หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/20

    ๑๒๕๙. เงาะป่า  เป็นชื่อบทละครรำแบบละครนอก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ            ๗/ ๔๓๑๑
                ๑๒๖๐. เงิน  ๑. เงินบริสุทธิ์  เป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกโลหะ น้ำหนักประมาณ ๑๐๗.๘๘ ความถ่วงจำเพาะ ๑๐.๕ มีสมบัติทางสื่อไฟฟ้า และสื่อความร้อนสูงมาก เนื้ออ่อน ดัดได้ ละลายในกรดได้ง่าย ผสมกับปรอทได้ง่าย
                        ๒. แร่เงิน  เป็นสิ่งที่เกิดในธรรมชาติ แยกแบบกำเนิดเป็นสองคือ ในสภาพโลหะ และในสภาพสารประกอบ
                            เงินมีประโยชน์แก่มนุษย์  คือในทางสังคม ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ และเป็นภาชนะต่าง ๆ เพราะไม่ค่อยขึ้นสนิม และอ่อนพอที่จะขึ้นรูปรอยต่าง ๆ ได้ง่าย สำหรับในทางวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมนั้นเงินมีที่ใช้มากมาย            ๗/ ๔๓๑๓
                ๑๒๖๑. เงินเชื่อ หมายถึงหนี้ที่ยอมให้ค้าง โดยเชื่อถือซึ่งกันและกัน
                           เงินเชื่อนี้เป็นคำหนึ่งที่เนืองกับนิติกรรมและหนี้ จึงควรนิยามว่าเงินที่ลูกหนี้มิได้ส่งมอบแก่เจ้า๗/ที่เพื่อเป็นการชำระหนี้ของตนตาม๗/ที่ในทันที แต่เจ้าหนี้ตกลงยินยอม ให้ลูกหนี้ติดค้างไว้ก่อน เพื่อชำระในภายหลังได้            ๗/ ๔๓๑๔
                ๑๒๖๒. เงินตรา  คือเนื้อเงินที่ประชาชนนิยมใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพราะมีตราของบุคคลที่เชื่อถือได้ รับรองว่าเนื้อเงินชิ้นนั้นเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ และมีน้ำหนักเท่าใดโดยแน่นอน แต่ปัจจุบันคำว่าเงินตรามีความหมายกว้างกว่านั้น
                             ตามความหมายอย่างแคบ ๆ ที่เข้าใจกันโดยทั่วไปคือ วัตถุที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งจะทำด้วยเนื้อเงินหรือโลหะอื่นหรือกระดาษก็ได้ และเป็นวัตถุที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยรัฐบาลหรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเช่น ธนาคารกลางเป็นผู้จำหน่ายให้ประชาชนใช้
                            คำว่าเงินตรา พึ่งจะปรากฎเป็นทางการใน พ.ร.บ.กรมกษาปน์สิทธิการ รศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) บัญญัติว่า เงินตราสยามคือ เงินบาทพดด้วง            ๗/ ๔๓๑๗
                ๑๒๖๓. เงินปันผล หมายความถึงกำไรที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทในวันที่กำหนดหรือ ตามสัดส่วนของค่าหุ้นที่ชำระแล้ว
                            เงินปันผลต้องจ่ายจากกำไรสะสม ซึ่งรวมทั้งกำไรของปีปัจจุบัน และกำไรของปีก่อน ๆ ที่คงเหลืออยู่ จะจ่ายเงินปันผลจากเงินทุนของบริษัทไม่ได้            ๗/ ๔๓๘๐
                ๑๒๖๔.  เงี้ยว  เป็นชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญ ในประเทศไทยสมัยก่อน            ๗/ ๔๓๒๘
                ๑๒๖๕. เงี้ยวเต้  (เอี๋ยวตี้)  เป็นกษัตริย์ของจีนในสมัยโบราณ ประสูติเมื่อ ๑๘๑๐ ปีก่อนพุทธศักราช พระองค์มีความสามารถพิเศษในการสรรหาตัวบุคคล ผู้มีสมรรถภาพในกิจการด้านต่าง ๆ มารับราชการได้อย่างเหมาะสมมาก
                            ในรัชสมัยของพระเจ้าเงี้ยวเต้  ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ คือ
                            ๑. การนับวัน เดือน ปี ฤดูกาล และปฎิทิน
                            ๒. ดาราศาสตร์
                            ๓. เครื่องปั้นดินเผา            ๗/ ๔๓๘๒
                ๑๒๖๖. เงือก ๑  เป็นนกในวงศ์นกเงือก นกเงือก มีเฉพาะแต่ในโซนร้อนของทวีปเอเชีย และอัฟริกา เป็นนกที่มีปากใหญ่ นกเงือกชอบกินลูกไม้ป่าต่าง ๆ และชอบกินสัตว์เล็ก ๆ รวมทั้งปลา
                            นกเงือกในโลกมีอยู่ ๔๕ ชินด ในประเทศไทยมีอยู่ ๑๓ ชนิด ได้แก่ นกเงือกหัวหงอก นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกปากดำหงอนยาว นกเงือกคอแดง นกเงือกปากย่น นกเงือกกรามช้างใหญ่ นกเงือกรามช้างเล็ก นกเงือกเล็ก หรือนกแกงตะนาวศรี นกเงือกเล็ก หรือนกแกงมลายู นกเงือกกาเขา นกกะวะ หรือกาฮัง นกเงือกหัวแรด และนกชนหิน            ๗/ ๔๓๘๗
                ๑๒๖๗. เงือก ๒  เป็นสัตว์ในเทพนิยาย ที่รู้จักกันเป็นสามัญ ก็ที่มีรูปร่างท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างมีหางเป็นปลา ลักษณะอย่างนี้ว่าตามรูปภาพที่เขียนเอาไว้อย่างเก่าที่สุด ที่มีอยู่ในสมุดแผนที่โบราณครั้งกรุงธนบุรี และรูปในไตรภูมิของเขมร เงือกชนิดนี้รู้จักกันดีในเรื่องพระอภัยมณี แต่ที่ชาวบ้านเชื่อกันนั้น เงือกมี๗/กลม เท่างบน้ำอ้อย โดยมากมักเป็นเพศหญิง ไว้ผมยาวมักขึ้นมาหัวผมด้วยหวีทอง บางทีใช้กระจกส่อง๗/ด้วย เวลาขึ้นมามักเป็นคืนเดือนหงาย
                            คำว่า เงือก ในภาษาไทยต่าง ๆ หมายความถึง งู นาค มังกร และจระเข้ ไม่มีเค้าว่า เป็นสัตว์ครึ่งคน ครึ่งปลา คำว่าเงือก ตามความหมายของไทยภาคอีสานว่า เป็นบริวารของนาค สามารถจำแลงแปลงตัวได้ต่าง ๆ และว่ามักทำร้ายคน ทางพายัพถือว่า เงือกคือ งู หงอน            ๗/ ๔๓๙๔
                ๑๒๖๘. โง่ซำกุย  เป็นชาวเลียวตุง เกิดในสมัยราชวงศ์เหม็ง มีฉายาว่า ฉางไบ๋ เคยรับราชการในรัชสมัยพระเจ้าฉงเจิน ดำรงตำแหน่ง จงปิง (เทียบเท่าแม่ทัพภาคของไทย)  ได้รับดาบอาญาสิทธิ์ไปรักษาด่านซันไห่กวาน เมื่อหลีซ้ง ขบถต่อราชวงศ์เหม็ง ยึดได้เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง ได้ โง่ซำกุ่ย ก็ได้นำกองทัพแมนจูเรียเข้ามาในประเทศจีน  เพื่อปราบกบฎ เมื่อปราบขบถได้แล้ว พวกแมนจูจึงถือโอกาสเข้ายึดครองประเทศจีน แต่นั้นมา โง่ซำกุยได้รับแต่งตั้งให้ไปรักษาการที่มณฑลยูนนาน ต่อมาพระเจ้าคังฮี โปรดให้ถอดออกจากตำแหน่ง แต่โง่ซำกุยไม่ยอม จึงก่อขบถขึ้นยึดได้หลายมณฑลคือ ยูนนาน กุยจิ๋ว เสฉวน ฮูนาน กวางสี เป็นต้น มีผู้เข้าร่วมด้วยเป็นอันมาก จึงสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ราชวงศ์จิว            ๗/ ๔๔๐๑

     

    จ.

                ๑๒๖๙. จ.พยัญชนะตัวที่แปดของอักษรไทย  เป็นตัวต้นของวรรคที่สอง อยู่ในจำพวกอักษรกลาง มีฐานกรณ์เกิดแต่เพดาน เป็น ลิถิจอโฆษะ มีเสียงเบากว่าพยัญชนะ ในอักขระวิธีไทย ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตและเขมร            ๗/ ๔๔๐๓
                ๑๒๗๐. จก  เป็นชื่อแคว้น (เสฉวน)  ในสมัยสามก๊ก พวกงุ่ยขบถต่อราชวงศ์ฮั่น เล่าปี่ผู้เป็นเชื้อสาย ราชวงศ์ฮั่น จึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ณ แคว้นจก มีเมืองหลวงอยู่ที่เฉิงตู ราชวงศ์จกฮั่น ของเล่าปี่ ถูกราชวงศ์งุ่ยโค่นล้ม รวมเวลาที่ครองอำนาจอยู่ ๔๓ ปี (พ.ศ.๗๖๔ - ๘๐๖)            ๗/ ๔๔๐๓
                ๑๒๗๑. จงกรมแก้ว  เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่งอยู่ในพระอิริยาบทยืน ยกพระบาทขวา ก้าวเหยียบพื้น ยกส้นพระบาทซ้ายขึ้น ปลายพระบาทจรดพื้นแสดงอาการก้าวเดินจงกรม พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมา ประสานกันอยู่ที่พระเพลา ทอดพระเนตรลงต่ำ อยู่ในพระอาการสังวร มีสติกำกับทุกก้าวพระบาท     

              คำว่า จงกรม ได้แก่ กิริยาเดินด้วยมีสติกำหนด ทุกขณะก้าว อาการเดินแช่มช้า ด้วยมีสติกำหนดนึกรู้สึกอยู่เสมอ ที่ทุกขณะยกเหยียบ      ๗/ ๔๔๐๓
                ๑๒๗๒. จงโคร่ง  เป็นคางคกชนิดใหญ่มากชนิดหนึ่ง มีอยู่ทางปักษ์ใต้และหมู่เกาะมลายู     หนังและส่วนของซากจงโคร่ง ใช้เป็นยาสมุนไพรได้        ๗/ ๔๔๐๕
                ๑๒๗๓. จงอาง - งู  เป็นงูที่อยู่ในเผ่างูเห่า เป็นงูพิษกัดตายที่มีขนาดใหญ่ และยาวที่สุดในโลก มีอยู่ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก ชอบอยู่ในที่สะเทินน้ำ สะเทินบก และมีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ ๆ
                             พิษของงูจงอาง ทำลายศูนย์ประสาทในสัตว์ หรือคนที่ถูกกัด คุณสมบัติของพิษคล้ายงูเห่า แต่อ่อนกว่า           ๗/๔๔๐๗
                ๑๒๗๔. จตุบริษัท  คือ พุทธบริษัทแยกออกโดยจำนวนมีสี่คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
                            คำว่า บริษัท หมายเอากลุ่มคนที่ร่วมกันในกรณีต่าง ๆ ตามแต่จะกำหนด
                             ภิกษุ  คือ ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนา ละบ้านเรือนครอบครัว ทรัพย์สมบัติ สมัครเข้าถือเพศเป็นนักบวช  สามเณร คือ ยุวชนที่สมัครจะบวชเป็นภิกษุ แต่อายุยังไม่ถึงตามที่พระวินัยกำหนดคือ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ยังบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ให้บวชเป็นสามเณร รอยู่ก่อนจนกว่าอายุจะครบบวชเป็นพระภิกษุได้ ภิกษุในพระพุทธศาสนา กำหนดเอาบุคคลที่ได้บวชด้วยวิธีบวชแปดอย่างมี ทเอหิภิกขุอุปสมบ คือ บวชด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงรับเข้าเป็นภิกษุด้วยพระองค์เอง และญัตติจตุตถกรรมอุปสมบท คือ บวชด้วยวิธีพระสงฆ์รับเข้าเป็นภิกษุ เป็นต้น ผู้จะอุปสมบทต้องมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่ได้เป็นมนุษย์วิบัติ ไม่ได้เป็นคนทำผิดอย่างร้ายแรง ไม่ได้เป็นคนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง
                            ภิกษุณี  คือ ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนา ละบ้านเรือน ครอบครัว ทรัพย์สมบัติ สมัครเข้าถือเพศเป็นนักบวช ตามวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ สามเณรี สิกขมานา จัดเข้าในจำพวกภิกษุณีบริษัท
                            ภิกษุณีบริษัท เกิดขึ้นประมาณมัชฌิมโพธิกาล มีสิกขาและขนบธรรมเนียมซึ่งเรียกว่า สาชีพ ทำนองเดียวกับภิกษุ แต่ถือสิกขาบทบางอย่างต่างจากภิกษุ
                            อุบาสก  คือ ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนา แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายความว่า รับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ รับเอาหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักปฎิบัติ
                            อุบาสิกา คือ ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนา ทำนองเดียวกับอุบาสก            ๗/ ๔๔๐๘
                ๑๒๗๕. จตุปัจจัย  เป็นเครื่องอาศัยของนักบวช ซึ่งไม่มีอาชีพอย่างผู้ครองเรือน ต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ เครื่องเลี้ยงชีพของภิกษุ สามเณร เรียกว่า ปัจจัย แบ่งออกเป็นสี่อย่างคือ จีวร เครื่องนุ่งห่ม บิณฑบาต ของขบฉัน เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ยารักษาโรค
                            ปัจจัยสี่ เป็นของจำเป็น สำหรับภิกษุ สามเณร แต่ละอย่างเรียกว่า ปัจจัย แปลว่า ของสำหรับอาศัยเป็นไป
                            รวมเรียกตามจำนวนว่าจตุปัจจัย ท่านวางแบบไว้สำหรับพิจารณาเมื่อบริโภคปัจจัยนั้น ๆ โดยพิจารณาเป็นสามกาลคือ ขณะรับ ขณะบริโภค และภายหลังบริโภคแล้ว
                             ขณะรับ ให้พิจารณาด้วยวิธีธาตุปัจเวกขณ์ เมื่อรับปัจจัยอย่างใดให้ระบุชื่อปัจจัยนั้นโดยมีใจความว่า ปัจจัยนี้ (ระบุปัจจัย) สักว่าเป็นธาตุ ผู้บริโภคปัจจัยนี้ก็สักว่าเป็นธาตุ มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวิต เป็นของว่างเปล่า ครั้นมาถึงกายอันเปื่อยเน่านี้แล้วกลับเป็นของน่าเกลียดยิ่งนัก
                            ขณะบริโภค ให้พิจารณาด้วยปฏิกูลปัจจเวกขณ์ (เฉพาะจีวร) ว่าเราบริโภคจีวรเพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน ป้องกันสัตว์เล็กมียุงเป็นต้น เพื่อป้องกันแดดลมตามฤดูกาล และเพื่อปกป้องอวัยวะอันจะทำให้หิริกำเริบเท่านั้น  เฉพาะบิณฑบาต เฉพาะเสนาสนะ ฯลฯ  เฉพาะคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ฯลฯ
                            ขณะภายหลังบริโภคแล้ว ให้พิจารณาอดีตปัจเวกขณ์ ให้แยกพิจารณาเป็นอย่าง ๆ ตามวิธีดังกล่าวในตัวขณิกปัจเวกขณ์ข้างต้น
                             ในสามกาลนี้ แม้จะทรงอนุญาตให้พิจารณาในกาลภายหลังได้ แต่ขณะที่สำคัญนั้นคือ ขณะบริโภคเป็นสำคัญที่สุด ถ้าไม่พิจารณาก่อน แล้วบริโภคชื่อว่าบริโภคเป็นหนี้
                ๑๒๗๖. จตุปาริสุทธิศีล คือ ศีลของพระภิกษุผู้มีความบริสุทธิ์สี่อย่างคือ
                            ๑. ปาฏิโมกข์สังวรศีล  ได้แก่ การสำรวมในปาติโมกข์ คือสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แก่หมู่ภิกษุ มีจำนวน ๒๒๐ สิกขาบท นับรวมอธิกรณสมถะ ๗ อย่างด้วยเป็น ๒๒๗ ที่เรียกว่า ศีล ๒๒๗
                            ๒. อินทรีย์สังวรศีล  ได้แก่ การสำรวมในอินทรีย์หกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ โดยมีสติกำกับทุกเมื่อ ไม่ให้ความยินดียินร้าย
    บาปอกุศลกรรมครอบงำได้
                            ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล  ได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพที่ผิด ที่ฝ่าฝืนสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ
                            ๔. ปัจจยสันนิสิตศีล  ได้แก่ การพิจารณาปัจจัยสี่ในขณะรับหรือในขณะบริโภค
                ๑๒๗๗. จตุรงค์  เดิมหมายถึงกองทัพบกครั้งโบราณ จัดเต็มตามอัตราศึกเป็นสี่เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า และเหล่ารราบ เรียกรวมว่า จตุรงคเสนาบ้าง จตุรงคินีเสนาบ้าง ตามควรที่ใช้ในที่นั้น ๆ
                             การจัดกระบวนทัพที่จะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นกองช้างได้นั้น ต้องมีช้างขึ้นระวางอย่างน้อยสามเชือก ช้างเชือกหนึ่ง ๆ ต้องมีคนประจำสิบสองคน แบ่ง๗/ที่กันทำ  กองม้าต้องมีม้าที่ขึ้นระวางเป็นม้าศึกอย่างน้อยที่สุดสามม้า ม้าตัวหนึ่ง ๆ ต้องมีคนประจำสามคนตาม๗/ที่  กองรถต้องมีรถอย่างน้อยสามคัน รถคันหนึ่ง ๆ ต้องมีม้าเทียบคู่สอง หรือคู่สี่ ถ้าเป็นม้าแม่ทัพต้องเป็นคู่สี่ คู่แปด ตามลำดับ และต้องมีคนประจำสี่คน  กองราบต้องมีคนตั้งแต่สี่คนขึ้นไป มีอาวุธครบตามอัตราศึก                  ๗/ ๔๔๔๑
                ๑๒๗๘.จตุรพักตร์พิมาน  อำเภอขึ้น จ.ร้อยเอ็ด ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ โดยให้ยกบ้านหัวช้าง ซึ่งเป็นเขตเมืองของเมืองสุวรรณภูมิ ขึ้นเป็นเมืองจตุรพักตร์พิมาน ขึ้นเมืองมหาสารคาม และในปีเดียวกันได้โอนเมืองมหาสารคามมาขึ้นเมืองร้อยเอ็ดในปี พ.ศ.๒๔๔๓ จึงยุบเมืองจตุรพักตร์พิมานลงเป็นอำเภอ ถึง พ.ศ.๒๔๖๐ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อ.หัวช้าง และในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนมาเป็น อ.จตุรพักตร์มิมานอีก          

              ภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง เหมาะแก่การทำนาและสวน ทำเกลือสินเธาว์  ๗/ ๔๔๔๓
                ๑๒๗๙. จตุรภูมิ  หมายถึง ภูมิของจิต ชั้นหรือพื้นเพของจิตมีสี่ภูมิคือ กามาวจรภูมิ  รูกามาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ
                              จตุรภูมิ ย่อมหมายเอาทั้งภูมิของจิต และภพที่เกิดของสัตว์
                              กามาวจรภูมิ ท่านได้แสดงภูมิที่เกิดของสัตว์ไว้ ๑๑ ภูมิ คือ อบายภูมิสี่ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน ทั้งสี่ภูมินี้เป็นที่เกิดของผู้มีจิต ตั้งอยู่ในกามาวจรภูมิฝ่ายอกุศล สุคติภูมิเจ็ด ได้แก่ มนุษย์ภูมิ และสวรรค์หกชั้น (จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตจรัสวดี) ทั้งเจ็ดภูมินี้เป็นภูมิที่เกิดของผู้มีจิตตั้งอยู่ในภูมิกามาพจร ฝ่ายอกุศล
                              รูปาวจรภพ หรือ รูปภพ รูปโลก พรหมโลก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้นได้แก่ พรหมปาริสัชชะ พรหมปุโรหิต มหาพรหม ทั้งสามชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้ปฐมญาณ  พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา พรหมอาภัสรา ทั้งสามชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้ทุติยญาณ พรหมปริตสุภา พรหมอัปปมาณสุภา พรหมสุภกิณหกา ทั้งสามชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้ตติยญาณ พรหมเวหัปผิละ พรหมอสัญญี ที่เรียกกันว่า พรหมลูกฟัก ทั้งสองชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้จตุตถญาณ พรหมอริหา พรหมอดัปปา พรหมสุทัสสา พรหมสุภัสสี พรหมอกนิฐ ทั้งห้าชั้นนี้เรียกว่า สุทธาวาส เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้อรูปญาณ และมีจิตดำรงอยู่ในภูมิที่ไม่ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีก พระโสดาบัน พวกเอกพิชี พระอนาคามี จะมาบังเกิดในสุทธาวาสนี้
                              อรูปาวจรภพ หรืออรูปภพ อรูปโลก อรูปพรหม แสดงไว้สี่ชั้นคือ อากาสานัญจายตนภพ วิญญาณัญจายตนภพ อาภิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ อรูปภพทั้งสี่เป็นที่เกิดของผู้ได้อรูปฌาณ
                              โลกุตรภูมิ ไม่เรียกโลกุตรภพ เพราะจิตตั้งอยู่ในภูมินี้เป็นอริยภูมิแล้ว          ๗/ ๔๔๔๕
                ๑๒๘๐. จตุรยุค  แปลว่ายุคทั้งสี่ ยุคในที่นี้หมายถึงกำหนดอายุของโลก แบ่งออกเป็นสี่ยุคด้วยกันคือ กฤษดายุค ไตรดายุค ทวามรยุค และกลียุค ก่อนจะถึงแต่ละยุคนั้น จะมีช่วงระยะเวลาหนึ่งมาคั่นเรียกว่า สนธยาแห่งยุค เมื่อหมดสนธยาแห่งยุคแล้วก็จะมีอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งมาคั่นเรียกว่า สนธยางศะแห่งยุค ทั้งสองระยะเวลาดังกล่าว มีช่วงเวลาหนึ่งในสิบของยุคนั้น ๆ ทั้งสี่ยุคดังกล่าวข้างต้นเรียกว่า มหายุค หรือจตุรยุค ถือว่าเป็นหนึ่งกัลป์ คือ เป็นคืนหนึ่งและวันหนึ่งของพระพรหม               ๗/ ๔๔๔๘


    • Update : 25/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch