑๕/ ๙๖๐๘
                ๒๘๕๓. นายแก้วนายขวัญ ๒  เป็นพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงใช้เมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องชุดนิทานนายทองอิน           ๑๕/ ๙๖๐๙
                ๒๘๕๔. นายทุน - ระบบเศรษฐกิจ  คือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมซึ่งเอกชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกชนิด และมีเสรีภาพในการที่จะติดต่อค้าขายกับผู้อื่น และประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจตามที่เขาเป็นผู้เลือกโดยมีกำไรเป็นเครื่องจูงใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี้ รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
                    ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้กลไกตลาดจะเป็นเครื่องตัดสินชนิดของสินค้าที่จะผลิต ปริมาณสินค้าเหล่านั้น และราคาที่จะซื้อขายกัน อุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า จะเป็นเครื่องกำหนดว่าสังคมนั้นควรจะผลิตสินค้าชนิดใดบ้าง ในปริมาณเท่าใดและราคาควรเป็นเท่าใด อย่างไรก็ตามระบบเศรษฐกิจในโลกแห่งความเป็นจริง นั้นล้วนแต่มิได้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ครบถ้วนตามทฤษฎี มักจะเป็นเศรษฐกิจแบบผสม เพราะทรัพย์สินบางชนิดรัฐยังเป็นเจ้าของ นอกจากนี้รัฐยังมีบทบาทเข้ามาดำเนินการในกิจการบางประเภทที่เห็นว่า จะกระทบกระเทือนต่อความอยู่ดีกินดี และความมั่นคงปลอดภัย เช่นกิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ           ๑๕/ ๙๖๐๙
                ๒๘๕๕. นารท ๑  เป็นชื่อเทพฤาษีองค์หนึ่งในวรรณคดีสันสกฤต มีชื่อเสียงเลื่องลือในสมัยพระเวท (๓,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี) เรื่อยมาจนถึงสมัยมหากาพย์ และปุราณะมีประวัติว่ามเป็นโอรสประเภทที่เก่งจากใจองค์หนึ่งของพระพรหม ซึ่งมีอยู่สิบองค์เป็นประชาบดี เพื่อให้ทำหน้าที่สร้างเผ่าพันธุ์ เทพ มนุษย์ อสูร สัตว์และอื่น ๆ พระนางทฤาษีเป็นผู้เดียวที่ไม่ทำตามหน้าที่ของตน และเห็นว่าวิถิทางแบบพระพรหมไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องต้องดำเนินตามพระกฤษณะ (ปางหนึ่งของพระวิษณุ) พระพรหมโกรธจึงสาปพระนางทฤาษีให้เป็นทาสของอารมณ์มัวเมา ลุ่มหลงสตรี พระนางทฤาษีจึงสาปต่อไปว่า ให้พระพรหมลุ่มหลงมัวเมาในกามกิเลส และสาปต่อไปว่าตั้งแต่นี้สืบไปให้พระพรหมเสื่อมจากความเคารพนับถือของบุคคลทั้งหลาย
                    มหาภารตเล่มที่ ๙ หรือศัลยบรรพ บรรยายรูปลักษณะของพระนางทฤาษีไว้และว่าเป็นเจ้าแห่งวิชาดนตรี และการฟ้อนรำ และยินดีในการทะเลาะวิวาท ในวรรณคดีสันสกฤตมักจะมีเรื่องพระนางทฤาษีแทรกอยู่แทบทั้งสิ้น         ๑๕/ ๙๖๑๒
                ๒๘๕๖. นารท ๒  เป็นชื่อพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่งในนิบาตชาดก ส่วนมหานิบาต คัมภีร์ขุทกนิกาย สุตตันตปิฎก และในอรรคกกาแห่งชาดกนั้น นับเป็นชาติที่แปดในเรื่องพระเจ้าสิบชาติ
                   ตามเรื่องมีว่าพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นนารทมหาพรหม ได้แปลงเพศเป็นบรรพชิต เหาะมาจากเทวโลก มากล่าวสรรเสริญคุณธรรมของเจ้าหญิงรุจาราชกุมารี พระราชธิดาของพระเจ้าอังคติราช ผู้ครองราชย์ในมิถิลานคร แคว้นวิเทหรัฐ แล้วแสดงธรรมให้พระเจ้าอังคติราชทรงละมิจฉาทิฐิ กลับพระทัยมั่นในสัมมาทิฐิ เหมือนเดิม          ๑๕/ ๙๖๑๕
                ๒๘๕๗. นารอท  เป็นชื่อฤาษีโบราณมีอ้างในนิยาย หรือตำนานทางภาคเหนือของไทยในเมืองไทยชื่อฤาษีนารอท คงจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาแต่โบราณแล้ว และมีชื่อปรากฏในโคลงฤาษีดัดตนวัดพระเชตุพน ฯ (วัดโพธิ)             ๑๕/ ๙๖๑๘
                ๒๘๕๘. นารายณ์ - พระ  เป็นชื่อเทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในจำนวนสามองค์ของศาสนาพราหมณ์และฮินดูรู้จักกันในนามว่า วิษณุ โดยมากถือกันว่าเป็นผู้ถนอมโลก แต่คนอินเดียที่นับถือนิกายไวษณพ ซึ่งยกย่องพระนารายณ์เป็นเทพสูงสุดแต่องค์เดียว ถือว่าพระองค์เป็นทั้งผู้สร้าง ผู้ถนอมและผู้ทำลายโลก คำว่านารายณ์มาจากคำว่านารา (น้ำ) กับ อยน (การเคลื่อนไหว) รวมความว่าเป็นผู้เคลื่อนไหวไปในน้ำ คำนี้เดิมเป็นคำเรียกพระพรหม
                    พระนารายณ์เป็นเทพเจ้าที่มีน้ำพระทัยดีมีเมตตากรุณาเป็นลักษณะที่เด่นชัดและสำคัญที่สุด รูปร่างของพระองค์ในรูปวาด และรูปปฏิมามีลักษณะเป็นเทพสี่กร พระหัตถ์ขวาด้านหน้าถือสังข์ ด้านหลังถือจักร พระหัตถ์ซ้ายด้าน๑๕/ถือดอกบัว ด้านหลังถือคทา
                    ที่ประทับของพระนารายณ์คือ สวรรค์ชั้นไวกูณฐ์ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของทะเลน้ำนม หรือเกษียรสาคร บรรทมอยู่บนอาสนะในวงขนดของพญาอนันดนาคราช มีพระชายาคือ พระศรี หรือลักษมี นั่งปฏิบัติอยู่ โดยเหตุที่พระนารายณ์ประทับในทะเลน้ำนมเป็นปรกติ รูปพระนารายณ์แบบนี้จึงเรียกกันว่า นารายณ์บรรทมสินธุ์ พาหนะของพระนารายณ์คือ ครุฑ ภาพพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นภาพที่แพร่หลาย ในศิลปกรรมของไทยอย่างยิ่ง           หน้า ๙๖๑๘
                ๒๘๕๙. นางรายเจงเวง ๑ - พระนาง  เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอินทรปัทม์ ผู้ครองอินทรปัทม์นคร และเป็นมเหสีของพระยาสุวรรณภิงคาระ ผู้ครองเมืองหนองหานหลวงสืบแทนขุนขอม เป็นผู้ได้ร่วมดำริกับพระยาสุวรรณภิงคาระที่จะก่ออุโมงค์เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระราชอุทยานเจงเวง ซึ่งต่อมาเมื่อก่อสร้างเสร็จเรียกว่า "ธาตุนารายณ์เจงเวง" และได้บรรจุแต่เพียงพระอังคารเท่านั้น           หน้า ๙๖๒๐
                ๒๘๖๐. นารายณ์เจงเวง ๒ - พระธาตุ  เป็นพระธาตุก่อด้วยศิลาแลง สลักลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ด้วยฝีมือขอม สูง ๑๒ เมตรเศษ ตั้งอยู่ที่วัดธาตุนาเวง ต.พังขว้าง อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร ตามตำนานเล่ากันว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระนำพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า (พระธาตุพนม) ได้ผ่านมาทางจังหวัดสกลนคร
                   สมัยนั้นมเหสีของพระยาภิงคาระประสงค์จะขอพระอุรังคธาตุบรรจุไว้เป็นมิ่งขวัญแก่ชาวเมืองจึงสร้างเจดีย์ เพื่อสวมพระอุรังคธาตุ แต่ไว้เพียงพระอังคารเท่านั้น           หน้า ๙๖๒๑
                ๒๘๖๑. นารายณ์มหาราช - สมเด็จพระ  เป็นพระโอรสในพระเจ้าปราสาททอง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๕ เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาทั้งด้านหนังสือ และด้านการกีฬาพระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่สี่ของราชวงศ์ประสาททอง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่สาม แต่คนทั่วไปนิยมเรียกพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์ พระราชกรณียกิจของพระองค์พอประมวลได้ดังนี้
                        ๑. การรักษาความสงบและมั่นคงภายในประเทศ  จากการทำให้บ้านเมืองสงบราบคาบเป็นผลให้รัฐบาลขาดข้าราชการรุ่นเก่า ผู้มีความรู้ความสามารถ และต้องจ้างชาวต่างประเทศทั้งฝรั่ง แขกชวา จีนเข้ามาเป็นทหาร และรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ มากขึ้นกว่าแต่ก่อน
                        ๒. การลดส่วยและภาษีอากร  พระองค์เมื่อขึ้นครองราชย์ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ลดการเก็บส่วยและภาษีอากรเป็นเวลาสามปีเศษ ทำให้ราษฏรสามารถประกอบอาชีพได้โดยเสรี ไม่ต้องกังวลเรื่องการเสียภาษี หรือถูกเกณฑ์แรงงาน
                        ๓. การประกาศใช้กฏหมาย  พระองค์โปรดให้ออกกฏหมาย ๓๖ ข้อ ระหว่างปี พ.ศ.๒๒๐๗ - ๒๒๓๐ พระราชกำหนดเก่าระหว่างปี พ.ศ.๒๒๑๓-๒๒๑๘ และกฏหมายเพิ่มเติมลักษณะรับฟ้อง ในปี พ.ศ.๒๒๑๔
                        ๔. การส่งเสริมงานด้านวรรณกรรม  พระองค์ทรงส่งเสริมสนับสนุนบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิต ทรงให้การอุดหนุนบรรดาพวกเถรานุเถระ ให้ศึกษาหาความรู้ให้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์เองทรงมีพระปรีชาสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในด้านการประพันธ์ได้ทรงนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง
                        ในรัชสมัยของพระองค์มีกวีผู้มีชื่อเสียงหลายคน คือ พระมหาราชครู พระศรีมโหสถ ขุนเทพกวี และศรีปราชญ์ ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของไทยยุคหนึ่ง
                        ๕. การสงครามกับเชียงใหม่และพม่า  ในปี พ.ศ.๒๒๐๓ ทหารจีนได้เข้ามารุกรานพม่า เชียงใหม่ซึ่งเป็นประเทศราชของพม่าในขณะนั้น ได้ส่งทูตเข้ามาขอสวามิภักดิ์กับไทย และขอให้ไทยส่งกำลังไปช่วยป้องกันเมืองเชียงใหม่ แต่ต่อมาเชียงใหม่ก็กลับไปสวามิภักดิ์ต่อพม่าตามเดิม สมเด็จพระนารายณ์ ฯ  จึงโปรดให้กองทัพไปตีเชียงใหม่ แต่ไม่สามารถตีได้ต้องยกทัพกลับ ในปี พ.ศ.๒๒๐๔ ในปีต่อมาได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ โดยพระองค์เป็นจอมทัพ สามารถตีเชียงใหม่ได้ และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาด้วย
                        ในปี พ.ศ.๒๒๐๖ พวกมอญเป็นขบถต่อพม่า แล้วหนีเข้ามาในดินแดนไทย พม่าส่งทูตเข้ามาขอให้ไทยส่งพวกมอญกลับคืนไป ฝ่ายไทยไม่ยอมพม่า จึงยกทัพเข้ามาในดินแดนไทย มีการรบกันที่เมืองกาญจนบุรี กองทัพไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปได้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๐๗ สมเด็จพระนารายณ์ได้จัดกองทัพไปตีพม่าทุกทิศทุกทาง แต่กองทัพไทยเกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารและเกิดการเจ็บป่วยจึงต้องล่าถอยกลับ ในปี พ.ศ.๒๒๐๘
                        ๖. ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก  ในรัชการนี้การติดต่อกับต่างประเทศรุ่งเรืองมาก มีชาวต่างประเทศทั้งจีนรวมแขก ฝรั่ง เข้ามาติดต่อ และอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาก ชาวตะวันตกมีโปร์ตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศษสำหรับฝรั่งเศสเป็นช่วงที่เข้ามาใหม่ในรัชการนี้ คณะบาทหลวงฝรั่งเศษเข้ามาเมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๕ และพบว่าเมืองไทยสมควรเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาของพวกตนได้ เพราะรัฐบาลไทยไม่กีดกันการนับถือศาสนาต่าง ๆ
                        ในปี พ.ศ.๒๒๐๕ ฮอลันดาได้ส่งทัพเรือมาปิดอ่าวไทย ทำให้ไทยต้องทำสนธิสัญญา พ.ศ.๒๒๐๗ ให้ฮอลันดาผูกขาดสินค้าหนังสัตว์ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่าควรมีการเตรียมป้องกันพระนครเพื่อต่อสู้ ข้าศึกที่จะมาทางทะเล โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๒๐๘ พร้อมกับการสร้างป้อมปราการที่เมืองธนบุรี และเมืองนนทบุรีด้วย
                        ในปี พ.ศ.๒๒๑๘ พ่อค้าชาวอังกฤษได้นำฟอลคอนเข้ามากรุงศรีอยุธยา ได้เข้ารับราชการในพระคลังสินค้าได้เป็นหลวงวิชาเยนทร์ ต่อมาได้ทำความดีความชอบจนได้เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์
                        ในปี พ.ศ.๒๒๒๓ ฝรั่งเศษเริ่มเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ได้มีการส่งคณะทูตไทยไปฝรั่งเศษสามครั่ง ครั้งที่สามคณะทูตในการนำของพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นคณะทูตที่มีชื่อเสียงมาก ก่อน๑๕/นี้ฝรั่งเศสได้ส่งคระทูตในการนำของเชวาลิเอร์เดอโชมองต์มาไทยในปี พ.ศ.๒๒๒๘
                        ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ ม.เซเบเรต์ และ ม.เดอลาลูแบร์ทูตฝรั่งเศษได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยอีกครั้ง มีทหารฝรั่งเศส ๔๙๒ คนเข้ามาด้วย สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ทหารฝรั่งเศษดังกล่าวไปรักษาป้อมที่เมืองธนบุรี และเมืองมะริด และให้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นไปฝึกหัดทหารไทยที่เมืองลพบุรี
                        ในระหว่างนั้นไทยกับอังกฤษเกิดกรณีพิพาทกับเรื่องเรือสินค้า เมืองดอลคอนดาในอินเดีย อังกฤษส่งเรือรบมารบเมืองมะริด สมเด็จพระนารายณ์ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษ แต่รัฐบาลอังกฤษถือว่าเป็นการสงครามระหว่างไทยกับบริษัทบริติช อิสต์อินเดียของอังกฤษ
                        ในปี พ.ศ.๒๒๓๑ คณะทูตฝรั่งเศษเดินทางกลับโดยมีคณะทูตไทยไปฝรั่งเศสด้วยเป็นครั้งที่สี่ และสมเด็จพระนารายณ์ โปรดให้นักเรียนไทยไปเรียนที่ฝรั่งเศสด้วย
                        สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตที่เมืองลพบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ พระชนมายุได้ ๕๑ พรรษา ครองราชย์ได้ ๓๒ ปี           หน้า ๙๖๒๑

    • Update : 27/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch