|
|
สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/22
กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
|
กัญชา
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cannabis sativa L.
|
ชื่อสามัญ : Indian Hemp
|
วงศ์ : Canabaceae
|
ชื่ออื่น : กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล
|
ส่วนที่ใช้ : เมล็ดแห้ง ดอก
|
สรรพคุณ :
เป็นยากล่อมประสาท (Tranquilizer) หมายถึงยาที่ช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิด ระงับอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เมื่อจิตใจสงบ ทำให้นอนหลับสบาย
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เอาเมล็ดมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด ชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 3 กรัม รับประทานก่อนนอน
ดอกกัญชาปรุงเป็นยารับประทาน ทำให้อยากอาหาร
** กัญชาเป็นประโยชน์ในสถานะที่เป็นยา แต่ถูกจัดเป็นพืชให้พิษต่อระบบประสาทและทำให้เสพติด ให้ดูพืชพิษเกี่ยวกับกัญชาประกอบด้วย
|
กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
|
ขี้เหล็ก
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby
|
ชื่อสามัญ : Cassod tree, Thai copper pod
|
วงศ์ : Leguminosae - ceasalpinioideae
|
ชื่ออื่น : ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง, สุราษฎร์ธานี) ผักจี้ลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) แมะขี้แหละพะโด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 13-19 ใบ รูปรี กว้าง 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ปลายใบเว้าตื้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบร่วมสีน้ำตาลแดง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลม มี 3- 4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. เกสรเพศผู้มีหลายอัน ผล เป็นฝักแบนยาว กว้าง 1.3 ซม. ยาว 15-23 ซม. หนา สีน้ำตาล เมล็ดมีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ดอก ราก ลำต้นและกิ่ง ทั้งต้น เปลือกต้น แก่น ใบ ฝัก เปลือกฝัก ใบแก่
|
สรรพคุณ :
-
ดอก
- รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย
- รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
- รักษารังแค ขับพยาธิ
-
ราก - รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บขา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
-
ลำต้นและกิ่ง - เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขา
-
ทั้งต้น - แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
-
เปลือกต้น - รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย
-
แก่น
- รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย
- รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร
-
ใบ
- รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง
- รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย
- รักษาอาการนอนไม่หลับ
-
ฝัก - แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
-
เปลือกฝัก - แก้เส้นเอ็นพิการ
-
ใบแก่ - ใช้ทำปุ๋ยหมัก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
-
แก้อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร
ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนนอน
-
แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย
ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว
สารเคมี :
เปลือก แก่นและใบ มี anthraquinone glycoside เช่น rhein, aloe-emodin, Chrysophanol และ Sennoside ดอกมีสารพวก chromone ชื่อ Barakol และสารขมชื่อ cassiamin
|
กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
|
ชุมเห็ดไทย
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna tora (L.) Roxb. ชื่อพ้อง : Cassia tora L.
|
ชื่อสามัญ : Foetid Cassia
|
วงศ์ : Leguminosae - Caecalpinoideae
|
ชื่ออื่น : กิเกีย, หน่อปะหน่าเหน่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มอายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง ต้นสูงประมาณ 105.83-132.65 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบเรียงตัวแบบขนนกปลายคู่ (even–pinnate) ใบย่อยรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม (mucronate) ขนาดใบยาว 4.27-5.17 เซนติเมตร กว้าง 2.19-2.69 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.71-3.99 เซนติเมตร ไม่มีขน ผิวใบสีเขียวเข้ม นุ่ม (tender) หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย หูใบ (stipule) แบบเข็มแหลม (filiform) สีเขียว 2 อัน ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน ดอกออกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ฝักรูปขอบขนานแบน (oblong) ฝักยาว 11.83-14.91 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ทั้งต้น ใบ และ ผล
|
สรรพคุณ :
-
เมล็ด - ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคผิวหนัง
-
ทั้งต้น - ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด คุดทะราด
-
ใบ - เป็นยาระบาย
-
ผล - แก้ฟกบวม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
-
ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ดี
ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย คั่วให้ดำเกรียมเหมือนเมล็ดกาแฟ แล้วทำเป็นผง ชงน้ำร้อนอย่างปรุงกาแฟ ดื่มหอมชุ่มชื่นใจดี ไม่ทำให้หัวใจสั่น ให้คนไข้ดื่มต่างน้ำ
-
เป็นยาระบายอ่อนๆ
ใช้ใบหรือทั้งต้น ประมาณ 1 กำมือ 15- 3 กรัม เมล็ด 1 หยิบมือ 5- 10 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสเหม็นเขียวและเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้า ส่วนเมล็ดคั่วให้เหลือง ใช้ชงเป็นน้ำชาดื่ม
สารเคมี :
เมล็ด พบ anthraquinone, emodin chrysarobin, chrysophanic acid-9-anthrone, chrysophanol Rhein aloe-emodin
น้ำมันจากเมล็ด พบ linoleic acid, oleic acid, palmitic acid, stearic acid
ใบ พบ chrysophanic acid, emodin และ 1, 68, -trihydroxy-3 methl anthraquinone
|
กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
|
พวงชมพูดอกขาว
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook & Arn.
|
ชื่อสามัญ : Chain of love, Confederate Vine, Coral vine
|
วงศ์ : Polygonaceae |
ชื่ออื่น : ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) พวงนาค (ภาคกลาง) หงอนนาค (ปัตตานี)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยพาดพัน ลำต้นเล็ก สีเขียว มีมือสำหรับเกาะยึด ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ดอกสีชมพู ที่พบสีขาวมีบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแหลม ผล เป็นผลแห้ง รูปสามเหลี่ยม
ส่วนที่ใช้ : ราก และเถา
|
สรรพคุณ : เป็นยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน
|
|
Update : 23/5/2554
|
|