หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (โดยย่อ)

    สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (โดยย่อ)

    คำปรารภ (ย่อ)
                จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้เมื่อ ๑๐ ธ.ค.๙๘ มีใจความว่าปัจจุบันมีความรู้มากอย่างที่ควรจะรู้ ถ้าไม่มีตำรับตำราสำหรับย่นเวลาในการศึกษาเล่าเรียนแล้ว กว่าจะรู้อะไรสักอย่างต้องเสียเวลาค้นมาก ถ้าเรามีหนังสือสารานุกรมอยู่ จะเปิดดูได้ทีเดียวไม่เสียเวลาค้นหาในหนังสือต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้นานาอารยประเทศจึงได้ทำหนังสือสารานุกรมซึ่งบรรจุความรู้แทบทุกสาขาวิชาไว้ เพื่อให้พลเมืองของเขาศึกษาค้นคว้าได้ง่ายไม่เสียเวลา
    คำนำ (ย่อ)
                การทำสารานุกรมนี้ราชบัณฑิตยสถานได้เคยเริ่มดำเนินการจัดทำมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ แต่ต้องหยุดชะงักลง ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๙๗ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในตำแหน่งบังคับบัญชา ราชบัณฑิตยสถาน ได้เสนอให้ราชบัณฑิตยสถานวางโครงการจัดทำสารานุกรมขึ้นใหม่
                สารานุกรมเป็นหนังสือ จัดอยู่ในประเภทหนังสือสำหรับค้นเช่นเดียวกับพจนานุกรม วัตถุประสงของการจัดทำหนังสือก็คือ ประการแรก จะต้องอธิบายอย่างย่อ ๆ และเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้อ่านซึ่งแม้จะไม่มีความรู้พิเศษเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ก็สามารถเข้าใจได้ทันที ประการที่สอง โดยมากมักจะมีการจัดระเบียบด้วยการเรียงลำดับตัวอักษร หรือไม่ก็โดยวิธีอื่นใดที่จะทำให้ผู้อ่านค้นหาได้สะดวกและรวดเร็ว
                สารานุกรมมุ่งไปในทางที่จะอธิบายเรื่องราวของสิ่งต่าง ๆ และความคิดของตน ซึ่งบางเล่มก็อธิบายทุก ๆ เรื่องที่สามารถอธิบายได้ บางเล่มก็อธิบายเฉพาะเรื่อง เฉพาะวิชา
                ในขั้นแรกนี้ จะจัดทำเป็นเรื่องขนาดเล็ก บรรจุคำถามที่เห็นสมควรเลือกเป็นคำตั้งมีข้อความอธิบายย่อบ้าง พิศดารบ้าง ตามสมควรแก่เรื่องในคำนั้น ๆ เพื่อเป็นการวางรากฐานไว้คราวหนึ่งก่อน ต่อไปอาจขยายเป็นขนาดใหญ่และพิศดารยิ่งขึ้น
                เรื่องที่จะนำมาอธิบายนั้น อยู่ในขอบเขตหัวข้อดังต่อไปนี้
                ๑. บุคคลสำคัญ
                ๒. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวของโลก
                ๓. ประเทศ ภูมิภาค นคร เมือง ฯลฯ
                ๔. เรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์
                ๕. เชื้อชาติของมนุษย์
                ๖. นิยายโบราณ
                ๗. ศาสนา
                ๘. ปรัชญา
                ๙. ลัทธินิกายต่าง ๆ
                ๑๐. หนังสือสำคัญของโลก
                ๑๑. ตำนานและนิทานต่าง ๆ
                ๑๒. ตัวสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องวรรณคดี
                ๑๓. สังคมและการเมือง
                ๑๔. ครอบครัวที่สำคัญ
                ๑๕. สถาบันต่าง ๆ (สิ่งที่ตั้งขึ้นเป็นขนบประเพณีหรือเป็นสถานที่เกี่ยวกับการปกครอง วิทยาการ สังคม เป็นต้น)
                ๑๖. วันหยุดงานและพิธีรีตอง
                ๑๗. วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม และวัฒนธรรม (วรรณคดี ศิลปกรรม)
                ๑๘. เศรษฐกิจ
    คำชี้แจง (ย่อ)
                การเรียงลำดับคำ ได้ใช้หลักการเรียงตามหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสวถาน พ.ศ.๒๔๙๓
                ศักราช ใช้พุทธศักราชเป็นหลัก
                มาตรา ชั้ง ตวง วัด ใช้มาตราเมตริก เป็นหลัก
                คำที่เป็นชื่อย่อยของสิ่งบางอย่างจะไม่แยกเก็บที่คำนั้น ๆ เช่น คำ "ข้าวกระตาบ" หรือ "ต่อ" ซึ่งเป็นชื่อย่อยบอกประเภทของเรือ ไม่แยกเก็บที่คำนั้น ๆ แต่จะไปรวมอธิบายที่คำ "เรือ" เว้นแต่คำใดที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษ
                คำที่ใช้เป็นคำนำหน้าคำอื่นเช่น "พระ" มีมากด้วยกัน เมื่อเป็นเช่นนี้คำใดที่จะแยกออกได้เช่น พระศรีรัตนศาสดาราม พระสูตร ก็จะเก็บที่ศรีรัตนศาสดารามและสูตร ถ้าค้นหาที่คำ "พระ" ไม่พบก็ขอให้ค้นที่คำซึ่งเป็นชื่อของสิ่งนั้น ๆ โดยตรง


    • Update : 25/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch