หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/38

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    กระบือเจ็ดตัว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Excoecaria cochinchinensis  Lour. var.cochinchinensis

    วงศ์ EUPHORBIACEAE

    ชื่ออื่น :  กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ (ภาคกลาง)  ใบท้องแดง (จันทบุรี)
    ส่วนที่ใช้ :
     ใบ ยางจากต้น

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1.5 ม. มียางขาว ใบเดี่ยว มีทั้งเรียงตรงข้ามและเรียงสลับ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามง่ามใบ ข้างใบ หรือปลายยอด ยาว 1-2 ซม. ช่อดอกเพศผู้มีดอกเล็กๆ จำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เล็กมาก เกสรเพศผู้เล็กมาก มี 3 อัน ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และมีดอกเล็กๆ 3-6 ดอก ก้านดอกยาว 2-5 มม. โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ และมีต่อมเล็กๆ สีเหลือง กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปไข่ รังไข่เล็ก สีเขียวอมชมพู มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลเล็ก ค่อนข้างกลม มี 3 พู

    สรรพคุณ :

    • บ  -   ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เป็นยาขับเลือดเน่าสำหรับสตรีในเรือนไฟ

    • ยางจากต้น - เป็นพิษ ใช้เบื่อปลา

    วิธีใช้ :  นำใบมาตำกับสุรา คั้นเอาน้ำรับประทาน

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    แก้ว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Murraya paniculata  (L.) Jack.

    ชื่อสามัญ  Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine

    วงศ์  RUTACEAE

    ชื่ออื่น :  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผ
    ส่วนที่ใช้ :  
    ราก ใบ

    สรรพคุณ :  :
              ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น
    เป็นยาขับประจำเดือน
    วิธีและปริมาณที่ใช้

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    เจตมูลเพลิงขาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Plumbago zeylanica  L.

    ชื่อสามัญ  

    วงศ์ PLUMBAGINACEAE

    ชื่ออื่น :  ตอชุวา, ตั้งชูอ้วย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ปิดปิวขาว (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-3 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบรูปไข่ ยาว 3-13 ซม. ปลายใบแหลมยาว ตอนปลายเป็นติ่ง โคนในรูปลิ่มหรือมน ใบบาง ช่อดอกแบบช่อกระจะเชิงลด ดอกจำนวนมาก แกนกลางและก้านช่อดอกมีต่อมไร้ก้าน (เจตมูลเพลิงแดงไม่มี) ช่อดอกยาวได้ประมาณ 15 ซม. ก้านช่อยาว 1.5-2 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 0.4-0.8 ซม. ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาวประมาณ 0.2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาวประมาณ 1 ซม. มีต่อมหนาแน่น กลีบดอกสีขาวหรือสีฟ้าอ่อน หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.7 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่ง อับเรณูสีน้ำเงิน ยาวประมาณ 0.2 ซม. รังไข่รูปรี เป็น 5 เหลี่ยม ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ผลแบบแคปซูล
    ส่วนที่ใช้ :  ราก ต้น ใบ

    สรรพคุณ :

    • าก  -  เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคัน ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ ขับประจำเดือน ขับลมลำไส้ แก้อาการหาวเรอ

    • ต้น - เป็นยาขับระดู

    • ใบ - แก้ฟกช้ำ ฝีบวม มาเลเรีย

    ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงท้อง จะทำให้แท้งได้ เพราะมีฤทธิ์ร้อนและบีบมดลูกเหมือนรากเจตมูลเพลิงแดง (Plumbago indica L.) แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า
    ข้อควรระวัง  : เมื่อทาเจตมูลเพลิงขาวแล้ว ให้สังเกตว่าโรคผิวหนังอาการดีขึ้นหรือไม่ ถ้ามีอาการปพุพองมากขึ้นให้รีบหยุดยา เพราะยาตัวนี้ ถ้าใช้มากจะทำให้เป็นแผลพุพองได้
    ตำรับยาและวิธีใช้

    • ปวดข้อหรือเคล็ดขัดยอก
      ใช้รากแห้ง 1.5-3 กรัม ต้มน้ำหรือแช่เหล้า รับประทานครั้งละ 5 ซี.ซี. วันละ 2 ครั้ง

    • ขับประจำเดือน
      ใช้รากแห้ง 30 กรัม และเนื้อหมูแดง 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    • แก้กลากเกลื้อน
      ใช้รากสด 1-2 ราก ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำหรือเหล้าหรือน้ำมันพืชเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็ฯ

    • แก้ไข้มาเลเรีย
      ใช้ใบสด 7-8 ใบ ตำละเอียด พอกบริเวณชีพจรตรงข้อมือ 2 ข้าง ก่อนจะเกิดอาการ 2 ชั่วโมง (พอกจนกระทั่งบริเวณที่พอกรู้สึกเย็นจึงเอาออก)

    • ฝีคัณฑสูตร ฝีบวม เต้านมอักเสบ ไฟลามทุ่ง
      ใช้ใบสดพอประมาณ ตำให้ละเอียด ใช้ผ้าก๊อส 2 ชั้นห่อพอกบริเวณที่เป็นจนกระทั่งหาย

    • ฟกช้ำ ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ใส่เหล้าเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น

    สารเคมี  ราก มี plumbagin 3.3-bilumbagin, 3-chloroplumbagin

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    เจตมูลเพลิงแดง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Plumbago indica  L.

    วงศ์  PLUMBAGINACEAE

    ชื่ออื่น :  คุยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)  ตั้งชู้โว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ไฟใต้ดิน (ภาคใต้)  อุบะกูจ๊ะ (มลายู-ปัตตานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-2 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ยาว 3-13 ซม. โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ใบบาง ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกจำนวนมาก ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ยาว 0.8-0.9 ซม. มีต่อมทั่วไป ดอกสีแดงหรือม่วง หลอดกลีบดอกยาว 2-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาด มีขนยาวที่โคน
    ส่วนที่ใช้
    ราก

    สรรพคุณ
    :
    เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับประจำเดือน เป็นยาฆ่าเชื้อโรค
    วิธีใช้

    • เป็นยาขมเจริญอาหาร
      ใช้รากแห้งผสมกับ ผลสมอพิเภก ดีปลี ขิง  อย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงรวมกัน รับประทานกับน้ำร้อน ครั้งละ 2.5 กรัม ประมาณ 1 ช้อนแกง
      ข้อควรระวัง - สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยานี้

    • เป็นยาขับประจำเดือน
      ใช้รากแห้ง 1-2 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

    กลุ่มยาขับประจำเดือน

    ฝ้ายตุ่น

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Gossypium herbaceum  L.

    ชื่อสามัญ  White cotton

    วงศ์  MALVACEAE

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม ลำต้น มีสีน้ำตาลแดงอาจเป็นเหลี่ยม ใบ เดี่ยว รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ก้านใบค่อนข้างยาว ดอก เดี่ยว มีใบประดับ 5 กลีบติดกัน กลีบดอกสีเหลือง ผล กลมปลายยาวแหลม เมล็ด รูปไข่ มีขนสีขาวยาว 3.7-5 เซนติเมตร รอบๆ
    ส่วนที่ใช้ :
     เปลือกต้น ราก

    สรรพคุณ :

    • เปลือกต้น ราก  -   ปรุงรับประทานเป็นยาขับโลหิตระดู ทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง อาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ง่าย
      รับประทานเป็นยาต้ม 1 ใน 5 หรือน้ำยาสกัดและทิงเจอร์ (1ใน 4) ครั้งละ 2-4 ซีซี.


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch