หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน/4

    การเตรียมดินปลูกไม้สมุนไพร ไม้ดอก ไม้ประดับ
              การเตรียมดินปลูก
    ไม้สมุนไพร จะต้องรู้ธรรมชาติของสมุนไพรว่า ชนิดใดชอบแดดจัด ชนิดใดชอบแสงรำไร เช่น ฟ้าทะลายโจรและเสลดพังพอนตัวเมีย ชอบที่ร่ม แสงรำไร ส่วน ขมิ้นชันและชุมเห็ดเทศชอบแดดตลอดวัน เช่นเดียวกับไม้ดอกไม้ประดับ การเตรียมดินไม่สำคัญเท่ากับสถานที่ สถานที่ๆ จะปลูกไม้ดอกนั้นควรเป็นแปลงที่ได้รับแสงดตลอดวัน ถ้ามีแสงแดดไม่พอจะได้ดอกไม้ที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม้ดอกออกดอกน้อย มะลิที่ปลูกในที่ร่มจะได้ดอกน้อย ดาวกระจายสีม่วง หรือดอก cosmos ถ้าปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ดอกเล็กไม่สวย และอ่อนแอตายก่อนกำหนด ดังนั้นการเลือกที่จึงมีความสำคัญมาก  ไม้ประดับหรือไม้ใบ ต้องการที่ร่มๆ หรือที่มีแสงรำไร การเตรียมดินปลูกจะต้องเตรียมให้ดี  ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเทศบาล หรือปุ๋ยหมัก ควรใส่ 14-2 บุ้งกี๋ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร  ถ้าดินเหนียวมากควรใส่ปูนขาวด้วย เมื่อผสมปูน ปุ๋ย กับดินให้เข้ากันดี รดน้ำ แล้วปลูกได้เลย  ถ้าดินแปลงนั้นเคยปลูกพืชชนิดนั้นมาก่อน ควรขุดดินออกผึ่งแดดไว้ 2-3 อาทิตย์ แล้วจึงใส่ปุ๋ย แล้วปลูก หลังจากต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว การพรวนดินมีความจำเป็นมาก บานชื่น หลังจากย้ายกล้าปลูก 7 วัน ก็ควรจะพรวนดิน จะทำให้ต้นบานชื่นเจริญเติบโตได้ดีและให้ดอกใหญ่และดก

    การเตรียมดินปลูกไม้กระถาง
              ดินปลูกไม้กระถางมีส่วนผสมดังนี้คือ

    1. ดิน  ถ้าเป็นดินเหนียวก็ควรจะตากแดด และทุบให้เป็นก้อนเล็กๆ ปกติดินเหนียวเมื่อแห้งจะแข็งมาก ทุบให้เป็นก้อนเล็กๆ ได้ลำบาก ทำให้แตกออกเป็นก่อนได้ง่ายขึ้นก็โดยเอาปูนขาวโรยปนกับดินเหนียวขณะที่ดินยังเปียกอยู่ กะประมาณปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อดินเหนียว 1 ลูกบาศก์เมตร แล้วปล่อยตากแดดตากฝนไว้สัก 3-4 อาทิตย์ เมื่อดินแห้งแล้วจะร่วน โดยดินนั้นจะแตกออกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย ไม่จำเป็นต้องทุบ

    2. ปุ๋ยอินทรีย์  ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเทศบาล ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหลาย ควรทุบให้ละเอียด

    3. อินทรีย์วัตถุ  ได้แก่ ขี้กบ เปลือกถั่วลิสงบด แกลบ ปุ๋ยเปลือกมะพร้าว หรือใบไม้แห้ง
      อัตราส่วนผสม ดิน 2 ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน หรืออินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน เมื่อผสมให้เข้ากันดีแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วจึงบรรจุลงในกระถางและปลูกพืชได้เลย ก่อนบรรจุดินลงในกระถาง ควรจะเอากระเบื้องแตกหรือกระถางแตกชิ้นเล็กๆ ปิดตรงช่องระบายน้ำ แล้วกลบด้วยทรายหยาบแล้วจึงบรรจุดิน หลังจากปลูกแล้วควรจะวางกระถางไว้ในที่มีแสงแดดรำไร เพื่อให้ต้นไม้ตั้งตัว แล้วจึงนำเอาไปวางไว้ในที่ที่ต้องการ

    การเตรียมดินปลูกบัว

              ใช้ดินที่เตรียมไว้สำหรับปลูกไม้กระถางมา 4 ส่วน ปุ๋ยคอกควรจะเป็นมูลวัว หรือมูลควายที่แห้งและทุบให้ละเอียด 1 ส่วน ผสมกันให้ดี รดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่มทิ้งไว้ 3-4 อาทิตย์ แล้วจึงบรรจุกระถาง เติมน้ำให้ท่วม และปลูกบัวได้เลย

              ถ้าบัวที่ปลูกไม่ค่อยงาม แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยบัว ถ้าใส่ปุ๋ยบัว โดยเอาปุ๋ยเคมีโรยลงไปในน้ำจะทำให้สาหร่ายขึ้นเขียวไม่สวย ทำได้โดยเอาปุ๋ย ที่มีอัตราส่วนของปุ๋ย N.P.K. เท่ากับ 1:1:1 หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก็ได้ ปุ๋ย 1 ชา ฝังลงไปในดินเหนียว ปั้นให้กลม ตากให้แห้ง แล้วจึงนำไปฝังในอ่างบัว ปกติดอกบัวจะบานประมาณ 3 วัน แต่ถ้าดอกบัวบานใช้เวลาน้อยกว่านั้น แสดงว่าบัวมีอาหารไม่เพียงพอ ก็ควรจะฝังลงไปในอ่างบัวได้

    จุดดี และจุดอ่อนของปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี มีดังนี้คือ
              ปุ๋ยอินทรีย์ จุดดีก็คือ ช่วยทำให้ดินร่วมซุย ลดความเหนียวของดิน ลดการพังทลายของดิน ทำให้ดินอ่อนนุ่ม ทำให้ดินอุ้มน้ำได้มากขึ้น ทำให้ดินสามารถดูดอาหาร ธาตุของพืชไว้ได้มากขึ้น และค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาให้กับต้นพืช ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินอย่างรวดเร็ว จำทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ปุ๋ยอินทรีย์มักจะมีอาหารแร่ธาตุที่พืชต้องการทั้งปริมาณมากและปริมาณน้อยครบถ้วน และค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาให้กับต้นพืช
              จุดอ่อนของปุ๋ยอินทรีย์คือ มีปริมาณธาตุอาหารของพืชน้อยและต้องใส่เป็นประมาณมากๆ ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง และใส่เป็นปริมาณมากในดินน้ำขังไม่ดี
              ปุ๋ยเคมี  จุดดีของปุ๋ยเคมีคือ มีปริมาณอาหารธาตุของพืชมากและต้องใส่เป็นปริมาณน้อย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่ำ ต้นพืชสามารถใช้เป็นอาหารธาตุของพืชได้ทันที สามารถเร่งให้พืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชให้ผลิตผลตามคุณภาพที่ต้องการได้ดี
              จุดอ่อนของปุ๋ยเคมีคือ ถ้าใส่ปุ๋ยไม่ถูกวิธี จะทำให้ดินเสีย ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น หรือเป็นด่างเพิ่มขึ้น ทำให้ดินฟุ้งกระจาย น้ำซึมผ่านได้ยาก ดินถูกน้ำดูดซับอาหารธาตุของพืชได้น้อยลง เนื่องจากปุ๋ยเคมีทำให้อินทรีย์วัตถุในดินลดน้อยลง ปุ๋ยเคมีจึงทำให้ดินแข็ง อาหารธาตุของพืชบางชนิดที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อยอาจจะลดน้อยลง ปุ๋ยเคมีทำให้โครงสร้างของดินเสีย
              ทางที่ดีก็คือ ควรจะใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปกับปุ๋ยอินทรีย์ แต่ก็ควรจะทราบว่าระยะเวลาไหนควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และระยะเวลาไหนควรจะใส่ปุ๋ยเคมีจึงจะเหมาะ ดังเช่น การจะปลูกต้นสมุนไพร หนุมานประสานกาย เพื่อให้มีสรรพคุณตัวยาครบถ้วนตามต้องการ จะต้องขึ้นอยู่กับการปลูก ในการปรุงปุ๋ยให้มี โอสถสาร คือดินที่ใช้ปลูก เพียงใช้ปุ๋ยธรรมชาติซึ่งประกอบด้วย

    1. ดินลูกรังมีปริมาณ 250 กิโลกรัม/เนื้อที่ดิน 1 ไร่ ซึ่งมีแร่เหล็ก (Fe) และสารต่างๆ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน แคลเซียม แมกนีเซียม โปรแตสเซียม สังกะสี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปุ๋ยมากมาย

    2. ใช้ผงถ่านป่น หรือขี้เถ้าแกลบโรงสีไฟ 250 กิโลกรัม /เนื้อที่ดิน 1 ไร่ แทนโปรแตสเซียมออกไซด์ ทั้งนี้เพราะผงท่านป่นหรือขี้เถ้าแกลบตามโรงสีมีสารโปรแตสเซียมอ๊อกไซด์อย่างอุดมสมบูรณ์

    3. ใช้สารฟอสเฟท และไนโตรเจน จากสารยูเรีย จากมูลโค กระบือ หรือมูลสัตว์อื่นๆ ตากแห้ง ในน้ำหนัก 250 กิโลกรัม/ที่ดิน 1 ไร่

    4. ปลูกกลางแดด ให้ได้รับแสงอุลตร้าไวโอเลต
      เมื่อได้โอสถสารครบถ้วนตามดังกล่าวข้างบน สมุนไพรหนุมานประสานกาย จะมีตัวยาที่มีสรรพคุณครบถ้วน


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch