|
|
สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/32
กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน
|
พิลังกาสา
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia polycephala Wall.
|
ชื่อสามัญ : ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)
|
วงศ์ : MYRSINACEAE
|
ชื่ออื่น : กะเบาข้าวแข็ง กะเบาข้าวเหนียว กะเบา กะเบาเบ้าแข็ง (ภาคกลาง) มะกูลอ กะตงคง (ลาว-เชียงใหม่) กะดงเบา (ลำปาง) กะเบาใหญ่ (นครราชสีมา) เบา กูลา (ปัตตานี) หัวค่าง (ประจวบ) กะเบาตึกกะเบาดึก กราเบา (เขมร) ตั้วโฮ่งจี๊ (จีน)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ : ทั้ง 5 คือ ใบ ดอก ราก เมล็ด ผล
|
สรรพคุณ : ใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้
-
ใบ - มีรสร้อน แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ
-
ดอก - ฆ่าเชื้อโรค
-
ผล - แก้ไข้ ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน
-
เมล็ด - แก้ลมพิษ
-
ต้น - แก้โรคเรื้อน กุดถัง โรคผิวหนัง
-
ราก - แก้กามโรค หนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด ใช้กากพอกแผล เอาน้ำดื่ม
|
กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน
|
สบู่เลือด
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stephania pierrei Diels
|
วงศ์ : MENISPERMACEAE
|
ชื่ออื่น : บัวกือ (เชียงใหม่, เพชรบุรี) บัวเครือ (เพชรบูรณ์) บัวบก (กาญจนบุรี,นครราชสีมา) เปล้าเลือดเครือ (ภาคเหนือ)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินีขนาดใหญ่ กลมแป้น เปลือกหัวสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวล รสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย ลำต้นแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปเกือบกลม หรือ กลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางใบประมาณ 3-6 ซม. ก้านใบยาว 2-3.5 ซม. ติดที่กลางแผ่นใบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ เป็นดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ผลมีลักษณะเป็นทรงกลม มี 1 เมล็ด รูปเกือกม้า
ส่วนที่ใช้ : หัว ก้าน ต้น ใบ ดอก เถา
|
สรรพคุณ :
-
ต้น - กระจายลมที่แน่นในอก
-
ใบ - บำรุงธาตุไฟ ใส่บาดแผลสดและเรื้อรัง
-
ดอก - ฆ่าเชื้อโรคเรื้อน ทำให้อุจจาระละเอียด
-
เถา - ขับโลหิตระดู ขับพยาธิในลำไส้
-
หัว, ก้าน - แก้เสมหะเบื้องบน ทำให้เกิดกำลัง บำรุงกำหนัด
-
ราก - บำรุงเส้นประสาท
วิธีใช้
-
หัวกับก้านรับประทานกับสุรา ทำให้หนังเกิดอาการชาอยู่ยงคงกระพัน ถูกเฆี่ยน ตีไม่เจ็บไม่แตก พวกนักดื่มนิยมกันนัก
-
หัวหั่นเป็นชิ้นบางๆ สัก 3 แว่น ตำโขลกกับน้ำซาวข้าวหรือสุราก็ได้ให้ละเอียดๆ แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่ม ประมาณ 1 ถ้วยชา เช้า-เย็น และก่อนนอน แก้ตกเลือดของสตรี แก้มุตกิด ระดูขาว หรือตกขาวได้อย่างชงัด เป็นผลมากแล้ว
|
กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน
|
สลอด
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton tiglium L.
|
ชื่อสามัญ : Purging Croton, Croton Oil Plant
|
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
|
ชื่ออื่น : บะกั้ง (แพร่) มะข่าง มะคัง มะตอด หมากทาง หัสคืน (ภาคเหนือ) ลูกผลาญศัตรู สลอดต้น หมากหลอด (ภาคกลาง) หมากยอง (แม่ฮ่องสอน)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก
|
สรรพคุณ :
-
ใบ - แก้ตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม (กามโรคที่เกิดเนื้อร้ายจากปลายองค์กำเนิดกินลามเข้าไปจนถึงต้นองค์กำเนิด)
-
ดอก - ฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด
-
ผล - แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเดโชธาตุ มีให้เจริญ
-
เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายร้อนคอ ปวดมวน ก่อนใช้ต้องทำการประสะก่อน (อันตราย)
-
เปลือกต้น - แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในอกและลำคอ
-
ราก - แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตและลม
วิธีการใช้
-
ส่วนใบ - ก่อนจะนำมาผสมยา ให้นึ่งเสียก่อน
-
เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก เพราะน้ำมันในมเล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอาเมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่งต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้งใช้ผสมยาได้
เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมีคลื่นเหียน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุมฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่าบังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน
|
|
Update : 24/5/2554
|
|