หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/12

    เล่ม ๕ คมนาคม - คุรุสภา       ลำดับที่ ๘๘๓ - ๑๑๐๕       ๕/ ๒๕๘๗ - ๓๒๕๒

                ๘๘๓. คมนาคม - กระทรวง  กระทรวงคมนาคม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕ โดยมีเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์ (ม.ร.ว.สะท้าน สนิทวงศ์) ดำรงตำแหน่งเสนาบดี หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมใหม่ งานเกี่ยวกับคมนาคม ได้เข้ารวมอยู่ในหน้าที่ของกระทรวงเศรษฐการ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๔ จึงได้จัดตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้นใหม่ โดยมีพันตรี หลวงโกวิท อภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ)
                           ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ กรมรถไฟได้แยกออกเป็นองค์การอิสระเรียกว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานท่าเรือกรุงเทพ ฯ ก็ได้แยกออกเป็นองค์กรอิสระเรียกว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย
                           พ.ศ.๒๔๙๖ สำนักงานรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ หรือ ร.ส.พ.ได้แยกออกเป็นองค์การอิสระเรียกว่า องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์
                           พ.ศ.๒๔๙๗ การโทรศัพท์แยกออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งเป็นองค์การอิสระเรียกว่า องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
                           นอกจากนี้กระทรนวงคมนาคมยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และควบคุมบริษัทต่าง ๆ ด้วยคือ บริษัทขนส่งจำกัด บริษัทเดินอากาศไทยจำกัด และบริษัทไทยเดินเรือทะเลจำกัด           ๕/ ๒๕๘๗
                ๘๘๔. คมบาง - หญ้า  เป็นชื่อเรียกพรรณไม้หลายชนิด ซึ่งขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม มีขอบใบบางคม           ๕/ ๒๕๙๓
                ๘๘๕. คยา  ชื่อเมืองโบราณเมืองหนึ่งในแคว้นพิหาร (มคธเดิม) ประเทศอินเดีย เมืองคยาปัจจุบัน อยู่ทางใต้ของเมืองคยาเดิม พุทธคยาอันเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็อยู่ในเขตของเมืองนี้ไปทางใต้ ประมาณ ๑๐ ก.ม.
                           ชาวฮินดูนับถือว่า เมืองคยาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดได้ทำพิธีศราทธ์ เพื่ออุทิศผลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะได้บุญแรง โดยเล่าเป็นต้นเหตุว่า ณ ที่นี้เคยมีอสูรตนหนึ่งชื่อคยา มีฤทธิ์มาก ร้อนถึงพระวิษณุต้องมาปราบ แล้วได้เหยียบรอยพระบาทไว้เรียกว่าวิษณุบาท เพี้ยนมาเป็นพิษาบาทในปัจจุบัน
                           รอยวิษณุบาทนี้ว่าเดิมเป็นรอยพระพุทธบาท ภายหลังเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง ชาวฮินดูจึงรื้อฟื้นและเปลี่ยนเป็นวิษณุบาทไป
                           พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า คยาเป็นชื่อนิคมหมู่บ้านและชื่อท่าน้ำของสระคยาโบกขรณี ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านนั้น เมืองคยานี้บางทีก็เรียกว่าพรหมคยา เพื่อไม่ให้สับสนกับพุทธคยา           ๕/ ๒๕๙๓
                ๘๘๖. คยาศีรษะ คยาสีสะ  ชื่อภูเขาลูกหนึ่งของเทือกเขาพรหมโยนิ อยู่ทางตอนใต้ของเมืองคยา ที่บริเวณเขาลูกนี้มีเทวาลัยของฮินดู ซึ่งมีรอยพระวิษณุบาทประดิษฐานอยู่หลายแห่ง เดิมเทวาลัยเหล่านี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อม ลัทธิศาสนาฮินดูจึงเข้ามาแทนที่ คยาศีรษะมีเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอยู่มาก เช่น คยากัสสป เป็นน้องคนเล็กของกัสสปสามพี่น้อง มีสำนักอยู่ที่คยาศีรษะ พระเทวทัตชักชวนภิกษุที่บวชใหม่ ๕๐๐ รูป ให้ออกจากเมืองเวสาลี ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ให้ไปตั้งสำนักใหม่ที่คยาศีรษะนี้           ๕/ ๒๕๙๔
                ๘๘๗. ครบุรี  อำเภอขึ้น จ.นครราชสีมา เดิมเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่ง อ.แซะ ขึ้น อ.โชคชัย ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ เรียกว่า อ.ครบุรี ภูมิประเทศเป็นโคกสลับแอ่ง
             ๘๘๘. ครหิ  เป็นชื่อเก่าของเมืองไชยา ซึ่งอยู่ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในเมืองไชยามีโบราณสถาน โบราณวัตถุแบบศรีวิชัย อยู่หลายแห่ง          ๕/ ๒๕๙๔
                ๘๘๙. ครอบครัว  ผู้ร่วมครัวเรือนเดียวกันคือ มีสามีภรรยา และบุตร ครอบครัวลักษณะนี้ในวิชามานุษยวิทยา เรียกว่า ครอบครัวจุดเริ่มต้น ถ้ามีญาติอาศัยอยู่ด้วยเรียกว่า ครอบครัวขยาย ถ้ามีครอบครัวอื่นอยู่ด้วย เรียกว่า ครอบครัวซับซ้อน            ๕/ ๒๕๙๖
                ๘๙๐. ครอบงวม  เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำประเภทจักสานชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปถังสูงพอมือล้วงถึงก้นได้ หัวท้ายสอบกลางป่อง ตรงหัวเปิดทำริมเรียบ แต่ตอนท้ายเปิดตลอด สำหรับครอบสัตว์น้ำ           ๕/ ๒๕๙๖
                ๘๙๑. ครอบจักรวาล  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก พบขึ้นทั่วไปตามไร่ร้าง ใบรูปค่อนข้างกลม ดอกสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ          ๕/ ๒๕๙๗
                ๘๙๒. ครอเฟอร์ด, จอห์น  ดู การาฝัด  (ลำดับที่ ๓๘๘)          ๕/ ๒๕๙๗
                ๘๙๓. ครอมเวลล์ โอลิเวอร์  (พ.ศ.๒๑๔๒ - ๒๒๐๑)  นักการเมืองของอังกฤษได้สร้างชื่อเสียงของตน ในฐานะผู้พิทักษ์ประเทศอังกฤษ เขาได้แสดงบทบาทสำคัญในสงครามกลางเมืองของประเทศอังกฤษ ระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่หนึ่ง แห่งราชวงศ์สจ๊วตกับรัฐสภา (พ.ศ.๒๑๘๕ - ๒๑๙๒)  เริ่มด้วยได้รับแต่งตั้งเป็นนายทหารในกองทัพของรัฐสภา และได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นลำดับ จนได้เป็นแม่ทัพรบชนะกองทัพของฝ่ายพระเจ้าชาร์ลที่หนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๑๘๗ อังกฤษจึงกลายเป็นสาธารณรัฐมาเป็นเวลา ๑๑ ปีเศษ
                          ครอมเวลล์ได้ยุบรัฐสภา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๖  และได้ร่วมมือกับบรรดาแม่ทัพตรารัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งรวมอิงแลนด์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ เป็นสาธารณรัฐ ให้อยู่ในอำนาจปกครองของผู้พิทักษ์ประเทศ ซึ่งปกครองโดยอาศัยสภาสามัญแต่สภาเดียว ครอมเวลล์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้พิทักษ์ประเทศ
                          ครอมเวลล์ได้นำประเทศอังกฤษ ทำสงครามกับเนเธอร์แลนด์ครั้งหนึ่งกับเสปญอีกครั้งหนึ่ง ได้ชัยชนะทั้งสองครั้ง          ๕/ ๒๕๙๗
                ๘๙๔. ครั่ง ๑  เป็นยางธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งถ่ายออกมาจากตัวแมลงครั่ง ซึ่งมีขนาดโตเท่าตัวไร ชีวิตโดยใช้ปากดูดน้ำเลี้ยง จากต้นไม้เป็นอาหาร เมื่อตัวครั่งเจริญเติบโตขึ้นลำตัวของมัน จะเต่งโตเป็นสีแดงเลือดนก ระบายน้ำครั้งเหนียว ๆ ออกทำรังหุ้มตัวมัน รังครั่งใช้เป็นสินค้าซื้อขายกัน          ๕/ ๒๕๐๑
                ๘๙๕. ครั่ง ๒  เป็นชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง เรียกกันโดยทั่วไปว่าเอื้องครั่ง เอื้องน้ำครั่ง เป็นกล้วยไม้ชนิดทิ้งใบ ออกเป็นกอ ชอบขึ้นบนต้นไม้ในป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือทั่วไป ดอกออกตามลำที่ทิ้งใบหมดแล้ว เป็นช่อสั้น ออกตามข้อปลาย ๆ ลำ กลีบดอกสีม่วงแดง          ๕/ ๒๕๐๖
                ๘๙๖. คราเคาว์  เป็นชื่อเมืองในประเทศโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของแคว้นคราเคาว์ ทางภาคใต้ของโปแลนด์ กล่าวกันว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๒๔๐  ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ได้เป็นที่ประทับของกษัตริย์โปแลนด์ จนถึงปี พ.ศ.๒๑๕๒ จึงได้ย้ายราชธานีไปอยู่เมืองวอซอว์ มีมหาวิทยาลัยเก่าแก่ตั้ง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๗ ซึ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มากแห่งหนึ่งของยุโรปสมัยกลาง          ๕/ ๒๖๐๐
                ๘๙๗. คราง - หอย  เป็นหอยน้ำเค็มชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายหอยแครง แต่ต่างชนิดกัน           ๕/ ๒๖๐๗
                ๘๙๘. คราด ๑  ชื่อพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง พบขึ้นทั่วไปตามทุ่งนา และที่ชื้น ๆ ดอกสีเหลืองบางทีเรียกคราดหัวแหวน ส่วนคราดทะเลเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ทอดไปตามต้นไม้อื่น ดอกสีเหลืองพบตามป่าเชิงทรง ที่น้ำทะเลขึ้นถึง          ๕/ ๒๖๐๗
                ๘๙๙.  คราด ๒  คือสิ่งที่ใช้กอบโกยวัตถุที่หลุดร่วง และแยกตัวได้ เช่น ขยะมูลฝอย หรือเป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุบางอย่างหลุดร่วง แตกแยกออกได้ เช่น การพรวนดินให้ร่วนซุย จึงเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการเตรียมดิน ทำนา ทำไร่ ทำสวน
                           คราดเป็นครุภัณฑ์ ที่มีหลายขนาดและต่างรูปลักษณะ คราดหรือรูปของคราด ยังเป็นสัญลักษณะของผู้ประกอบการ เกษตรกรรมอีกด้วย          ๕/ ๒๖๐๗
                 ๙๐๐. คราดหอยแครง  เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ทำเป็นตะกร้ารูปกลมครึ่งท่อน ทำด้วยลวดตาข่าย          ๕/ ๒๖๒๔
                 ๙๐๑. คราบ  เป็นหนังสือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิด ที่ลอกออกได้ เช่น คราบงู คราบกุ้ง เปลือกนอกดังกล่าวนี้เป็นเครื่องปกคลุมร่างกายอย่างหนึ่งที่ตายแล้ว และสัตว์จำต้องสลัดออกทิ้ง เพื่อร่างกายจะได้เติบโตขึ้นได้ จะเห็นได้ทั้งในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ส่วนแมลงบางชนิด ก็ลอกคราบเหมือนกัน เพื่อความเจริญเติบโตจากตัวอ่อน เป็นตัวแก่และภาวะความเป็นอยู่ของแต่ละชนิด          ๕/ ๒๖๒๕
                ๙๐๒. คราม  เป็นชื่อเรียกพรรณไม้หลายชนิด เป็นไม่พุ่มขนาดย่อม โดยทั่วไปใช้เรียกพรรณไม้ ซึ่งเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ปลูกกันเพื่อทำครามผง ใช้ย้อมผ้า ตามปรกติตัดต้นเมื่อออกดอกเริ่มผลิ นำเอาไปแช่หมักทำคราม
                          ใบเป็นช่อ มีใบย่อยมาก ดอกสีขาว แดง ชมพู หรือม่วง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ผลเป็นฝักกลมตรงเกลี้ยง หรือมีขน          ๕/ ๒๖๒๖
                ๙๐๓. คร่ำ - น้ำ  คือน้ำขับถ่าย ซึ่งส่วนมากมาจากถุงหุ้มทารก ซึ่งเรียกว่าถุงน้ำคร่ำ อยู่ในมดลูก ครั้งแรกน้ำคร่ำมีลักษณะใส ต่อมาจะมีสีขุ่นเล็กน้อย น้ำคร่ำมีหล่อรอบตัวเด็ก เมื่อทารกครบกำหนดคลอดจะมีประมาณ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เซ็นติเมตร และบางรายอาจถึง ๒,๐๐๐ ลูกบาศ์กเซนติเมตร
                         น้ำคร่ำมีประโยชน์ช่วยหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ มิให้เกิดอันตรายจากการกระทบกระเทือนจากภายนอก ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก ตลอดจนทำหน้าที่คล้ายลิ่ม ช่วยขยายปากช่องคลอดขณะเมื่อเด็กจะคลอด และเมื่อเด็กคลอดแล้ว ก็ช่วยชำระล้างช่องคลอดให้สะอาด รวมทั้งมีฤทธิ์ฆ่าจุลินทรีย์ได้บ้าง ซึ่งช่วยป้องกันเชื้อโรค มิให้เข้าสู่ช่องคลอด หรือเข้าสู่ทารกได้ง่าย ตามธรรมดาถุงน้ำคร่ำจะแตก เมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว
                          น้ำคร่ำ มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย ถ้มีน้ำคร่ำมากไป จะมีอาการที่เรียกว่า แฝดน้ำ ถ้ามีน้อยไปทารกอาจพิการ แต่กำเนิดได้           ๕/ ๒๖๒๘
                ๙๐๔. คริกเก็ต  เป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันมาก ในประเทศอังกฤษ จนถือว่าเป็นกีฬาประจำชาติของอังกฤษ ปัจจุบันแพร่หลาย และนิยมเล่นกันในประเทศ ในเครือจักรภพอังกฤษ มีประวัติว่ากีฬาประเภทนี้ได้เล่นกันมา ในประเทศอังกฤษ เมื่อ ๒๕๐ กว่าปีมาแล้ว
                         คริกเก็ต เป็นกีฬาที่เล่นแข่งขันกันระหว่างสองชุด ชุดหนึ่งมีสิบเอ็ดคน และผลัดกันเป็นฝ่ายตี และฝ่ายจับลูก           ๕/ ๒๖๒๙
                ๙๐๕. คริสต์    เป็นนามที่ยกย่องพระเยซู ผู้เป็นศาสดาในศาสนาคริสต์ คริสต์เป็นคำภาษากรีกแปลว่า พระผู้ได้รับเจิมแล้ว บริสุทธิ์แล้ว ถ่ายความหมายจากคำเมสสิอาห์ ในภาษาเฮบรู ซึ่งจะมาอุบัติในโลก เพื่อให้เป็นไปตามคำทำนายดังมีอยู่ ในคัมภีร์เก่า ของคัมภีร์ไบเบิล           ๕/ ๒๖๓๙
              ๙๐๖. คริสตมาส    เป็นเทศกาลเนื่องด้วยการประสูตของพระเยซูคริสต์ ซึ่งกำหนดเอาวันที่ ่ ๒๕ ธันวาคม โป๊ป เซนต์ ยูเลียน เป็นผู้กำหนด ในคริสตศตวรรษที่ ๔           ๕/ ๒๖๓๙
                      นักปราชญ์มีความเห็นว่าวันที่ ๒๕ ธันวาคม เป็นวันอันเนื่องด้วยเหมายันสงกรานต์ (วันดวงอาทิตย์ปัดใต้สุด) ซึ่งประชาชนในทวีปยุโรป แต่สมัยโบราณก่อนมีศาสนาคริสต์กำหนดเป็นวันฉลองประจำปีมาแล้ว
              ๙๐๗. คริสตัง คริสเตียน  ผู้ที่นับถือคริสตศาสนาหรือบางทีก็แปลว่าผู้ซึ่งมีภาคส่วนของพระเยซูคริสต์อยู่ในตน
                      คริสตังเป็นคำที่เรียกกันในหมู่คริสต์ชนนิกายโรมันคาทอลิก และคริสเตียนเป็นคำที่เรียกกันในหมู่คริสต์ชนนิกายโปรเตสตันต์         ๕/ ๒๖๔๐
              ๙๐๘. คริสตศักราช    คือเวลาที่ล่วงเลยมานับตั้งแต่วันประสูติของพระเยซูคริสต์ มีจำนวนน้อยกว่าพุทธศักราช ๕๔๓ ปี           ๕/ ๒๖๔๐
              ๙๐๙. คริสต์ศาสนา    ศาสนาที่ถือเอาคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์และสาวกเป็นหลักในทางปฏิบัติ และดำเนินจริยาความประพฤติ
                      ๑. มีหลักแห่งความเชื่อในพระเจ้าซึ่งมีองค์เดียวเท่านั้น มนุษยชาติย่อมมีทุกข์เพราะทำบาป บาปในที่นี้หมายถึงการฝ่าฝืนบัญญัติข้อห้ามที่พระเจ้ากำหนดไว้ บาปนั้นมีสองอย่างคือบาปมาแต่กำเนิด และบาปที่บุคคลฝ่าฝืนกระทำลงไปอันเป็นปัจจัยให้บุคคลไม่มีโอกาสได้รับใช้และอยู่รวมกับพระเจ้า เพราะพระเจ้าเกลียดชังและไม่พอใจคนที่ทำบาป และบุคคลนั้นอาจได้รับโทษอยู่ตลอดไปในอนาคต ไม่มีวันสิ้นสุด
                      ๒. มีหลักความเชื่อคือ การไถ่โทษ ให้พ้นบาป  มนุษย์โดยลำพังไม่สามารถจะไถ่โทษบาปตนเองได้ พระเจ้าจึงตรัสสั่งพระบุตรของท่านลงมาไถ่โทษบาปแทนมนุษย์ และช่วยผู้ที่ทำบาปให้พ้นทุกข์ทรมาน  กระทำให้บุคคลกลับเป็นผู้บริสุทธิ์ มีโอกาส
                      ๓. มีหลักเรียกว่า ไตรเอกานุภาพ มีความเชื่อในพระเจ้า พระบุตร และพระจิต ว่าแม้แยกออกเป็นสาม แต่ก็เป็นหนึ่งเดียวกัน
                      ๔. มีหลักแห่งความภักดี คือมอบกายถวายชีวิตและจิตใจไว้ในพระเจ้าอย่างแน่วแน่
                      ๕. มีหลักแห่งความรอดพ้น โดยมีความเชื่อและความภักดีในความกรุณาของพระเจ้า และที่พระคริสโตลงมาเกิดเป็นมนุษย์ และถูกตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นชีวิต ก็เพื่อไถ่โทษบาปเดิมของมนุษย์ซึ่งอาดัม และเอวา มนุษย์ชายหญิงคู่แรกที่พระเจ้าสร้างขึ้น และได้ทำบาปฝ่าฝืนพระเจ้าไว้นั้นให้หมดไป จึงจัดว่าเป็นความกรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า          ๕/ ๒๖๔๐
                ๙๑๐ ครึต  เป็นชื่อเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของทะเลนี้ มีพื้นที่ประมาณ ๘,๓๐๐ ตารางกิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกรีก นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีความยาวประมาณ ๒๕๖ กม.และกว้าง ๑๐-๕๕ กม. ภูมิประเทศเป็นภูเขาเกือบทั้งหมดมีที่ราบแคบๆตามชายฝั่งทะเล
                       ในทางประวัติศาสตร์ เกาะนี้เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณของยุโรปซึ่งมีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาลที่เรียกว่า วัฒนธรรมไมนวน ต่อมาเมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล จึงได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของกรีก เมื่อพวกโรมันมีอำนาจเหนือกรีก เกาะนี้ได้เปลี่ยนมาอยู่ในปกครองของอาณาจักรไบแซนไตน์ ในระหว่างปี พ.ศ.๑๓๖๖ - ๑๔๐๔ พวกซาราเซ็นได้เข้ามามีอิทธิพลอยู่มาก จนสงครามครูเสดครั้งที่สี่ จึงได้ตกเป็นของเวนิส ในปี พ.ศ.๑๗๔๗ และได้ตั้งชื่อว่า แกนเดีย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๑๒ เกาะนี้ ตกเป็นของเตอรกี  ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ เกิดสงครามกรีกกับเตอรกี แม้ว่ากรีกจะแพ้แต่เตอรกีก็ถูกชาติมหาอำนาจคืออังกฤษ ฝรั่งเศสรุสเซ๊ยและอิตาลี บังคับให้ถอนออกจากเกาะ และให้เกาะนี้มีฐานะเป็นอิสระอยู่ในอธิปไตยของเตอรกี โดยมีข้าหลวงใหญ่ที่ชาติมหาอำนาจแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลปกครอง
                         ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ เกิดปฏิวัติในประเทศเตอรกีชาวเกาะครีตจึงถือโอกาศประกาศแยกตัวจากเตอรกีมารวมกับกรีก           ๕/ ๒๖๔๑
                ๙๑๑ ครีษมายัน  เป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ปัดเหนือสุด เห็นเป็นดวงเล็กซึ่งดูประหนึ่งว่าถึงจุดหยุด ไม่เคลื่อนที่อีกต่อไป คือ ประมาณวันที่ ๒๒ มิถุนายน มีเวลากลางวันนานกว่ากลางคืน (มากที่สุด - เพิ่มเติม) ตรงข้ามกับเหมายัน ซึ่งดวงอาทิตย์ปัดใต้สุด เห็นเป็นดวงโต มีเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน (มากที่สุด - เพิ่มเติม)          ๕/ ๒๔๖๒
                ๙๑๒. ครืดคราด - ปลา  เป็นชื่อเรียกปลาทะเลสองชนิดที่อยู่ต่างสกุลกัน แต่มีชื่อพ้องกันคือปลากะพงแสม หรือออดแอด และปลาข้างตะเภาข้างลายพรมมะพร้าว หรือออดแอด          ๕/ ๒๖๔๒
                ๙๑๓. ครุฑ  พญานกมีรูปเป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งนกอินทรี เป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ (นารายณ์) เป็นโอรสพระกัศยปมุนี และนางวินตา อีกตำราว่าเป็นโอรสพระกัศยป และนางทิติ
                        ครุฑ เมื่อแรกเกิดร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตาเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกบรรดาขุนเขา ก็ตกใจต้องปลาตหนีไปพร้อมกับพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดังไฟไหม้ ทั่วทั้งสี่ทิศทำให้ทวยเทพต้องตกใจ สำคัญว่าเป็นพระอัคคีต่างพากันมาบูชาครุฑ เพื่อขอความคุ้มครองจากครุฑ
                        ครุฑเป็นศัตรูกับพญานาค เหตุเกิดเพราะนางวินตา มารดาครุฑทะเลาะกับนางกทรู มารดาพวกพญานาค เมื่อคราวครุฑแต่งงาน พวกพญานาคเกรงว่าถ้าครุฑมีผู้สืบเชื้อสายเมื่อใด ก็จะเป็นภัยแก่พวกนาค จึงยกพวกไปหวังไปสังหารครุฑ แต่ถูกครุฑฆ่าพวกพญานาคตายเกือบหมด เหลือรอดอยู่เพียงตัวเดียว ซึ่งครุฑเอามาคล้องเป็นสังวาล
                        ในมหากาพย์มหาภารต เล่าเรื่องต้นเหตุครุฑถ่ายโทษมารดา ให้พ้นจากเป็นทาสีของนางกทรู และเป็นต้นเหตุที่มาเป็น เทพพาหนะของพระวิษณุ
                        ทางวรรณคดีพุทธศาสนากล่าวว่า ครุฑมีขนาดใหญ่มาก เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่ บางทีครุฑแปลงกายเป็นมานพไปเล่นสกา กับพระเจ้าแผ่นดินแล้วลักมเหสีไปเช่นในเรื่องกากี สุสันธีชาดก และกากาติชาดก ที่อยู่ของครุฑเป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลี หรือต้นงิ้ว ซึ่งอยู่ยังเชิงเขาพระสุเมรุ          ๕/ ๒๖๔๓
                   ๙๑๔. ครุฑพ่าห์ - พระ  พระราชลัญจกรองค์หนึ่งของพระเจ้าแผ่นดิน เดิมเป็นพระราชลัญจกรประจำชาติ และประจำครั่งว่า สำหรับผนึกพระราชสาสน์ และหนังสือสัญญานานาประเทศ
                        เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔ โปรดให้ใช้ตราพระครุฑพ่าห์ เป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในหนังสือสำคัญทั่วไป
                        พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ ได้เปลี่ยนแปลงรูปและการใช้มาโดยลำดับ มาในรัชกาลที่หก ทรงใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เป็นตราประจำรัชกาล แล้วเปลี่ยนมาใช้เป็นตราแผ่นดินตลอดมาจนบัดนี้          ๕/ ๒๖๕๐
                   ๙๑๕. ครุฑพ่าห์ กระบี่ธุช - ธง  ในปีต้นแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ มีภิกษุสงฆ์นำของโบราณเป็นแผ่นสัมฤทธิ์ รูปพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ ซึ่งขุดได้ที่พระประโทนมาถวาย พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงศ์ ทรงคิดเครื่องประกอบเป็นธงกระบี่ธุชครุฑพ่าห์น้อยขึ้น
                        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ราชองครักษ์เชิญธงกระบี่ธุช ครุฑพ่าห์น้อยนำเสด็จ ฯ หารบกเชิญธงกระบี่ธุชอยู่ขวา ทหารเรือเชิญธงครุฑพ่าห์อยู่ซ้าย ในการเสด็จ ฯ กระบวนราบ แต่ถ้าเสด็จขบวนม้า จึงให้องครักษ์ทหารบกเชิญทั้งสองนาย
                        ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๒ กระทรวงวังได้กราบบังคมทูลเรียนพระราชปฎิบัติ ระเบียบการเชิญธงว่า ธงพระครุฑพ่าห์ควรอยู่ขวา ธงกระบี่ธุชควรอยู่ซ้าย โดยถือหลักประเพณีเดิม ซึ่งมีอยู่ในโคลงพระราชพิธีทางทศมาส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนเสียให้ถูก กระทรวงวังจึงได้ถือเป็นหลักปฎิบัติ และเรียกว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ และธงชัยพระครุฑพ่าห์ จนบัดนี้           ๕/ ๒๖๕๔
                   ๙๑๖. ครุย - เสื้อ  เป็นชื่อเสื้อคลุมประดับเกียรติยศ และหน้าที่ในพระราชพิธี
                        เสิ้อครุยได้เริ่มใช้ในประเทศไทย แต่เมื่อใดยังหาหลักฐานไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็คงไม่ต่ำกว่าแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑)          ๕/ ๒๖๖๓
                   ๙๑๗. ครุศาสตร์ ๑  สรรพวิชาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน และสาขาวิชาอื่น ที่เกี่ยวข้องเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องถึงความรู้ และประสพการณ์ทางการศึกษาทั้งมวล วิชานี้ควรเปิดสอนเฉพาะในสถาบันการศึกาาขั้นอุดม หรือเทียบเท่า เป็นคำที่พัฒนามาจากคำเดิมว่า วิชาครู           ๕/ ๒๖๗๑
                   ๙๑๘. ครุศาสตร์ ๒  ชื่อคณะหนึ่งในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทำการสอนฝึกหัดอบรมผู้ที่ต้องการเป็นครู หรือประกอบอาชีพอื่นที่เกี่ยวกับการศึกษา          ๕/ ๒๖๗๑
                   ๙๑๙. ครูเทพ  คือนามปากกาของมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา พ.ศ.๒๔๑๙ - ๒๔๘๖)  เป็นนักเรียนฝึกหัดอาจารย์รุ่นแรก สำเร็จการศึกษา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗  ออกมารับราชการครู จนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๙ จึงได้ไปศึกษาวิชาครูเพิ่มเติม ที่อังกฤษอีกสามปี แล้วกลับมารับราชการที่กระทรวงธรรมการ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๕๙ ได้เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
                        เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ และได้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของประเทศไทย
                        เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นบุคคลสำคัญยิ่งผู้หนึ่งที่ได้วางรากฐานการศึกษาของชาติ ท่านเป็นทั้งนักการศึกษา นักปราชญ์ นักหนังสือพิมพ์ นักกีฬา นักดนตรี และนักประพันธ์ ท่านได้แต่งแบบเรียนต่าง ๆ ไว้มาก เช่น ชุดแบบสอนอ่านใหม่ ชุดแบบสอนอ่านภาษาไทย ชุดแบบสอนอ่านธรรมจริยา ตำราเรียนเรขาคณิต พืชคณิต และตำราวิชาครู ตรรถวิทยา ฯลฯ            ๕/ ๒๖๗๒
                   ๙๒๐. ครูเสด - สงคราม  เป็นสงครามศาสนาระหว่างชนชาวยุโรป ซึ่งเป็นคริสต์ศาสนิกชนกับพวกมุสลิม ในดินแดนตะวันออกกลาง สาเหตุเนื่องมาจากว่า ในสมัยที่พวกมุสลิมทำการเผยแพร่ศาสนาอิสลามนั้น ในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (คริสตศตวรรษที่ ๑๑)  พวกเซลจุก เตอร์ก ยิวเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม พวกเหล่านี้เป็นนักรบที่เข้มแข็ง ทำการแพร่ศาสนาอิสลามเข้มงวดขึ้น และได้เข้ารุกรานครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของคริสตศาสนา อันมีกรุงเยรูซาเลม ในประเทศปาเลสไตน์ หรือประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ทำให้ชาวยุโรปซึ่งเดินทางไปนมัสการปูชนียสถานในกรุงเยรูซาเลม ประสบความลำบาก และได้นำข่าวความโหดร้ายทารุณ ที่พวกคริสเตียรในแดนนั้นได้รับ จากพวกเตอร์ก
                        เหตุนี้ชาวยุโรปจึงมีใจเป็นศัตรูกับพวกเตอร์ก เมื่อมีเหตุจูงใจคือ จักรพรรดิโรมันตะวันออก หวังจะป้องกันและกู้ดินแดนของจักรวรรดิ์จากพวกมุสลิม ได้ยื่นถวายคำต้องต่อสันตปาปา ขอให้ช่วยกีดกันมิให้พวกนอกศาสนา เข้ารุกรานกรุงคอนสแตนติโนเปิล พระสันตปาปาจึงเชิญคณะบาทหลวงเจ้านาย และขุนนางทั้งปวงมาประชุมกัน ณ เมืองหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส ชักนำให้ไปทำการรบเพื่อเทิดทูนศาสนาของตน สันตปาปาได้จัดทำธงเขียนรูปกางเขน ให้ผู้ที่จะไปสงครามศาสนาถือ ด้วยเหตุที่รูปกางเขนนี้ ภาษาลาตินว่า ครูส จึงเกิดคำว่า ครูเสด คือ สงครามเพื่อไม้กางเขน
                        สงครามครูเสดนี้ มีหลายครั้งหลายหนด้วยกัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ที่ถือว่าสำคัญมีอยู่ ๘ ครั้ง
                        ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๑๖๓๙ - ๑๖๔๒  แบ่งออกเป็นสองตอน ตอนแรกพวกชาวยุโรปออกเดินทางไป โดยไม่รู้ทิศทาง ไปทางยุโรปภาคตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งจะไปรบคนนอกศาสนาซึ่งยังไม่รู้แน่ว่า เป็นผู้ใดจึงไปรบพุ่งกับพวกคริสเตียนด้วยกัน ตามทางผ่านเสียก็มาก พวกที่เหลือไปถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล จักรพรรดิ์ได้ช่วยพวกที่มาให้เข้าไปถึงแดนทวีปเอเชีย พวกเหล่านี้ถูกฆ่าฟันล้มตายเงียบหายไป
                        ตอนที่สอง  พวกที่ยกไปเป็นพวกนักรบจากฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ มีนักรบจากเยอรมัน และอิตาเลียน รวมไปด้วยบ้าง พวกนี้ยกไปจนถึงกรุงเยรูซาเลม และยึดได้ดินแดนบางส่วนของปาเลสไตน์ ซีเรีย และเอเชียไมเนอร์ แล้วจัดตั้งเป็นราชอาณาจักรของพวกคริสเตียนขึ้นให้ชื่อว่า ราชอาณาจักรแห่งกรุงเยรูซาเล็ม ได้รักษาตัวต่อมาถึงปี พ.ศ.๑๖๘๗ (ค.ศ.๑๑๔๔)  ก็ต้องเสียดินแดนส่วนใหญ่ไปแก่พวกมุสลิม ซึ่งกลับรวบรวมกันแข็งขันขึ้นอีก
                        ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๑๖๙๐ - ๑๖๙๒  เป็นสงครามเพื่อจะกู้ดินแดนของราชอาณาจักรละตินแห่งกรุงเยรูซาเลมกลับคืน บุคคลสำคัญที่นำทัพไปคือ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ แห่งประเทศฝรั่งเศส และจักรพรรดิ์คอนราดที่สาม แห่งจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
                        ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๑๗๓๒ - ๑๗๓๕  ระยะนี้ฝ่ายมุสลิมมีประมุขใหม่ ผู้สามารถมีนามว่า ซาละดิน ได้รบพุ่งชิงดินแดนที่ยังคงเหลือ เป็นของพวกคริสเตียนอยู่ไปได้อีกเป็นอันมาก เมื่อข่าวไปถึงยุโรปกษัตริย์หลายองค์ ถือเป็นหน้าที่ที่จะช่วยกู้ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมา จึงจัดเป็นทัพกษัตริย์ยกไปรบ ประกอบด้วย เฟรเดอริก บาร์บารอสสา เป็นกษัตริย์เยอรมันและจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ได้ประสบอุบัติเหตุจมน้ำสิ้นพระชนม์ ในดินแดนเอเชียไมเนอร์ ทัพเยอรมันจึงยกกลับ ฝ่ายทัพฝรั่งเศสมีกษัตริย์ฟิลิป ออกัสตัส เป็นแม่ทัพยกไป ทัพอังกฤษมีพระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์ เป็นแม่ทัพ ไปรบอยู่ไม่นานสองกษัตริย์เกิดวิวาทกัน พระเจ้าฟิลิป ออกัสตัส ยกทัพกลับ พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ ได้ต่อสู้ไปตามลำพัง ในที่สุดทั้งสองฝ่ายได้เจรจาพักรบและสงบศึกต่อกัน ในระหว่างนี้พวกคริสเตียนได้เป็นรับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐาน ครอบครองดินแดนเล็ก ๆ ชายฝั่งทะเล และได้เข้านมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเยรูซาเล็มได้ด้วยความสะดวก เป็นที่พอใจของพวกคริสเตียนมาก
                        ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๑๗๔๕ - ๑๗๔๗  เริ่มจากการที่ได้มีชนชั้นสูงชาวยุโรป เดินทางไปถึงเมืองเวนิส เพื่อขอจ้างเรือขนทหารไปรบอิจิปต์ เพื่อตัดกำลังพวกมุสลิมทางด้านนั้นก่อน แต่ชาวเวนิสเรียกค่าจ้างแพงมาก ชาวเวนิสกลับขอให้พวกนักรบไปช่วยตีเมืองหนึ่ง ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของเวนิสให้ก่อน จึงจะขนส่งทหารให้นักรบครูเสด ก็ทำตามทั้งที่ไปรบกับผู้ที่เป็นคริสเตียนด้วยกัน นอกจากนั้นยังชวนให้ไปช่วยจักรพรรดิ์แห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล ไปปราบคู่แข่งของพระองค์ ทั้งนี้เพื่อเวนิสจะได้รับรางวัลเป็นผลประโยชน์ทางการค้า ในจักรวรรดิ์โรมันตะวันออก
                        ครั้งที่ ๕ พ.ศ.๑๗๖๑ - ๑๗๖๔  สันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๓ ได้ชักชวนในชาวยุโรปไปรบพวกมุสลิมทางอิจิปต์ไปยึดเมืองแดมิเอตตา ในอิจิปต์ได้ในปี พ.ศ.๑๗๖๒ แต่รักษาไว้ไม่ได้ถูกมุสลิมชิงกลับไป
                        ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๑๗๗๑-๑๗๗๒  จักรพรรดิเฟรเดอริกที่ ๒  ผู้ครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้นำทัพ สงครามครั้งนี้ไม่มีการรบพุ่งกันเลย พระองค์ได้เปิดเจรจากับสุลต่านแห่งอีจิปต์ เป็นผลให้พวกคริสเตียนไดรับอนุญาตให้เข้าตั้งอยู่ในดินแดนบางส่วนได้ โดยสะดวกสบาย แม้ว่าดินแดนนั้นยังเป็นของมุสลิม
                        ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๑๗๙๑ – ๑๗๙๗  พระเจ้าหลุยส์ที่ ๙ แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้รับข่าวพวกมุสลิมกลับยึดครองกรุงเยรูซาเล็มได้อีก จึงนำทัพไปแต่เมื่อไปถึงอีจิปต์เรือก็อับปาง ต้องเสด็จกลับ
                        ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๑๘๑๓  พระเจ้าหลุยส์ที่ ๙ พยายามไปทำสงครามครูเสดอีก โดยไปทางตูนิส หรือคาร์เธจ เดิม บนฝั่งทะเลภาคเหนือของอัฟริกา แต่ไปสิ้นพระชนม์ที่เมืองนั้น ด้วยแรงศรัทธาดังกล่าว ทางการศาสนาจึงถวายพระเกียรติยศ และยกย่องพระองค์เป็น เซนต์ หลุยส์
                        ระยะเวลาทำสงครามครูเสด เป็นเวลาทั้งสิ้นประมาณ ๒๐๐ ปี และสิ้นสุดลงด้วยการประนีประนอม ให้พวกคริสเตียนได้รับความสะดวกในการเข้านมัสการปูชนียสถาน แต่ดินแดนยังอยู่ในครอบครองของพวกมุสลิม
                   ๙๒๑. คฤนถ์  ตัวหนังสือที่ใช้เขียนอยู่ในตำราพราหมณ์ของไทย อันได้แบบจากตัวอักษรครันถ์ของทมิฬ ในอินเดียตอนใต้ ตัวอักษรโบราณของมอญ  และของเขมร ซึ่งเรียกว่า ขอมโบราณ หรือ คฤนถ์ ดังปรากฏอยู่ในศิลาจารึก “เย ธมฺมา ฯ “ ก็ว่าสืบมาจากตัวอักษรครันถ์นี้
                         โดยเหตุที่ตัวอักษรเดิมของทมิฬ มีพยัญชนะน้อยกว่าตัวอักษรเทวนาครี ของภาษาสันสกฤต เมื่อต้องการจะเขียน ถ่ายเสียงจากภาษาสันสกฤตด้วยอักษรทมิฬ ก็ติดขัด จึงได้คิดอักษรพราหมี สมัยพระเจ้อโศกมหาราช เพื่อให้เข้ากันได้กับตัวเทวนาครี ตัวอักษรนี้คือ ที่เรียกว่า ครันถ์
                   ๙๒๒. คฤหยสูตร  ตำรับดูมือของชาวฮินดู อันว่าด้วยกิจพิธีของบุคคลในครอบครัว ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งแต่งงาน
                   ๙๒๓. คลอง  คำนี้มีปรากฎอยู่ในภาษามอญ ยังไม่พบในค่าไทยเดิม ตามความหมายที่ใช้กันอยู่เป็นปรกติหมายถึง ทางน้ำ แต่ที่ใช้หมายถึงทางทั่ว ๆ  ไปก็มี เช่น ที่พูดว่า คลองธรรม คลองเลื่อย         ทางปักษ์ใต้เรียกทางน้ำที่เป็นเองคือ แม่น้ำสายเล็ก ๆกว่าคลอง  ๕/ ๒๖๘๑
                   ๙๒๔. คลองขลุง  อำเภอขึ้น จ.กำแพงเพชร เดิมเป็นกิ่งอำเภอ ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ได้ย้ายสับเปลี่ยนที่ว่าการกับ อ.ขาณุ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่ง อ.แสนตอ ต่อมาถึงปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อ.คลองขลุง ภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีป่าบ้างเป็นบางตอน          ๕/๒๖๘๗
                   ๙๒๕. คลองท่อม อำเภอขึ้น จ.กระบี่ เดิมขึ้น จ.นครศรีธรรมราช แยกมาขึ้น จ.กระบี่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ ภูมิประเทศตอนเหนือเป็นป่า ตอนกลางเป็นป่ากับทุ่งสลับกัน มีเขาเป็นเขตพรมแดนติดต่อกับ จ.นครศรีธรรมราช       ๕/ ๒๖๘๙
                   ๙๒๖. คลองสาน  อำเภอ ขึ้น จ.ธนบุรี (เดิม)  เดิมเรียก อ.บางลำพูล่าง เปลี่ยนชื่อเป็น อ.คลองสาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ ยุบเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้น อ.ธนบุรี และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำสวนผลไม้ยืนต้น มีป้อมโบราณคือ ป้อมป้องปัจามิตร        ๕/ ๒๖๙๑
                   ๙๒๗. คลองหลวง  อำเภอขึ้น จ.ปทุมธานี ท้องที่ อ.คลองหลวง เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเป็นป่าหญ้า ป่าพง ป่าแขม และปาตะวาง มีสัตว์ป่าชุกชุม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ บริษัทขุดคลอง และคูนาสยาม ได้ทำการขุดคลองซอยขึ้นเจ็ดคลอง ราษฎรจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐาน เพื่อประกอบอาชีพในทางทำนา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ จึงได้ตั้งที่ว่าการอำเภอ และสถานีตำรวจขึ้น เรียกว่า อ.คลองหลวง          ๕/ ๒๖๙๒
                   ๙๒๘. คลองใหญ่  อำเภอ ขึ้น จ.ตราด เดิมเป็นกิ่งอำเภอขึ้น อ.เมืองตราด เป็นอำเภอชายแดน ต่อกับประเทศกัมพูชา ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๒ มีอาณาเขตทางทิศใต้และตะวันตก ตกทะเลในอ่าวไทย ทิศตะวันออกจดประเทศกัมพูชา           ๕/ ๒๖๙๕
                             ภูมิประเทศส่วนมากเป็นที่ลุ่มตามชายอ่าวไทย และเป็นป่าไม้
                   ๙๒๙. คลอรีน  เป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีผู้พบเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ แรกทีเดียวเข้าใจว่าเป็นออกซิเจน ต่อมาจึงมีผู้ตั้งชื่อว่า คลอรีน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๓
                             คลอรีนใช้ทำประโยชน์ได้มาก แต่ก็เป็นธาตุที่มีพิษมาก ประโยชน์ที่สำคัญคือ ใช้เป็นสารฟอกจาง และใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรค           ๕/ ๒๖๙๕
                   ๙๓๐. คอลโรฟิลล์  นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ตั้งชื่อนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๑ คอลโรฟิลล์ มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการทางเคมีที่พืชสีเขียว สร้างอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล และแป้ง เป็นต้น คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นตัวคะตะไลต์ และสำหรับดูดพลังงานจากแสงแดด แสงสีน้ำเงินแกมม่วง และสีแดงจะถูกดูดไว้มากที่สุด ส่วนแสงสีเขียวจะสะท้อนออกมา จึงทำให้คลอโรฟิลล์มีสีเขียว           ๕/ ๒๖๙๗
                   ๙๓๑. คลัง ๑ - การ  คำว่าคลังโดยทั่ว ๆ ไป หมายถึง สถานที่เก็บของเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น  คลังพัสดุและคลังสินค้า หรือสถานที่เก็บทรัพย์สมบัติของหลวง หรือสถานที่สำหรับเก็บรักษา และรับจ่ายเงินของแผ่นดิน บางครั้งหมายถึงกระทรวงการคลัง และบางครั้งหมายถึง เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลัง เช่น คลังเขต คลังจังหวัด คลังอำเภอ ซึ่งปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน
                          ส่วนคำว่า การคลัง ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน หมายความถึง การเงินของรัฐบาล หรือการเงินของแผ่นดิน
                          ในสมัยก่อนรายได้ของรัฐ หมายความถึงรายได้ของพระมหากษัตริย์ และโดยที่รายจ่ายของพระองค์ ส่วนใหญ่จ่ายโดยการพระราชทานที่ดิน และรายได้อันเกิดจากที่ดินที่พระราชทาน รายได้ที่เป็นตัวเงินจริง ๆ  จึงไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าใดนัก ในด้านการบริหารงานของประเทศนั้น พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจที่จะเรียกเอาบริการมาได้
                          นับแต่ปี พ.ศ.๒๓๙๕ เป็นต้นมา การคลังของประเทศไทยค่อย ๆ เปลี่ยนโฉมหน้าโดยที่รายจ่ายของรัฐจำต้องจ่ายเป็นตัวเงินมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามอำเภอใจเพราะมีสนธิสัญญากับต่างประเทศบังคับไว้ทั้งอัตราและประเภทของภาษีอากร และยังบังคับไม่ให้เก็บภาษีอากรจากแหล่งใหม่อีกด้วย
                          ในระยะก่อนปี พ.ศ.๒๔๓๕ การบริหารการคลังของประเทศยากที่จะหยิบยกมาพิจารณาได้ การทำบัญชี การทำงบประมาณ รวมทั้งการตรวจสอบบัญชี เพิ่งมีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕  รายได้แผ่นดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในชั่วระยะเวลาเพียง ๕ ปี ได้เพิ่มจาก ๑๕ ล้านบาทเป็น ๔๐ ล้านบาท
                          พ.ศ.๒๔๖๙ ประเทศไทยได้รับสิทธิทางการคลังอย่างเต็มที่ อากรขาเข้ากลายเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุด แต่หลักการคลังสมัยใหม่ยังไม่ได้นำมาใช้ งบประมาณยังคงต้องมีรายได้เท่ากับรายจ่ายอยู่ตลอดเวลา การคลังของประเทศกลับทวีความฝืดเคืองยิ่งขึ้น
                          พ.ศ.๒๔๗๕ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กระทรวงการคลังปรับปรุงภาษีอากรขึ้นใหม่  แต่ในชั้นแรก ไม่สู้จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
                          ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ กระทรวงการคลังไม่ได้หารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งใหม่เลย และอากรขาเข้าก็ได้หมดความสำคัญลงในระยะสงครามโลกครั้งที่สอง
                          ในระยะต่อมา รายได้ที่มาจากรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และภาษีเงินได้ค่อย ๆ สูงขึ้นเป็นลำดับ
                          นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ รัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินลงไปในด้านเศรษฐกิจเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๐ ของรายจ่ายทั้งสิ้น รายจ่ายทางเศรษฐกิจปรากฏสูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง
                   ๙๓๒. คลัง ๒ - กระทรวงการ  เดิมเป็นกรมคลังซึ่งเป็นกรมหนึ่งในสี่กรมที่เรียกว่าจตุสดมภ์ มีมาแล้วแต่แรกตั้งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๑๘๙๓)  เสนาบดีกรมคลังในสมัยต่อมายังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศอีกด้วย เสนาบดีกรมคลัง ตำแหน่งโกษาธิบดีว่าการทั้งกรมคลัง และว่าการกรมท่า อันมีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศอีกด้วย เป็นอยู่ตลอดมาจนถึงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้แยกงานทั้งสองกรมออกเป็นคนละส่วน และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๘ มีการตั้งกรมขึ้น ๑๒ กรม แล้วยกขึ้นเป็นกระทรวงทั้ง ๑๒ กรม กำหนดให้กรมท่าเป็นกระทรวงการต่างประเทศ และกรมคลังเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการคลัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖        ๕/ ๒๗๐๕
                   ๙๓๓. คล้า  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นสูงถึง ๒ เมตร ลำต้นใช้จักสานกันบ้าง  ใบคล้ายใบกล้วย แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อทิ้งห้อยลงมาสาย ผลกลม สุกสีขาว       ๕/ ๒๗๑๐
                   ๙๓๔. คลาสสิก  เป็นชื่อเรียกลักษณะวรรรณคดี และศิลปของชาติกรีกและโรมัน ในสมัยที่มีความเจริญสูงสุด  เมื่ออ้างถึงวรรณคดี และศิลปะของสองชาตินี้ ที่มีลักษณะสมบูรณ์ถือเป็นแบบอย่างได้ว่า แบบคลาสสิก อีกความหมายหนึ่งอันเป็นความหมายขั้นสอง วรรณคดีและศิลปะไม่ว่าของชาติใด มีความเจริญบรรลุถึงขั้นสมบูรณ์ดีเลิศ ก็เรียกว่า คลาสสิกได้         ๕/ ๒๗๑๐
                   ๙๓๕. คลี (อีสาน) - การเล่น  เป็นกีฬาพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคอีสาน เล่นกันมากในสมัยโบราณ ปัจจุบันเล่นกันประปรายในชนบท และกลายมาเป็นเพียงการเล่นของเด็ก           ๕/ ๒๗๑๑
                   ๙๓๖. คลีฟแลนด์  เป็นชื่อเมืองหลายเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญมาก อยู่ในรัฐไอดาโฮ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐนั้น และใหญ่เป็นอันดับหกของประเทศ          ๕/ ๒๗๑๕
                   ๙ ๓๗. คลีโอพัตรา  เป็นพระนามราชินี และเจ้าหญิงอีจิปต์ แห่งราชวงศ์ปโตเลอมี คลีโอพัตราองค์ที่รู้จักกันมาก และสำคัญที่สุดคือ คลีโอพัตราองค์ที่เจ็ด (พ.ศ.๔๗๔ - ๕๑๓)  เป็นราชธิดาของปโตเลอมีที่ ๑๑
                           เมื่อปโตเลอมีที่ ๑๑ สิ้นพระชนม์พระนางก็ได้ครองราชสมบัติร่วมกับพระอนุชาคือ ปโตเลอมีที่ ๑๒ ต่อมาปโตเลอมีที่ ๑๒ ได้ขับไล่พระนางจากราชสมบัติ จึงได้หนีไปซ่องสุมผู้คนในซีเรีย ทางโรม จูเลียส ซีซาร์ ได้ช่วยเหลือให้พระนางชิงราชสมบัติคืน และประกาศยกพระนางเป็นราชินีของอีจิปต์
                           คลีโอพัตรามีโอรสกับจูเเลียส ซีซาร์  องค์หนึ่งคือ ซีซาเรียน หรือปโตเลอมีที่ ๑๔ และมีโอรส - ธิดาแฝด กับมาร์ก แอนโทนี          ๕/ ๒๗๑๕
                   ๙๓๘. คลื่น  คลื่นในมหาสมุทรแบ่งออกได้เป็นคลื่นผิวน้ำ และคลื่นชนิดทำลาย
                          คลื่นผิวน้ำ  เกิดขึ้นเนื่องจากลม ถ้ามีแรงลมปะทะ จะทำให้เกิดคลื่น และคลื่นทางด้านต้นลมจะมีความกดดัน มากกว่าทางด้านปลายลม รูปร่างของคลื่นจะเห็นอาการนูนสูงขึ้น และต่ำลงติดต่อกันไป ตามความยาวของผิวพื้นทะเล ซึ่งเป็นลักษณะของคลื่นชนิดเคลื่อนตัว เมื่อมีกระแสลมพัดผ่านผิวพื้นทะเล จะปรากฎมีคลื่นทุกขนาดเกิดขึ้น คลื่นเหล่านี้บางครั้งก็เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับลม บางครั้งก็เฉไปทางอื่น
                          คลื่นต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะพลังงานได้ถูกเปลี่ยนจากลมไปสู่ทะเล เมื่อคลื่นเคลื่อนออกจากบริเวณที่มีลมพัด มันจะเคลื่อนไปเป็นระยะทางไกล ๆ แล้วจึงจะไปกระทบชายฝั่ง เมื่อเป็นเช่นนี้คลื่นจะเสียพลังงานไป และความสูงของคลื่นจะลดลง เพราะมีแรงปะทะจากอากาศ ขณะเดียวกับความเร็วของคลื่น ก็จะลดลงด้วย
                          คลื่นชนิดทำลาย  เกิดขึ้นโดยแผ่นดินไหว หรือพายุแรงซึ่งพัดเข้าสู่ฝั่ง คลื่นทำลายซึ่งเกิดขึ้นโดยอาการแผ่นดินไหว หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า สึนามิ มีความเกี่ยวข้องอยู่กับการนูนสูงขึ้น หรือต่ำลงของผิวโลกใต้ทะเล ซึ่งทำให้เกิดคลื่นในแนวขวาง คลื่นชนิดนี้อาจจะมีขนาดมหึมา ทั้งในทะเลเปิด และชายฝั่ง และจะเคลื่อนตัวไปโดยรวดเร็ว วิ่งเข้าทำลายบ้านเมือง เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง บางครั้งคลื่นมีความสูงถึง ๓๕ เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ตั้งครึ่งโลก ภายในเวลาประมาณ ๓๒ ๑/๒ ชั่วโมง          ๕/ ๒๗๑๘
                   ๙๓๙. คลื่นวิทยุ  เป็นปรากฎการณ์ที่มีทั้งสนามไฟฟ้า ที่ผันแปรไปตามความถี่วิทยุคือ ผันแปร ไปตามเครื่องส่ง ส่งความถี่วิทยุซึ่งอาจเคลื่อนที่ไปในอากาศได้
                          ประโยชน์ของคลื่นวิทยุนอกจากใช้ในการติดต่อสื่อข่าวสารไปมาหากัน โดยมิต้องใช้สายเชื่อมโยงถึงกันแล้ว ยังช่วยในการส่งภาพเสียง หรือสัญญาณอื่น ๆ อีกด้วย          ๕/ ๒๗๒๖
                   ๙๔๐. คลุด - ปลา  ดูข้าวเม่า - ปลา (ลำดับที่ ๗๔๔)  ปลาชนิดนี้บางก็เรียกว่า ปลาจะละเม็ดขาว           ๕/ ๒๗๓๓
                   ๙๔๑. คลุ้ม  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายกันกับคล้า แต่ต้นย่อมกว่า ลำต้นใช้จักสานได้   ช่อดอกตั้งเฉียง ๆ ขึ้นไปจากปลายลำต้น ผลเป็นสามพู       ๕/ ๒๗๓๓
                   ๙๔๒. ควนขนุน  อำเภอ ขึ้น จ.พัทลุง แรกตั้งเป็นอำเภอขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ได้ย้ายที่ว่าการไปตั้งที่บ้านมะกอก เรียก อ.มะกอกใต้ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ปากประ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๖  ย้ายไปตั้งที่บ้านทะเลน้อย เรียกว่า อ.ทะเลน้อย แล้วย้ายมาตั้งที่ ต.พนางตุง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อ.พนางตุง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ได้ย้ายไปตั้งที่ ต.ควนขนุน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ควนขนุน
                          ภูมิประเทศตอนตะวันตกติดภูเขา พื้นที่สูงเป็นป่าดงทึบ ตอนกลางถัดลงมาทำนาได้ ตอนตะวันออกริมทะเลสาบทำนา แต่บางแห่งเป็นพรุ และทะเลสาบเล็ก ๆ เรียกทะเลน้อย          ๕/ ๒๗๓๓
                   ๙๔๓. ควอนตัม - ทฤษฎี  พลังงานของระบบอะตอม ซึ่งมีอิเล็กตรอนหมุนอยู่รอบ ๆ นิวเคลียส อาศัยโมเมนตัมเชิงมุม ของอิเล็กตรอน เมื่ออิเล็กตรอนมีวงจรรอบนิวเคลียสเล็กลง โมเมรตัมเชิงมุมของอิเล็กตรอนลดลงด้วย พลังงานของระบบจะลดเหลือน้อยกว่าเดิม พลังงานส่วนเกินจะถูกปลดปล่อยออกมาเป็นการแผ่รังสี หน่วยของพลังงานน้อยที่สุดที่ถูกปลดปล่อยนี้เรียกว่า ควอนตัม
                   ๙๔๔. ควัมบดี - พระ  ๑. พระอรหันต์พุทธสาวก เป็นสหายคนหนึ่งในสี่ของพระยศเถระ ได้บวชตามพระยศเถระแล้วได้สำเร็จเป็น ภายหลังไปสำนักอยู่ที่ป่าอัญชนวัน ในเขตเมืองสาเกต
                          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังอัญชนวัน และมีพระภิกษุหลายรูปติดตามเสด็จ วันหนึ่งภิกษุเหล่านี้พักนอนที่ชายหาดแม่น้ำสรภู ตกกลางคืนน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นอย่างกระทันหัน พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระควัมบดี ไปบังคับไม่ให้ไหลมาถึงชายหาด ที่พระภิกษุเหล่านั้นนอนอยู่ ท่านก็ได้แสดงอิทธิปาฎิหารย์บังคับน้ำให้หยุดไหล จนน้ำท้นเอ่ออยู่ไกลจากที่นั่น มีขนาดสูงคล้ายยอดเขา
                          ๒. ชื่อพระอรหันต์องค์หนึ่ง อันมีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ศาสนวงศ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาประดิษฐานพระศาสนาที่เมืองสุธัมมปุระ(เมืองสะเทิน) ในรามัญประเทศก็เพราะพระควัมบดี  ไปกราบทูลอาราธนา
                   ๙๔๕. ควาย หรือกระบือ  เป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งมีอยู่แถบทวีปเอเซีย ทวีปอัฟริกาและทวีปยุโรปตะวันออก ควายอาจแบ่งออกเป็นสองพวกตามรูปร่าง และประโยชน์ของมันคือ ควายงามและควายนม          ๕/ ๒๗๓๗
                   ๙๔๖. ควาว - พรรณไม้ ดูขว้าว (ลำดับที่ ๗๐๒)          ๕/ ๒๗๓๙
                   ๙๔๗. ควินติเลียน (พ.ศ.๕๗๘ - ๖๓๘) เกิดในประเทศสเปญ ปัจจุบันเป็นครูที่สอนได้ผลดีมากเป็นนักวาทศิลป์รุ่นแรก ที่ได้รับความอุปถัมภ์จากจักรพรรดิ์เวสปาเซียน ได้แต่งหนังสือหลักการพูด จึงได้รับยกย่องว่าเป็นชาวโรมันคนแรกที่แต่งตำราการศึกษาอย่างมีเหตุผล           ๕/ ๒๗๔๐
                   ๙๔๘. ควินิน  ๑. เป็นอัลคาลอยด์ได้จากเปลือกแห้งของลำต้น หรือเปลือกแห้งของรากต้นซิงโกนา เป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสนยารักษาไข้มาเลเรียขมเคยใช้เป็
                           ๒. หมายถึงเกลือต่าง ๆ ของแอลคาลอยด์ควินินด้วย          ๕/ ๒๗๔๐
                   ๙๔๙. ควีโต  เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเอวาดอร์ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๒,๘๐๕ เมตร เป็นเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่งของโลก ในทวีปอเมริกาใต้ เคยเป็นเมืองหลวงตั้งแต่ครั้งยังเป็นดินแดนของพวกอินเดียแดง ๕/ ๒๗๔๑
                   ๙๕๐. ควีนแมรี  ๑. เป็นพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอยู่สององค์คือ พระนางเจ้าแมรี่ที่ ๑ และพระนางจัด พระราชินีแห่งสกอตแลนด์ เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า แมรีแห่งสกอตส์ หรือแมรีสจวต (พ.ศ.๒๐๘๕ ครั้งหนึ่งเจ้าแมรี่ที่ ๒
                          พระนางเจ้าแมรีที่ ๑ หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า แมรี ทิวดอร์ (พ.ศ.๒๐๕๙ - ๒๑๐๑) ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวอร์ดที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๖
                          พระนางเจ้าแมรีที่ ๒ (พ.ศ.๒๒๐๕ - ๒๒๓๗) ได้ขึ้นครองราชย์คู่กับพระสวามีคือพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑
                          ๒. เป็นพระนามสมเด็จ- ๒๑๓๐) ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟรานซิส รัชทายาทแห่งฝรั่งเศส เมื่อพระสวามีได้เสวนราชย์ในปี พ.ศ.๒๑๐๒ ทรงพระนามว่าพระเจ้าฟรานซิสที่ ๒ พระนางก็ทรงมีฐานะเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และสกอตแลนด์พร้อมกัน ในปี พ.ศ.๒๑๐๓ พระเจ้าฟรานซิสที่ ๒ สิ้นพระชนม์ พระนางจึงเสด็จกลับมาครองราชย์ที่สกอตแลนด์
                          ๓. เป็นชื่อเรือเดินสมุทรลำแรกของอังกฤษ เริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๓ ปล่อยลงน้ำในปี พ.ศ.๒๔๗๗
                   ๙๕๑. ควีนสแลนด์  เป็นชื่อรัฐในประเทศออสเตรเลีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากรัฐออสเตรเลียตะวันตก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ทางตะวันออกตกมหาสมุทรแปซิฟิก ทางเหนือตกทะเลในช่องแคบทอเรส ทางตะวันตกเฉียงเหนือตกทะเลในอ่าวคาร์เปนทาเรีย มีฝั่งทะเลยาวประมาณ ๕,๑๗๕ กม. ด้านตะวันออกมีแนวหิมะปะการังที่เรียกชื่อว่า เกรต แบเรียร์ รีฟ
                           รัฐนี้กัปตันคุกได้มาสำรวจพบใน ปี พ.ศ.๒๓๑๓ เมื่อออสเตรเลียได้รับเอกราชเป็นประเทศในเครือจักรภพ ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ รัฐนี้ก็มีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของออกเตรเลีย         ๕/ ๒๗๔๗
                   ๙๕๒. ควีนเอลิซาเบธ  ๑. เป็นพระนามของสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอยู่สององค์คือพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๑ และพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๒
                          พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๑ (พ.ศ.๒๐๗๖ - ๒๑๔๖) ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๑ ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศอังกฤษได้เจริญรุ่งเรืองมาก พระนางมิได้ทรงอภิเษกสมรส
                          พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๒ ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลิป ซึ่งได้รับพระยศเป็นดยุคแห่งเอดินเบอเรอะ
                          ๒. เป็นชื่อเรือ เริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ปล่อยลงน้ำในปี พ.ศ.๒๔๘๑          ๕/ ๒๗๔๙
                   ๙๕๓. คหกรรมศาสตร์  เป็นคำที่เพิ่งเกิดขึ้นปี พ.ศ.๒๕๐๒ ก่อนหน้านี้เคยใช้เรียกกันต่าง ๆ เช่น การเรือน การช่าง เคหศาสตร์ คหศาสตร์ คหเศรษฐศาสตร์ เคหเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
                          คำนิยาม มุ่งไปในแนวเดียวกับอเมริกาคือศิลปะและศาสตร์ของการครองเรือน          ๕/ ๒๗๔๙
                   ๙๕๔. คอ  ในความหมายที่เกี่ยวกับสัตว์หมายถึงส่วนของร่างกาย ที่ต่อส่วนหัวกับส่วนตัวของสัตว์นับเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ของสัตว์ที่มีชีวิตอยู่บนบก
                           คอมีกระดูกสันหลังประกอบขึ้นเป็นโครง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะมีจำนวนกระดูกสันหลังเฉพาะที่คอเจ็ดอัน ภายในคอมีส่วนของอวัยวะภายในเรียกว่า ฟาริ้งซ์ เป็นทางติดต่อนำอาหาร และน้ำจากปากเข้าสู่หลอดอาหาร และเป็นทางติดต่อจากช่องจมูกให้เป็นทางผ่านของลมเข้าสู่กล่องเสียง และต่อไปสู่ท่อลม
                           ภายในคอมีต่อมเอนโดครายน์เช่น ต่อมไธรอยด์ที่ควบคุม การใช้ออกซิเจนของร่างกาย และการทำให้เกิดความร้อนมากน้อยในร่างกาย           ๕/ ๒๗๗๐
                   ๙๕๕. ค้อ - ปลา  อยู่ในวงศ์ปลาหมู แต่รูปร่างแปลกกว่าชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน           ๕/ ๒๗๗๕
                   ๙๕๖. คอกเทล  เป็นเครื่องดื่ม ซึ่งผสมเหล้าชนิดต่าง ๆ ดื่มก่อนอาหาร และได้เริ่มมีขึ้นในอเมริการ้อยกว่าปีมาแล้ว เครื่องดื่มชนิดนี้เดิมทีจะมีกำเนิดขึ้นมาอย่างไรนั้น ไม่เป็นที่ประจักษ์แน่นอน     ๕/ ๒๗๗๖
                   ๙๕๗. คอเคซัส  ๑. ชื่อเขตภูมิภาคของรุสเซีย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอเคเซีย อยู่ระหว่างทะเลดำ และทะเลสาบแคสเปียน มีพื้นที่ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
                           แคว้นนี้ในสมัยโบราณเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าคอเคเซีย แต่ต่อมาถูกชนชาติต่าง ๆ เข้ามารุกรานได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ปะปนกันมาก ในที่สุดจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในปกครองของรุสเซีย
                           ๒. ชื่อภูเขา  เป็นเทือกเขายาวประมาณ ๑,๑๕๐ กม. ตั้งแต่ทะเลดำถึงทะเลสาบแคสเบียน ถือกันว่าเป็นพรมแดนที่แบ่งเขตทวีปยุโรป กับทวีปเอเชีย           ๕/ ๒๗๘๓
                   ๙๕๘. คองโก  ๑. ชื่อแม่น้ำ  เป็นแม่น้ำยาวมากสายหนึ่งของโลกคือ ยาวประมาณ ๔,๕๐๐ กม. นับว่ามีความยาวเป็นที่สองของแม่น้ำในทวีปอัฟริกา รองจากแม่น้ำไนล์ ยอดของแม่น้ำสายนี้เกิดจากที่ราบสูงคาตางกา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐคองโก ไหลไปลงมหาสมุทรแอตแลนติก
                           นักเดินเรือชาวโปร์ตุเกส เป็นชาวผิวขาวคนแรกที่เดินเรือจากยุโรปคนแรกที่เดินเรือจากยุโรป มาพบแม่น้ำสายนี้ ในปี พ.ศ.๒๐๒๕
                           ๒. ชื่อประเทศ  เดิมเป็นอาณานิคมของเบลเยี่ยม มีชื่อว่า แคว้นเบลเยี่ยมคองโก ต่อมาได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓  มีเมืองหลวงชื่อ ลีโอโปลด์วิลล์ มีอาณาเขตส่วนใหญ่อยู่ในลุ่มแม่น้ำคองโก และมีทางติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ด้วยผืนดินแคบ ๆ ที่ปากแม่น้ำคองโก ซึ่งกว้างเพียง ๔๐ กม.
                           ๓. ชื่อประเทศ  เดิมเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสมีชื่อว่า คองโกตอนกลาง ได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑  มีเมืองหลวงชื่อ ปราสซาวิลล์ ประเทศคองโกนี้อยู่ทางทิศตะวันตกของเบลเยี่ยมคองโก           ๕/ ๒๗๘๔
                   ๙๕๙. คองดอร์เซต์  (พ.ศ.๒๒๘๖ - ๒๓๓๗)  เป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา และนักปฎิวัติ ที่ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งชาวฝรั่งเศส ได้แต่งหนังสือวิชาคำนวณขึ้นหลายเล่ม           ๕/ ๒๗๙๐
                   ๙๖๐. คอญจีเวรัม  เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งของอินเดีย ตั้งอยู่ถัดเมืองมัทราสลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย เคยเป็นเมืองหลวงของกษัตริย์โบราณ ในราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งเคยนำวัฒนธรรมอินเดียมาเผยแพร่ ในประเทศต่าง ๆ ทางเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะประเทศจามและประเทศเขมรสมัยโบราณ ชาวอินเดียถือว่าเมืองนี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในเจ็ดของอินเดีย มีเทวาลัยขนาดใหญ่โตแห่งหนึ่ง มีความงดงามทางสถาปัตยกรรม และประติมากรรมไม่น้อย           ๕/ ๒๗๙๓
                   ๙๖๑. คอแดง - งู  เป็นงูไม่มีพิษ อยู่ในวงศ์งูเห่า            ๕/ ๒๗๙๓
                   ๙๖๒. คอตีบ - โรค  เป็นโรคติต่อซึ่งโดยมาเกิดแก่ทางเดินหายใจ เช่น หลอดลม ภายในลำคอ และต่อมทอมซิล เป็นต้น  เพราะมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ไปทำให้เยื่ออ่อน ของอวัยวะดังกล่าวเกิดการอักเสบและถูกทำลาย จนทำให้ช่องหลอดลมหรือช่องภายในคอแคบเข้า และในที่สุดตันหายใจเข้าออกไม่ได้ โรคนี้จะเป็นมากแก่เด็กอายุต่ำกว่าสิบปี บางทีถ้ามีพิษของเชื้อโรคซึมเข้าไปในโลหิตเป็นจำนวนมาก พิษนั้นสามารถทำลายอวัยวะสำคัญได้ง่าย เช่น หัวใจ หรือเส้นประสาท           ๕/ ๒๗๙๓
                   ๙๖๓. คอนกรีต  เป็นของผสมของมวลรวมกับเชื้อประสาน ที่ใช้กันอยู่มีสองชนิดคือ แอสฟัลต์ และซีเมนต์ แต่เนื่องจากงานก่อสร้างทั่วไป ใช้ซีเมนต์เป็นเครื่องประสาน คำว่าคอนกรีต จึงหมายถึงของผสมของมวลรวมกับซีเมนต์ ซีเมนต์ที่ใช้ในงานคอนกรีตทั่วไปเป็น ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
                          ส่วนมวลรวมมีสองชนิดคือ ชนิดละเอียดได้แก่ ทราย ชนิดหยาบ ได้แก่ หินย่อยหรือกรวด
                          คอนกรีต จะมีความแข็งแรงทนทานต่อเมื่อมีเนื้อแผ่นคือ มีทรายเข้าไปอุดช่องว่างในหินย่อยหรือกรวด และมีซีเมนต์เป็นเชื้อประสานยึดมวลรวมทั้งหมด เป็นเนื้อเดียวกัน โดยอาศัยน้ำเป็นสื่อทรายที่ใช้ต้องสะอาด ปราศจากเปลือกหอยและดิน น้ำที่ใช้ผสมควรเป็นน้ำสะอาด ปราศจากกรด ด่าง น้ำมัน
                          สัดส่วนระหว่างซีเมนต์ ทราย หิน หรือกรวด และน้ำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างของมวลรวม และความข้นเหลวของคอนกรีต ที่ใช้ในงาน คอนกรีตเมื่อผสมเสร็จแล้ว ต้องเทลงในแบบก่อนซีเมนต์เริ่มแข็งตัวครั้งแรก ๓๐ นาที เป็นอย่างน้อย
                          คอนกรีตเสริมเหล็ก  เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๑๔๑๑ โดยมีหลักว่าคอนกรีตทานความเค้นอัด และใช้เหล็กทานความเค้นดึง และความเค้นดึงเฉือนด้วย นอกจากนั้นยังมีความทนทานต่อการแตกสลาย ความสะดวกในการทำให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ตลอดจนต้านทานไฟ
                          คอนกรีตอัดแรง  ใช้ได้ดีและประหยัดกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก ในงานหลายอย่างเช่น สะพาน หลังคา พื้นและโครงช่วงยาว ๆ           ๕/ ๒๗๙๕
                   ๙๖๔. คอนคอร์ด  เป็นชื่อเมืองในรัฐมาสซาจูเซตต์ สหรัฐอเมริกา เป็นเมืองเก่าตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๘ มีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และวรรณคดี
                          การรบที่เมืองคอนคอร์ด นับเป็นการต่อสู้อย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก ระหว่างกองทัพอังกฤษและชาวอาณานิคม เป็นการเปิดฉากสงครามอิสระภาพ อเมริกันอันยาวนานถึงเจ็ดปี (พ.ศ.๒๓๑๙ - ๒๓๒๖)           ๕/ ๒๘๐๐

     


    • Update : 25/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch