|
|
สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/31
กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน
|
กระเบาน้ำ
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnocarpus anthelminthicus Pieere ex Laness.
|
วงศ์ : Flacourtiaceae
|
ชื่ออื่น : กระเบา (ทั่วไป) ตึก (เขมร-ภาคตะวันออก) กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่, กาหลง (ภาคกลาง) ตัวโฮ่งจี๊ (จีน) เบา (สุรษฎร์ธานี)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. ลำต้นเปลา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายสอบเรียว โคนสอบหรือมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดทางด้านล่าง ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ กลิ่นหอมมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่รูปไข่หรือรูปไข่กลับ มีขนสั้นๆ ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ผิวเรียบ เปลือกแข็ง มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาล มี 30-50 เมล็ด อัดกันแน่น เมล็ดรูปไข่ เบี้ยว ปลายทั้ง 2 ข้างมน
ส่วนที่ใช้ : ผลแก่สุก เมล็ด น้ำมันในเมล็ด (Chaumoogra Oil)
|
สรรพคุณ :
-
ผลแก่สุก - ใช้รับประทานเนื้อในเป็นอาหารคล้ายเผือกต้ม
-
น้ำมันในเมล็ด
- ใช้ดัดแปลงทางเคมีเป็นยารับประทานหรือยาฉีดหรือยาทาภายนอก บำบัดโรงเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคผิวหนัง ผื่นคันที่มีตัวทุกชนิด เพราะมีรสเมา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี
- ใช้ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผมรักษาโรคบนศีรษะได้ด้วย
วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้เมล็ดแก่เต็มที่ 10 เมล็ด แกะเอาเปลือกออก ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืชพอเข้าเนื้อ ใช้ทาโรคผิวหนังได้แทบทุกชนิด
ข้อมูลเพิ่มเติม : น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดเรียกว่า น้ำมันกระเบา (Chaulmoogra oil หรือ Hydnocarpus oil) มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น chaulmoogric acid และ hydnocarpic acid น้ำมันกระเบานำมาใช้รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอย่างอื่นอีก เช่น โรคเรื้อนกวาง หิด นอกจากนี้ ยังใช้แก้อาการปวดบวมตามข้อ เนื้อผลกินได้
โทษ : ใบ และเมล็ดเป็นพิษ มี cyanogenetic glycoside
|
กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน
|
ดองดึง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba L.
|
ชื่อสามัญ : Flame lily, Climbing lily, Turk's cap, Superb lily, Gloriosa lily
|
วงศ์ : Colchicaceae
|
ชื่ออื่น : ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี); ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู (ภาคกลาง); พันมหา (นครราชสีมา); มะขาโก้ง (ภาคเหนือ); หมอยหีย่า (อุดรธานี)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ยาวได้ถึง 5 เมตร มีเหง้าใต้ดินทรงกระบอกโค้ง ใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลมงอเป็นมือเกาะ ไร้ก้าน ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกใหญ่ ยาว 6-10 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม. ดอกมีสีแดงด้านบน หรือตามขอบกลีบ มีสีเหลืองด้านล่าง บางครั้งมีสีเหลืองซีด อมเขียว หรือสีแดงทั้งดอก เกศรเพศผู้มี 6 อัน ก้านยาว 3-5 ซม. อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. แยกเป็น 3 แฉก ผลรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 ซม. แตกตามรอยประสาน เมล็ดกลมสีแดงส้มจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : หัว แป้งที่ได้จากหัว เมล็ด ราก
|
สรรพคุณ :
-
ราก, หัวดองดึง - แก้โรคเรื้อน คุดทะราด บาดแผล และขับผายลม รับประทานแก้ลมพรรดึก แก้เสมหะ แก้ลมจับโปง ลมเข้าข้อ (รูมาติซั่ม) หัวเข่าปวดบวมได้ดี หัวใช้ต้มรับประทานแก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด
- ขับพยาธิ สำหรับสัตว์พาหนะ
- ฝนทาแก้พิษงู พิษตะขาบ แมลงป่อง
- ทาแก้โรคผิวหนัง
- มีสารเมททิลโคลซิซี
-
แป้งที่ได้จากหัว, ราก
- แก้โรคหนองใน
- ใช้สารสะกัดสำหรับเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืช
ข้อควรระวัง - สารมีฤทธิ์ข้างเคียงเป็นอันตรายถึงตายได้
- ราก พบ Methylcolchicine
ข้อมูลเพิ่มเติม
การแพร่กระจายพันธุ์ : ดองดึงมีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน ขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปในเอเชียเขตร้อน รวมทั้งไทย ตามที่โล่ง ชายป่า ดินปนทราย สามารถขึ้นได้บนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนถึงระดับความสูง 2500 เมตร (ในต่างประเทศ) นอกจากนี้พบปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตอบอุ่น โดยเฉพาะในเรือนกระจก
ประโยชน์ : เหง้าดองดึงมีสารอัลคลอลอย์ดหลายชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะสาร colchicines ถ้าใช้ในปริมาณน้อยสามารถใช้รักษาโรคเก๊าและมะเร็งได้
|
กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน
|
เลี่ยน
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melia azedarach L.
|
ชื่อสามัญ : Bastard Cedar, Persian Lilac
|
วงศ์ : Meliaceae
|
ชื่ออื่น : เลี่ยน, เลี่ยน Lian, เคี่ยน Khian (Central); เกรียน Krian (Northern); เลี่ยนใบหใญ่ Lian bai yai (Central); เฮี่ยน Hian (Northern), ดอกเลี่ยน,ต้นเลี่ยน,ใบเลี่ยน,ผลเลี่ยน,รากเลี่ยน,เกรียน,เคี่ยน,เฮี่ยน
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลักษณะลำต้นและใบมีความใกล้เคียงกันกับสะเดา มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้นเป็นจำนวนมาก เปลือกผิวลำต้นมีสีน้ำตาล มีแผลเป็นร่องตามยาว ลำต้นเจริญขึ้นตรง ทรงพุ่มกลมรูปกรวยโปร่ง ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาวประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อย ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย บนใบเกลี้ยงสีเขียวส่วนล่างของใบมีขนสีเขียวอ่อนเห็นเส้นใบชัด ขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกใหญ่ออกตามปลายกิ่งที่ง่าม ใบ ดอกมีฐานรองดอกเล็กมีกลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม ผลกลม รี สีเขียวมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ส่วนทั้ง 5
|
สรรพคุณ : ทุกส่วนของต้นเลี่ยน รสขม เมา แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อนและกุดถัง ทำให้ผิวหนังดำเกรียมแล้วลอกเป็นขุย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
-
ยาง - แก้ม้ามโต
-
เมล็ด - แก้ปวดในข้อ
-
ผล - แก้โรคเรื้อนและฝีคันทะมาลา
-
ดอก - แก้โรคผิวหนัง
-
น้ำคั้นจากใบ - ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว บำรุงโลหิต ประจำเดือน
-
ดอกและใบ - พอกแก้ปวดศีรษะ ปวดประสาท
-
เปลือกต้น - รักษาเหา
วิธีและปริมาณที่ใช้
-
ทาแก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน กุดถึง
ใช้ดอก 1 ช่อเล็ก หรือ ผล 5-7 ผล
เอาดอกหรือผลตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย
-
ใช้รักษาเหา
ใช้เปลือกต้นประมาณครึ่งฝ่ามือ หรือ ผลที่โตเต็มที่สดๆ 10-15 ผล โขลกให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าว 3-4 ช้อนแกง ชะโลมผมที่เป็นเหาทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระให้สะอาดติดต่อกัน 2-3 วัน
-
ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง
ใช้ใบเปลือกแห้งต้มกับน้ำ ใช้ฉีดไล่ตั๊กแตนและตั๊กแตนห่า
-
ผล ใช้เบื่อปลา
โดยใช้ผล ตำๆ แล้วเทลงในบ่อปลา จะฆ่าปลาได้ เป็นพิษต่อตัวมวน มวนชอบทำอันตรายต่อผลส้ม เป็นพิษต่อคน (ถ้ารับประทานถึงขนาดหนึ่งจะทำให้อาเจียนและท้องเดิน)
สารเคมี : มีสารกลุ่มแอลคาลอยด์ ชื่อ Azadirachtin, Toosendanin ในส่วนผลยังพบ Bakayknin, Steroid สารขมชื่อ Margosine, Fixed oil และกำมะถัน
|
|
Update : 23/5/2554
|
|