หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/21
    ๑๒๘๑. จตุราริยสัจ อริยสัจสี่  คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ ทุกขนิโรธที่ดับทุกข์  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา การปฏิบัติเป็นเหตุให้ถึงที่ดับทุกข์
                            ทุกข์  ได้แก่ ชาติ (ความเกิด)  ชรา (ความแก่)  มรณะ (ความตาย) โสกา (ความแห้งใจ) ปริเทวะ (ความรำไร - รำพัน)  ทุกขะ (ความไม่สบายกาย)  โทมนัส (ความไม่สบายใจ)  อุปายาส (ความคับแค้นใจ)  อัปปิยสัมปโยโค (ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก)  ปิยวิปโยค (ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก)  ยัมปิจฉังนลภติ (ความไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา)  กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ห้าคือ รูป (ร่างกาย)  เวทนา (ความเสวยอารมณ์)  สัญญา (ความจำได้หมายรู้)  สังขาร (ความคิด)  วิญญาณ (ธรรมชาติรู้ - จิต )  ที่บุคคลยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรานี่แหละเป็นทุกข์
                            ทุกข์นี้เป็นธรรม ที่ควรกำหนดรู้
                            ทุกขสมุทัย  ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก)  อันเป็นเหตุให้เกิดใหม่ เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน มักเพลิดเพลินไปในภพนั้น ๆ มีชื่อตามอารมณ์เป็นหกคือ รูปตัณหา (ตัณหาในรูป)  สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง)  คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น)  รสตัณหา (ตัณหาในรส)  โผฎฐัพพตัณหา (ตัณหาในอารมณ์ที่ปรากฎทางกาย)  ธัมมตัณหา (ตัณหาในอารมณืที่ปรากฎทางใจ)
                            ตัณหาทั้งหกประการนั้น แจกออกไปตามอาการที่เป็นไปอย่างละสามคือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
                            ตัณหา เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด เป็นธรรมที่ควรละ
                            ทุกขนิโรธ  ได้แก่ นิพพานอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์ทั้งปวงได้แก่ สภาพอันเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับหาส่วนเหลือมิได้ เป็นที่สละคืน เป็นที่หลุดพ้น เป็นที่หาความอาลัยมิได้
                            นิโรธนี้เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
                            ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา  ได้แก่ มรรคมีองค์แปดประการคือ สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)  สัมมาวายะมะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจชอบ)
                            มรรคมีองค์แปดประการนี้ เปนมัชฌิมาปฎิปทา ข้อปฎิบัติเป็นกลาง ๆ ไม่ข้องแวะด้วยที่สุดทั้งสองข้างคือ ข้างตึง และข้างหย่อน เป็นธรรมที่ควรเจริญคือ ทำให้เกิดขึ้น
                            พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ ในราตรีนั้นวิศาขบุรณมีเพ็ญ เดือนวิศาขะ (เดือนหก)  เมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช แล้วทรงแสดงแก่นักบวชทั้งห้าที่เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ เป็นครั้งแรก เมื่อวันอาสาฬหบุรณมีเพ็ญ เดือนอาสาฬหะ (เดือนแปด)  ในปีเดียวกัน พระธรรมที่ทรงแสดงในครั้งนั้นเรียก ธัมมจักรกัปวัตนสูตร (สูตรแสดงการหมุนจักรคือ ธรรม)  จัดเป็นปฐมเทศนา พระโกญทัญญะได้ฟังแล้วก็เกิดธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม)  อันปราศจากธุลีมลทินว่า ยงฺกิญจิ สมุทย ธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธ ธมฺมนฺ ติ (สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา - เพิ่มเติม )
                ๑๒๘๒. จตุโลกบาล  คือ ท้าวมหาราชทั้งสี่ สถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นต้นที่ชื่อว่า จาตุมหาราชทั้งสี่) สวรรค์ชั้นนี้ตั้งอยู่บนยอดเขายุคนธร อันเป็นเขาเทือกชั้นใน ของเทือกเขาทั้งเจ็ดชั้น ซึ่งตั้งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ท้าวมหาราชาทั้งสี่ได้แก่
                             ๑. ท้าวธตรฐ  สถิตอยู่ยอดเขายุคนธร ด้านทิศบูรพาของเขาพระสุเมรุ มีรัศมีกายขาว พระนครมีวิมานจำนวน ๔,๐๐๐ วิมาน ถัดออกไปเป็นเขตเทพชนบท เทพนิคม และเทพนครน้อย ๆ อยู่ล้อมอาณาจักร และขยายออกไปทางด้านทิศบูรพาจบจดขอบจักรวาล
                             ท้าวธตรฐ  เป็นเจ้าของเหล่าคนธรรพ์
                             ๒. ท้าววิรุฬหก  สถิตอยู่บนยอดเขายุคนธร ด้านทิศทักษิณของเขาพระสุเมรุ มีรัศมีกายแดง มีพระนครและทิพยสมบัติ เช่นเดียวกับท้าวธตรฐ
                             ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าของเหล่ากุมภัณฑ์ (มีท้องใหญ่ มีอวัยวะที่ลับดุจหม้อ)
                             ๓. ท้าววิรูปักษ์  สถิตอยู่ยอดเขายุคนธร ด้านทิศประจิมของเขาพระสุเมรุ มีรัศมีกายดังสีทอง ทิพยสมบัติก็มีเช่นเดียวกับท้าวธตรฐ
                             ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าของเหล่านาค
                             ๔. ท้าวกุเวร  บางทีเรียกว่า ท้าวเวสวัณ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธร ด้านทิศอุดรของเขาพระสุเมรุ มีรัศมีกายสีเขียว เป็นเจ้าของยักษ์ทั้งหลาย            ๗/ ๔๑๖๕
                ๑๒๘๓. จตุสดมภ์  แปลว่า หลักทั้งสี่คือ เจ้า๗/ที่จัดการปกครองในราชธานีสี่แผนก เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา แห่งราชอาณาจักรไทย ประเทศอื่น ๆที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น พม่า เขมร ชวา มลายู ก็แบ่งเป็นสี่พนักงาน ทำนองนี้ดุจกัน อันได้แก่
                             ขุนเมือง  (หรือเวียง)  เป็นพนักงานปกครองท้องที่ ดูแลรักษาสันติสุขของประชาราษฎร
                             ขุนวัง  เป็นหัว๗/ฝ่ายราชสำนัก และเป็นพนักงาน พิพากษาถ้อยความของราษฎร เป็นการแบ่งเบาพระราชภาระ
                             ขุนคลัง  เป็นเจ้า๗/ที่ควบคุมดูแลรับจ่ายผลประโยชน์ของแผ่นดิน
                             ขุนนา  เป็นเจ้า๗/ที่ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร
                             ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดแก้ไขวิธีการปกครอง แยกออกเป็นแผนกใหญ่สองแผนก มีตำแหน่งอัครเสนาบดีเป็นหัวหน้าคือ กิจการทหารทั้งปวง จัดเป็นแผนกหนึ่ง มีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้า ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้า ให้เจ้ากระทรวงทั้งสี่คือ จตุสดมภ์เป็นตำแหน่ง เสนาบดี รองลงมา หน้าที่ขุนเมืองหรือขุนเวียงเป็น พระนครบาล ขุนวังเป็น พระธรรมาธิกรณ์ ขุนคลังเป็น พระโกษาบดี และขุนนาเป็น พระเกษตราธิบดี
                             ระเบียบดังกล่าวใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎดวงตราตำแหน่งอัครมหาเสนาบีด ทั้งสองและจตุสดมภ์ทั้งสี่ ในสมัยรัชกาลที่สี่คือ
                             ตราพระราชสีห์  ประจำตำแหน่งสมุหนายก ตราพระคชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม  ตราพระยายมขี่ราชสีห์ ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมเมือง ตราพระนารายณ์ยืนบนท่าอสูร ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมวัง ตราบัวแก้ว ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมคลัง ซึ่งบังคับบัญชางานด้านต่างประเทศ และการคลัง ตราเทพยดานั่งบุษบกหลังหงส์ ประจำตำแหน่ง เสนาบดีกรมนา
                             ระเบียบการปกครองโดยเจ้ากระทรวงจตุสดมภ์ เลิกใช้ในปี พ.ศ.๒๔๓๕            ๗/ ๔๔๗๐
                ๑๒๘๔. จมูก  เป็นอวัยวะให้ลมผ่านเข้าออก สู่อวัยวะเกี่ยวกับการหายใจ และทำ๗/ที่เกี่ยวกับการรับกลิ่นด้วย จมูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนนอกที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า จมูกและส่วนในของจมูก
                            ลักษณะส่วนนอกของจมูกได้ใช้เป็นลักษณะสำคัญในการแบ่งชนิดต่าง ๆ ของลิงและในคนก็ได้ใช้เป็นลักษณะของเชื้อชาติด้วย  นอกจากขนาดรูปร่างของจมูกแล้ว ลักษณะของรูจมูกก็ใช้เป็นลักษณะของเชื้อชาติด้วย คนผิวขาวจะมีรูจมูกแคบและอยู่สูง พวกนิโกรมีรูจมูกกว้างแบน คนผิวเหลืองอยู่ระหว่างกลาง
                            ส่วนในของจมูกเป็นรูปสามเหลี่ยมข้างบนแคบข้างล่างกว้าง มีรูจมูกติดต่อกับภายนอกและภายในรูติดต่อกับฟาริง โดยอาศัยแฟ่นกั้นกลาง แบ่งส่วนในออกเป็นสองช่อง แต่ละช่องมีผนังตรงกลางเป็นแผ่นกั้นกลาง มีผนังใกล้ริมและมีผนังล่างประกอบเป็นพื้นของช่องจมูก ช่องมีเพดานแคบ เยื่อเมือกที่บุจมูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนใหญ่เป็นทางผ่านของลม ส่วนบนทำ๗/ที่เกี่ยวกับการรับกลิ่น            ๗/ ๔๔๗๙
                ๑๒๘๕. จรกา  เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องอิเหนา ตามเรื่องกล่าวว่าจรกาเป็นระตู หรือเจ้าผู้ครองนคร ระตูจรกาเป็นคนรูปชั่วอัปลักษณ์ ว่าโดยสกุลแล้วก็ถือว่าต่ำศักดิ์กว่าคู่หมั้นคือ นางบุษบา ธิดาท้าวดาหาซึ่งเป็นกษัตริย์วงศ์เทวัน ขณะที่เตรียมการอภิเษกกันนั้น อิเหนาซึ่งเป็นคู่หมั้นเก่า และเป็นลูกพี่ของบุษบาก็ทำอุบายแกล้งเผาเมืองแล้วชิงนางไปเสีย           ๗/ ๔๔๘๖
                ๑๖๘๖. จรณะ  คำว่าจรณะเป็นชื่อพระพุทธคุณที่รวมอยู่ในบทว่า "วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน" แปลตามพยัญชนะว่าผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ หมายความว่า เป็นผู้ได้บรรลุวิชชาด้วย เป็นผู้แรกรู้จักทางเครื่องบรรลุวิชชานั้นด้วยคุณสมบัตินี้ มีเฉพาะแก่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่มีแก่พระสาวก
                            สมเด็จ ฯ พรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงอธิบายไว้ว่าจรณะนั้นได้แก่ ปฏิปทาคือ ทางเป็นเครื่องบรรลุวิชชา มรรคมีองค์แปดเป็นจรณะแห่งความรู้อริยสัจสี่ ฌานสี่เป็นจรณะโดยลำดับแห่งวิชชาสาม  วิชชาเบื้องต้นเป็นจรณะแห่งวิชชาเบื้องปลาย
                            ในเสขปฏิปทาสูตร แสดงจรณะเป็นสาธารณะ โดยมีชื่อว่าเสขปฏิปทา คือทางดำเนินของพระเสขะ ท่านจำแนกหัวข้อจรณะออกเป็น ๑๕ มีใจความดังนี้คือ
                            ๑. สีลสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยศีลได้แก่การสำรวมในปาติโมกข์ ประกอบด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในความผิดแม้น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
                            ๒. อินทรียสังวร  สำรวมอินทรีย์มีหกอย่างคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำ
                            ๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการบริโภคอาหาร พิจารณาแล้วจึงบริโภคอาหาร และเพ่งประโยชน์อันจักเกิดแก่อาหารนั้น ต้องรู้ประมาณสามคือ การแสวงหา การได้มาและการบริโภค
                            ๔. ชาคริยานุโยค  ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ ไม่เห็นแก่หลับนอนเกินไป
                            ๕. ศรัทธา  ความเชื่อได้แก่ ความเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หมายความว่าเชื่อเหตุผล ในอรรถกถาแจกศรัทธาออกเป็นสอง
    คือกัมมสัทธา เชื่อกรรม  และวิปากสัทธา เชื่อผลแห่งกรรม
                            ๖. หิริ  ความละอายแก่ใจได้แก่ ความละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต
                            ๗. โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวผิด ได้แก่ความเกรงกลัวความผิด และความชั่วโดยนัยแห่งหิรินั้น
                            ๘. พาหุสัจจะ  ความเป็นผู้ได้ฟังมาก ท่านแสดงลักษณะของพหูสูตรไว้ว่า พหุสุตา เรียนมาก   ธตา จำได้  วจสาปริจิตา ขึ้นปาก มนสานุเปกขิตา ขึ้นใจ และทิฏฐิยาสุปฏิวิทธา เข้าใจ
                            ๙. วิริย ความเพียรได้แก่ เพียรละอกุศลกรรมที่เกิดแล้วให้หมดไป ป้องกันไม่ให้อกุศลกรรมไม่ให้เกิดขึ้นใหม่ เพียรทำกุศลกรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด รักษากุศลกรรมที่เกิดมีแล้วไม่ให้เสื่อม
                            ๑๐. สติ  ความระลึกได้ได้แก่ สติรักษาตัวและระลึกถึงกิจที่ทำ และคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ก่อนคิดก่อนพูดก่อนทำ ให้มีสติกำกับอยู่ก่อน
                            ๑๑. ปัญหา  ความรอบรู้ได้แก่ อริยปัญญาที่รู้ความเกิดความดับแห่งสังขาร สามารถชำแรกกิเลสให้พ้นทุกข์ได้
                            ๑๒. ปฐมฌาน  ฌานที่หนึ่งญาณได้แก่ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปาสมาธิ จัดเป็นสี่ชั้น ประณีตขึ้นไปกว่ากันโดยลำดับ
                             ปฐมฌาน  มีองค์ห้าคือ ยังมีตรึกซึ่งเรียกว่า วิตก ยังมีตรองเรียกว่าวิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญแต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกายและอกุศลธรรม มีปิติ ความอิ่มใจ ความสบายใจ เกิดแต่วิเวกคือ ความสงบ และเอกัคตา จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป
                            ๑๓. ทุติยฌาน  ฌานที่สอง จิตที่เป็นสมาธิเช่นนั้นย่อมปราณีตขึ้น ละวิตก วิจารเสียได้ เหลือเพียงองค์สามคือ ปิติ สุข และเอกัคตา
                            ๑๔. ตติยฌาน  ฌานที่สาม จิตที่เป็นสมาธิเช่นนั้น ย่อมปราณีตขึ้นอีก ละปิติเสียได้ เหลือเพียงองค์สองคือ สุขกับเอกัคกตา
                            ๑๕. จตุตถฌาน  ฌานที่สี่ จิตที่เป็นสมาธิเช่นนั้นย่อมปราณีตถึงที่สุด ละสุขเสียได้ กลายเป้นอุเบกขา จึงเป็นองค์สอง คืออุเบกขากับเอกัคตา
                             ทั้ง ๑๕ อย่างนี้เรียกว่า จงฌธรรม           ๗/ ๔๔๙๐
                ๑๒๘๗. จรดพระนังคัล  เป็นชื่อเรียกพระราชพิธีแรกนา ซึ่งมีมาแต่โบราณ ในชั้นเดิมทำแต่พิธีแรกนาเรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ต่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงเพิ่มพระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ขึ้นอีก งานพระราชพิธีนี้จึงเป็นสองงานซ้อนกันอยู่
                            พระราชพิธีจรดพระนังคัล นัยว่ามีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยา กระทำในเดือนหก มีเรื่องต่าง ๆ ที่ควรกล่าวคือ
                            ๑. กำหนดวันพิธีแรกนา เหมาะสมกับสมัยเริ่มฤดูทำนาของประเทศนี้ และถือกันมาเป็นประเพณีว่า ชาวนาจะยังไม่ลงมือในนาปีนี้ จนกว่าจะล่วงพ้นพระราชพิธีแรกนาไปแล้ว
                            ๒. ผู้กระทำพิธีแรกนา โดยปกติเป็น๗/ที่เสนาบดีกรมนา ที่เกษตราธิบดีคือ เจ้าพระยาพลเทพ แต่ก็มียกเว้นบ้างในบางสมัย โดยโปรด ฯ ให้ผู้อื่นเป็นผู้แรกนา
                            ๓. สถานที่แรกนา เท่าที่ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๘ - ๒๔๓๕ ทำที่ทุ่งส้มป่อยคือ บริเวณที่เป็นสนามราชตฤณมัย (สนามม้านางเลิ้ง)  หลังจากนั้นก็ย้ายไปทำที่อื่นบ้าง เช่น ศาลายิงเป้าสระปทุมวัน ทุ่งพญาไท ทุ่งศาลาแดง และท้องสนามหลวง
                            ๔. การเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนา แต่เดิมมาเป็นการสุดแต่พระราชอัธยาศัย ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ และที่ ๗  ได้เสด็จทอดพระเนตรเสมอ เว้นบางปีที่ไม่ได้เสด็จอยู่ในพระนครเท่านั้น ในรัชกาลที่ ๙ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรทุกปี
                            ส่วนพระราชพิธีพืชมงคล ปรากฎว่ารัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินเสมอ ปีใดไม่เสด็จก็โปรด ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ เสด็จแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ ๖ ที่ ๗ และที่ ๙ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเสมอ เว้นแต่มิได้เสด็จอยู่ในพระนคร
                            ๕. สถานที่ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล ในรัชกาลที่ ๔ โปรดให้ปลูกพลับพลาขึ้นที่ท้องสนามหลวง และสร้างหอพระเป็นที่ไว้พระคันธารราษฎร์ สำหรับการพระราชพิธีพืชมงคลอย่างหนึ่ง พิรุณศาสตร์อย่างหนึ่ง ได้ทำพิธีพืชมงคลที่พลับพลาท้องสนามหลวง จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๑ จึงไปทำที่อื่น
                            งานพระราชพิธีพืชมงคล และจรดพระนังคัล ได้กระทำเต็มรูปแบบเป็นครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ.๒๔๗๙
                            การฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๒ ได้เริ่มกระทำเป็นงานประจำปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นต้นมา โดยทำต่อเนื่องเป็นงานเดียวกับพระราชพิธีพืชมงคล เช่นที่เคยทำมาแต่กาลก่อน            ๗/ ๔๔๙๕

    • Update : 25/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch