|
|
สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/28
กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง
|
ทองพันชั่ง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz
ชื่อพ้อง : R. communis Nees
|
ชื่อสามัญ : White crane flower
|
วงศ์ : ACANTHACEAE
|
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผล เป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ
|
สรรพคุณ :
-
ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
-
ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
-
ต้น - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
-
ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง
นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
-
ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
-
ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
-
ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง
-
ใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ
นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว
- แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
-
ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก
1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ
2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก
-
ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ
1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 ราก
ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่เป็น
สารเคมี - Rhinacathin, Oxymethylanthra quinone, Quinone, Rutin (quercetin - 3 - rutinoside)
|
กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง
|
ผักคาวทอง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Houttuynia cordata Thunb.
|
วงศ์ : Saururaceae
|
ชื่ออื่น : คาวตอง(ลำปาง,อุดร) คาวทอง(มุกดาหาร,อุตรดิตถ์) ผักก้านตอง(แม่ฮ่องสอน) ผักเข้าตอง,ผักคาวตอง ผักคาวปลา(ภาคเหนือ) พลูคาว(ภาคกลาง)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 15-30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ มีกลิ่นคาวทั้งต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็ฯช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ที่โคนช่อดอก ปลายมน ดอกเล็กจำนวนมาก สีขาวยออกเหลือง ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้ เมล็ดรี
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน และฤดูหนาว ถอนทั้งต้นและราก ล้างให้สะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้ ช่อดอก ดอกย่อย ช่อดอกแก่ ผล เมล็ด
|
สรรพคุณ :
-
ทั้งต้น - รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร
พืชนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
-
ต้นสด - ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดากออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น
-
ใบสด - ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย ต้มน้ำรดต้นฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ออกหัด
-
ดอก - ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง
- ใช้พืชนี้ต้มรับประทานติดต่อกันเป็นประจำ แก้โรคน้ำกัดเท้า อาจรับประทานน้ำต้มจากพืชอย่างเดียวหรือผสมวิตามินเอและวิตามินรวมด้วย ได้มีการขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ตำรับยานี้
- นอกจากนี้มีผู้ขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องสำอางโดยใช้น้ำมันจากผักคาวทองเป็นครีม ทาแก้ผิวหนังหยาบกร้าน และใช้ป้องกันผิวหนังแตกเป็นร่อง ได้ผล 65% จากผู้ทดลองใช้ 35 ราย เครื่องสำอางนี้ประกอบด้วย แอลกอฮอล์ 8% โปรโพลีนกลัยคอน 5% น้ำมันผักคาวทอง 10% กรดซีตริก 0.02% โซเดียมซีเตรท 0.2% เติมน้ำจนครบ 100%
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ทั้งต้น แห้ง 15-30 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม ก่อนต้มให้แช่น้ำไว้สัก 1-3 นาที ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที (ถ้าใช้ร่วมกับยาอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยานี้ต้มให้เดือด ดื่ม)
ใช้สด ตำคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอก
ตำรับยา
-
วัณโรคปอด อาเจียนเป็นเลือดหรือมีหนองปน
ใช้ต้นแห้ง รากเทียนฮวยฮุ่ง (Trichosanthes kirilowii Maxim) เจ็กแปะเฮี๊ยะ (Biota orientalis Endl.) แห้ง อย่างะ 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม
หรือ ใช้ต้นสด 30 กรัม คั้นเอาน้ำดื่มกับผักกาดดอง วันละ 2 ครั้ง
-
ปอดอักเสบ มีหนองในช่องปอด
ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม กิ๊กแก้ (Platycodon grandiflorum A.DC.) รากแห้ง 15 กรัม ต้มน้ำหรือบดเป็นผงผสมน้ำดื่ม
-
มะเร็งที่ปอด
ใช้ต้นแห้ง 18 กรัม ตังขุ่ยจี้ (Malva verticillata L.) แห้ง 30 กรัม เหง้ายาหัว (Smilax glabra Roxb.) แห้ง 30 กรัม กะเม็งตัวเมีย (Eclipta prostrata L.) และ ปวงเทียงขิ่มเล้า (Cyathea spinulosa Wall.) ทั้งต้นแห้งอย่างละ 18 กรัม และชะเอม 5 กรัม ต้มน้ำดื่ม
-
เป็นหวัด หลอดลมอักเสบ
ใช้ต้นแห้ง เปลือกต้นเถ่าป๊ก (Magnolia officinalis Rehd. et Wils.) แห้ง ผสมเหลี่ยงเคี้ยว (Forsythia suspensa Vahl.) แห้ง อย่างละ 10 กรัม บดเป็นผง และยอดต้นหม่อน (Morus alba L.) สด 30 กรัม ต้มเอาน้ำ ชงยาผงนี้ ดื่ม
-
เป็นโรคปอด ไอ มีเหงื่อออกมาก
ใช้ต้นสด 60 กรัม ใส่ในกระเพาะอาหารหมู ตุ๋นรับประทาน วันละชุดติดต่อกัน 3 วัน
-
บิด
ใช้ต้นสด 20 กรัม เถ้าจากผลซัวจา (Crataegus pinnatifida Bge. var. Major N.E.Br) 6 กรัม ต้มเอาน้ำ ผสมน้ำผึ้งดื่ม
-
หนองใน ตกขาวมากผิดปกติ
ใช้ต้นสด 25-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
-
ริดสีดวงทวาร
ใช้ต้นสด ต้มน้ำดื่ม จิบตามด้วยเหล้าเล็กน้อย แล้วเอากากพอก ให้รับประทานยานี้ติดต่อกัน 3 วัน หัวริดสีดวงจะค่อยๆ ยุบไป
-
โพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง
ใช้ต้นสด คั้นเอาน้ำหยอดจมูกวันละหลายๆ ครั้ง และใช้ต้นสด 21 กรัมต้มน้ำดื่มด้วย
-
ฝีบวมอักเสบ
ใช้ต้นแห้ง บดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งพอกฝีที่ยังไม่มีหนอง จะยุบหายไป ฝีที่มี่หนองก็จะเร่งให้หนองออกเร็วขึ้น
-
ฝีเนื้อร้าย (Furancle)
ใช้ต้นสดตำพอก จะปวดอยู่ 1-2 ชั่วโมง อย่าเอายาออก พอกยา 1-2 วัน อาการอักเสบลดลงและค่อยๆ หายไป
-
ผื่นคันที่อวัยวะเพศ ฝีที่บริเวณก้น
ใช้ต้นสดต้มเอาน้ำชะล้าง
-
งูพิษกัด
ใช้ต้นสด ใบชุ่ยฉิ่วเฮี๊ยะ (Sophora japonica L.) สด เมล็ดชุมเห็ดไทย อย่างละเท่าๆ กัน ตำพอก
-
ผื่นคัน ใช้ต้นสด ตำพอก
สารเคมี :
ที่พบทั้งต้นที่ปลูกในญี่ปุ่นมีน้ำมันระเหย 0.0049% ประกอบด้วยสารมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อคือ Decanoylacetaldehyde และยังมี methyl - n - nonylketone, myrcene, lauric alldehyde, capric aldehyde, capric acid
ที่ปลูกในจีนมีน้ำมันระเหย ประกอบด้วย Decanoylacetaldehyde dodecanaldehlyde, 2-undecanone, caryophyllene α -pinene, camphene, myrcene, d-limonene, linalool และ bornyl acetate
นอกจากนี้ยังมี โปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัลเฟต และ cordarine
ดอกและใบ มีสารพวก flavone ประกอบด้วย Quercirin, Isoquercitrin, quercetin, reynoutrin และ hyperin
รากมีน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วย decanoyl acetaldehyde.
|
กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง
|
แพงพวยฝรั่ง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catharanthus roseus (L.) G.Don
|
ชื่อสามัญ : Cape Periwinkle, Bringht Eye, Indian Periwinkle, Madagascar Periwinkle, Pinkle-pinkle, Pink Periwinkle, Vinca
|
วงศ์ : Apocynaceae
|
ชื่ออื่น : นมอิน (สุราษฎร์ธานี); ผักปอดบก (ภาคเหนือ); แพงพวยบก, แพงพวยฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-0.9 เมตร โคนต้นค่อนข้างแข็ง ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 2-3 เซ็นติเมตร ยาว 5-7 เซ็นติเมตร ปลายมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนมนสีเขียวเข้มเป็นมันก้านและเส้นกลางใบมีสีขาว ดอก มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ชมพู ฯลฯ ออกตามซอกใบ 1-3 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดยาว 2.5-3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล เป็นฝักยาว 2-3 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ทั้งต้นสดหรือแห้ง
|
สรรพคุณ :
-
ใบ - บำรุงหัวใจ ช่วยย่อย
-
ราก
- แก้บิด ขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือด
- รักษามะเร็งในเม็ดเลือด
-
ทั้งต้น
- แก้เบาหวาน ลดความดัน
- รสจืด เย็นจัด ใช้แก้ร้อน
- ขับปัสสาวะ แก้บวม ถอนพิษสำแดง ถอนพิษต่างๆ แก้ไอแห้งๆ เกิดจากร้อน
- แก้อาการตัวเหลืองอันเกิดจากพิษสุรา
- แก้โรคหนองใน หัด ผื่นคันและแผลอักเสบอื่นๆ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ทั้งต้นแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้ต้นสดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอกหรือสุมไฟให้เป็นถ่านผสมพอก
|
กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง
|
หญ้าปักกิ่ง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia loriformis (Hassk.) Rao et Kammathy
|
วงศ์ : Commelinaceae
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 10 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบที่โคนต้นรูปขอบขนาน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ส่วนใบที่ปลายยอดมีขนาดเล็กกว่าและสั้นกว่า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีใบประดับย่อยค่อนข้างกลม สีเขียวอ่อน ดอกสีฟ้า หรือม่วงอ่อน กลีบดอกบาง มี 4 กลีบ โคนกลีบเรียว ผล เป็นผลแห้งแตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น
|
สรรพคุณ :
ทั้งต้น - ใช้แก้ไข้ รักษามะเร็งในตับ รักษาโกโนเรีย ใช้เป็นยาพอก แก้อักเสบ ปวดบวม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้ทั้งต้น ต้มดื่มกินกับน้ำผึ้ง
ใช้ทั้งต้น ตำพอก ที่อักเสบ ปวดบวม
|
|
Update : 23/5/2554
|
|