|
|
สารานุกรมไทยฉบับย่อ/68
เล่ม ๑๕ ธรรมวัตร - นิลเอก ลำดับที่ ๒๖๙๐ - ๒๙๔๑ ๑๕/ ๙๑๗๗ - ๙๘๓๖
๒๖๙๐. ธรรมวัตร มีบทนิยามว่า "ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ
การเทศน์ของพระมีทำนองเทศน์อยู่สองแบบด้วยกันคือ เทศน์ทำนองอย่างหนึ่ง และเทศน์ธรรมวัตรอีกอย่างหนึ่ง
อีกสำนวนหนึ่งเรียกกันว่า สำนวนกลอนเทศน์ เป็นคำร้อยกรองประเภทร่ายยาว ๑๕/ ๙๑๗๗
๒๖๙๑. ธรรมศักดิ์มนตรี - เจ้าพระยา (ดูครูเทพ - ลำดับที่ ๙๑๙) ๑๕/ ๙๑๘๑
๒๖๙๒. ธรรมศาสตร์
๑. เป็นชื่อคัมภีร์ เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายที่นักปราชญ์ พราหมณ์ผู้หนึ่งในชมพูทวีปเป็นผู้แต่งไว้หลายพันปีมาแล้ว ผู้แต่งมีนามว่า "มนู" ในทางสากลเรียกกฎหมายนี้ว่ากฎหมายมนู หรือธรรมศาสตร์ฮินดู
เนื้อหาของคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของท่านมนูนั้นกล่าวกันว่า เกี่ยวกับการสร้างโลก และสภาพของวิญญาณเมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว และเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีและสังคมอินเดียสมัยนั้น เช่นหน้าที่ของวรรณะหรือชนชั้นต่าง ๆ การศาสนาและอื่น ๆ ซึ่งถือกันว่าเป็นกฎหมายที่ดีและมีอิทธิพลยิ่งในสมัยนั้น และสมัยต่อมา
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ฉบับฮินดู คาดว่ามีขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.๑๔๓ - ๓๔๓
ในประเทศไทยได้ใช้กฎหมายคัมภีร์พระธรรมศาสตร์สืบมาแต่โบราณ หลักกฎหมายนี้สันนิษฐานว่า เข้ามาสู่ประเทศไทยพร้อมกับพระพุทธศาสนา สมัยเมื่อชาวอินเดียได้พากันอพยพเข้ามายังสุวรรณภูมิ ระหว่างปี พ.ศ.๒๗๐ - ๓๐๐ ชาวอินเดียได้นำศิลปวิทยาการต่าง ๆ ตลอดจนศาสนาพราหมณ์ และหลักพระธรรมศาสตร์เข้ามาด้วย ดังจะเห็นว่าศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ก็มีร่องรอยวัฒนธรรมฮินดูอยู่ ในสมัยอยุธยาไทยได้ใช้กฎหมายนี้อย่างบริบูรณ์ ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ต้นฉบับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์สำหรับศาลหลวงก็สาบสูญไปหมด ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมกฎหมายขึ้นไว้เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง พระธรรมศาสตร์เป็นลักษณะหนึ่งปรากฎอยู่ในกฎหมายดังกล่าว
๒. เป็นชื่อมหาวิทยาลัย เดิมชื่อว่ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เรียกชื่อว่า ม.ธ.ก. ก่อตั้งโดย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.๒๔๗๖
๒๖๙๓. ธรรมาธิกรณาธิบดี - เจ้าพระยา เป็นตำแหน่งบรรดาศักดิ์ ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงวัง ตั้งขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) ๑๕/ ๙๑๙๔
๒๖๙๔. ธรรมาภิมณฑ์ - หลวง นามเดิมถึก จิตรตถึก เป็นครูกวีและนักแต่งตำราการประพันธ์ที่มีชื่อเสียงมากในรัชกาลที่ห้า และรัชกาลที่หก ท่านเกิดในรัชกาลที่สี่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ ที่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี เดิมเป็นครู ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๖ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่ หลวงธรรมาภิมณฑ์ มีตำแหน่งในกรมราชบัญฑิต ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ได้ย้ายมาเป็นพนักงานฝ่ายหนังสือไทย ในหอพระสมุดวชิรญาณ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๐ จึงลาออกจากราชการและถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑
ท่านได้แต่งบทประพันธ์ร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น โคลงนิราศวัดรวก (พ.ศ.๒๔๒๘) สิทธิศิลปคำฉันท์ (พ.ศ.๒๔๓๔) เพชรมงกุฎคำฉันท์ (พ.ศ.๒๔๔๕) กฎาหกคำฉันท์ (พ.ศ.๒๔๕๖) ประชุมลำนำเป็นตำราสำหรับแต่งกลอน - กานต์ ๑๕/ ๙๑๙๗
๒๖๙๕. ธวัชบุรี อำเภอขึ้น จ.ร้อยเอ็ด ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีป่าโปร่งและป่าละเมาะ ทางตอนใต้
อ.ธวัชบุรี เปลี่ยนชื่อเป็น ต.ธวัชบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ คงเรียกชื่อว่า อ.ธวัชบุรี ถึง พ.ศ.๒๔๕๗ ย้ายไปตั้งที่ว่าการอำเภอที่ ต.มะอี แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อ.แซงบาดาล แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ธวัชบุรี ตามเดิมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ๑๕/ ๙๒๐๐
๒๖๙๖. ธัญชาติ มีบทนิยามว่า "เป็นคำรวมเรียกข้าวต่างๆ เช่น ข้าวเปลือก และข้าวสาลี ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา พร้อมทั้งสูจิ ว่ามีเจ็ดอย่างคือ ๑.ข้าวไม่มีแกลบ ๒.ข้าวเปลือก ๓.หญ้ากับแก้ ๔.ข้าวละมาน ๕.ลูกเดือย ๖.ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง"
คำ ธัญชาติ มักรู้จักกันในความหมายว่า ธัญพืชมากกว่า ๑๕/ ๙๒๐๐
๒๖๙๗. ธัญบุรี อำเภอขึ้น จ.ปทุมธานี ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ทำนาได้ทั่วไป ๑๕/ ๙๒๐๓
๒๖๙๘. ธาตุ ๑ - ยา เป็นยาผสมด้วยตัวยาหลายอย่างเข้าด้วยกัน ใช้บริโภคเพื่อบำรุงธาตุให้ดีขึ้น เพื่อเจริญอาหาร จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ๑๕/ ๙๒๐๔
๒๖๙๙. ธาตุ ๒ ในทางปรมัตถธรรม หมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมเรียกว่า ธาตุสี่ประการ ธาตุแต่ละอย่างมีสมบัติเฉพาะตัวแต่อาศัยกันเป็นอยู่และเป็นไปคือธาตุดินมึความกระด้างและแข้นแข็ง ธาตุน้ำมีการหลั่งไหลหรือซึมซาบ ธาตุไฟมีความอบอุ่นและเผาผลาญ ธาตุลมมีการกระพือพัดหรือเคลื่อนไหว เมื่อกล่าวในแง่ขันธ์ห้า ธาตุสี่อย่างดังกล่าวที่เรียกมหาภูตนี้จัดเป็นรูปขันธ์ กล่าวในแง่ที่เกี่ยวกับคนนอกจากธาตุสี่แล้ว ยังมีอากาศธาตุ (ช่องว่าง) แบละวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้) ซึ่งในที่บางแห่งเรียกว่าจิต กล่าวในแง่กรรมฐานที่เรียกว่ากรรมฐานหรือธาตุววัฎฐานคือการพิจารณากำหนดความเป็นธาตุ โดยพิจารณาแยกกายออกเป็น ๓๔อาการ ๓๑หรือ ๓๒ ๑๕/ ๙๒๐๕
๒๗๐๐. ธาตุ ๓ ในวิชาเคมี กำหนดว่า ธาตุ คือ สารเนื้อเดียวซึ่งประกอบด้วยอะตอม ที่เหมือนกันทุกประการ
บรรดาธาตุเท่าที่ค้นพบแล้ว มี ๑๐๕ ธาตุ ธาตุสุดท้ายที่ค้นพบคือ ธาตุฮาห์เนียม
ธาตุหนึ่ง ๆ เมื่อเกิดปฎิกิริยาทางเคมี เข้ารวมตัวกับธาตุอื่นแล้ว ผลที่ได้จะเป็นสารประกอบ
ธาตุที่ค้นพบแล้วทั้งสิ้นนั้น มีปรากฎอยู่ทั้งสามภาวะคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าช
ในบรรดาธาตุทั้งหมดนั้น จัดแบ่งออกกเป็นสองพวกใหญ่ คือ พวกโลหะ และพวกอโลหะ
ธาตุออกซิเจน มีมากที่สุดในโลกคือ มีอยู่ถึงร้อยละ ๔๙.๘๕ และธาตุซิลิคอน มีมากเป็นที่สองคือ ร้อยละ ๒๖.๐๓ ๑๕/ ๙๒๑๑
๒๗๐๑. ธาตุพนม ๑ - พระ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อันเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศลาว
องค์พระธาตุเป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยม วัดโดยรอบ ๔๙.๓๖ เมตร สูงจากพื้นดิน ๕๓ เมตร (พ.ศ.๒๔๘๒) มีฉัตรปักอยู่บนยอดอีก ๔ เมตร
สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุพนมสมัยโบราณเรียกว่า ภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า เป็นเขตแขวงของเมืองศรีนครโคตรบูร เมืองนี้อยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ ในประเทศลาว ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงเข้าไปประมาณ ๕ - ๖ กม. ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า เมืองขามแท้
พระธาตุพนมเป็นพระเจดีย์เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เชื่อว่าสร้างในปี พ.ศ.๑๐๐๗ ลักษณะลวดลายและรูปภาพอิฐจำหลัก เป็นศิลปทวารวดีตอนต้น ๑๕/ ๙๒๓๓
๒๗๐๒. ธาตุพนม ๒ อำเภอขึ้น จ.นครพนม มีอาณาเขตทิศตะวันออก ตกแม่น้ำโขง ภูมิประเทศส่วนมากเป็นที่ราบ ตอนใต้มีป่าบ้างเล็กน้อย
อ.ธาตุพนม ตั้งอยู่ใกล้วัดธาตุพนม จึงมีนามตามนั้น ๑๕/ ๙๒๔๑
๒๗๐๓. ธิเบต (ดู ทิเบต - ลำดับที่ ๒๕๖๘) ๑๕/ ๙๒๔๒
๒๗๐๔. ธีบอ หรือสีปอ เป็นชื่อเจ้าชายในราชวงศ์อลองพญา เป็นพระราชโอรส พระเจ้ามินดง และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ครองประเทศพม่า เมื่อเสียเอกราชแก่อังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑ นับแต่พระองค์ขึ้นครองราชย์สภาพของประเทศพม่าเลวลงไปตามลำดับ โจรผู้ร้ายชุกชุม พวกกะชินในภาคเหนือก่อการขบถ กองโจรจีนยกเข้าปล้น และเผาเมืองบาโม (บ้านหม้อ) เจ้าผู้ครองไทยใหญ่หลายองค์เลิกสวามิภักดิ์ ภายในกรุงมัณฑเลเองพระนางสุปยาลัต ผู้เป็นพระมเหสีทรงใช้จ่ายเงินทองสุรุ่ยสุร่ายจนกระทั่งเงินหลวงไม่มีเหลือในท้องพระคลัง พระเจ้าธิบอทรงใช้วิธีหาเงินเข้าท้องพระคลังด้วยการออกหวยเบอร์หรือลอตเตอรี่ ปรากฏว่าราษฎรพากันซื้อหวยเบอร์จนไม่เป็นอันทำมาหากินและยากจนลงมาก จึงได้ยกเลิกเสียหลังออกมาได้สามปี พระเจ้าธีบอทรงดำเนินพระราโชบายต่างประเทศผิดพลาด เพราะทรงผูกไมตรีกับฝรั่งเศส ซึ่งอังกฤษถือว่าเป็นการแทรกแซงในพม่าอันขัดต่อผลประโยชน์ของตน เนื่องจากฝรั่งเศสกำลังแสวงหาผลประโยชน์ในพม่าหลายเรื่องด้วยกัน ข้าหลวงใหญ่อังกฤษจึงเปลี่ยนใจจากเดิมที่จะไม่ผนวกพม่าและให้ความเห็นว่า ถ้าฝรั่งเศสยังไม่สละสัมปทานตามที่เสนอไว้ อังกฤษไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากรวมพม่าเหนือของพระเจ้าธีบอเข้ากับพม่าใต้ พระเจ้าธีบอได้โอนสัมปทานป่าไม้ของบริษัทปมอเบย์ ฯ ของอังกฤษ อังกฤษจึงตกลงดำเนินการกับพม่าเด็ดขาด ส่งเรือกลไฟลำหนึ่งไปยังกรุงมัณฑเลพร้อมกับให้พระเจ้าธีบอรับคำขาดของตน คำขาดนี้ต้องการให้พระเจ้าแผ่นดินพม่ามีฐานะเป็นมหาราชาองค์หนึ่งของอินเดียเท่านั้น เมื่อพม่าปฏิเสธคำขาดของอังกฤษกองทัพอังกฤษก็ได้เปิดฉากการรบ ตีหัวเมืองรายทางไปยังมัณฑเลและยึดกรุงมัณฑเลได้ พระเจ้าธีบอต้องยอมแพ้ตกเป็นเชลยของอังกฤษ อังกฤษได้ปกครองประเทศพม่าทั้งหมดในปลายปี พ.ศ.๒๔๒๘ ๑๕/ ๙๒๔๒
๒๗๐๕. ธุดงค์ มีบทนิยามว่า "องคคุณเครื่องกำจัดกิเลส ชื่อ วัตรปฎิบัติของภิกษุ ๑๓ อย่าง เช่น การถือบริโภคอาหารหนเดียว การอยู่ป่า การอยู่โคนไม้ "
|
Update : 27/5/2554
|
|