หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทยฉบับย่อ/11
     ๘๔๑. แขวก - นก  เป็นนกยางชนิดหนึ่งซึ่งออกหากินแต่กลางคืน หัวค่อนข้างโต คอสั้น และขาสั้นกว่านกยางอื่น ๆ มีขนาดโตกว่านกยาวกรอก เวลาบินมักส่งเสียงร้องดัง แขวก แขวก ชาวบ้านจึงเรียกว่า นกแขวก กลางวันชอบเกาะนอนเป็นฝูงในต้นไม้ที่มีใบปกคลุมค่อนข้างมึดทึบ ชอบกินลูกกุ้งลูกปลาและแมลง ชอบทำรังบนต้นไม้ที่ขึ้นรก ๆ ตามริมน้ำ                   ๔/ ๒๒๗๘
                ๘๔๒.
    โขง - แม่น้ำ  เป็นแม่น้ำปันแดนด้านเหนือ และด้านตะวันออกเฉียเหนือ บางตอนของประเทศไทย และประเทศลาว เป็นแม่น้ำใหญ่และยาวที่สุดในทวีปเอเชีย ยอดน้ำเกิดจากเทือกเขาสูงประมาณ ๕,๔๐๐ เมตร (เหนือยอดน้ำเป็นแนวประมาณแบ่งแขตแดนประเทศธิเบตกับประเทศจีน) ห่างจากเมืองกันรกของธิเบต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๕๐ กม.
                          ยอดน้ำอยู่ในเขตประเทศจีน รวมอยู่ในเขตประเทศธิเบตและจีนประมาณ ๑,๘๘๐ กม. ต่อไปเป็นเส้นแบ่งเขตแดนประเทศพม่ากับจีน ยาวประมาณ ๓๐ กม. แล้วหักต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงปากแม่น้ำรวก มาบรรจบแม่น้ำโขง เป็นเส้นแบ่งแขตแดนประเทศพม่ากับลาวยาวประมาณ ๒๒๐ กม. จากปากแม่น้ำรวก วกไปทางทิศเหนือแล้ววกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงทิวเขาซึ่งแบ่งเขตแดนประเทศไทยกับลาว จดแม่น้ำโขง (ตรงข้ามกับบ้านทรายในประเทศลาว) ตอนนี้ยาวประมาณ ๑๐๕ กม. ถึดไปอยู่ในเขตประเทศลาว จากบ้านทรายตัดไปทางตะวันออก แล้ววกไปทางทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงปากแม่น้ำเหือง ซึ่งไหลมาบรรจบแม่น้ำโขง รวมความยาวประมาณ ๕๔๕ กม. จากปากแม่น้ำเหืองถึงสันทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งแบ่งเขตแดนจดแม่น้ำโขง แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนประเทศไทยกับลาว รวมความยาวประมาณ ๘๒๕ กม.
                          แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยในเขตจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย นครพนม  (มุกดาหาร - เพิ่มเติม) และอุบลราชธานี จากนั้นไหลเข้าเขตประเทศลาวประมาณ ๑๙๐ กม. แล้วไหลเข้าเขตประเทศกัมพูชา เป็นความยาวประมาณ ๕๗๕ กม.  ไหลเข้าสู่ประเทศเวียดนามเป็นความยาวประมาณ ๒๑๐ กม. จึงไหลลงสู่ทะเลจีน รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๔,๕๙๐ กม.           ๔/ ๒๒๘๐
                ๘๔๓.
    โข่ง - หอย  เป็นหอยกาบเดียวมม้วนเป็นวงยอดสั้นแบนลง บางครั้งเกือบเป็นวงราบ ฝาปิดปากเป็นแผ่นบาง เป็นหอยขนาดใหญ่ (เป็นหอยน้ำจืด - เพิ่มเติม)  อยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก เพราะมีเหงือกอยู่ในช่องหายใจใหญ่ ซึ่งช่วยให้หอยอยู่นอกน้ำได้ ในหน้าแล้งหอยโข่งอาจฝังตัวอยู่ในโคลน โดยทำให้ห้องอากาศชื้นอยู่เสมอ           ๔/ ๒๒๙๒
                ๘๔๔.
    โขงเจียม  อำเภอขึ้น จ.อุบลราชธานี เดิมเป็นเมืองเก่าอยู่ใน ต.นาโพธิกลาง อ.สุวรรณวารีเดิม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ต่อมายุบเป็น อ.โขงเจียม แล้วลดเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้น อ.พิบูลมังสาหาร  ต่อมาย้ายไปฝั่งซ้ายของปากมูลใน ต.โขงเจียม ให้ชื่อว่า อ.สุวรรณวารี แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อ.โขงเจียม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑
                          ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและเขาซับซ้อนกันมาก เป็นที่ราบสูงประมาณหนึ่งส่วนในสามส่วน       ๔/ ๒๒๙๓
                ๘๔๕.
    โข่งทะเล - เป๋าฮื้อ - หอย  เป็นหอยจัดอยู่ในพวกกาบเดียว เปลือกเป็นมุก รูปเหมือนใบหู เปลือกหอยโข่งทะเลขนาดใหญ่ให้มุก เนื้อหอยบริโภคได้จีนเรียก เป๋าฮื้อ           ๔/ ๒๒๙๕
                ๘๔๖.
    โขน ๑  นาฎกรรมสวมหัว เป็นนาฎกรรมแบบฉบับของไทยชนิดหนึ่ง โดยปกติผู้แสดงโขนต้องสวมหัวปิด๔/ จึงไม่พูดและไม่ขับร้องด้วยตนเอง หากแต่มีผู้พูดและขับร้องแทน ผู้แสดงจะต้องเต้นรำท่า ให้เข้ากับคำพูดและบทขับร้อง
                          
    พากย์ - เจรจา  ผู้พูดแทนตัวโขนเรียกกันว่า คนพากย์ บทที่ใช้พากย์เป็นคำร้อยกรองจำพวกหนึ่ง ซึ่งกวีได้แต่งขึ้นสำหรับในการเล่นหนัง เรียกแยกไว้เป็นสองชนิดคือ คำพากย์ กับคำเจรจา คำพากย์แต่ก่อนคงจะเป็นคำฉันท์ ภายหลังเป็นกาพย์ กาพย์ที่ใช้พากย์โขนมีสองชนิดคือ กาพย์ฉบัง และกาพย์ยานี ผู้พากย์มักนิยมแทรกคำสุภาษิต คติพจน์ หรือคำพังเพย หรือแทรกหลักฐาน และเหตุผลไว้เป็นกระทู้ความ ให้ผู้ดูได้ความรู้สึกเป็นคติสอนใจไปในตัวด้วย
                          คนพากย์และเจรจานี้ ต่อมามีหน้าที่เป็นผู้บอกบทละครด้วย เสียงดัง ๆ ให้นักร้องขับร้องด้วย
                          
    วงดนตรีประกอบการแสดงโขน ประกอบด้วยวงปี่พาทย์ สำหรับใช้บรรเลงประกอบอิริยาบท และความรู้สึกของตัวโขน แต่โบราณใช้เพียงเครื่องห้า ต่อมาเมื่อวงปี่พาทย์ได้วิวัฒนาการมาเป็นเครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ วงปี่พาทย์ประกอบโขนก็วิวัฒนาการตามไปด้วย
                           
    บทแสดงโขน  เรื่องที่ใช้แสดงโขนคือ เรื่องรามเกียรติ์
                           
    เครื่องแต่งตัวและเครื่องโรง  เครื่องแต่งตัวที่สำคัญคือ หัวโขน ซึ่งมีลักษณะและสีต่าง ๆ กันมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว การแต่งกายของตัวโขนก็สอดคล้องกับบทบาท และทีท่าของตัวโขนนั้น ๆ นอกจากนั้นยังต้องมีเครื่องอุปกรณ์ ประกอบการแสดงอีก เช่น เตียงทอง รถศึก ศร พระขรรค์ คทา ตรี  กลด และเครื่องอุปกรณ์อื่นๆ เรียกกันว่า เครื่องโรง
                           
    จัดชุดแสดง  ตอนที่นำมาแสดงเรียกว่า ชุด ไม่เรียกว่าตอน เหมือนการแสดงนาฎกรรมอย่างอื่น การที่เรียกว่า ชุด เข้าใจว่าคำนี้สืบเนื่องมาจากการเล่นหนังแต่โบราณ เมื่อโขนได้นำเอาศิลปบางอย่างของการเล่นหนังมาใช้ จึงนำเอาคำว่าชุดของหนังมาใช้ด้วย เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดนางลอย ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนาคบาศ ชุดพรหมมาศ ชุดหนุมานอาสา ชุดสีดาลุยไฟ และชุดปราบบรรลัยกัลป์ เป็นต้น
                           
    วิธีเล่นโขน  ได้มีการดัดแปลงวิธีเล่นกันสืบมาหลายอย่าง ปัจจุบันจำแนกออกเป็นห้าอย่างคือ โขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรอืโขนนั่งราว โขนโรงใน และโขนฉาก            ๔/ ๒๒๙๕
                ๘๔๗.
    โขน ๒ - หัว  เป็นเครื่องสวมหัวของผู้แสดงนาฎกรรม ซึ่งแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งส่วนใหญ่ของเรื่องเป็นสงคราม ระหว่างพระราม พระลักษณ์ แห่งกรุงอโยธยา กับบรรดาวานร ฝ่ายหนึ่ง  โดยรบกับทศกัณฐ์ราชาแห่งยักษ์ เจ้ากรุงลงกา กับบรรดาอสูร รากษส และยักษ์ อีกฝ่ายหนึ่ง  คู่สงครามแต่ละฝ่ายมีมากด้วยกัน ตัวโขนที่ออกแสดงจึงมีเป็นจำนวนมาก และต้องสวมใส่หัวโขนต่าง ๆ กัน
                          ในจำพวกยักษ์ และสิ่งที่ใช้สวมหัวนั้น ได้มีการแบ่งพวกไว้กว้าง ๆ ตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวม อย่างละสองจำพวกคือ
    ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น และลิงยอด ลิงโล้น
                          จำพวกกองทัพฝ่ายพลับพลา ซึ่งมีวานรชั้นต่าง ๆ นั้น อาจแยกประเภทออกได้ตามชนิดของหัว ซึ่งมีรูปลักษณะต่าง ๆ กันคือ
    มงกุฎยอดปัด เช่น พาลี สุครีพ มงกุฏยอดชัย หรือยอดแหลม เช่น ชมพูพาน ชามภูวราช มงกุฎยอดสามกลีบ เช่น องคต (เฉพาะตัวเดียว)  นอกนั้นเป็นพวกไม่มีมงกุฎ เรียกรวมว่า ลิงโล้น ที่เป็นพญาวานร เช่น หนุมาน นิลพัท นิลนนท์ ที่เหลือเป็นวานรสิบแปดมงกุฎ พวกเตียวเพชร และจังเกียง
                          จำพวกยักษ์ก็มีต่างกันถึงร้อยกว่าหัว จึงต้องบัญญัติและประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะแตกต่างกันเป็นพวก ๆ  อาจแบ่งประเภทออกตามชนิดของหัวโขนกว่า ๑๐ ชนิดคือ
    มงกุฎยอดกระหนก เช่น พญาทูษณ์ มัยราพย์  มงกุฎยอดจีบ เช่น พญาขร สัทธาสูร มงกุฎยอดหางไก่ เช่น วิรุญจำบัง บรรลัยจักร  มงกุฎยอดน้ำเต้า เช่น พิเภก ชิวหา มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม เช่น กุเวรนุราช เปาวนาสูร มงกุฎยอดก้านไผ่ เช่น ทศคีรีวัน ทศคีรีธร รามสูร  มงกุฎยอดสามกลีบ เช่น ตรีเมฆ (เฉพาะตัวเดียว)  มงกุฎยอดนาค เช่น มังกรกัณฐ์ (เฉพาะตัวเดียว) มงกุฎดาบหัวหรือหน้า เช่น ทศกัณฐ์มีสิบหน้า ตรีเศียรมีสามหน้า  ที่เหลือเป็นพวกไม่มีมงกุฎ เช่น กุมภกรรณ มูลพลัม
                ๘๔๘.
    โขมด - ผี  เป็นผีชนิดหนึ่งในจำพวกผีกระสือ ผีโพงหรือผีโพลงของถิ่นพายัพและอีสาน เพราะไปไหนมีแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน  แต่ผีโขมดเป็นชนิดไม่มีรูปร่างเป็นคนหรือเป็นอะไร นอกจากเห็นแต่ไกลเป็นดวงไฟแวบ ๆ ดวงโตในเวลากลางคืนในที่ซึ่งมีน้ำขังแฉะ           ๔/ ๒๓๓๕
                ๘๔๙.
    โขลญลำพง  เป็นชื่อของข้าหลวงขอมที่ควบคุมเมืองสุโขทัยเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐ ก่อนที่ไทยจะเข้าครอบครองอาณาจักรสุโขทัย  สมัยนั้นพ่อขุนศรีนาวนำถมทรงปกครองเมืองสุโขทัยอยู่ พ่อขุนผาเมืองเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม ร่วมกับพ่อขุนบางกลางท่าวยกทัพเข้าตีเมืองสุโขทัย  โขลญลำพงสู้ไม่ได้ ยอมแพ้และทิ้งเมืองไป           ๔/ ๒๓๓๕
                ๘๕๐.
    ไข  ใช้เรียกไขมันชนิดเป็นของแข็งของวัว แกะหรือม้า คุณภาพของไขเปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นอยู่กับฤดูกาลอาหาร อายุของสัตว์ และวิธีสกัดไข  ในท้องตลาดจำแนกออกเป็นไขที่ใช้บริโภคกับไขที่ไม่ใช้บริโภค ไขที่มีคุณภาพดีต้องมีสีเกือบขาว ไขใช้กันมากในการทำสบู่            ๔/ ๒๓๓๖
                ๘๕๑.
    ไข่  เป็นตัวสืบพันธุ์ รูปส่วนมากกลม ผลิตโดยตัวเมีย ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียกับสิ่งห่อหุ้ม ส่วนที่ห่อหุ้มนั้นอาจเป็นไข่ขาว วุ้น เยื่อ ถุงไข่ หรีอเปลือก สุดแต่ชนิด
                          ขนาดของไข่มีตั้งแต่ชนิดเล็กที่เห็นยากด้วยตาเปล่า จนถึงฟองโตเช่นไข่ห่าน ไข่เป็นอาหารอันมีค่า ช่วยบำรุงร่างกายได้ดีไม่มีคาร์โบไฮเดรต สมควรใช้เลี้ยงเด็ก         ๔/ ๒๓๓๘
                ๘๕๒.
    ไข้  เป็นชื่อโรคประเภทหนึ่ง มีอาการตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ไข้จับ ไข้พิษ ไข้หวัด แยกอธิบายเป็นสองตอน คือแผนโบราณกับแผนปัจจุบัน
                           ก.
    แผนโบราณ  ตำราแพทย์แผนโบราณของไทยไม่มีข้อความนิยาม "ไข้" ไว้แจ่มแจ้ง เป็นแต่กล่าวถึงลักษณะอาการของไข้
    เท่านั้น เช่น ไข้เพื่อลมมีลักษณะอาการอย่างนั้น ไข้เพื่อโลหิตมีลักษณะอาการอย่างนั้น เป็นต้น
                           ข.
    แผนปัจจุบัน  ตำราแพทย์แผนปัจจุบันสากลได้ให้คำนิยามไว้มีใจความดังนี้
                            ๑. หมายถึง ความรู้สึกไม่สบาย ร้อนผิวกาย และบางรายร้อนในด้วย อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย
                            ๒. หมายถึง อุณหภูมิของกายขึ้นสูงกว่าปกติ เนื่องจากโรคหรือพยาธิสภาพ ใช้กับสัตว์ด้วย
                            ๓. หมายถึง ชื่อเฉพาะของโรคที่มีอาการไข้เป็นสำคัญ จึงใช้คำว่าไข้นำหน้า            ๔/ ๒๓๔๐
                ๘๕๓.
    ไข่ดัน  หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นแนวผิวหนังย่น บริเวณระหว่างลำตัวและต้นขา            ๔/ ๒๓๖๘
                ๘๕๔.
    ไข่เน่า  เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นมักคดงอ เรือนยอดแผ่สาขา มีผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ เมื่อสุก บริโภคได้ มีรสหวานเล็กน้อย ใบช่อหนึ่งใบย่อยห้าใบ เรียงแผ่เป็นรัศมีอยู่ปลายก้เนใบ ดอกเล็กสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง           ๔/ ๒๓๗๑
                ๘๕๕.
    ไข่มุก  ประกอบขึ้นด้วยหินปูนส่วนใหญ่ และยึดประสานกันแน่นด้วยอินทรียวัตถุซึ่งเรียกกันว่า คอนดิโอลิน ไข่มุกจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุภายนอกบังเอิญ พลัดเข้าไปในตัวของหอยมุก หอยมุกไม่สามารถขับวัตถุที่หลุดเข้าไป จึงหาทางบรรเทาความระคายเคืองโดยหุ้มสิ่งนั้นด้วยวัตถุอันเป็นมุก เมื่อคัลเซียมคาร์บอเนตเกิดขึ้นแล้ว วิธีกรรมคงดำเนินเรื่อยไปจนกระทั่งหอยตาย ไข่มุกจึงถูกพ่นออกเอง หรือหัวหอยถูกจับขึ้นมา
                          ไข่มุกอาจเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของหอย แต่บางครั้งก็เกิดจากส่วนหนึ่งส่วนใดของเปลือก แลดูขรุขระ ไม่กลมงามเหมือนไข่มุก และเรียกชื่อใหม่ว่า เทียนหอย
                          ไข่มุกน้ำเค็มที่งดงามที่เรียกว่า
    ไข่มุกตะวันออก ในวงการค้านั้นจำกัดเฉพาะไข่มุกซึ่งพบในอ่าวเปอร์เซ๊ยหรือเก็บได้จากน่านน้ำลังกา
                          สีของไข่มุกแท้แปลกและแตกต่างกันมาก จากสีกุหลาบ (ชมพู) นวลเจือขาว ทอง ดำ ม่วงอ่อน น้ำเงิน เหลือง ส้ม น้ำตาล และเขียว สีไข่มุกโดยทั่วไปจะเหมือนกับเยื่อบุเปลือกหอย
                          
    ไข่มุกเลี้ยง  เกิดจากการเอาวัตถุภายนอกสอดใส่เข้าในตัวหอยอายุสามปี แล้วนำไปเลี้ยงไว้ในกรงลวด ให้จมอยู่ใต้ผิวน้ำ ลึกประมาณ ๔.๕๐ - ๖.๐๐ เมตร และทิ้งไว้ประมาณห้าปีจึงนำหอยนั้นขึ้นมาดู มักจะพบไข่มุกในตัวหอยประมาณกึ่งจำนวน
                          
    ไข่มุกน้ำจืด ไข่มุกเหล่านี้แม้จะงดงาม ก็ไม่ได้ราคาเท่าไข่มุกน้ำเค็ม            ๔/ ๒๓๗๑
                ๘๕๖.
    ไข่แหน  เป็นพรรณไม้น้ำขนาดเล็ก และอาจจัดได้ว่าเป็นพืชที่มีดอกที่เล็กที่สุดในโลก    ใบสีเขียวสดรูปคล้ายเม็ดทราย เกาะกันอยู่เป็นกลุ่มลอยอยู่ตามผิวน้ำในบึงและหนอง ปนไปกับแหนและจอก        ๔/ ๒๓๗๓

                ๘๕๗. ฃ พยัญชนะตัวที่สามในพยัญชนะไทย  นับเป็นพวกอักษรสูง มีฐานกรณ์ที่เดียวกับพยัญชนะ ค ต่างกันเพียง ก เป็นเสียงเบา  แต่ ฃ เป็นเสียงหนักคือออกเสียง ก + ห ไปพร้อมกัน โบราณอ่านออกเสียงเป็นสามัญว่า ขอ  เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว

                ๘๕๘. ค พยัญชนะตัวที่สี่ของอักษรไทย  ในจำพวกอักษรต่ำ โดยรูปมีลักษณะอย่างเดียวกับ ข คือเป็นเสียงหนักไม่ก้อง ในจำพวกพยัญชนะระเบิดต่างกับ ข เพียงมีลักษณะอ่อนกว่าเสียง ข เท่านั้น โดยฐานกรณ์หรือที่ตั้งของเสียง ค เป็นเสียงเกิดที่คอ
                ๘๕๙.
    คง ๑  แม่น้ำใหญ่สายหนึ่งของแหลมอินโดจีน แผนที่อังกฤษเรียกแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเพี้ยนจากคำซันลิวินในภาษาพม่า อันเป็นชื่อที่พม่าเรียกแม่น้ำสายนี้ จีนเรียกแม่น้ำลูหรือนู ส่วนแม่คงเป็นชื่อที่ไทยใหญ่เรียก
                          แม่น้ำคงมียอดน้ำอยู่บนที่ราบสูงประเทศธิเบต ตอนใต้ของเทือกเขาคุนหลุน  ห่างกรุงลาสะ นครหลวงประเทศธิเบตไปทางทิศเหนือประมาณ ๔๐๐ กม. มีความสูงประมาณ ๘,๐๐๐ เมตร รวมความยาวตั้งแต่อยู่ในเขตประเทศธิเบต และประเทศจีนประมาณ ๑,๙๑๐ กม.
                          แม่น้ำคงไหลขนานมากับแม่น้ำโขง โดยมีทิวเขากินหลงกั้นเป็นสันปันน้ำ แม่น้ำคงเมื่อไหลเข้าสู่ประเทศพม่า แล้วไหลลงทางใต้จนถึงทิวเขาแดนลาว อันเป็นเขาปันแดนประเทศพม่าและประเทศไทยทางตะวันตกเฉียงเหนือ รวมแม่น้ำคงในเขตพม่าตอนนี้ประมาณ ๙๓๐ กม. จุดที่แม่น้ำคงเริ่มเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทยกับพม่า อยู่ตรงที่เรียกว่า
    ท่าผาแดง มีหลักเขตแดนที่ ๑๖ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วเป็นเส้นเขตแดนไปจนถึงปากน้ำเมย รวมความยาวตอนนี้ประมาณ ๑๒๐ กม. ต่อจากนั้นก็ไหลเข้าสู่ประเทศพม่า ในเขตรัฐกะเหรี่ยงและไปออกทะเลที่อ่าวมะตะยัน รวมความยาวของแม่น้ำคงทั้งสิ้นประมาณ ๓,๑๕๑ กม.            ๔/ ๒๓๗๔
                ๘๖๐. 
    คง ๒  อำเภอขึ้น จ.นครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ ยกเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐
                          ภูมิประเทศเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำนา แต่ต้องอาศัยน้ำฝน          ๔/ ๒๓๗๘
                ๘๖๑. 
    คงคา ๑  เป็นแม่น้ำใหญ่สายหนึ่ง ในประเทศอินเดียตอนเหนือจัดเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในห้าสายใหญ่ ที่เรียกว่า ปัญจมหานที ซึ่งมี คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหี
                          แม่น้ำคงคาเป็นแอ่งรับน้ำจากแม่น้ำสายต่าง ๆ ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัย ลงมาสู่มัธยมประเทศยอดน้ำเกิดจาก ถ้ำน้ำแข็งแห่งหนึ่งที่เชิงเขาหิมาลัย ซึ่งปกคลุมด้วยหิมะ อยู่เหนือเทวาลัยคงโคตริในรัฐครหวาล อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของแคว้นอุตรประเทศ มีความสูง ๑๓,๘๐๐ ฟุต จากระดับน้ำทะเล มีความยาวประมาณ ๒,๔๙๔ กม. เมื่อไหลมาถึงเขตเมืองอัลหาบาท มีระยะทางจากยอดน้ำได้ ๑,๐๖๔ กม. มีแม่น้ำยมุนาไหลมาบรรจบจุดที่บรรจบเรียกว่า
    ประยาค (บาลีเป็นปยาค) ชาวฮินดูถือว่าเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เพราะกล่าวกันว่า แม่น้ำสรัสวดี ไหลมุดดินมาโผล่ขึ้นรวมกับแม่น้ำคงคา ณ ที่นั้นด้วย จึงเรียกตรงนี้ว่า ตริเวณี อีกชื่อหนึ่ง ซึ่งในเรื่องกามนิตเรียกว่า จุฬาตรีคูณ ณ สถานที่นี้ ทุกระยะครบรอบสิบสองปี ครั้งหนึ่งมีงานออกร้านเป็นงานใหญ่เรียกว่า กุมภเมลา เพราะเป็นขณะที่ดาวพฤหัสบดี ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ และพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ มีประชาชนชาวฮินดูนับจำนวนเป็นล้าน พากันทำบุญยาตรา มาสระบาปสนานกาย ในแม่น้ำคงคาตรงที่นี้ เชื่อว่าสามารถล้างบาปให้หมดสิ้นไป
                          ชาวฮินดูมักเรียกแม่น้ำนี้ว่า คงคามาตา หรือ
    แม่พระคงคา นับแต่ยอดน้ำที่เชิงเขาหิมาลัย จนถึงปากน้ำออกทะเลที่อ่าวเบงกอล เรื่องราวของแม่น้ำคงคามีปรากฎเป็นครั้งแรก ในมหากาพย์มหาภารต และรามายณะ แล้วจึงมีเรื่องอยู่มากมายในหมวดคัมภีร์ปราณะ ซึ่งได้เค้าเรื่องจากกาพย์ทั้งสองดังกล่าว
                           ตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายายของจีนกล่าวว่า แม่น้ำคงคาไหลออกจากช่องพระกรรณข้างหนึ่งของพระศิวะ ลงสู่สระอนวตัปตะ (
    สระอโนดาด) แล้วจึงไหลออกจากช่องโคมุขีของสระนั้น ผ่านมัธยมประเทศลงสู่ทะเลทางตะวันออก
                           ทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทกล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถาว่า มีแม่น้ำไหลจากสระอโนดาด ในป่าหิมพานต์อยู่สี่สาย สายที่อยุ่ทางทิศใต้ของสระ ได้ไหลไปในรูปแบบต่าง ๆ ในที่สุดได้ไหลมาถึงหินลาดชื่อ วิชฌ แยกเป็นห้าสายคือ แม่น้ำใหญ่ทั้งห้า หรือ
    ปัญจมหานที           ๔/ ๒๓๗๙
                ๘๖๒. 
    คงคา ๒  เป็นชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี           ๔/ ๒๓๘๗
                ๘๖๓.
    คงคาเดือด  เป็นชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งทางภาคกลาง สูงประมาณ ๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นคดงอ บางท้องที่เรียกว่า ตะไล หรือตะไลคงคา หรือช้างเผือก ใบเป็นช่อเรียงสลับกัน ช่อหนึ่งมีใบย่อย ๕ ๗ ใบ ดอกสีเขียว ๆ เหลือง ๆ ขนาดย่อม ออกเป็นช่อเรียว ๆ ตามง่ามใบ ผลเล็กสีเขียวอ่อน แก่จัดแห้งเป็นสีน้ำตาล          ๔/ ๒๓๘๗
                ๘๖๔.
    คงเครา - นาย  พ่อเมืองละโว้ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๘๑ แผ่นดินซึ่งเป็นประเทศไทย ในปัจจุบันมีบางส่วนเป็นอาณาเขตที่ขอมปกครองอยู่ โดยเฉพาะเมืองละโว้ (ลพบุรีก็เป็นเมืองส่วยขึ้นกับขอมเช่นกัน และที่เมืองละโว้มีทะเลชุบศร ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิศาสนาพราหมณ์ ที่เชื่อว่าเป็นห้วงน้ำที่พระรามเอาพระแสงศรมาชุบ ก่อนที่จะแผลงศรไปผลาญศัตรู ด้วยเหตุนี้น้ำในทะเลชุบศร จึงถือว่าเป็นน้ำที่ทำให้เกิดศิริมงคล พระเจ้าแผ่นดินขอมได้กำหนดให้ พ่อเมืองละโว้ตักน้ำในทะเลชุบศร ส่งไปยังพระนครหลวงกำหนดสามปีครั้งหนึ่ง
                          ในสมัยดังกล่าว นายคงเคราเป็นพ่อเมืองละโว้ จึงต้องทำหน้าที่ส่งส่วยน้ำไปให้ขอม นายคงเครามีบุตรหนึ่งคน
    ชื่อนายร่วง เมื่อนายคงเคราตาย นายร่วงก็ได้เป็นพ่อเมืองละโว้ต่อมา           ๔/ ๒๓๘๙
                ๘๖๕.
    คชศาสตร์  เป็นตำราลักษณะช้าง ได้ความว่าไทยได้มาจากอินเดีย มีเป็นสองคัมภีร์คือ คัมภีร์คชลักษณ์ ว่าด้วยลักษณะช้าง และคัมภีร์คชกรรม ว่าด้วยวิธีหัดช้างเถื่อน และวิธีหัดขี่ช้าง กับมนต์สำหรับบังคับช้าง และระเบียบพิธีต่าง ๆ
                          ชาวอินเดียสามารถคิดจับช้างมาใช้งานได้ ก่อนมนุษย์จำพวกอื่นมาช้านาน จนถึงพวกพราหมณ์สามารถรวบรวมความรู้ในการจับช้างเข้าเป็นตำราเรียกว่า คชศาสตร์ขึ้นแล้วแพร่หลายออกไปถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย
                          วิธีจับช้างเถื่อน ที่ชาวอินเดียมาสอนไว้มีสามอย่างอย่างหนึ่งเรียกว่า วังช้าง คือ จับช้างเถื่อนหมดทั้งโขลง อย่างหนึ่งเรียกว่าโพนช้าง คือ ไล่จับช้างเถื่อนแต่ละตัว อย่างหนึ่งเรียกว่า เพนียด คือต้อนโขลงช้างเข้ามาในคอกมั่นคง ซึ่งเรียกว่า เพนียดแล้วเลือกจับแต่ช้างบางตัวที่ต้องการ แล้วปล่อยให้โขลงช้างกลับไป
                          การจับช้างเกือบทั้งสามวิธีนี้ ในตำราว่าต้องมี ช้างต่อ คือช้างที่ได้ฝึกหัดเชื่องแล้ว ใช้ช่วยกำลังของผู้จับด้วย จึงสามารถจับช้างเถื่อนได้        ๔/ ๒๓๙๐
                ๘๖๖.
    คชสีห์  เป็นสัตว์ในนิยายมีรูปเหมือนราชสีห์ แต่มีงวงเหมือนช้าง ใช้เป็นตราเครื่องหมายประจำตำแหน่ง เจ้าพระยามหาเสนาบดี สมุหกลาโหม เรียกว่า ตราคชสีห์ ภายหลังใช้เป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อเนื่องกันมาตามลำดับ และใช้เป็นเครื่องหมายประจำกระทรวงกลาโหมด้วย
                        ตราเครื่องหมายประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ก็มีคชสีห์รวมเป็นเครื่องหมายอยู่ด้วย โดยนำเอาตราประจำตำแหน่งสมุหนายก และสมุหกลาโหมของเดิม มาประกอบกันเป็นรูปรักษารัฐธรรมนูญ            ๔/ ๒๓๙๓
                ๘๖๗.
    คชาธาร  คือการผูกช้างพระที่นั่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ทรงเสด็จออกศึก การผูกช้างแบบนี้เรัยกว่า ผูกเครื่องมั่น ใช้สับคับคชาธารเรียกว่า พระที่นั่งพุดตาลทอง ตั้งกลางหลังช้างผูกโยงด้วยเชือก ให้ยึดมั่นกับตัวช้าง กลางพระที่นั่งพุดตาลปักเศวตฉัตรคันดาน มีกองซ้ายขวา ด้านหน้าและตรงกลาง ด้านหลังสองข้างพระที่นั่งพุดตาล ผูกศัตราวุธทั้งซ้ายและขวา เหมือนกันดังนี้ ทวน ง้าว โตมร ปืน หอกซัด มีนายท้ายช้างทำหน้าที่บังคับช้าง และมีกลางช้าง นั่งบนเปลตาข่าย ซึ่งมีหลักปักแขวนอยู่กลางพระที่นั่งพุดตาล สองมือถือแพนหางนกยูง ทำหน้าที่ให้อาณัติสัญญา พระมหากษัตริย์ทรงถือกระแสงของ้าว ประทับเหนือคอช้างรบกับข้าศึก ที่เรียกว่า ยุทธหัตถี           ๔/ ๒๓๙๑
                ๘๖๘.
    คณบดี  ตามรูปศัพท์แปลว่า หัวหน้าหมู่ ที่ใช้กันในปัจจุบันหมายเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าคณะ ในมหาวิทยาลัย ใช้เป็นตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชา           ๔/ ๒๓๙๕
                ๘๖๙.
    คณะราษฎร  เป็นบุคคลคณะหนึ่งได้ออกประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบเดิมที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด มาเป็นการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ
                          คำว่าคณะราษฎรได้เปลี่ยนใช้เป็นคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕        ๔/ ๒๓๙๖
                ๘๗๐.
    คณะสงฆ์  ได้แก่องค์คณะของภิกษุสงฆ์ ซึ่งได้รับการบรรพชาอุปสมบทตามพระวินัยพุทธบัญญัติ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มีจำนวนตั้งแต่สองรูปขึ้นไป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัย อันเดียวกัน
                         คณะสงฆ์แต่เดิมนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ารับผู้ที่เลื่อมใสในสัจธรรมของพระพุทธศาสนา และประสงค์เข้าเป็นพวก พระพุทธองค์ก็ทรงรับไว้ด้วยพระองค์เอง ผู้ที่สมัครเข้ามามีสองประเภทด้วยกัน ประเภทหนึ่งเป็นผู้เห็นธรรมแต่ยังไม่สิ้นกิเลส พระองค์จะทรงอนุญาตด้วยพระวาจาว่า "
    ท่านจงเป็นพระภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"  อีกประเภทหนึ่งเป็นผู้เห็นธรรมทั่วถึง สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์แล้ว พระองค์จะทรงอนุญาตด้วยพระวาจาว่า   "ท่านจงเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด"
                        คำว่าสงฆ์เมื่อกำหนดในสังฆรัตนะได้แก่ภิกษุตั้งแต่หนึ่งรูปขึ้นไป เมื่อกำหนดตามพระวินัยเนื่องด้วยการปกครองได้แก่ ภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปบ้าง ห้ารูปบ้าง สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง ตามจำนวนองค์ประชุมอย่างต่ำในกิจนั้น ๆ ที่เรียกว่า
    สังฆกรรม
                       
    การปกครองคณะสงฆ์  เมื่อมีผู้สมัครเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ  ในระยะแรก ๆ พระภิกษุสงฆ์ก็จะพามาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้า ก็ประทานอุปสมบทเป็นคราว ๆ ไป  เมื่อขยายวงกว้างออกไป การพามาเฝ้าเช่นนั้นย่อมเป็นการลำบาก จึงทรงอนุญาตให้พระสาวก รับผู้สมัครเข้าบวชได้ด้วยวิธี ให้ผู้สมัครนั้นปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสวะตามธรรมเนียมของพระภิกษุแล้วให้รับสรณะคมณ์ถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะด้วยความเคารพอย่างแท้จริง แล้วก็เป็นอันสำเร็จความเป็นพระภิกษุ วิธีนี้เรียกว่า ติสรณคมนูปสมบท
                          ในยุคต้นแห่งปฐมโพธิกาลนี้ การรับคนเข้าบวช พระพุทธเจ้าทรงเองบ้าง โปรดให้พระสาวกรับบ้าง  ต่อมาในราวมัชฌิมโพธิกาล จึงโปรดให้การรับคนเข้าบวช เป็นอำนาจของสงฆ์ กำหนดด้วยองค์ประชุมอย่างต่ำเพียงสิบรูปเป็นใช้ได้  ต่อมาโปรดให้ลดจำนวนลงมาเป็นห้า เฉพาะในถิ่นที่หาพระภิกษุได้ยาก  วิธีนี้เรียกว่า
    ญัตติจตุตถกรรมอุปสมบท เป็นวิธีที่พระสงฆ์ปฏิบัติกันอยู่เวลานี้
                          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรนิพพานแล้ว พระองค์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนพระองค์ แต่ได้ตรัสบอกไว้ว่า "
    พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว ทรงบัญญัติแล้วนั้นแลเป็นศาสดาของภิกษุสงฆ์"
                          การปกครองคณะสงฆ์ กล่าวโดยทั่วไปก็อนุวัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของถิ่น และระบอบการปกครองฝ่ายอาณาจักรมาแต่ดั้งเดิมแล้ว ใน
    สมัยสุโขทัยในจารึกครั้งพ่อขุนรามคำแหง ฯ ประมาณปี พ.ศ.๑๘๒๓ ว่าที่นครสุโขทัยมีสังฆราชมีปู่ครู มีมหาเถร มีเถร ทำให้เข้าใจว่าการปกครองคณะสงฆ์ในยุคสุโขทัยตอนต้นคงมีแต่คณะเดียว มีพระสังฆราชเป็นสังฆปรินายกชั้นสูงสุด และมีตำแหน่งรองลงมาเป็นลำดับ  ตกมาถึงสมัยสุโขทัยตอนปลาย พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าผู้ปกครอง ซึ่งกลายมาเป็นพระราชาคณะและพระครูมีชื่ออย่างทุกวันนี้ มีการกำหนดว่าในหัวเมืองใหญ่มีสังฆราชาปกครองทุกเมือง ในเมืองเล็กมีพระครูปกครอง แต่ในราชธานีกำหนดไว้ว่าคณะคามวาสีมีพระพุทธโฆษาจารย์เป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะอรัญวาสีมีพระวันรัตเป็นเจ้าคณะใหญ่
                          ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในยุคต้น การปกครองคณะสงฆ์คงเป็นไปตามที่ปฏิบัติมาในสมัยกรุงสุโขทัย  ต่อมาได้แบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็นฝ่ายขวา กับฝ่ายซ้าย คือ แบ่งคามวาสีฝ่ายซ้ายให้สมเด็จพระอริยวงศญาณปกครอง คามวาสีเดิมให้สมเด็จพระวันรัตว่า แต่คณะปักษ์ใต้ฝ่ายขวา และคณะอรัญวาสีมีพระพุฒาจารย์เป็นเจ้าคณะใหญ่ ในสมัยอยุธยาได้ทรงสถาปนาตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เป็นสมเด็จหมด คำว่าสมเด็จ ไทยเรานำมาจากคำเขมร
                          ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจัดการปกครองคณะสงฆ์เหมือนสมัยอยุธยา ก่อนประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) คณะสงฆ์มีอยู่สามนิกายคือ
    มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย และรามัญนิกาย ยังมีพวกอานัมนิกาย และจีนนิกาย ซึ่งไม่ใช้ภาษาบาลีสันสกฤต คงไว้แต่ภาษาของตนเอง สองนิกายหลังดังกล่าวไม่ได้รับยกย่องเป็นภิกษุสงฆ์ เป็นแต่นับว่าเป็นนักพรต
                          การปกครองอันต่างโดยนิกายเหล่านี้จัดเป็นสี่คณะคือ
    คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุติกนิกาย ทั้งสามคณะข้างต้นมีสมเด็จพระราชาคณะเป็นเจ้าคณะใหญ่ ส่วนคณะธรรมยุติกนิกาย มีเจ้านายปกครองติดต่อตลอดมาจนถึงประกาศใช้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ มีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าคณะใหญ่ มีฐานานุกรมเป็นพิเศษกว่าสมเด็จเจ้าคณะอื่น
                          คณะอรัญวาสีนั้นเป็นคณะพิเศษ และเป็นคณะอิสระ มีมาแต่ครั้งโบราณ  ต่อมาเมื่อมีการตั้งคณะเหนือและคณะใต้ แล้วก็รวมคณะอรัญวาสีเข้าไว้ในเขตของตน ๆ
                          คณะรามัญนั้นรวมจัดคณะสงฆ์เป็นรามัญเข้าไว้เช่นเดียวกับคณะธรรมยุตินิกาย พระสุเมธาจารย์เป็นเจ้าคณะ มีสมณศักดิ์สุดแต่จะโปรดเกล้า ฯ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมเป็นอย่างสูง
                          เนื่องในการปกครองนี้ ผู้มีตำแหน่งในการปกครองได้โปรดให้มีสมณศักดิ์ ตามลำดับชั้นดังนี้
                          ๑. สมเด็จพระสังฆราช ทรงปกครองสังฆมณฑลทั่วไป
                          ๒. สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหม่
                          ๓. พระราชาคณะผู้ใหญ่มีสี่ชั้นคือ ชั้นเจ้าคณะรอง ชั้นธรรม ชั้นเทพ ชั้นราช
                          ๔. พระราชาคณะสามัญมีสามประเภทคือ พระราชาคณะเปรียญ พระราชาคณะสมถและฝ่ายวิปัสสนา พระราชาคณะยก
                          วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ หากจะเรียกนามวัดกันให้เต็มที่ จะต้องเรียกว่า “วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” วัดนี้จัดสร้างขึ้นบนที่ดินของกรมธนารักษ์ ตั้งอยู่บนยอดเขาโคกแผ่น บ้านโคกแผ่น ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ ๙๖ ไร่เศษ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ รูปแบบเป็นรูปเหมือนเรือที่ยกเอาเรือไปตั้งอยู่บนภูเขาชื่อราชญาณนาวาฑีฆายุมงคล อันมีความหมายถึงที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า
                          การศึกษาของคณะสงฆ์ การเล่าเรียนในพระพุทธศาสนานั้น เมื่อแรกตั้งพระศาสนาผู้ที่สมัครเข้ามาถือพระพุทธศาสนามีสองพวกด้วยกัน พวกหนึ่งฟังธรรมแล้วรู้ทั่วถึงธรรมเป็นพระอรหันต์ เมื่อบวชแล้วกิจที่จะศึกษาเป็นอันไม่มี อีกพวกหนึ่งเป็นแต่พอใจในหลักธรรม เมื่อบวชแล้วต้องศึกษาให้ถึงที่สุด
                          หลักสูตรที่จะศึกษาในโอวาทปาติโมกข์มีศีลสิกขา จิตสิกขา และปัญญาสิกขา และท่านแสดงธุระในพระศาสนาไว้สองอย่างคือคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
                ๘๗๑.
    คณาจารย์  เป็นชื่อตำแหน่งฝ่ายปริยัติของคณะสงฆ์ในประเทศไทย มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชทรงปรารถนาจะแยกการปกครองที่เรียกว่าฝ่ายบริหารกับการศึกษาที่เรียกว่าฝ่ายปริยัติออกจากกันเพื่อต่างฝ่ายต่างได้โอกาสจัดการ ในฝ่ายนั้น ๆ ให้เจริญรุ่งเรืองไปตามควรแก่กาลสมัย มีการจัดตั้งตำแหน่งฝ่ายปริยัติขึ้นเทียบตำแหน่งฝ่ายบริหารชั้นนั้น ๆ คือ อาจารย์เอก อาจารย์โท อาจารย์ตรี อาจารย์ใหญ่และอาจารย์รอง เทียบกับเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง เจ้าอาวาส และรองเจ้าอาวาส ตามลำดับ
                        ตำแหน่งในฝ่ายปริยัติมีหน้าที่เป็นผู้สอนพระศาสนา แต่งหนังสือสอนพระศาสนา และเป็นผู้สอนความรู้ในพระธรรมวินัยของภิกษุสามเณร            ๔/ ๒๔๓๐
                ๘๗๒.
    คณิตศาสตร์  ในแง่ตรรกวิทยาเกี่ยวกับคุณลักษณะมากพอ ๆ กับที่เกี่ยวกับความนึกคิดและเหตุผลที่เป็นไป ในทางรูปร่าง การจัดลำดับและปริมาณ            ๔/ ๒๔๓๔
                        คณิตศาสตร์ประยุกต์ เป็นคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งนำไปใช้กับฟิสิกส์ ชีววิทยาและสังคมวิทยา
                        คณิตศาสตร์การคลัง เป็นคณิตศาสตร์ใช้ในการธนาคารและการประกัน
                        คณิตศ


    • Update : 25/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch