หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/37

    กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง

    ตะไคร้หอม

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon nardus Rendle

    ชื่อสามัญ  Citronella grass

    วงศ์  GRAMINEAE

    ชื่ออื่น :  จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม  (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)  ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
    ส่วนที่ใช้ ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม

    สรรพคุณ :

    • น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม 
      -  ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด 
      -  ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก

    • ทั้งต้น
      -ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด

    ประโยชน์ทางยา

    • แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)

    • ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย

    • สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย

    วิธีใช้ : นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง

    สารเคมี น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9% ประกอบด้วย geraniol 57.6-61.1%  Citronellal  7.7-14.2%  eugenol, camphor, methyl eugenol.

    กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง

    มหาหงส์

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Hedychium coronarium  J.KÖnig

    ชื่อสามัญ Butterfly lily, Garland flower, Ginger lily, White ginger

    วงศ์  ZINGIBERACEAE

    ชื่ออื่น :  กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หัว เหง้าสด น้ำมันหอมระเหยไม้หัวล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูกาบใบพ้นดินเป็นเหมือนลำต้น เรียกว่าลำต้นเทียม สูง 1-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับตรงข้ามกันเป็นระเบียบในแนวเดียวกัน เส้นใบขนานกัน ใบมีขนาด 4-9 x 25-60 ซม. สีเขียวสด ดอก ออกที่ปลายยอด เป็นช่อๆ ละ 3-6 ดอก แต่ละดอกมี 3 กลีบ ด้านบน 1 กลีบ เป็นกลีบใหญ่ ปลายกลีบเว้าลงเป็นรูปตัววี  ด้านล่างเป็นกลีบเล็ก 2 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 10 ซม. มีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน อีก 3 อันไม่สมบูรณ์ กลีบดอกสีขาว หรือขาวแกมเหลือง ดอกจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน ผล รูปทรงกระบอก สีส้มแดง เมล็ด สีน้ำตาลแดง
    ส่วนที่ใช้ : 

    สรรพคุณ :

    • เป็นยาแก้กระษัย บำรุงกำลัง บำรุงไต

    • มีฤทธิ์ ฆ่าแมลงได้

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • เป็นยาแก้กษัย บำรุงกำลัง บำรุงไต
      ใช้หัว ตากแห้ง บดละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน  

    • มีฤทธิ์ค่าแมลงได้
      เหง้าสดจำนวนพอควร นำมาทุบๆ แล้วสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหยออกมา เรียกน้ำมันมหาหงส์ ใช้ฆ่าแมลงได้

    กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง

    ยูคาลิป

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Eucalyptus globulus  Labill. (Eucalyptus citriodora Hook.)

    ชื่อสามัญ  Eucalyptus

    วงศ์ MYRTACEAE

    ชื่ออื่น :  โกฐจุฬารส น้ำมันเขียว มันเขียว

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบสด น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสดไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ค่อนข้างกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือก เปลือกหุ้มลำต้น มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น
    เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่ายในขณะสด ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ เป็นรูปหอกยาว 3-12 นิ้ว กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัด ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว มีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปี ผล ผลมีลักษณะครึ่งวงกลมหรือรูปถ้วย ผิวนอกแข็ง
    เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :  

    • ป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการข้ออักเสบ

    • ล่ หรือ ฆ่ายุง แมลง

    ิธีและปริมาณที่ใช้

    • ป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ
      ใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิลิตร (8 หยด) รับประทาน หรือทำยาอม

    • ล่หรือฆ่ายุง  แมลง
      ใช้ใบสด 1 กำมือ ขยี้ กลิ่นน้ำมันจะออกมาช่วยไล่ยุงและแมลง

    ้อควรระวัง : ย่าใช้เกินขนาด จะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร เมื่อใช้เป็นยาภายใน  

    กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง

    หางไหลแดง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Derris elliptica  (Roxb.) Benth.

    ชื่อสามัญ Tuba root, Derris

    วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE

    ชื่ออื่น :  กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ, ไหลน้ำ (ภาคเหนือ) โพตะโกส้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ศาสตร์ ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 22.5-37.5 ซม. ใบย่อย 9-13 ใบ รูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 7.5-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม หลังใบเกลี้ยงท้องใบมีขน ดอกช่อกระจะ ยาว 22.5-30 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 6 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูประฆังมีขน กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีชมพู หายากที่เป็นสีขาว ยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบล่างรูปโล่ เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว รังไข่มีขนอุย ฝักรุปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 2 ซม. ยาว 3.5-8.5 ซม. ตะเข็บบนแผ่เป็นปีก มีเมล็ด 1-4 เมล็ด
    ส่วนที่ใช้ เถาสด แห้ง หรือราก ต้น

    สรรพคุณ :

    • ยารักษาเหา หิด

    • ยาสำหรับใช้เบื่อปลา ฆ่าแมลง ไล่แมลง

    • ขับระดูสตรีและบำรุงโลหิต เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    • รักษาเหา หิด
      ใช้เถาสดยาว 2-3 นิ้วฟุต ตำให้ละเอียดผสมน้ำมันพืช ชะโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จึงสระให้สะอาด ควรสระติดต่อกัน 2-3 วัน ให้สะอาดจริงๆ

    • ยาฆ่าแมลง เบื่อปลา
      ใช้เถาแก่สด แห้ง หรือจะใช้รากก็ได้ (จำนวนที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่และแมลง) ทุบให้แตกมากๆ แช่ลงในน้ำ น้ำจะขาวเช่นน้ำซาวข้าว ใช้น้ำนั้น
      - ฆ่าแมลง (ซึ่งปลอดภัยต่อผู้ใช้)
      - เบื่อปลา (ปลาที่เบื่อโดยวิธีนี้ใช้เป็นอาหารได้)
      หมายเหตุ : เนื่องจากสารพิษที่อยู่ในหางไหลนั้น ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นเช่นคน จึงใช้ได้ดี ทั้งสารนี้สลายตัวได้ง่าย  ไม่ติดค้างอยู่บนพืชผัก เหมือนสารสังเคราะห์พวก ดี.ดี.ที.

    • ใช้ผสมกับยาอื่นๆ เป็นยาขับระดูสตรี
      ทางจังหวัดสุโขทัย ใช้เถาหางไหลแดงตากแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ดองสุรารับประทานเป็นยาขับและบำรุงโลหิต เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต

    กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง

    หางไหลขาว

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Derris malaccensis  Prain

    วงศ์  LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE

    ชื่ออื่น :  ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถาขนาดกลางถึงใหญ่ ใบประกอบรูปหอก ปลายกว้างแหลม โคนสอบแคบใบย่อยราว 7 ใบ ใบอ่อนสีเหลืองอ่อนออกเขียว ใบแก่สีเขียว ดอกเล็กสีชมพูเป็นช่อฝักแบนไม่ยาวนัก มียางขาวขัน พบตามรินน้ำลำธาร ป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณทั่วไป ในเขตวนอุทยานถ้ำเพชร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
    ส่วนที่ใช้ :  ราก

    สรรพคุณ :

    • ยางจากราก
      - ฆ่าแมลงตัวหนอนที่เกาะกินผัก เบื่อปลา
      - รสเอียนเล็กน้อย ถ่ายเส้นเอ็น (ทำให้เส้นอ่อน)
      - ถ่ายผายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต
      - ใช้ปรุงเป็นยาขับระดู แก้ระดูเป็นลิ่มเป็นก้อนเน่าเหม็น
      - ใช้ผสมกับสบู่และน้ำสำหรับฆ่าสัตว์ เช่น หิดและเหาได้ดี

    วิธีใช้ : ใช้รากทุบๆ ผสมน้ำ พอขุ่นขาว รดผัก ตามสวนผัก ฆ่าแมลงและตัวหนอน


    • Update : 24/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch